naitang
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 21 พ.ย. 18, 18:42
|
|
คำว่า โล น่าจะเป็นคำไทยที่หายไป แต่จะมีความหมายเป็นเช่นใดก็มิรู้ มิฉะนั้นแล้วเราก็คงจะไม่มีชื่อสถานที่ๆชื่อ ภูลมโล อยู่ในเขต จ.เลย
ชื่อสถานที่ต่างๆของเรานั้น มันจะบอกเรื่องราว ลักษณะทางภูมิประเทศ หรือบางอย่างที่สังเกตได้หรือเห็นได้ว่ามีความเด่นออกมาค่อนข้างจะจัดเจน เช่น ภูพาน ที่หมายถึงทิวเขาที่ตั้งขวางกั้นอยู่ (ซึ่งที่ถูกน่าจะต้องสะกดว่า ภูพาล) พุ ที่หมายถึงจุดน้ำบริเวณที่มีน้ำผุดออกมา (ถูกเปลี่ยนเป็น ภู ดังที่เคยกล่าวถึงแล้ว) ทุ่งก้างย่าง (สถานที่หนึ่งบนเส้นทางเดินทัพสมัยสงครามเก้าทัพ) ก็เปลี่ยนชื่อไปจาก ทุ่งย่างค่าง หลังๆนี้เราก็มีชื่อหมู่บ้านที่ขึ้นต้นด้วย โคก กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาค สื่อสารคล้ายกับว่ามีชาวอิสานอพยพมาอยู่ เอาเข้าจริงๆในหมู่บ้านนั้นกลับไม่คนอิสานเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 21 พ.ย. 18, 19:13
|
|
ใกล้ๆกับเสียงของคำว่า โล ก็มีอีกคำหนึ่งคือ โอ คำนี้มาจาก OK แต่ในการสนทนามักจะถูกตัดย่อเหลือแค่ O
คำว่า OK จะเข้ามาอยู่ในภาษาพูดของเรานานเพียงใดก็มิรู้ได้ แต่หากจะให้เดา ก็คิดว่าเริ่มได้ยินแบบค่อนข้างจะจริงๆจังๆก็คงน่าจะแถวๆประมาณ พ.ศ.2500+/- คำนี้ยังไม่ปรากฎอยู่ในภาษาเขียนที่เป็นทางการ มีแต่ปรากฎอยู่ในเฉพาะกระดาษหรือสมุดที่บันทึกผลการประชุมต่างๆก่อนที่จะนำมาทำเป็นเอกสารที่เป็นทางการ
คำว่า OK นี้ ผมว่าใช้กันในความหมายของความพอใจที่ครอบคลุมในทุกเรื่องทางรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 22 พ.ย. 18, 10:50
|
|
พี่ Superboy นำเสนอ ศัพท์ที่มีพื้นฐานจากการเดินเรือบ้างมั๊ยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 10 ธ.ค. 18, 19:12
|
|
ภาษาไทยที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันนั้น หากจะลองพิจารณาลงไปถึงคำที่ใช้ประกอบกันเป็นประโยคต่างๆทั้งในการพูดและการเขียนตามปกติ ก็พอจะเห็นว่ามันมีคำในภาษาต่างด้าวปนอยู่ในประโยคเหล่านั้นอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ก่อนนั้นก็ดูจะมีมากเฉพาะที่เป็นคำนามที่นำมาสะกดเป็นภาษาไทยตามที่เห็นว่าถูกต้องไปตามการสะกดและเสียงที่พูดเปล่งออกมา (เช่น gauge ที่มีทั้งเขียนว่า เกย์ เกจ และเกจ์) จนกระกระทั่งมีบัญญัติออกมาว่าจะต้องเขียนเช่นใดจึงจะถูกต้อง ในปัจจุบันนี้ได้มีคำที่เป็นคำกริยามาปนอยู่ในแต่ะประโยคมากขึ้น (เช่น จะนั่งรถแท็กซี่ไปช้อปปิ้งที่สยามสแควร์ _ จะนั่งรถ taxi ไป shopping ที่สยาม square หรือ เช็ดบิล, ไปพักที่รีสอร์ท, ใช้ถนนไฮเวย์สาย...., ไปกินบุฟเฟต์ติ่มซำ ซูชิ ซาชิมิ ก๋วยเตี๋ยว โรสพอร์ค ...) บางทีก็เกือบจะไม่มีคำไทยปนอยู่เลย เช่น add friend แล้วค่อย chat กันทาง Line
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 10 ธ.ค. 18, 19:26
|
|
ยิ่งเมื่อเราเริ่มมีการสอนที่เรียกว่าหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งก็คงจะต้องมีการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งก็จะหนีไม่พ้นที่จะต้องมีภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นปนอยู่ด้วย ทำให้ผมคิดเลยเถิดไปว่า ภาษาจีนที่เราคุ้นเคยกันแต่อดีตก็คงจะต้องเปลี่ยนไปบ้าง และก็คงจะต้องมีคำใหม่ๆของภาษาอื่นๆเข้ามาปนอยู่ในภาษาไทยของเราเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 11 ธ.ค. 18, 19:35
|
|
นอกจากนั้นก็ยังมีการเลือกใช้ศัพท์อีกด้วย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษดังที่เคยเกิดขึ้นมา เช่น เลือกใช้คำว่า truck แบบอเมริกัน ไม่ใช้ lorry แบบอังกฤษ(และยุโรปโดยรวม) เลือกใช้คำว่า life แบบอังกฤษ ไม่นิยมใช้ elevator แบบอเมริกัน เลือกใช้คำว่าเสื้อ sweater แบบอเมริกัน ไม่ใช้ jumper แบบอังกฤษ
และก็มีการใช้คำทั้งแบบอเมริกันและแบบอังกฤษในลักษณะของความหมายแบบรวมๆ แต่มีความต่างกันในเนื้อหาตามคำศัพท์ที่ใช้กันในภาษานั้นๆ เช่น flat, apartment, condominium
ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะกล่าวถึงภาษาใดๆที่กำลังเข้ามามีการใช้ปนอยู่ในภาษาไทยมากขึ้น เท่าที่พอจะนึกออกก็ดูจะมีอยู่ในพวกเมนูอาหารต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 12 ธ.ค. 18, 18:27
|
|
เมื่อมองภาพไปในอนาคตของภาษาไทยในที่มีการนำคำในภาษาอื่นๆเข้ามาใช้ปนอยู่ด้วยมากขึ้น (โดยเฉพาะที่เป็นคำทางเทคนิค) ก็น่าจะยังผลให้ภาษาไทยแบบที่จะใช้กันอย่างเป็นทางการ(โดยเฉพาะภาษาราชการ)นั้น อาจจะอ่านและเข้าใจได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม เพราะจะต้องมีการถอดคำที่พูดทับศัพท์หลายๆคำให้มีความเป็นภาษาไทยแบบทางการ ซึ่งก็คงจะทำให้แต่ละประโยคมีความยาวและอาจจะเยิ่นเย้อมากขึ้น เพราะว่าหากจะใช้ศัพท์บัญญัติก็ยากที่จะสื่อเรื่องราวและความหมาย ต่างก็เลยนิยมที่จะใช้วลีหรือประโยคในลักษณะที่เป็นคำอธิบายเสียมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 12 ธ.ค. 18, 19:50
|
|
ยุคนี้ เทคโนโลยีนำศัพท์ใหม่ๆเข้ามาในไทยเยอะแยะ เรียกทับศัพท์ง่ายกว่าพยายามแปล ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook , Twitter, messenger คำหลังสุดนี้ ถ้าหมายถึงพนักงานส่งของโดยใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ เรียกเมสเซนเจอร์จะคล่องปากกว่าเรียก "พนักงานส่งพัสดุและเอกสารตลอดจนของกินของใช้" โลจิสติคส์ ก็เป็นคำที่คุ้นมากกว่า "ขนส่งลำเลียง"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 13 ธ.ค. 18, 19:29
|
|
อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคำที่น่าสนใจอยู่ 2 คำ คือ logistics และ messenger
logistics เขียนเป็นภาษาไทยตามการออกเสียงว่า โลจิสติคส์ ดังที่ใช้กันทั่วไปในการสื่อสารต่างๆโดยทั่วไป แต่เท่าที่ผมเคยได้ยินฝรั่งพูด ส่วนมากจะออกเสียงคำนี้ไปทาง ลอจิสติคส์
กับคำว่า messenger ที่อาจารย์สะกดว่า เมสเซนเจอร์ ผมว่าสะกดถูกต้องมากกว่าที่จะสะกดว่า แมสเซนเจอร์ ดังที่นิยมเขียนกันโดยทั่วไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 14 ธ.ค. 18, 13:37
|
|
เกียกกาย เป็นอีกคำที่หายไปจากความเข้าใจของคนไทยทั่วไปแล้วค่ะ เหลือแต่สี่แยกไว้เป็นอนุสรณ์ เดี๋ยวนี้โลจิสติคส์ เป็นคำฮิท เห็นเขียนอยู่ตามข้างรถขนสินค้าด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 16 ธ.ค. 18, 19:36
|
|
ทำให้พานไปคิดว่า การเรียนรู้และความเข้าใจภาษาไทยนี้มีความยากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เรามีคำราชาศัพท์และวิธีการใช้ที่มีแบบแผน เรามีคำและศัพท์ที่สามารถจะเลือกนำมาใช้แต่งประโยคในภาษาพูดและภาษาเขียนที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมต่างๆได้อย่างหลากหลาย ไม่เพียงแต่คำสรรพนามแทนตัวเอง คู่สนทนา บุคคลที่สาม หรือสิ่งของ ซึ่งก็บอกอะไรๆได้มากแล้ว ก็ยังสามารถเลือกใช้คำและศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พูดถึงได้อีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|