เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 22986 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ม.ค. 17, 19:21

ปั้มน้ำมัน   เป็นสถานที่หนึ่ง เรียกกันในภาษาอังกฤษอยู่หลายคำ

อเมริกันชนเรียกน้ำมันเบ็นซินว่า gasoline แต่จะนิยมเรียกสั้นๆว่า gas   ปั้มน้ำมันก็เลยเรียกว่า gas station  (คนอเมริกัน ไม่นิยมใช้รถเครื่องยนต์ดีเซล)

อังกฤษเรียกน้ำมันในลักษณะรวมๆว่า petrol (ซึ่งก็ค่อนข้างจะหมายถึงน้ำมันเบ็นซินเป็นหลัก)  ปั้มน้ำมันก็เลยเรียกว่า petrol station  แต่ที่นิยมเรียกว่า petrol pump ก็มีไม่น้อย

ปั้มน้ำมันก็ยังมีการเรียกในชื่ออื่นๆอีก เช่น service station และ garage      แล้วก็มีคำกลางๆเชิงทางการว่า filling station   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 ม.ค. 17, 20:12

ในบ้านเรามีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซอยู่ค่อนข้างมาก ก็เลยมีปั้มก๊าซอยู่ไม่น้อย    หากต้องตอบคำถามคนต่างชาติในภาษาอังกฤษ ก็คงจะไม่ถูกต้องนักที่จะเรียกปั้มก็าซเหล่านี้ว่า gas station คงจะต้องเรียกแบบจำเพาะเจาะจงลงไปว่า LPG หรือ NGV station (หรือ LPG, NGV pump ?)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ม.ค. 17, 18:21

คำถาม Can you give me a lift to a gas station ? ในพื้นที่ห่างไกล  อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นงงได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ความหมายตรงตัวของประโยคนี้ ห่างไกลกับความหมายของเรื่องที่ต้องการมากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ม.ค. 17, 18:42

ที่ปั้มน้ำมันก็ต้องมี ห้องน้ำ (ภาษาสุภาพหน่อย) อีกคำหนึ่งก็คือ ห้องส้วม (ภาษาพื้นๆ)  แล้วก็มีอีกคำที่สุภาพมากหน่อย คือ ห้องสุขา    

ภาษาอังกฤษก็มีคำว่า water closet ซึ่งค่อนข้างจะตรงกับคำว่า ห้องสุขา และซึ่งโดยนัยแล้วจะเป็นห้องที่พร้อมไปด้วยเครื่องสุขภัณฑ์     คำว่า ห้องน้ำ ดูจะตรงกับคำว่า rest room   และคำว่า toilet ค่อนข้างจะตรงกับคำว่า ห้องส้วม

ในต่างจังหวัด ผู้คนจะคุ้นเคยกับคำว่า toilet มากกว่าคำอื่นๆ    หากเจอคำถาม water closet ไปทางใหน ก็คงจะต้องเป็นงงกันสักพักหนึ่งอยู่บ้างเป็นแน่  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ม.ค. 17, 19:19

พูดถึงปั้มน้ำมัน ก็นึกไปถึงศัพท์บางคำที่ช่างซ่อมรถของเราใช้ต่างไปจากศัพท์ทางเทคนิคในทางวิชาการ

เราคงจะได้ยินบ่อยครั้งและเป็นที่คุ้นหูมาก คือคำว่า ไดชาร์ต และ ไดสตาร์ท

คำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่ตรงกับคำ ไดชาร์ต คือ dynamo (แบบอังกฤษ) หรือ generator (แบบอเมริกัน) และคำที่ตรงกับคำว่า ไดสตาร์ท ก็คือ  (starting) motor  (ก็คงทราบกันอยู่แล้วว่า dynamo และ generator นั้นปั่นไฟฟ้าออกมาให้เราใช้  ในขณะที่ motor นั้น ใช้ไฟฟ้าไปปั่นให้มันหมุน)

แต่จะใช้คำว่า ไดชาร์ต และ ไดสตาร์ท ก็คงจะไม่มีความสับสน เพราะมีเสียงของคำว่าชาร์ต (charge) และ สตาร์ท (start) ร่วมอยู่ด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ม.ค. 17, 20:24

oil, lube, grease     3 คำนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกัน

oil แปลตรงตัวในภาษาไทย คือ น้ำมัน    lube คือ น้ำมันหล่อลื่น  และ grease คือ ใขน้ำมันในอาหาร     ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษใน ตจว. คงจะไม่ลงลึกแยกแยะความต่างของคำเหล่านี้

คำว่า oil และ grease นั้น มีใช้ทั้งทางด้านเครื่องจักรกลและในครัวทำอาหาร   ส่วนคำว่า lube นั้นเป็นคำรวมๆที่ใช้ในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ขยับไหวไปมาและซึ่งมักจะเป็นของชิ้นไม่ใหญ่

คำที่ดูจะสื่อกันไม่ได้ดีนัก คือ จาระบี ซึ่งตรงกับคำว่า grease   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 ม.ค. 17, 20:57

เลยขออยู่ในเรื่องของเครื่องจักรกลอีกสักหน่อย

ก็มีคำว่า ประเก็น หรือ ปะเก็น (สะกดอย่างไรถูกก็ไม่รู้ครับ)  ช่างไทยทุกคนจะรู้จักและคุ้นเคยสิ่งของชิ้นนี้เป็นอย่างดี  จะว่าออกเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า gasket ก็ดูจะห่างกันเกินไป   ทั้งนี้ หากต่างคนต่างภาษาไม่แข็งแรง ก็คงจะมีมโนต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง

แหวนรองน๊อต ภาษาอังกฤษเรียกว่า washer   ดูจะใกล้เคียงกับที่หมายถึงเครื่องซักผ้า (washing machine) มากกว่าที่จะหมายถึงแหวนรองน็อต   แต่หากช่างจะแปลตรงตัวออกไปเป็น ring ก็คงน่าจะพอเข้าใจกันได้หากหยิบเอาน๊อตออกมาแสดงประกอบด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ม.ค. 17, 21:21

อีกคำที่คงจะสื่อกันยากเต็มที คือ การเชื่อมโลหะ  ภาษาช่างของไทยเกือบจะเต็มทั้งร้อย จะเรียกว่า อ๊อก, ช่างอ๊อก

คนต่างชาติทั้งหลายเรียกการเชื่อมโละว่า welding  คงไม่รู้จักคำเรียกว่า อ๊อก แน่ๆ       

คำว่า อ๊อก นี้น่าจะมาจากวิธีการเชื่อมโลหะด้วยความร้อนจากไฟที่จุดจากแกส acetylene    ที่เรียกการเชื่อมแบบนี้ว่า Oxy-acetylene welding 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 19:06

gear,  stuff,  rig

ทั้งสามคำนี้ มีทั้งความหมายที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ที่คล้ายกัน และที่เหมือนกัน

ในความหมายที่ต่างกัน 
  gear หมายถึง(ฟัน)เฟืองหรืออุปกรณ์ส่วนการถ่ายทอดกำลัง   stuff หมายถึง สิ่ง(ของ)ต่างๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง(ที่เอามารวมๆกัน)ก็ได้   rig หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อการปฎิบัติงานบางอย่าง เช่น แท่นเจาะน้ำมัน (oil rig)

ในความหมายที่คล้ายกัน
   gear หมายถึง อุปกรณ์เฉพาะสำหรับกิจกรรมบางอย่าง จะเป็นชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นรวมกันก็ได้ เช่น fishing gear อุปกรณ์ต่างๆสำหรับการไปตกปลา   stuff หมายถึง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น สิ่งของที่จัดใส่กระเป๋าสำหรับการเดินทาง   rig หมายถึง (โดยนัย) กองเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่ยังไม่ได้คัดหรือเลือกออกมาใช้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 19:25

ในความหมายที่เหมือนกัน
   ทั้ง สามคำนี้ ใช้ในความหมายที่หมายถึงสิ่งของต่างๆที่เราขนมา รวบรวมมา (ในทำนองนี้)   เช่น my gear, my stuff, my rig
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 20:18

เราคุ้นกับการใช้คำว่า gear ที่หมายถึงเกียร์ของเครื่องจักรกล โดยเฉพาะของรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ และจักรยาน   คุ้นกับคำว่า stuff ที่เราออกเสียงยาวเป็นสต๊าฟ ที่หมายถึงการสต๊าฟสัตว์  ส่วนคำว่า rig นั้นจะไม่คุ้นกัน ซึ่งหากจะพอคุ้นอยู่บ้างก็จะหมายถึงแท่นเจาะน้ำมันในทะเล

Where to buy diving gear ?   อาจจะสื่อความหมายไปคนละเรื่องเอาเลยทีเดียว    เมื่อเราถนัดและนิยมออกเสียงขาดเสียงของอักษรควบกล้ำ (ร เรือ และ ล ลิง)  driving ก็จะกลายเป็น diving  อาจจะต้องปรับความเข้าใจกันสักพักนึงก็ได้

Can I put my stuff here ?    ก็เห็นแต่เป้หลังแล้วยังจะมีสัตว์สต๊าฟอีกหรือไร  (ก็มโนภาพบนรถไฟขึ้นมาครับ  ยิงฟันยิ้ม)

Where to park my rig ?  รถบ้าน (mobile home) ถามหาที่จอดรถ  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ม.ค. 17, 20:36

เมื่อภาษาต่างด้าวของเราไม่แข็งแรง และของคนต่างชาติก็ไม่แข็งแรง  แต่ต่างคนก็ต่างก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร    proper English นั้นไม่ปรากฎแน่ๆ ก็เหลือแต่ broken English แล้วก็คงจะต้องลดลงไปอีกจนถึงระดับเอาคำศัพท์มาต่อเรียงกันเป็นเรื่องราวเพื่อการสื่อสารกัน   หากได้ไปออกเที่ยว ตจว. ในปัจจุบันนี้ ผมเชื่อว่าจะต้องได้มีโอกาสประสบพบเห็นกันบ้าง

I put there go where not know   คำพูดวลีนี้ สื่อสารกันได้ความอย่างดีเลยทีเดียว  แต่หากจะลองปรับให้เป็นประโยคที่ถูกต้อง เป็น proper English แล้ว  ก็ไม่แน่ใจนักว่าจะสื่อได้อย่างลึกซึ้งเข้าใจกันได้มากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:21

หายไป ตจว.มาครับ
   
กลับมาย้อนอ่านเรื่องราวดู   อืม์ ใช้คำภาษาอังกฤษเดินเรื่องอยู่เยอะเลยทีเดียว  ชักจะเกรงว่าจะเป็นการนำพาให้คิดไปว่าอวดรู้ และมีแต่เรื่องมโนไปทั้งนั้น

ก็ตั้งใจว่า จะให้เป็นเพียงการฉายภาพของสภาพบางประการของการใช้ภาษาในสังคมแบบคละความหลากหลาย (cosmopolitan) ที่ตนเองพอจะได้เคยไปสัมผัสมาอยู่บ้าง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 18:53

สังคมแบบคละความหลากหลายที่กล่าวถึงนั้น เป็นสังคมเล็กๆขององค์กรหนึ่งในสังกัดของ UN ที่ประเทศต่างๆเกือบทั้งหมดในโลกเข้าเป็นสมาชิก

ด้วยความเป็นนานาชาตินี้ ก็หมายความว่าในทุกระดับงานย่อมต้องประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่ก็ไม่วายที่ในบางงานจะมีจำนวนของคนบางเชื้อชาติทำงานอยู่เป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่

ทำงานด้วยกัน เป็นทีมงานเดียวกัน พูดคุยกัน หยอกล้อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในที่สุดก็มีเรื่องที่ตกผลึกออกมากลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรบ้าง เป็นประเพณีบ้าง ฯลฯ  และแน่นอนว่า ก็ต้องมีเรื่องของภาษาสื่อสารที่ใช้ด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 19:07

แต่แรกก็ใช้เฉพาะในกลุ่ม แล้วก็ขยายเป็นวงกว้างจนนิยมใช้กันในทุกหมู่เหล่า    ก็มีทั้งที่เป็นคำ slang  เป็นคำศัพท์ทั่วไป และเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะ

คำเหล่านี้ ก็คือคำในแต่ละภาษาที่บ้างก็มีความหมายง่ายๆ บ้างก็มีความหมายลึกซึ้ง บ้างก็มีความหมายกว้างๆครอบคลุมเรื่องราว  บ้างก็ขอยืมมาใช้เป็นคำ slang ฯลฯ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง