เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 22897 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 07:08

ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ปทานุกรม ต่างกับ พจนานุกรม จะต่างกันเช่นใด    เพราะดั้งเดิมครั้งกระโน้นก็ใช้คำว่า ปทานุกรม ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการใช้คำว่า พจนานุกรม  กระนั้นก็ยังมีการใช้คำว่า ปทานุกรม กันต่อมา  

ท่านรอยอินได้วิสัชนาไว้ดังนี้

ก่อนหน้าที่คนไทยจะมีพจนานุกรมเป็นของตนเอง ผู้ที่ทำหนังสือประเภทนี้คือพวกมิชชันนารี โดยใช้ชื่อต่าง ๆ กัน เช่น “อักขราภิธานศรับท์” (ฉบับของหมอปรัดเล) “สัพะ พะจะนะ พาสา ไทย” (ฉบับของพระสังฆราชปาเลกัว)

กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๔ กรมศึกษาธิการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) จึงได้พิมพ์หนังสือ “พจนานุกรม ลำดับแลแปลศัพท์ที่ใช้ในหนังสือไทย (ฉบับ ร.ศ. ๑๑๐)” ออกเผยแพร่และใช้ในราชการ

และปรับปรุงอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๔๔ จึงเกิด “พจนานุกรม เปนคำแปลศัพท์ภาษาไทยสำหรับเขียนคำใช้ให้ถูกต้องตัวสกด (ฉบับ ร.ศ. ๑๒๐)” ขึ้น

ทว่าเมื่อได้ปรับปรุงพจนานุกรมฉบับ ร.ศ. ๑๒๐ ใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ปทานุกรมสำหรับนักเรียน พ.ศ. ๒๔๖๓” แทนและยังคงใช้ชื่อนี้จนถึงฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๔๗๒

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะกรรมการชำระปทานุกรมได้ดำริเปลี่ยนชื่อหนังสือกลับเป็นพจนานุกรมอีกครั้ง เพราะพจนานุกรม (พจน + อนุกรม) แปลว่า ลำดับคำ จึงเหมาะสมและมีความหมายตรงกับคำ Dictionary มากกว่าปทานุกรม (ปท + อนุกรม) ที่แปลว่า ลำดับบท และนิยมใช้ว่าพจนานุกรมกันมาจนปัจจุบัน

ดังนั้นปทานุกรมกับพจนานุกรมจึงแตกต่างเพียงชื่อ แต่ใช้ “ค้นความหมายคำ” ได้เหมือนกัน.

ที่มา : วิวัฒนาการของพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๓
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 02 พ.ย. 18, 19:13

ชอบคุณครับ

   โดยสรุปก็เป็นอันว่าใช้ได้ทั้งสองคำ แต่นิยมใช้คำว่า 'พจนานุกรม' เพราะมีความหมายที่ถูกต้องมากกว่า    สำหรับในกรณีที่หากจะเลือกใช้คำว่า 'ปทานุกรม' ก็อาจจะถูกทักท้วงหรือถูกตำหนิได้   สาระของย่อหน้านี้อยู่ในความหมายของคำภาษาอังกฤษว่า Dictionary

   ลองไปเปิดดูคำว่า Lexicon ว่าจะตรงกับศัพท์คำใดของท่าน royin   ก็ใช้ว่า"คลังศัพท์" และ "ศัพทานุกรม" (ทั้งสองคำนี้คงจะเป็นศัพท์บัญญัติ)  ส่วนของ NECTEC  ว่า "ศัพท์เฉพาะสาขา"   สาระของย่อหน้านี้ไปเกี่ยวกับเรื่องของบรรดาคำที่ใช้ในแต่ละเรื่องราว(หรือศาสตร์)และบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้น

พิจารณาดูด้วยความรู้พื้นๆแบบอ่อนหัด  คำว่า "ปทานุกรม" ก็เลยดูจะเป็นคำที่ตรงกับความหมายของคำว่า lexicon ที่สุด   ฮืม

       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 03 พ.ย. 18, 18:39

เรื่องที่คุยกันในกระทู้หลังๆนี้(ประมาณ 10 กระทู้) ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องตามหัวข้อของกระทู้อยู่ไม่น้อย 

ในความเป็นจริงในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่ชนบทและชายแดนนั้น  การสอนหนังสือในโรงเรียนต่างๆทั้งหมด เราใช้ภาษาไทยภาคกลางในการสอนและสื่อสารกับเด็กๆ  ซึ่งก็จะได้ผลเป็นภาษาไทยที่มีสำเนียงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสำเนียงคุณครูผู้สอนผสมผสานกับสำเนียงพื้นบ้านหรือชาวถิ่นของนักเรียนเหล่านั้น    เราดูจะเน้นผลสัมฤิทธิ์หลักในเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ (literacy) ซึ่งวัดผลสำเร็จกันในเชิงปริมาณ เกือบไม่เห็นการเน้นในเรื่องทางคุณภาพของการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ซึ่งตัววัดผลความสำเร็จทำได้ยากกว่า (เช่น การใช้กิจกรรมแข่งขันการออกเสียงภาษาไทย) ตัว ร จึงหายไปเกือบหมด  ขนาดว่าในภาษาใต้ซึ่งมีหลายคำที่ออกเสียงตัว ร ได้ชัดเจน ซึ่งแสดงว่ากระดกลิ้นได้สบายๆ เมื่อมาออกเสียงคำที่มีตัว ร ในสำเนียงภาคกลาง ก็ยังกลายเป็น ล ไปจนได้     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 03 พ.ย. 18, 19:18

ในพื้นที่ชนบทห่างไกลนั้น เรามีทั้งพวกสอนศาสนา พวกอาสาสมัคร รวมทั้งพวกต่างชาติ เข้ามาอยู่มากมาย ก็ล้วนแต่ใช้ภาษาอังกฤษสำเนียงต่างๆในการสอนเด็กบ้าง ในการสื่อสารบ้าง (รวมทั้งใช้ภาษาไทยสำเนียงแปลกๆ)  เราก็เลยได้ยินภาษาอังกฤษของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนออกเสียงอักขระทั้งแบบอเมริกันและยุโรป โดยเฉพาะตัว h และตัว z   (สำหรับตัว t ก็มีอยู่บ้าง)  แต่เมื่อเป็นคำศัพท์แล้ว การออกเสียงและการสะกดคำจะเป็นแบบอเมริกันทั้งหมด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 04 พ.ย. 18, 18:24

สิ่งที่เกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่งคือ การไปเปลี่ยนชื่อเดิมของสถานที่หลายแห่งให้เป็นชื่อในภาษาถิ่นอื่นเพื่อให้ที่ดูดี หรือคิดว่าเป็นคำที่ถูกต้อง หรือเป็นเพราะความเข้าใจผิด ที่ทำไปแล้วก็มีอาทิ พุเตย ซึ่งเป็นพื้นที่ๆมีพุน้ำซับไหลซึมออกมา เป็นแอ่งอยู่หน้าผาหินปูน ก็เลยตั้งชื่อเสียใหม่ว่า ภูเตย (คนละเรื่องกันเลย)    ม่อนพญาพ่อ ซึ่งเป็นชื่อของจุดสูงสุดของสันเขาที่แบ่งเขตระหว่างอุตรดิตถ์กับแพร่ ก็ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น ภูพญาพ่อ  แล้วก็อีกหลาย ภู.... ทีเดียว (เอาภาษาอิสานมาใช้แทนคำว่า ม่อน ที่คนในภาคเหนือเขาใช้กันทั่วไป)   มีบางชื่อที่ใช้คำสะกดที่ทำให้ผิดความหมายไป เช่น ร่องกาศ (แทนที่จะต้องเป็น ร่องกาด   ฮ่องกาด..ตลาดในสถานที่หนึ่ง)

ก็มีสถานีรถไฟแห่งหนื่งใกล้ๆตัวเมืองประจวบฯ ชื่อว่า สถานีคั่นกระได  คำว่ากระไดนี้ก็ยังเป็นชื่อของหมู่บ้านอีกหลายแห่ง    เรื่องนี้ก็ดูจะแปลกอยู่ตรงที่ หากจะเขียนว่า ขั้นกระได ก็ดูจะไม่ถูกต้อง จะต้องเขียนว่า ขั้นบันได จึงจะถูก   คั่น ดูจะใช้คู่กับ กระได เท่านั้น   คำว่าบันไดดูจะใช้กันในภาษาเขียน ส่านคำว่ากระไดนั้นใช้กันในภาษาพูดและในสำนวนต่างๆ  แต่ก็คงไม่มีผู้ใดเขียนว่า บ้านนี้หัวบันใดไม่แห้ง คงะมีแต่เขียนว่า บ้านนี้หัวกระไดไม่แห้ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 04 พ.ย. 18, 19:12

อีกภาพหนึ่งก็อิทธิพลของการใช้ภาษาในรายการต่างๆที่ออกอากาศทางทีวี ตั้งแต่การออกเสียงในภาษาไทยที่ ร และ ล หายไปหมดเลย จะเหลือไว้สักตัวก็ยังพอจะไหว แถมยังชอบเอาศัพท์ภาษาอังกฤษมาใช้ผสมอยู่ในประโยค แต่ออกเสียงที่ขาดเสียงของตัว r หรือ l และเสียง ซ จากคำที่ลงท้ายด้วย ..se  ..ch ฯลฯ   บางทีก็เลยฟังไม่ออกและไม่เข้าใจ   เด็กๆเองก็คงจะลำบากในการเปิดหาคำศัพท์ต่างๆเหล่านั้น ทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 09:30

ขออนุญาตครับ ขอย้อนกลับไปเล็กน้อย คำว่า "ปทา" ใน ปทานุกรม หมายความว่าอย่างไรครับ ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 10:33

ปทานุกรม มาจากคำว่า ปท สนธิกับคำว่า อนุกรม

ตามหลักภาษา คำในภาษาบาลีสันสกฤต ถ้าตัวหน้าเป็นตัว ป เวลาเรานำมาใช้ในภาษาไทย มักจะแผลงเป็นตัว บ เช่น "ปุญญฺ" เราใช้ว่า "บุญ"  "ปาป" เราก็ใช้ว่า "บาป"

เช่นเดียวกัน "ปท" ก็คือ "บท" นั่นเอง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 05 พ.ย. 18, 10:37

เอกสัตวแพทยศาสตร์  โทอักษรศาสตร์ ค่ะ


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 พ.ย. 18, 09:02

ขอบพระคุณครับ ถ้าเช่นนี้ หนังสือลำดับบท กับ หนังสือลำดับคำ แบบที่สองคงจะมีความหมายตรงกว่าจริงๆ แหละครับ

แต่จะว่าไปแล้ว สมัยเด็กๆ หนังสือลักษณะนี้เล่มแรกที่จำความได้คือ ปนานุกรมฉบับนักเรียน ครับ เป็นหนังสือขนาดราวๆ สมาร์ทโฟนสมัยนี้ ปกสีน้ำตาล มีตัวอักษรสีขาวพิมพ์อยู่ช่วงล่างของปกว่า ปทานุกรมฉบับนักเรียน ผมจำชื่อสำนักพิมพ์ไม่ได้แล้วครับ แต่พอจำได้ว่า โลโก้เป็นรูปวงกลมสามวงซ้อนกัน คล้ายๆโลโก้ ช่อง 7 สี พอโตขึ้นมา ผมเอาไปทำหายไว้ที่ไหนเสียก็ไม่รู้

หลักจากนั้นก็ไม่เคยเป็น ปทานุกรมอีกเลยครับ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 06 พ.ย. 18, 10:02

แต่พอจำได้ว่า โลโก้เป็นรูปวงกลมสามวงซ้อนกัน คล้ายๆโลโก้ ช่อง 7 สี

ประมาณนี้  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 06 พ.ย. 18, 13:30

ขอบพระคุณอีกรอบครับ ใช่ครับ ยังงี้เลย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 06 พ.ย. 18, 19:26

เขียนไปเขียนมา ส่งไป หายไปเลย พรุ่งนี้ค่อยเขียนใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 พ.ย. 18, 18:27

จำได้ว่า 'ปทานุกรมฉบับนักเรียน' นั้น เนื้อหาภายในแบ่งออกเป็นหลายส่วน  ส่วนแรกเป็นเรื่องของความหมายของคำที่ใช้กันในภาษาไทย ซึ่งเป็นเพียงวลีสั้นๆในลักษณะของการแปลไทยเป็นไทย   สำหรับส่วนอื่นๆในหนังสือ เท่าที่พอจะนึกเค้าลางออก(ซึ่งอาจจะผิดโดยสิ้นเชิงก็ได้) ก็ดูจะมีเรื่องเกี่ยวคำในภาษาไทยที่มักจะสะกดผิด   มาตราชั่ง ตวง วัด    ลำดับชื่อของพระมหากษัตริย์ของไทยสมัยต่างๆ   เครื่องราชอิสริยาภรณ์และตัวย่อ วันสำคัญทางศาสนา

นักเรียนรุ่นเก๋า(สมัยครั้งกระโน้น) มักจะมีปทานุกรมฯเล่มนี้อยู่ที่บ้านหรือไม่ก็พกพาติดกระเป๋านักเรียนไปโรงเรียนด้วย ซึ่งส่วนมากก็จะใช้เพื่อการตรวจทานคำสะกดต่างๆว่าเขียนถูกหรือไม่ (มากกว่าที่จะใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ)    ปทานุกรมฯฉบับนี้ก็เลยเป็นครูผู้ช่วย(ในอดีต)อีกแรงหนึ่งที่ช่วยทำให้คนที่ถูกจัดให้เป็น สว ในยุคนี้เขียนและสะกดคำภาษาไทยได้ค่อนข้างจะไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก (ยกเว้นผม  รูดซิบปาก)

เมื่อหนังสือ 'ปทานุกรมฉบับนักเรียน' ที่มีสารและเนื้อในๆลักษณะเช่นนี้  ก็ไม่รู้ว่าจะตรงกับความหมายของคำว่า "ลำดับบท" หรือไม่ ฮืม  ซึ่งหากใช่ ก็จะไปตรงกับคำศัพท์ว่า "ปทานุกรม"   ก็จะทำให้เห็นภาพของความต่างระหว่างคำว่า พจนานุกรม =ลำดับคำ กับ ปทานุกรม =ลำดับบท   

หรือว่า เนื้อหาสาระและเรื่องราวของหนังสือ "ปทานุกรมฉบับนักเรียน" จะไปเรื่องในสาระของของคำว่า treatise  ซึ่งดูเหมือนจะถูกแปลเป็นไทยว่า ตำรา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 พ.ย. 18, 18:30

ก็น่าเสียดายที่ ปทานุกรมฉบับนักเรียน ได้เลิกพิมพ์และเลิกใช้กันไปแล้ว    ซึ่งผมเห็นว่าอย่างน้อยหนังสือเล่มนี้มันก็มีประโยชน์สำหรับเด็กใน ตจว. และในพื้นที่ชนบทไกลปืนเที่ยงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพวกที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนในระบบปกติ หรือพวกที่เรียนในระบบ กศน.ก็ตาม หรือแม้กระทั่งพวกคนไทยที่ย้ายถิ่นไปอยู่ใน ตปท. และพวกคนต่างชาติที่ศึกษาภาษาไทยด้วยตนเองหรือในระบบ กศน.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง