เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 22862 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 09 ก.พ. 17, 18:32

คำ(เสียง)ที่พ่วงท้ายประโยคแล้วทำให้เปลี่ยนความหมายไปเป็นคำถาม ก็มีอยู่หนึ่งที่ออกเสียงคล้าย เอ๋ (eh ?)  เสียงนี้หรือคำนี้ได้ยินเป็นปรกติในการสนทนาของผู้คนชาวแคนาดา และมีการใช้อยู่ในผู้คนชาวออสเตรเลียอยู่ไม่น้อย   ในปัจจุบันนี้เราเริ่มได้ยินจากปากของนักท่องเที่ยวไม่น้อยแล้ว ซึ่งคนไทยก็ใช้กับนักท่องเที่ยวเช่นกัน    ก็เป็นคำหรือเสียงที่ใช้เปลี่ยนความหมายของเรื่องราวได้ง่ายๆ    ผู้คนชาว ASEAN ก็มีการใช้กันอยู่พอสมควรแล้วในถิ่นของตนเอง     คิดว่าไม่นานก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาปรกติในการสื่อสารกันในยุค AEC   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 09 ก.พ. 17, 19:21

สำหรับวลี เช่น  sort of   ที่นิยมใช้เป็นปรกติในภาษาอังกฤษของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์นั้น ไม่น่าจะเป็นที่นิยมใช้ของผู้คนใน AEC ในอนาคต

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 10 ก.พ. 17, 19:26

ก็มีศัพท์เป็นจำนวนมากที่ออกเสียงมากกว่าสองพยางค์     ในเรื่องที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็มีอาทิ photography, chocolate, terminal ...ฯลฯ     ในเรื่องทางวิชาการก็มี อาทิ chronology, sophisticated หรือ gas chromatograph ...ฯลฯ

คำหลายพยางค์ดังเช่น ตย. นี้ หากออกเสียงไม่ตรงกันหรือไม่คุ้นกับการออกเสียงของกันและกัน ก็เป็นอันวาฟังกันเกือบจะไม่รู้เรื่องเอาเลยทีเดียว   การเน้นเสียงพยางค์ที่ถูกต้องเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งกับคำประเภทหลายพยางค์นี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 10 ก.พ. 17, 19:42

ท่านทั้งหลายที่เคยเข้าประชุมนานาชาติคงพอจะสังเกตเห็นได้อยู่บ้างว่า   ในบรรดาคำกล่าวบนเวทีของบุคคลที่มาจากประเทศที่มิได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และที่มิใช่เป็นนักวิชาการในศาสตร์นั้นๆ (นักการเมือง, หัวหน้าส่วนงาน)  ในคำกล่าวเหล่านั้นเกือบจะไม่มีคำที่ออกเสียงมากกว่าสองพยางค์เลย  ซึ่งแม้จะเป็นนักวิชาการบรรยายในทางวิชาการ คำศัพท์ทางวิชาการเช่นนั้นก็จะถูกเขียนให้ปรากฎอยู่ใน slide show เสมอ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 10 ก.พ. 17, 20:28

ครับ..  เมื่อนายก็อยากแสดงว่าฉันก็มีความสามารถทางภาษานะ ผู้ใต้บังคับบัญชาก็อยากแสดงว่าฉันมีความรู้นะ  แสดงร่วมกันเพื่อให้ภาพออกมาในองค์รวมว่าเรา (หน่วยงาน องค์กร ..) ก็มีเรื่องราวและความคิดเห็นที่ดีๆนะ   

แต่ผลลัพท์มันไม่ใช่เลย  ที่พูดได้ก็เพราะตนเองเคยมีประสบการณ์ต้องเข้าไปช่วยปรับคำกล่าวที่มีคำหลายพยางค์เยอะแยะไปหมด  จะยึดถือร่างเดิมก็ได้ แต่หากออกเสียงไม่ถูกก็จะทำให้สาระดีๆที่จะสื่อความออกไปมันคงอยู่แต่ในกระดาษ คือ สื่อออกไปไม่ได้  กว่าจะถึงบางอ้อเหล็กก็หายร้อนตีขึ้นรูปไม่ได้เสียแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 11 ก.พ. 17, 20:06

นอกจากการเรื่องของการเน้นเสียงแล้วก็ยังมีเรื่องของความเร็วมาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว  การพูดช้าหรือเร็วมากไปก็มักจะฟังไม่ค่อยออกเช่นกัน  ยิ่งหากผนวกกับการออกเสียงที่ราบเรียบและขาดเสียงของ ร (เช่น พีเมียร์ ..premier) หรือ ล (ค๊อก ..clock) ควบกล้ำเข้าไปอีก หรือมีจนมากเกินไป ก็เพิ่มความเป็นเป็นงงได้อีกไม่น้อย  และยิ่งบวกคำที่ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากพยัญชนะตัวสะกดอีกด้วย (วัง ..one  )   

ก็คงจะเคยได้ยินสำเนียงเสียงลักษณะดังกล่าวจากทางสื่อต่างๆ (ทีวี วิทยุ ประกาศ ประชาสัมพันธ์) แม้กระทั่งจากครูบาอาจารย์จนเป็นปรกติแล้ว   แล้วจะมิทำให้ภาษาหลัก(ไทย) ภาษารอง(อังกฤษ...) ที่จะต้องใช้ในชีวิตและในสังคมจะมิปรับเปลี่ยนไปกระนั้นหรือ ?     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 12 ก.พ. 17, 18:17

ทั้งหมดที่กล่าวถึงเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมภายนอกที่จะต้องค่อยๆปรับเข้าหากัน

ดูจากอีกมุมหนึ่ง เมื่อไทยเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในเกือบจะทุกเรื่อง   ผู้คนที่เข้ามาท่องเที่ยว มาทำงาน เข้ามาสัมผัสหรือสัมพันธ์กับคนไทยเรื่องต่างๆ ต่างก็ย่อมอยากจะทำตัวให้กลมกลืนไปกับสังคมที่ตนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการเรียนรู้จากคนท้องถิ่น  สิ่งที่จะได้เรียนรู้ก็คือภาษาไทยแบบสังคมยุคใหม่ ซึ่งผมคิดว่าคนรุ่นๆผมก็คงจะมีสภาพคล้ายๆกันคือ มีบ่อยครั้งมากที่ฟังออกแต่ไม่รู้เรื่อง จะต้องคิดแว๊ปหนึ่งจึงจะเข้าใจ  (ก็ซ้ำรอยกับสภาพเดิมสมัยพ่อแม่กับเรา)  ภาษาไทยที่ตัดให้สั้นลงเช่น วินาที เป็น วิ .. ก็ยังพอจะเดาออกได้ในทันใด  แต่หากเป็นภาษาอังกฤษที่นิยมใช้คละเคล้าอยู่ในประโยคคำพูด ออกเสียงอย่างรวบ(ครับ..รวบ)เร็ว ไม่เต็มคำ เน้นเสียงไปอีกแบบหนึ่ง สนุกเลยครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 12 ก.พ. 17, 19:19

คนต่างชาติเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานก็เรียนรู้  แล้วก็กลับไปสอนเพื่อนฝูงลูกหลานเพื่อจะได้เข้ามาหางานทำง่ายขึ้น   ภาษาสื่อสารที่เป็นลักษณะเดียวกันในวงกว้างก็เกิดขึ้น 

ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการใช้ภาษาของชาวบ้านรวมทั้งเด็กที่ได้ร่ำเรียนมาหรือที่กำลังเรียนอยู่ ซึ่งเป็นภาษาที่ตั้งอยู่บนความถูกต้องตามหลัก กับ ภาษาของกลุ่มผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าคนอยู่ในเมือง   

ครับ no right, no wrong    แต่ภาษาพูด (colloquial language) กำลังจะเบียดเข้ามาเป็นหลักแทนภาษาเขียน (written language)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 13 ก.พ. 17, 18:20

ผมได้มีโอกาสเล็กน้อยไปทำงานอยู่ในช่่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำลังเริ่มขยับในบางประเทศ     

ในประเทศแคนาดา ก็ในช่วงที่ผู้อพยพชาวเวียดนามและลาวกำลังผสมกลมกลืนกับคนเจ้าของประเทศในพื้นที่ทางฝั่งตะวันออก และชาวจีนจากฮ่องกงในพื้นที่ฝั่งตะวันตก   ในยุโรป ก็ในพื้นที่ตะเข็บระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกในช่วงเวลาที่ EU กำลังขยายเขต(สมาชิก) ก็เป็นช่วงเวลาที่กำลังมีการเคลื่อนไหลของผู้คนข้ามภูมิรัฐศาสตร์ไปมา   ในประเทศเราเองก็ในช่วงเวลาช่วงแรกๆที่ชาวไทยภูเขากำลังได้รับการเปลี่ยนบัตรประจำตัวจากสีฟ้าเป็นสีขาว

ก็เลยได้เห็นในบางสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในลักษณะ assimilation และ dissemination

ที่เล่ามานั้น ก็เพียงพยายามจะฉายภาพเล็กๆน้อยๆที่ได้สัมผัสมา ว่าจะพอจะมีเรื่องใดเกิดขึ้นบ้าง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 13 ก.พ. 17, 19:37

ส่งท้าย ก็อยากจะกล่าวว่า
   
   - แล้วในภาษากลางที่ใช้ในการสนทนาก็จะมีภาษาอื่นปนเข้ามา  ซึ่งเป็นเรื่องปรกติที่ในระหว่างที่กำลังพูดกันออกรส ก็ดันนึกคำไม่ออกหรือไม่รู้จักคำศัพท์ ก็จะใส่ภาษาของตนเข้าไปแทน  ฝ่ายผู้ฟังก็จะพยักหน้าเข้าใจ และก็มักจะเสนอคำของภาษากลางหรือคำของภาษาตัวให้     ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา   ผมได้ฟังการสนทนาแบบคละนี้บ่อยมาก
   
   - แล้วภาษาเขียนก็เข้าใกล้กับการเขียนเป็นแบบโน๊ตสั้นๆ  เป็นภาษาวลี มิใช่ภาษาเขียนตามปรกติ   การเขียนแบบถูกต้อง เป็นประโยคสละสลวย ก็อาจจะสื่อความหมายกับอีกฝ่ายหนึ่งไม่ตรงกันก็ได้ 

   - แล้วก็จะมีเรื่องของความหมายที่ลึกซึ้งของศัพท์ของภาษาหนึ่ง ที่ถูกแปลเป็นภาษากลาง(อังกฤษ)ในคำศัพ์หนึ่ง แล้วก็ถูกแปลมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งให้ความลึกซึ้งไม่เหมือนกัน เช่น  cute, pretty, beauty, gorgeous, elegance   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 07:52

ต่างชาติชมเด็กไทยที่ติดอยู่ในถ้ำว่าสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเยี่ยม  แต่ผู้ใหญ่ไทยไฉนสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษแบบนี้

Thank you very much for you help.

Robert Charles Harper (British cave-driver)

ตัว r แรก จากคำว่า driver ควรไปอยู่ท้ายคำว่า you คำที่สอง จะดูดีขึ้นเยอะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 10:34

คนลอกลงแผ่นป้าย ตก r ไปตัวหนึ่งจากคำว่า you
you help ไม่มี  มีแต่ your help
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 11:01

cave driver นักขับรถในถ้ำ ก็คงไม่มี มีแต่ cave diver นักดำน้ำในถ้ำ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 07 ก.ค. 18, 11:06

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 04 ต.ค. 18, 20:31

คำลงท้ายประโยคคำพูดว่า เนาะ ก็มีการใช้กันค่อนข้างจะแพร่หลายทั่วไปในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะกับคนในวิชาชีพแพทย์และอาจารย์  คำนี้ได้กลายเป็นคำต่อท้ายประโยคคำอธิบายหรือคำสอนต่างๆที่ทำด้วยความเมตตาเอ็นดู  

คำนี้มีการใช้อยู่แล้วในภาษาพูดของภาคต่างๆ  (ไม่รู้ว่ามีอยู่ในภาษาใต้หรือไม่ ?) เพียงแต่มีการออกเสียงต่างกันไปแยกกันชัดเจนเป็นถิ่นๆไป  นะ ก็มี    เน่อ ก็มี    น่อ ก็มี   เนาะ ก็มี   ในยุคที่สังคมภูมิภาคต่างๆเริ่มคละกันก็ดูเหมือนจะฮิตออกเสียงเป็น เนอะ   แต่ปัจจุบันนี้นิยมออกเสียงเป็น เนาะ  

เรื่อง เนอะ กับ เนาะ เป็นข่าวขึ้นมา ดาราใช้ เนอะ แต่แฟนคลับสับสนเพราะเข้าใจว่าใช้ เนาะได้อย่างเดียว

ถูกติงเรื่องใช้ภาษาไทยไม่ถูก ‘กบ สุวนันท์’ ถึงกับค้นข้อมูลมาแจง

กบ สุวนันท์ ลงภาพลูกสาว น้องณดา พร้อมแจ้งข่าวแฟน ๆว่า หลังจากลูกชายคือน้องณดล ไข้ลด ตัวเธอเองก็อาการดีขึ้น ณดากลับมีไข้สูงเสียอย่างนั้น อีกทั้งยังบอกทุกคนด้วยความเป็นห่วงว่าให้ดูแลสุขภาพให้ดี

ซึ่งก็มีผู้เข้ามาท้วงติงเรื่องภาษาที่เธอใช้ เกี่ยวกับคำว่า 'เนอะ' กับ 'เนาะ' จนเจ้าตัวต้องเข้ามาเขียนชี้แจง

https://www.matichon.co.th/entertainment/news_1161309



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง