เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 22901 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 01 ก.พ. 17, 18:34

ผมไม่ทราบว่า kaput กับ kaputt นั้น คำใหนเขียนถูก  เคยเห็นมีเขียนทั้งสองแบบเลยครับ

krank  ออกเสียงว่า ครางค์ ครับ    ก็ถูกต้องครับหากให้คนอเมริกันอ่านออกเสียงก็คงต้องเป็น แคร้งค์

และก็เช่นกัน หากจะให้คนอเมริกันออกเสียง kaputt ก็คงต้องเป็น คาพัตต์ ??   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 01 ก.พ. 17, 19:19

ทำให้นึกถึงการออกเสียงแบบอเมริกันสำหรับสระ i คือ ออกเสียงเป็น ไอ อยู่มากมาย อาทิ  ประเทศอิรัค (Iraq) ที่เราออกเสียงเช่นนั้น คนอเมริกันออกเสียงเป็น ไอรัค   วิตามิน (vitamin) ที่เราคุ้นเสียงกันก็เป็น ไวตามิน ...ฯลฯ   เราก็รับหมดทั้งการออกเสียงแบบอเมริกันและอังกฤษและอื่นๆอีกด้วย 

ก็น่าสนใจอยู่ว่า ในกระบวนการสอบของเราในการวัดความรู้ภาษาอังกฤษ เช่น การสอบคัดเลือก สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ สอบความถนัด หรือสอบทักษะการใช้ภาษานั้น   ผู้ทำการสอบจะใช้มาตรวัดความสามารถของผู้เข้าสอบบนพื้นฐานของภาษาอเมริกันหรืออังกฤษ หรือของภาษาอังกฤษแบบอื่นๆ (อาทิ แคนาดา ออสเตรเลีย)

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 01 ก.พ. 17, 21:06

ในภาษาอังกฤษก็มีภาษาอื่นๆแทรกเข้ามารวมอยู่ด้วยมากมาย  บ้างก็ยังคงการออกเสียงแบบภาษาเดิม เช่น ensemble,   entourage, restaurant ..ฯลฯ     หลายคำก็แล้วแต่จะออกเสียงกัน เช่น route (เร้าท์ หรือ รู๊ท)     บางคำเดียวกันก็ออกเสียงต่างกันและให้ความหมายต่างกัน เช่น present   บางคำก็ออกเสียงให้ต่างเพื่อเน้นไปในอีกความหมายหนึ่ง เช่น minute

       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 05 ก.พ. 17, 17:55

หายไปเชียงใหม่มาครับ  ไปด้วยรถทัวร์ กลับด้วยรถไฟ   เดินทางไปใหนมาใหนด้วยตนเองแบบนักท่องเที่ยว ก็ได้เห็นภาพที่น่าสนใจอะไรๆอยูไม่น้อยเลย

ดังที่ได้กล่าวมาโดยนัยแล้วว่า อุตสาหกรรมบริการกำลังก้าวย่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย  เมื่อได้ไปเห็นที่เชียงใหม่คราวนี้  ภาพก็เป็นดังที่เคยพบเห็นใน ตปท.มาเช่นนั้นเลย   ซึ่งก็คิดว่า ในพื้นที่ๆนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเที่ยวกันในภาคใต้ก็คงจะไม่ต่างกันไปมากนัก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 05 ก.พ. 17, 19:11

ก็คือ

มีนักท่องเที่ยวใช้พาหนะเดินทางสาธารณะค่อนข้างมากกว่าคนท้องถิ่นในช่วงเวลาของการทำงานวันในวันทำงานปกติ ซึ่งบ่งชี้อย่างแน่นอนว่า จะต้องมีอีก 2 เรื่องพ่วงพันที่นักท่องเที่ยวจะต้องใช้เงิน คือ เรื่องของที่พัก และ อาหาร

นักท่องเที่ยวดูรู้จักสถานที่และไปใหนมาใหนคล่องกว่าผมเสียอีก ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการสื่อสารกันกับฝ่ายผู้ให้บริการ (เจ้าหน้าที่ต่างๆ คนขับรถสองแถว พนักงานกวาดถนน ฯลฯ) ทั้งทางคำพูด ด้วยภาพ(แผนที่) ด้วยสำเนียงภาษาและการเรียกชื่อของสถานที่ฟังยากๆเอาเลยทีเดียว

คงจะพอเห็นภาพที่มาส่วนหนึ่งของภาษาในยุค AEC (เฉพาะที่เป็นอิทธิพลจากจากเรา คนไทย)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 05 ก.พ. 17, 20:18

ทีผมทึ่งอยู่ ก็คือ มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสอีกด้วย  ผมนั่งในโบกี้ที่มีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสมาเป็นกลุ่มประมาณ 10 คน  พนักงานของรถตู้สะเบียงเดินขายน้ำส้มคั้นบนรถไฟ ออกเสียงเพี้ยนไปหน่อย แต่ฝรั่งก็เข้าใจกัน   จู๊ส โอรอง (jus d'orange)  พอตื่นเช้าขึ้นมาก็ได้ยินเสียงพนักงานผู้หญิงอีกคนหนึ่งเดินขายกาแฟทักทายกลุ่มฝรั่งว่า บองจูร์ (Bon jour) สวัสดีตอนเช้า

ก็อาจจะแสดงด้วยว่า นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสนิยมเดินทางไป-กลับเชียงใหม่ด้วยรถไฟ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 06 ก.พ. 17, 20:24

ด้วยสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทำให้เมืองไทยมีลักษณะเป็น hub โดยธรรมชาติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันออกไกล คือเป็นจุดที่เป็นพื้นที่ๆเหมาะสมต่อการคละเคล้าทางมนุษย์วิทยา(Humanities)ต่างๆในองค์รวม  เห็นได้จากความหลากหลายในเกือบจะทุกเรื่องบนผืนแผ่นดินของไทยเรา    กลายเป็นมรดกตกทอดที่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆอย่างมาก  เมืองไทยก็เลยกลายเป็นแหล่งที่ชาวต่างชาตินิยมเข้ามาท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวก็มาจากหลากหลายประเทศ หลากหลายชาติพันธุ์ ภาษา สำเนียงการพูดและการเขียน   แล้วจะมิทำให้ชื่อสถานที่หนึ่งๆที่เราพยายามถอดเสียงเป็นภาษากลาง (อังกฤษ) ผิดเพี้ยนไปหรือไร ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 ก.พ. 17, 18:13

ด้วยหลักเกณฑ์และข้อกำหนดสำหรับการถอดอักขระและการถอดเสียงเป็นภาษาอังกฤษที่แตกต่างหันของแต่ละประเทศแต่ละภาษา ซึ่งแม้กระทั่งพลเมืองของตนเองก็ยังออกเสียงเรียกชื่อนั้นๆไม่ถูกหากว่าไม่เคยได้ยินหรือเคยไปมาก่อน แล้วคนต่างชาติอื่นๆจะไปออกเสียงได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร   

เราคงเคยได้พบเห็นภาพของชาวเมืองในบ้านเรายืนทำหน้าครุ่นคิดอยู่กับคนต่างชาติที่มาถามทาง  ตำรวจเองก็ยังเห็นเป็นงงอยู่เป็นประจำ

Isan หากอ่านออกเสียงเป็น ไอซาน ก็คงจะต้องใช้เวลานึกอยู่บ้างว่าหมายถึงอะไร
 
(จะว่าไปแล้วคำเขียนที่ถูกต้องคือคำใหนครับ?  อีสาน อีสาณ อิสาน หรือ อิสาณ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 07 ก.พ. 17, 18:50

อื่นๆก็มี อาทิ

สะกด khong อ่านออกเป็นเสียงได้ทั้ง ของ (อ.เชียงของ) หรือ โขง (แม่น้ำโขง, อ.โขงเจียม)

สะกด hat ต่างชาติออกเสียง แฮท (หมวก) เราใช้เป็น แฮด (อ.บ้านแฮด) หาด (อ.หาดใหญ่, สวนบวกหาด)

สะกด rat... ต่างชาติออกเสียง แรท (หนู) เราใช้เป็น ราช (Rat Buri, Ratchaburi) รัตน์ (อ.รัตนบุรี)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 07 ก.พ. 17, 19:19

ในภาษาจีน การถอดเสียงถอดอักขระใช้อักษร Q, X, D, ค่อนข้างมาก เราก็ออกเสียงไม่ถูก จะเป็นเสียง ฌ ช ซ ด ต ส ..บ้างเช่นใดก็ไม่รู้  ยิ่งเมื่อมีความเป็นเรื่องราวนานาชาติมากขึ้น อักษรและเสียงก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ กลายเป็นมีพวกอักษร s sh t...  ทำให้การอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ราชวงศ์ยุคต่างๆสับสนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว   (เช่น ยุค Song เราก็ออกเสียงทั้ง ซ่ง ซ้อง)  แน่นอนว่าจีนเองเขาก็ออกเสียงต่างกันตามแต่ละภาษาของเขาที่มีอยู่ 

ในภาษาเวียดนามก็มีคำ Nguyen ที่เราออกเสียงว่า เหงียน      ในภาษาพม่าก็มีคำว่า ...gyi   ...ฯลฯ เป็นอาทิ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 07 ก.พ. 17, 19:30

เมื่อโลกเปิด การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันสะดวกง่ายดาย   ก็คงจะนึกภาพออกนะครับว่า ต่างคนต่างก็อ่านชื่อต่างๆในอีกประเทศหนึ่งด้วยความรู้หรือความคุ้นเคยกับวิธีการใช้ภาษาอังกฤษแบบบ้านของตน   

ชื่อพื้นบ้านหนึ่งเดียวที่เรารู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี  ก็จึงเริ่มจะมีหลายชื่อ หลายสำเนียงเรียกขาน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 08 ก.พ. 17, 18:49

ภายในประเทศเราเองก็ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เมื่อการเดินทางไปมาหาสู่กันของผู้คนระหว่างภาคต่างๆเป็นไปได้ด้วยความสะดวกมากขึ้น   ภาษาถิ่นหลายๆคำก็เริ่มหายไปอย่างสิ้นเชิง เช่น

  คำว่า ตีกี่ (นาฬิกาตีกี่ทีแล้ว) ที่เป็นภาษาถิ่น ใช้กันในภาษาใต้ในการถามเวลา คำนี้ได้หายไปจนเกือบจะไม่ได้ยินอีกแล้วเพราะถูกทดแทนด้วยคำที่เป็นกลางๆที่สามารถสื่อสารกับผู้คนจำนวนมากจากภาคอื่นๆที่มาท่องเที่ยวหรือทำงานในพื้นที่
  คำว่า ข้าวหนุกงา คำเดิมที่เคยใช้ คนถิ่นเองก็ยังก็เปลี่ยนเป็น ข้าวคลุกงา (ข้าวเหนียวคลุกงา)
  คำว่า ปลาแดก ก็ถูกเรียกเป็น ปลาร้า ไปทั้งหมด แม้ว่ากรรมวิธีผลิตและส่วนผสมจะต่างกันก็ตาม

อิทธิพลของภาษาไทยภาคกลาง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 08 ก.พ. 17, 19:21

อิทธิพลจากภาษาอิสานก็มีเช่นกัน

คำว่า ภู ถูกนำไปใช้ในเกือบจะทุกพื้นที่ ยกเว้นทางภาคใต้    แทนคำว่า ดอย ที่ใช้กันในภาษาเหนือและภาษากลางตอนบนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาแล้ว  ตั้งชื่อใหม่กันจนคำว่า ดอย แทบจะหายไปหมด ยกเว้นก็เฉพาะดอยที่มีชื่อเรียกขานมาแต่ดั้งเดิม   

ในภาคอิสานมีดอยที่ชื่อ ภูบ่เอิ้น เยอะแยะไปหมด ซึ่งก็คือดอยที่ไม่มีชื่อเรียกนั่นเอง

คำว่า ภู นี้เป็นที่นิยมมากที่จะเอาไปตั้งเป็นชื่อเรียกสถานที่ต่างๆที่ยังไม่มีชื่อเรียกขาน    สถานที่ใดที่เป็นเนินพอจะเห็นเด่นออกมา ก็จะตั้งชื่อเรียกว่า ภู... ทั้งนั้น   แต่ที่แย่มากๆก็คือ มีพื้นที่อยู่ไม่น้อยที่เป็นซับน้ำ ซึ่งมักจะพบอยู่ในพื้นที่ๆเป็นเขาหินปูน แต่เดิมก็เรียกชื่อกันว่า พุ...  ถูกตั้งชื่อกันใหม่อย่างเป็นทางการ (ราชการ) เลยว่า ภู... (พื้นที่พวกนี้อยู่ในพื้นที่ป่าเขา)

ในภาษาใต้ ก็ดูจะมีแต่คำว่า เขา   ไม่มีคำว่า ภู นำหน้า ไม่ว่าจะใหญ่หรือสูงชันเพียงใดก็ตาม เช่น เขาสก หรือ เล็กๆ เช่น เขาทะลุ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 08 ก.พ. 17, 19:38

ก็พอจะเห็นภาพอยู่บ้างว่า ด้วยเหตุใด คำว่า ภู... จึงกลายเป็นชื่อนิยมของสถานที่จำนวนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก (รวมทั้งภาคเหนือตอนล่าง)  คลับคล้ายคลับคลาว่ายังปรากฏอยู่แถวตะเข็บชายแดนไทย-มาเลย์อีกด้วย

เมื่อครั้งก่อนและหลังคำสั่งที่ 66/23  ได้มีคนอิสานเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ที่อพยพถิ่นฐานไปอยู่ตามชายแดน โดยเฉพาะตั้งแต่แถว อ.แม่สอด จ.ตาก เรื่องลงๆไปจนถึง อ.สุคิรินทร์ จ.นราธิวาส    จึงทำให้ ภูบ่อเอิัน ทั้งหลายกลายเป็นมีชื่อกำกับด้วยคำว่า ภู นำหน้ากระจายอยู่ทั่วไปหมด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 09 ก.พ. 17, 18:05

คำลงท้ายประโยคคำพูดว่า เนาะ ก็มีการใช้กันค่อนข้างจะแพร่หลายทั่วไปในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะกับคนในวิชาชีพแพทย์และอาจารย์  คำนี้ได้กลายเป็นคำต่อท้ายประโยคคำอธิบายหรือคำสอนต่างๆที่ทำด้วยความเมตตาเอ็นดู   

คำนี้มีการใช้อยู่แล้วในภาษาพูดของภาคต่างๆ  (ไม่รู้ว่ามีอยู่ในภาษาใต้หรือไม่ ?) เพียงแต่มีการออกเสียงต่างกันไปแยกกันชัดเจนเป็นถิ่นๆไป  นะ ก็มี    เน่อ ก็มี    น่อ ก็มี   เนาะ ก็มี   ในยุคที่สังคมภูมิภาคต่างๆเริ่มคละกันก็ดูเหมือนจะฮิตออกเสียงเป็น เนอะ   แต่ปัจจุบันนี้นิยมออกเสียงเป็น เนาะ   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง