เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 22863 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 19:40

เช่น ฉันรู้สึกไม่สบาย หรือฉันป่วย...I am krank.     

krank เป็นภาษาเยอรมันที่สังคม UN ที่กรุงเวียนนานิยมใช้   ให้ความหมายในเรื่องของการเจ็บป่วยในองค์รวมตั้งแต่แรกรู้สึกจนกระทั้งไม่สบายจริงๆ      ดีกว่าการใช้คำว่า ill ที่จะต้องขยายความหรือต้องใช้ในลักษณะว่าเมื่อเกิดการป่วยแล้วจริงๆ

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 ม.ค. 17, 20:11

เช่น  kaput

ก็เป็นคำในภาษาเยอรมันอีกคำหนึ่งที่นิยมใช้กัน  หมายถึง เสียหาย ชำรุด   เป็นคำที่ใช้สื่อสารได้ดี ทุกคนจะเดาความหมายและเข้าใจได้อย่างง่ายๆ

com si com sa (ไม่ได้สะกดอย่างถูกต้องตามภาษาฝรั่งเศส) ก็เป็นวลีหนึ่งที่นิยมใช้กันในการตอบคำถามทักทาย    ซึ่งพูดออกมาทุกคนก็เกือบจะเข้าใจได้ในทันที ในความหมายว่า ก็งั้นๆ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 15:30

เป็นการเรียนรู้ภาษา ที่ทำให้รู้สึกสนุก บันเทิงใจมากครับ เพราะมันมองเห็นความหมายออกมาเป็นภาพฃัดเจน

อย่างคำว่า com si com sa ผมเคยได้ยินมานานแล้ว แต่นึกว่าเป็นแค่คำสร้อย ไม้ได้มีความหมายอะไร

ส่วนคำว่า krank ถ้าจะหมายถึง อาการครั่นเนื้อครั่นตัว พอได้ไหมครับ

kaput นั้น เป็นคำใหม่ถอดด้ามสำหรับผมเลย เคยใช้แต่ input/output

และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ ที่ทำให้ผมทราบว่า cosmopolitan ที่เป็นหัวหนังสือนั้น เป็นเช่นใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 16:18

เห็นคุณตั้งเขียนถึง com si com sa  คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส  สะกดว่าcomme ci comme ça ค่ะ
ทำให้นึกได้ว่า ภาษามียุคสมัยของมัน
แต่ดั้งเดิม  คำทักทายของฝรั่งเศส คือ comment allez-vous   แปลเป็นอังกฤษก็ตรงกับ How do you do  หรือ How are you   นักเรียนก็จะตอบ ว่า Très Bien,et vous? คือ very good, and you?
มาถึงยุคนี้  ไม่มีใครพูดเชยๆแบบนี้อีกแล้ว  เขาจะตอบว่า  comme ci comme ça   แปลเป็นไทยๆก็คือ "ก็เรื่อยๆ"  หรือ "ก็โอเคนะ"
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 18:52

คำทักทายในภาษาฝรั่งเศสนี้ หากเราพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ อย่าได้ใช้ทักทายกับคนที่มีถิ่นพำนักอยู่ในพื้นที่ๆพูดภาษาฝรั่งเศสเลยนะครับ หลังจากที่ได้รับคำตอบว่าสบายดีแล้วก็จะไม่มีโอกาสได้ยินภาษาอังกฤษอีก   แม้กระทั่งการจะใช้คำตอบต่อคำถามใดๆว่าใช่ (Oui ) ไม่ใช่ (Non) หรือ คำขอบคุณสั้นๆ (Merci) ก็ตาม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 19:30

นอกจากภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างบุคคลจะถูกหลอมรวม หรือถูกคัดเอาคำที่สื่อความหมายได้ดีมาใช้กันจนเป็นสากล (norm) แล้ว
ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการในการปฎิบัติงานก็มีการเลือกใช้คำที่มีความหมายลึกซึ้ง เช่น คำว่า inscribe ซึ่งตามปกติจะใช้ในความหมายว่า จารึก หรือ สลักไว้   แต่คำนี้ได้ใช้ในความหมายของการลงทะเบียนเพื่อที่จะขึ้นกล่าวถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการบนเวที
แทนที่จะใช้คำว่า register อย่างที่เราพึงคิด

มีคำอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ status quo (ยังไม่มีใครยอมใคร ยังอยู่กับที่ เรื่องยังไม่มีความก้าวหน้า)  inter alia (อาทิ  ...เป็นอาทิ) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 28 ม.ค. 17, 19:56

นั่นเป็นเรื่องของคำศัพท์และคำพูด

การสะกดคำก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาทิ program กับ  programme,  tire กับ tyre,  dike กับ dyke, colour กับ color
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 29 ม.ค. 17, 18:46

นึกศัพท์เฉพาะทางออกอีกคำหนึ่ง   คำว่า  clean slate

เราทราบความหมายของคำว่า clean ที่หมายถึง สะอาด เกลี้ยงเกลา และ slate ที่หมายถึงหินชนวน กระดานชนวน    เมื่อเอา 2 คำนี้มารวมกันก็น่าจะมีความหมายว่า กระดานชนวนที่สะอาด   แต่คำรวมกันนี้กลับไปใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งในเชิงของตัวผู้สมัครและคะแนนเสียง  ที่สื่อความหมายในลักษณะว่า นอนมา ไร้คู่แข่ง หรือแบเบอร์

ที่จริงแล้ว คำว่า slate นั้น มีความหมายนอกเหนือไปจากหินชนวนหรือกระดานชนวน  คือหมายถึงคนที่ลงสมัครแข่งขันในการคัดเลือกใดๆอีกด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 29 ม.ค. 17, 20:09

มาถึงเรื่องของการสะกดคำที่ต่างกันที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้

programme เป็นการสะกดคำแบบอังกฤษ   ส่วน program นั้นสะกดแบบอเมริกัน  จะสะกดอย่างไรก็ตามก็มีความหมายอย่างที่เราเข้าใจกัน   กระนั้นก็ตามมันก็มีความต่างในการใช้คำทั้งสองคำนี้อยู่ไม่น้อย       

ในระบบของ UN ทั้งหลายนั้น ใช้คำว่า programme และใช้ในเรื่องของปฏิบัติการที่เป็นความเห็นร่วมของนานาชาติ (เป็นระดับนโยบายหลัก_ governing policy)  ส่วน program นั้นจะใช้กับเรื่องของคอมพิวเตอร์ และใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ในระหว่างทำการเจรจาหารือกันในเรื่องของโครงการหรือปฏิบัติการต่างๆ (ก่อนที่จะนำเสนอให้เป็นความตกลงร่วมในคำว่า project)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 ม.ค. 17, 18:39

tyre กับ tire ในความหมายที่หมายถึงยางล้อรถ  อังกฤษจะสะกดว่า tyre  ส่วนอเมริกันจะสะกดว่า tire

อังกฤษใช้คำว่า tire ในความหมายของการ เบื่อหน่าย    ซึ่งในความหมายทำนองนี้ อเมริกันจะมี d ต่อท้าย กลายเป็น tired และหมายถึง เหนื่อย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 ม.ค. 17, 19:15

ดังตัวอย่างที่กล่าวมา  เนื่องจากการสะกดคำที่ต่างกันและก็ยังมีความหมายที่ต่างกัน(อยู่บ้าง)ในภาษาอังกฤษที่ผู้คนจะใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารกันในสังคมคละความหลากหลาย  แต่ในการเรียนภาษาอังกฤษของแต่ละประเทศแต่ละโรงเรียนนั้น ย่อมต้องมีการสอนภาษาอังกฤษทั้งแบบอเมริกันและแบบอังกฤษ ขึ้นอยู่กับครูผู้สอน   ก็เลยเห็นภาพว่า จะไปบอกว่าคนใหนเขียนถูกต้อง ใช้ถูกต้อง ออกเสียงถูกต้อง ฯลฯ ก็คงจะไม่ได้นัก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 ม.ค. 17, 19:37

ในสังคมคละความหลากหลายที่ผมพอจะได้มีโอกาสสัมผัสอยู่บ้างนั้น นอกจากภาษาสื่อสารที่ใช้กันที่พอจะแบ่งออกได้เป็นแบบอังกฤษและอเมริกันแล้ว ก็ยังมีภาษาอังกฤษแบบต่างคนต่างถนัดเข้ามาปนอยู่อีกด้วย (แบบที่นิยมใช้กันในหมู่ของพวกตน)   รูปร่างหน้าตาของภาษาที่คละกันดังกล่าวนี้ พอจะเห็นได้ดีจากเอกสารประกอบการประชุมนานาชาติที่จัดโดยองค์กรนานาขาติต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 ม.ค. 17, 19:29

เมื่อแรกเริ่มรับหน้าที่เข้าไปรับผิดชอบ เมื่ออ่านเอกสารเตรียมการประชุมแล้ว ก็งงๆอยู่สักพัก ก็เข้าใจเรื่องราวอยู่ แต่ทำไมลักษณะการใช้ภาษาจึงไม่เป็นอย่างที่เราคิดว่าควรจะเป็น คือ เป็นทั้งแบบอเมริกันหรือแบบอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง

หากจะชี้ให้เห็นความต่างของลักษณะของการใช้ภาษาทั้งสองแบบนี้ ก็คงจะต้องขอให้ลองไปพลิกอ่านตำรา (Text book) ในสาขาวิชาที่เราเรียน ว่าตำราของวิชาเดียวกันที่เขียน(และพิมพ์)โดย ศ.คนอังกฤษ กับ โดย ศ.คนอเมริกัน นั้น ต่างกันอย่างไร อ่านง่ายหรืออ่านยาก เข้าใจได้ง่ายหรือเข้าใจได้ยาก ต่างกันเช่นใด     หรือก็อาจจะพอเปรียบเทียบได้จากลักษณะของเรื่องราวและการสนทนาในภาพยนต์ที่สร้างโดยอังกฤษกับโดยอเมริกา

ครับ...ต่างก็ใช้หลักการใช้ภาษาที่ดีเหมือนกัน..SVOPT (Subject Verb Object Place Time) แต่ต่างกัน     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 31 ม.ค. 17, 20:23

จากที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์ด้วยภาษาที่ถูกต้องแบบเป๊ะหลายสิบหน้ากระดาษ ให้ข้อมูลและเรื่องราวของการทดลองที่ถูกต้องและมีความชัดเจน ทำให้พอจะรู้ว่าภาษาอังกฤษที่ดีนั้นมีลักษณะเป็นเช่นใด   

แต่พอทำงานในวงกว้างมากขึ้น ภาษาอังกฤษของเราที่ว่าพอได้อยู่นั้นก็ค่อยๆแย่ลงๆ นอกจากจะแย่ลงเพราะใช้น้อย พูดน้อย เขียนน้อยลงไปแล้ว ก็ยังเป็นเพราะว่าในภาคปฎิบัตินั้นมันเป็นอีกเรื่องนึงเลยทีเดียว จะเป็นเช่นใดก็ได้เพียงขอให้รู้เรื่องและเข้าใจตรงกัน  แต่จะเข้าใจแบบถ่องแท้หรือไม่นั้นก็อีกเรื่องนึง (ต่างก็ขอแอบแฝงการได้เปรียบไว้ด้วย)      ผมเคยอยู่ในเหตุการณ์ ศัพท์คำเดียวเถียงกันข้ามวันข้ามคืนระหว่างเจ้าของภาษากับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งฝ่ายเจ้าของภาษายอมแพ้ครับ   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 31 ม.ค. 17, 23:32

ขอบคุณครับคุณ naitang อ่านสนุกมากครับ

คำ kaput ถ้าเขียนอย่างเยอรมันจะว่า kaputt ครับ คำนี้เข้าใจว่าใช้แพร่หลายในหลายวงการที่เป็นสังคมนานาชาติครับ

ผมอยากทราบว่าการใช้ I am krank. จะออกเสียง krank ว่า ครางค์แบบเยอรมัน หรือว่าเป็นแครงค์แบบอเมริกันนิยมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง