|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 121 เมื่อ 12 พ.ย. 18, 18:43
|
|
เป็นงงดีครับ กระทู้ก่อนหน้านั้นสะกด อีเมล์ ต่อมาก็ว่า อีเมล (ไม่มีการันต์) เข้าใจว่าทั้ง 2 กระทู้นั้นต่างก็อ้างจากท่านรอยอิน
คำว่า รถเมล์ เรือเมล์ เครื่องเมล์หรือเที่ยวเมล์ (เครื่องบิน) ทั้งสามคำนี้มีความหมายที่ผู้คนมีความเข้าใจไปในอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างไปจากความหมายที่ได้บัญญัติคำขึ้นมา แต่เดิมเป็นการใช้ในเรื่องของการไปรษณีย์และการรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ที่ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นกิจกรรมประจำตามวันและเวลาต่างๆ แต่ผู้คนได้นำลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำเช่นนี้ไปใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับระบบการเดินทางที่มีกำหนดการ (เป็นเรื่องที่มีพื้นฐานเกี่ยวข้องกัน) ในปัจจุบันนี้ เรือเมล์และเครื่องเมล์(หรือเที่ยวเมล์) ไม่มีแล้ว (เรือเมล์อาจจะยังคงเหลืออยู่บ้างในทะเลสาบสงขลา ?) ถ้าต้องมีการเปลี่ยนการสะกดให้เป็นการออกเสียงใกล้เสียง mail ดังที่คุณเพ็ญชมพูว่า ก็คงจะรู้สึกกระดากปากอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวที่จะอกเสียงตามการสะกดคำนั้นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 122 เมื่อ 12 พ.ย. 18, 20:11
|
|
สำหรับที่ อ.เทาชมพู ถามเรื่องเกี่ยวกับการออกเสียงตัว h ว่า เคยเห็นมีที่ใหนบ้างที่เขาออกเสียงเป็น เฮช นั้น เท่าที่ผมเคยเดินทางไป ตปท.หลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ ในช่วงระหว่างประมาณปี พ.ศ. 2525-2540 จำได้ว่าไม่เคยได้ยินการออกเสียงว่า เฮช เลย แต่กลับได้ยินการออกเสียงเช่นนี้แบบหนาหูมากขึ้นในไทยเอง ซึ่งคิดว่าคงจะเป็นในประมาณช่วง พ.ศ.2535+/- ซึ่งเป็นช่วงที่ดูจะมีทุนการศึกษามาก ทั้งด้านฝึกอบรม ดูงาน เรียนระยะสั้น และการศึกษาในระดับ ป.โท/ป.เอก ซึ่งก็ดูจะมีเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ออสเตรเลีย อังกฤษ และสวีเดนนิดหน่อย
ในช่วงนี้เองก็ได้ยินการออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่ไม่คุ้นหูอยู่หลายคำ เช่น mineral ที่เขาออกเสียงว่า ไมเนอราล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 123 เมื่อ 13 พ.ย. 18, 18:41
|
|
ก็มีอีกคำหนึ่งที่นึกได้ว่ามีการออกเสียงที่แปลกไปจากที่เราคุ้นๆกัน คำว่า idea ที่เราออกเสียงคุ้นหูว่า ไอเดีย แต่มีฝรั่งเนเธอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญนายหนึ่งออกเสียงว่า ไอดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 124 เมื่อ 13 พ.ย. 18, 19:16
|
|
ดิฉันไม่เชื่อว่า นักเรียนไทยที่ออกเสียง เฮช เป็นผลจากการออกเสียงแบบไอริช ประเทศเรามีครูกี่คนกันที่จบจากไอร์แลนด์ .....
ผมเคยไปดูเรื่องการใช้ประโยชน์ของระบบ GIS (Geographical Information System) ในแง่มุมต่างๆ ที่ประเทศไอร์แลนด์ อยู่ที่นั่นประมาณ 7 วัน (ในยุคแรกๆที่กรมฯกำลังเริ่มพัฒนาระบบ GIS ที่ต่อมาได้นำไปสู่ใช้กันทั่วไปทั้งในราชการและภาคเอกชน โดยเฉพาะในด้านที่เรื่อง DTM (Digital Terrain Map) + GPS (Global Positioning System) + Navigation System) จำได้ว่าไม่เคยได้ยินการออกเสียงอักษรตัว h เอช เป็น เฮช ทั้งในเขตเมืองหลวง Dublin และตามเมืองเล็กแถบชายทะเล สำหรับในด้านรูปแบบของการใช้ภาษาและสำนวนนั้นเข้าใจได้ไม่ยาก มีแต่สำเนียงที่ทำให้ฟังออกได้ยากหน่อยเพราะไม่คุ้นหู ก็มีที่ฟังแล้วเข้าใจกันไปคนละเรื่องเลยทีเดียว จำได้แม่นเลยคือ การออกเสียงคำว่า Tourist day กับคำว่า Thursday
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 125 เมื่อ 13 พ.ย. 18, 20:11
|
|
คลับคล้ายคลับคลาว่า h ที่ออกเสียงว่า เฮช นั้น จะได้ยินในกลุ่มคนผิวสีอัฟริกา เสียงที่หูของผมได้ยินจากการพูดของผู้คนเหล่านั้นดูจะบ่งว่าเปล่งเสียงออกมาจากพื้นที่ส่วนต่อของบริเวณโคนลิ้นกับโพรงจมูกส่วนใน (Nasopharynx) ซึ่งเป็นผลทำให้การออกเสียงเพี้ยนไป จะผิดจะถูกเช่นใดก็ไม่รู้นะครับ เป็นความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีหลักทางวิชาการอ้างอิงใดๆเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 126 เมื่อ 14 พ.ย. 18, 19:16
|
|
เมื่อวิทยาการของโลกมีความก้าวหน้ามากขึ้น ศัพท์ทางเทคนิคก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ก็มีทั้งการใช้คำเดิมที่ใช้กันในภาษาตามปกติแต่เพิ่มความหมายหรือให้คำนิยามใหม่ เช่น protocol, stable, unstable, virus, trojan, .... มีแบบเป็นคำศัพย์ย่อเพื่อใช้เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลทั้งทางบวกและลบของการสร้างสรรทางเทคโนโลยี เช่น RADAR, LASER, SNAFU ... มีแบบที่เป็นชื่อเฉพาะของบางสิ่งบางอย่าง เช่น Turquoise, Coelacanth, Whiskey, Schnapps ...
คำดังตัวอย่างเหล่านี้ หากจะบัญญัติให้เป็นคำศัพท์ภาษาไทยก็คงไม่ง่ายนักยาก หลายคำดูจะเป็นได้เพียงคำบัญัติจำเพาะในลักษณะของการแปลความ เช่น ศิลาวรรณา (Petrography) ซึ่งหากใช้คำที่แปลกออกไปมากๆ คำที่บัญญัติออกมาก็จะต้องมีการแปลไทยเป็นไทยอีก เช่น ชะวากทะเล (Estuary) กุมภลักษณ์ (Potholes) รงคเลขผิวบาง (Thin layer Chromatography)
คำดังตัวอย่างเหล่านี้ ก็อีกเช่นกัน ยากที่จะเขียนทัพศัพท์เป็นภาษาไทยตามกฎและให้ออกเสียงได้ใกล้เคียง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 127 เมื่อ 14 พ.ย. 18, 19:39
|
|
คงจะไม่เป็นการคิดมากฟั่นเฟือนจนเกินไป  ย้อนกลับไปที่เรื่องที่ว่ามีฝรั่งต่างชาติเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเยอะแยะไปหมด ก็มีอยู่สองสามเรื่องที่พอจะเห็นภาพ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกเสียงคำต่างๆเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับการสะกดคำอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งเหมือนและไม่เหมือนกับที่ปรากฎอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตสภาและในพจนานุกรมแปลคำศัพท์อังกฤษเป็นไทย ซึ่งอาจจะทำให้คนไทยไกลปืนเที่ยงเป็นงงกันได้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ยกมาเป็นตัวอย่างเช่น วิตามิน / ไวตามิน อิรัก / ไอรัค เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 128 เมื่อ 15 พ.ย. 18, 11:16
|
|
คำง่ายๆที่อเมริกันและอังกฤษออกเสียงต่างกัน ก็คือ either neither อเมริกันออกเสียง อี อังกฤษออกเสียง ไอ ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 129 เมื่อ 15 พ.ย. 18, 14:52
|
|
ผมเห็นมุขฝรั่งมุขหนึ่ง
ในสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารออสเตรเลีย เดินทางมาร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งในกองพลนั้น มีผู้บัญชาการเป็นคนอเมริกัน ผู้บัญชาการก็ถามทหารนายหนึ่งว่า ผบ. : ดู ยู คัม ทู ดาย (Do You come to Die?) เอ็งมาที่นี่เพื่อจะมาตายเรอะ พลทหารออสเตรเลียตอบว่า พลฯ : โน เซอร์ ไอ คัม เฮีย เยสเตอดาย (No Sir I come here yesterday) มิได้ครับท่าน ผมมาที่นี่ตั้งแต่เมื่อวานครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 130 เมื่อ 15 พ.ย. 18, 15:58
|
|
ค่ะ สะดุดหูเมื่อได้ยินครั้งแรก เสียง เอ ในภาษาอังกฤษ ออสเตรเลียออกเป็น อาย ถ้าไม่คุ้นจะงงมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 131 เมื่อ 15 พ.ย. 18, 18:45
|
|
ทำให้นึกถึงเรื่องหนึ่งที่ Australia ที่เกือบจะทำให้จะลงไปใต้กลับกลายเป็นจะไปทางเหนือ ก็ครั้งหนึ่งไปเมือง Perth แล้วจะต่อไปเมืองหลวง Canberra ฝรั่งอเมริกันสำเนียง Pittsburgh รัฐ Pennsylvania ติดต่อเรื่องตั๋วเครื่องบินจะไปยังเมืองหลวง Canberra เมื่อได้รับใบยืนยันการจองก็ทำให้งงกันไปเลย กลายเป็นว่าจะไปเมือง Cairns กัน ก็งงอยู่นะครับว่า การออกเสียงชื่อเมือง Cairns กับ Canberra นั้น สำเนียงฝรั่งออสเตรเลียกับสำเนียงฝรั่งอเมริกันนั้น มันใกล้กันหรือห่างกันเช่นใด ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 132 เมื่อ 15 พ.ย. 18, 19:33
|
|
ตัว I ที่ออกเสียง อิ หรือ ไอ นี้ ทำให้เกิดการออกเสียงที่คำที่ไม่เหมือนกันมากมาย เช่น mobile (โมบิล กับ โมไบล์) advertisement (แอดเวอทิสเม็นท์ กับ แอดเวอไท้ซเม็นท์) Semi (เซมิ กับ เซไม) anti (แอนตี้ กับ แอนไท) .... ก็แน่นอนว่าจะต้องเลือกเอาว่าออก แบบใหน ซึ่งมันก็ไม่มีกติกาตายตัวว่าหากเป็นอเมริกันหรืออังกฤษแล้วจะต้องออกเสียงเป็น อิ หรือ ไอ ต่างก็มีข้อยกเว้นของมันอีกเช่นกัน
ก็ไม่มีความรู้ว่า การออกเสียงคำตามท่านรอยอินหรือตามพจจนานุกรมคำแปลศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นไทยฉบับใดๆ ได้ยึดการออกเสียงแบบอเมริกันหรือแบบอังกฤษ หรือแบบใหนๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 133 เมื่อ 16 พ.ย. 18, 09:39
|
|
ตัว I ที่ออกเสียง อิ หรือ ไอ นี้ ทำให้เกิดการออกเสียงที่คำที่ไม่เหมือนกันมากมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 134 เมื่อ 16 พ.ย. 18, 10:30
|
|
anti-war อเมริกันออกเสียงว่า แอนทาย วอ ส่วนอังกฤษออกเสียงว่า อันตี้ วอ แต่พอถึงคำว่า either neither อเมริกันออกเสียง อี ไม่ยักใช่ ไอ อย่างอังกฤษ อะไรถูก อะไรผิดกันแน่
a ออกเสียง อา ในอังกฤษ เมื่อมาถึงอเมริกา กลายเป็น แอ นอกจากนี้การออกเสียงคำระหว่างด้านตะวันออกและตะวันตกของอเมริกาก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|