เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 23013 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 07 พ.ย. 18, 18:39

ปุจฉาดังที่กล่าวมาเช่นนี้  คิดว่าคงจะไม่ทำให้ผู้ทรงความรู้ท่านใดเกิดความรำคาญและมีความรู้สึกในทาง -ve นะครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 08 พ.ย. 18, 10:21

ไม่ค่ะ เชิญเล่าต่อได้เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 08 พ.ย. 18, 18:23

ย้อนกลับไปต่อเรื่องที่ว่าเราใช้ภาษาไทยภาคกลางในการสอนหนังสือในสถานศึกษาทั่วประเทศ แล้วก็เน้น(แบบกลายๆ)อีกด้วยว่า ภาษาไทยที่ถูกต้องก็คือภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ   ภาษาไทยอื่นๆนั้นเป็นภาษาที่ใช้กันในแต่ละภูมิภาค (ภาษาเหนือ ภาษาใต้ ภาษาอิสาน และสำเนียงตามท้องถิ่นต่างๆ)    สำหรับภาษาไทยภาคกลางนั้น แม้จะมีสำเนียงแบบภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ตอนบน ก็ยังต้องพยายามที่จะเปลี่ยนให้เป็นสำเนียงกรุงเทพฯ   

ก็ดูจะมีอะไรแปลกอยู่บ้างที่สำเนียงของภาษาไทยในภาคกลางดูจะมีความใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะเสียงที่เราเรียกว่าเหน่อและการออกเสียงของคำต่างๆที่ดูจะสั้นกว่าสำเนียงกรุงเทพฯ  แต่เราใช้การออกเสียงและสำเนียงกรุงเทพฯเป็นมาตรฐานของภาษาไทย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 08 พ.ย. 18, 19:26

ด้วยอิทธิพลของการใช้ภาษาในการสอนในพื้นที่ห่างไกล และโดยที่ผู้คนเหล่านั้นมีความจำเป็นต้องติดต่อกับผู้คนจากส่วนกลาง (นักท่องเที่ยว) ทำงาน รับจ้าง รวมทั้งค้าขายหรือขายของเล็กน้อยๆ  ภาษาถิ่นก็เริ่มไม่ค่อยได้ใช้กัน ปรับเปลี่ยนไปใช้ภาษาไทยภาคกลางแทน  เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ภาษาถิ่นยังคงอยู่ค่อนข้างจะครบ รวมทั้งสำนวนและสำเนียง ซึ่งมีพอที่จะเดาได้ว่าใครผู้นั้นอยุ่ในจังหวัดใด ในบางกรณีก็ลงลึกได้ถึงกระทั่งพื้นที่  เมื่อประมาณสัก 30 ปีที่ผ่านมา ก็ยังพอจะเดาได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ในปัจจุบันนี้ส่วนมากจะบอกได้เพียงในระดับภูมิภาคและด้วยสำเนียงที่ยังคงติดค้างอยู่เท่านั้น

เช่น สับปะรด ที่คนในภาคเหนือเรียกว่า บะขะนัด   ภาคอิสานว่า บักนัด   ภาคใต้ เรียกว่า ย่านัด นุ้น เกือบจะไม่ได้ยินเด็กรุ่นใหม่ใช้กันเลย    ปลาช่อน มาแทนที่ ปลาหลิม (เหนือ) ปลาค้อ (อิสาน)    ชะอม มาแทนที่ผักหละ (เหนือ) ผักขา(อิสาน)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 09 พ.ย. 18, 20:05

เมื่อครั้งอยู่ในช่วงเวลาของความขัดแย้งกันในเรื่องของความคิดทางสังคมและการปกครอง เรามุ่งเน้นการศึกษาในะดับพื้นฐานไปในเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่อยู่ในสิ่งพิมพ์ทั้งหลายได้ (เน้นไปในทางเชิงปริมาณ) และเริ่มจะไม่เน้นเรื่องราวรวมทั้งเริ่มละทิ้งเนื้อหาของเรื่องที่เป็นสาระที่เกี่ยวกับความเป็นไทย ทั้งในเชิงกายภาพ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ (ไม่เน้นไปในเชิงคุณภาพ)    เรื่องในตรรกะนี้ดูจะดำเนินการต่อเนื่องมาจนในปัจจุบัน ก็เลยดูจะไม่แปลกนักที่คนไทยจำนวนค่อนข้างจะมากรู้จักประเทศของตนเองน้อยกว่าฝรั่งนักท่องเที่ยวต่างชาติ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 09 พ.ย. 18, 20:35

พอยุค IT ต่างๆทะยอยเข้ามา  สาระทั้งหลายก็ไปอยู่ในคอมพิวเตอร์และเครื่องโทรศัพท์ทั้งหลาย หาอ่านได้อย่างสะดวกใจ จะเอาแบบย่อแบบยาว แบบเวอร์ แบบใส่ไข่ แบบใหนๆก็ได้ทั้งนั้น ทั้งจากผู้รู้ลึก รู้จริง และผู้ที่คิดว่าตนเองรู้มากพอ  ข้อมูลและความรู้ที่ขัดแย้งกันก็จะมีมากขึ้น ซึ่งพ่วงมาด้วยสำนวน คำศัพท์ การสะดคำ และการใช้ภาษาไทยแบบที่ไม่ใช่มาตรฐานของภาษาเขียน หรือภาษาพูด

ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนค่อนข้างมากเลยทีเดียว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 10 พ.ย. 18, 18:23

มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการใช้คำภาษาอังกฤษปนเข้ามาในการสื่อสารระหว่างู้คนทั่วไปกันมากขึ้นมาก มากจนกลายเป็นความเคยชิน แล้วก็ดูจะมากขึ้นเรื่อยๆ    แต่เดิมนั้นก็ดูค่อนข้างจะจำกัดอยู่แต่เฉพาะในวงของการสนทนาทางวิชาการ ด้วยเพราะว่ามันเป็นคำที่มีความหมายเฉพาะในทางเทคนิค จะเป็นด้วยยังไม่มีการบัญญัติศัพท์เป็นคำไทยโดยเฉพาะ หรือไม่ก็มีการบัญญัติแล้วแต่ยังต้องแปลเป็นไทยต่อไปอีกหน่อย หรือไม่ก็ยากหรือไม่คุ้นเคยในการนำมาเรียบเรียงให้ถูกตำแหน่งในประโยคในอันที่จะทำให้ผู้อื่นได้เข้าใจและเห็นพ้องไปตามเรื่องราวที่ต้องการ

เดี๋ยวนี้ผู้คนทุกระดับความรู้จัก เข้าใจ และใช้คำภาษาอังกฤษหลายๆคำ ใช้กันแบบติดปากแบบนึกคำแปลเป็นภาษาไทยเกือบไม่ออก  คำเหล่านี้ก็มีอาทิ  case ที่ออกเสียกันว่า เคด    clear ที่ออกเสียงกันว่า เคีย     cream ที่ออกเสียงว่า คีม    cheese ออกเสียงว่า ชี๊ด    slip (ฝาก-ถอนเงิน)   เช็คบิน .....           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 10 พ.ย. 18, 19:16

คำดังที่ยกตัวอย่างมานั้น ได้กลายเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ซึ่งคงจะยากแล้วที่จะไปแก้ให้ออกเสียงให้ถูกต้องแบบฝรั่ง  ก็คิดว่าการออกเสียงต่างๆนั้นมันต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กเล็ก  ญี่ปุ่นเองได้ทำการวิจัยและได้พบว่าเด็กเริ่มเรียนรู้การออกเสียงตั้งแต่อยู่ในท้องแม่โน่น ซึ่งหลายเสียงใด้ถูกบันทึกใว้ในสมองแบบถาวรในระหว่างนั้น   ทั้งนี้ การแก้ไขหลายอย่างยังทำได้ในช่วงอายุก่อน 8 ขวบ (เท่าที่ผมจับความได้จากที่ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายครั้งหนึ่งที่ญี่ปุ่น หากไม่ถูกต้องก็ขอความกรุณาท่านที่รู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ) 

การออกเสียงคำภาษาอื่นที่เราเอามาใช้ปนเปอยู่ในภาษาของเรานี้ ที่เราออกเสียงไม่เหมือนเขานั้น นานๆเข้ามันก็กลายเป็นปกติ เช่น คัดซีรถ (chassis)  ไอติม (ice cream)  ฟุตปาธ (footpath)  มู่เล่ (ย์ ?) (pulley) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 10 พ.ย. 18, 19:36

แล้วก็มีข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่ง คือ ภาษาจีนที่เรานำมาใช้ปนไทยกันในชีวิตประจำวันนั้น ในปัจจุบันหายไปเกือบหมดแล้ว  คิดว่าเริ่มสังเกตเห็นว่าหายไปก็เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว เช่น ในกรณีเรียกเก็บเงิน กรณีถามราคาของ ...   แต่เกิดกรณีกลับกัน ในกรณีการเรียกพ่อ แม่ และญาติ ซึ่งดูจะหันไปทางการใ้ภาษาจีนกันมากขึ้น   ท่านที่รู้ภาษาจีนคงจะให้ความเห็นในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีว่า เป็นภาษาจีนกลุ่มใหน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 11 พ.ย. 18, 18:27

เท่าที่พอจะมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษาจีนอยู่เล็กน้อย  ภาษาจีนที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในไทยดูจะเป็นการพูดแบบแต้จิ๋ว   ภาษาแบบฮกเกี้ยนจะพบอยู่มากในภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่ๆเคยมีการทำเหมืองแร่ดีบุก   ภาษาแบบไหหลำมีใช้ไม่มากนัก ดูจะพบตามพื้นที่ชายทะเลที่ทำการประมง  ภาษาแบบแคะก็มีใช้ไม่มากนักเช่นกันและดูจะใช้กันมากทางภาคลางด้านตะวันตกและในพื้นที่ๆมีการทำเหมืองแร่อื่นๆนอกเหนือไปจากแร่ดีบุก  สำหรับกวางตุ้งนั้นไม่มีความรู้ครับ    ภาษาจีนในภาคเหนือดูจะมีการใช้คละกันมากกว่าในพื้นที่อื่นๆ มีทั้งจีนแบบเก่าที่มากับพวกกองพล 93 และพวกไต้หวัน และก็มีจีนฮ่อด้วย

ในปัจจุบันนี้ เรามีการสอนภาษาจีนเบื่องต้นในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆโดยใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลัก    เท่าที่พอจะรู้อยู่บ้าง ตัวอักษรที่เขียนแบบจีนกลางจะต่างไปจากตัวอักษรที่เขียนแบบเก่า(ที่จีนไต้หวันใช้กัน) และการออกเสียงต่างๆที่เราเคยรู้และใช้กัน(เช่นการนับเลข)ก็ไม่เหมือนกับการออกเสียงแบบจีนกลาง    ก็คงจะไม่เกินกว่าช่วงเวลาต่อไปอีกสัก 10-15 ปีที่สำเนียงเสียงภาษาจีนที่เราคุ้นๆหูกันก็คงจะเปลี่ยนไปอย่างเกือบจะสิ้นเชิง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 พ.ย. 18, 18:49

เมื่อมองไปในอีกภาพหนึ่ง ในภาพของพื้นที่ๆมีคนต่างชาติเข้ามาพำนักทั้งในเชิงของนักท่องเที่ยว การพำนักแบบกึ่งถาวร หรือการพำนักแบบถาวร  ก็น่าจะพอได้เห็นการออกเสียง การสะกดคำ และการใช้คำในความหมาย(ภาษาอังกฤษ)ที่ถูกต้องของเขา แต่อาจจะผิดเพราะไม่เป็นไปตามที่อยู่ในตำราเรียนของเรา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 พ.ย. 18, 19:14

การออกเสียงคำภาษาอังกฤษ (รวมอเมริกันด้วยค่ะ) ที่ยากสำหรับคนไทยมี 2 คำ  คำแรกคือ H  ที่ครั้งหนึ่งออกเสียง เฮช กันทั่วประเทศ   ครูจำนวนมากก็ เฮช กัน  แล้วยังเถียงเสียอีกว่าถูกต้องแล้ว
ทำเอาคนที่เรียนมาตั้งแต่เด็กว่า H ออกเสียงว่า เอช  ต้องเที่ยวถามเพื่อนฝูงว่าเราเรียนมาผิดหรือเปล่า 
จนบัดนี้ดิฉันยังไม่ทราบเลยว่า คำนี้  ฝรั่งประเทศไหนออกเสียงว่า เฮช  คุณตั้งทราบไหมคะ

อีกคำคือ L  ที่ออกเสียงท้ายศัพท์    เนื่องจากภาษาไทยไม่มีตัวสะกดเสียง ล  มีแต่  ง น ม ย ว  และ ก ด บ 
คนไทยจำนวนมากก็เลยออกเสียง L เป็น ว   เช่น fill  เป็น ฟิว   El  (ชื่อคน) เป็น เอว   

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 พ.ย. 18, 20:06

เรื่องของ H

คำแรกคือ H  ที่ครั้งหนึ่งออกเสียง เฮช กันทั่วประเทศ   ครูจำนวนมากก็ เฮช กัน  แล้วยังเถียงเสียอีกว่าถูกต้องแล้ว
ทำเอาคนที่เรียนมาตั้งแต่เด็กว่า H ออกเสียงว่า เอช  ต้องเที่ยวถามเพื่อนฝูงว่าเราเรียนมาผิดหรือเปล่า  
จนบัดนี้ดิฉันยังไม่ทราบเลยว่า คำนี้  ฝรั่งประเทศไหนออกเสียงว่า เฮช  คุณตั้งทราบไหมคะ

ศาสตราจารย์ John C. Wells ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง การออกเสียงอักษร H ของคนอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ไว้ดังนี้

Ho, ho, ho
 
How do we pronounce the name of the letter H?

All dictionaries agree that it is eɪtʃ. Only LPD gives an alternative possibility, heɪtʃ, which it marks with the symbol § to show that it is not the RP form. I added the note The form heɪtʃ is standard in Irish English, but not BrE or AmE. This claim is possibly too sweeping, but on visits to Irish universities I had noticed Irish academics at all levels using this form. I was particularly struck by the expression piː heɪtʃ diː PhD.
 
At that time, twenty or thirty years ago, calling the letter heɪtʃ was perceived in England as simply wrong, a pronunciation likely to be used only by the illiterate and uneducated — the people who were prone to h-dropping and to hypercorrect h insertion.
 
But things seem to have changed. Nowadays many younger Londoners, at any rate, call the letter H heɪtʃ. I have taught undergraduates who would defend this as the correct pronunciation, perhaps on the grounds that the name of a consonant letter should contain an instance of the corresponding consonant sound.
 
So I included the question of aitch or haitch in the on-line survey of pronunciation preferences that I conducted earlier this year. Here are the findings.

The overall voting figures were 84% for the traditional form, 16% for the newcomer. As you can see from the graph, heɪtʃ is indeed an innovation that appears to be spreading rather fast. As many as 24% of those born since 1982 voted for it.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 พ.ย. 18, 20:59

  ดิฉันไม่เชื่อว่า นักเรียนไทยที่ออกเสียง เฮช  เป็นผลจากการออกเสียงแบบไอริช    ประเทศเรามีครูกี่คนกันที่จบจากไอร์แลนด์  หรือเป็นชาวไอริชมาสอนในไทย   คิดว่าเกิดจากความเข้าใจผิดมากกว่า  เพราะศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย H  ออกเสียงเป็น ฮ  ไม่ใช่ อ    ดังนั้น H ออกเสียงว่า เอช  แต่เวลาผสมเป็นคำแล้ว กลายเป็นเสียง ฮ  หมด ไม่ว่า he  horse home  ก็อาจทำให้เข้าใจไปว่า H คือเสียง เฮช
  พวกค็อกนีย์(หมายถึงคนที่มีการศึกษาน้อยในอังกฤษ อยู่ในลอนดอน  ตัวอย่างที่เห็นชัดคืออีไลซ่า ดูลิตเติ้ล นางเอกเรื่อง My Fair Lady ) เป็นกลุ่มชนที่ออกเสียง ฮ ในคำที่คนอื่นออกเสียง อ   เช่น honour  เขาออกเสียงว่า ฮอนเนอร์ แต่ถ้าเป็น humble  ที่คนอังกฤษทั่วไปออกเสียงว่า ฮัมเบิล  พวกนี้ออกเสียงว่า อัมเบิล คือเสียง h หายไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 12 พ.ย. 18, 09:47

เรื่องของ L

อีกคำคือ L  ที่ออกเสียงท้ายศัพท์    เนื่องจากภาษาไทยไม่มีตัวสะกดเสียง ล  มีแต่  ง น ม ย ว  และ ก ด บ  
คนไทยจำนวนมากก็เลยออกเสียง L เป็น ว   เช่น fill  เป็น ฟิว   El  (ชื่อคน) เป็น เอว  

ตัวอย่างอีกคำหนึ่งคือ mail แต่คำนี้บางทีก็ออกเสียงเป็น เมว บางทีก็เป็น เม

คำว่า blackmail แต่ก่อนใช้ว่า แบล็กเมล์ (อ่านว่า แบล็กเม) มาสมัยนี้ได้ยินตามสื่อต่าง ๆ อ่านว่า แบล็กเมว

ส่วนคำว่า e-mail ตามสื่อใช้ว่า อีเมล (อ่านว่าอีเมว) แต่ใน พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ให้ใช้ว่า "อีเมล์" (อ่านว่า อีเม)

หวังว่าในอนาคต คำว่า "รถเมล์" (อ่านว่า รดเม) คงไปถูกเปลี่ยนเป็น "รถเมล" (อ่านว่า รถเมว) ดอกหนา  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง