เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 22859 ภาษาสื่อสารในยุค AEC
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 08 ม.ค. 17, 19:37

ภาพของสังคมในจินตนาการบนฐานของความตกลงและความร่วมมือ AEC นั้น  นอกจากจะอยู่บนพื้นฐานของการเจรจาแบบ บวก ลบ คูณ หาร ประโยชน์อันพึงได้ทางทางเศรษฐกิจที่เป็นหลักแล้ว จินตนาการนี้ก็ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องของการไหลเทไปมาของความสัมพันธ์ทั้งในด้านของบุคคล สังคม และวัฒนธรรม

ปัจจุบันนี้ AEC ก็ได้เริ่มต้นขึ้นมาแล้ว พัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมในเชิงขององค์กรที่ได้เริ่มเกิดมา ก็ได้มีการรายงานและการวิเคราะห์ปรากฎออกมาทางสื่ออยู่ไม่น้อย  ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นเรื่องในเชิงของ Institutional Frameworks (ความร่วมมือ องค์กร กฎหมาย การปฎิบัติต่กัน ฯลฯ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ม.ค. 17, 20:44

แน่นอนว่า ในความตกลงต่างๆนั้น ไม่ว่าจะเป็น Declaration, Resolution, Decision หรือ Directive ก็จะมีส่วนที่เรียกว่า Preamble Clauses (สุดแท้แต่จะแปลว่า ความนำ เบื้องต้น ที่มา เห็นว่า เหตุผล ..ฯลฯ) แล้วตามด้วยส่วนที่เรียกว่า Operative Clauses (ภาคบังคับ ภาคปฎิบัติ ปฎิบัติการ ..ฯลฯ)

ผลของการประชุมในเรื่องหนึ่งๆที่ทำให้เกิดความตกลงต่างๆนั้น มีเรื่องราวในแง่มุมต่างๆถูกนำมาพิจารณาร่วมด้วยเยอะมาก จะกล่าวว่าครบทุกเรื่องก็ว่าได้ (เศรษฐกิจ สังคม การเมือง..ฯลฯ)  การกล่าวในเวทีการประชุมเต็มรูป (Panel Session) นั้นจึงเป็นเพียงการแสดงจุดยืนในบางประเด็นหรือจุดยืนแบบกล้อมแกล้ม   การยกร่างความตกลงที่เกิดขึ้นจากการประชุมหลังเวทีไปพร้อมๆกับการประชุมเต็มรูปนั้นต่างหากที่เป็นการประชุมต่อรองกันอย่างแท้จริง    ก็ถกกัน เถียงกัน ว่ากันตั้งแต่ Preamble ไปจนถึง Operative มีทั้งเพิ่มเติม ขยายความ ปรับแต่ง แปรเรื่อง ด่าว่า (โดยนัย)..ฯลฯ สอดแทรกแฝงให้ปรากฎอยู่ในข้อความของความตกลงเหล่านั้น     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 17, 21:18

อารัมภบทมาก็เพียงเพื่อจะกล่าวว่า  การถกกันในการประชุมคู่ขนานหลังเวทีการประชุมเต็มรูปที่เรียกว่า Committee of ...(เช่น  Committee of the Whole) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า Committee Meeting ของผู้แทนประเทศต่างๆนั้น ความตกลงที่พอยอมรับกันได้ เกิดขึ้นบนฐานของหลัก Comparative advantage  ก็คือ แต่ละประเทศนั้นๆ ประเมินได้ว่าได้เปรียบในบางเรื่อง หรือมีโอกาสสู้ได้ หรือ มีโอกาสแย่งชิงประโยชน์ได้..ฯลฯ

ขมวดเรื่องเข้ามา     ก็คงจะได้ยินได้ฟังกันตลอดมาว่า ไทยเราจะเป็น Hub โน่น นี่ สารพัด Hub    ซึ่งดูจะหมายความว่า เราคิดว่าเราได้เปรียบ (comparatively) ในเรื่องทางภูมิรัฐศาสตร์ เรื่องของการสื่อสารต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านภาษา (ที่เราจะสามารถพัฒนาคนของเราได้ทัน) ด้วย..ฯลฯ  หมายความว่าเรากำลังตกลงใจเข้าไปแข่งขันในกลุ่มอุสาหกรรมบริการ (Services Sector)  ซึ่งหมายความต่อมาว่า ผู้คนในงานกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะต้องพูดคุยสื่อสารกับคนแปลกหน้า ต่างชาติ ต่างภาษา กับเขาทั้งหลายได้รู้เรื่อง

น่าสนใจนะครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ม.ค. 17, 20:20

จะขอขี่ม้าเลียบค่ายอีกหน่อย ครับ

เรื่องแรก  เท่าที่พอจะมีความรู้จากการได้รับฟังบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ  ต่างก็ว่าภาคอุตสาหกรรมบริการนั้น เป็นพัฒนาการต่อเนื่องมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจะเห็นได้จากพื้นฐานรายได้มวลรวมของประเทศ ดังเช่นที่ปรากฎในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ซึ่งก็ล้วนแต่จะมีรายได้จากภาคอุตสาหกรรมบริการในสัดส่วนที่สูงมากหรือมากกว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิต

สำหรับไทยในภาพหนึ่งนั้น   เมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา   เราเริ่มได้รับฟังข่าวการพยายามจะโยกย้ายอุตสาหกรรมการผลิตหลายชนิดออกจากประเทศไทยไปอยู่ในประเทศอื่นๆ เสมือนว่าจะมีการย้ายฐานการผลิต ปิดโรงงานหนีออกไปจากไทย   ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว   ครับ เป็นเรื่องของการเริ่มปรับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เขามาลงทุน เนื่องมาจากคนของเรามีขีดความสามารถในระดับที่สูงมากแล้ว (ฝีมือ ความรู้ การสื่อสารทางภาษา)   ซึ่งก็คงพอจะขยายความต่อไปได้ว่า เขาเริ่มจะเห็นว่า เราน่าจะกำลังเริ่มเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการบริการแล้ว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ม.ค. 17, 20:33

ในภาพดังกล่าวมา   คำศัพท์และภาษาที่ใช้ในระบบจะมีส่วนเกี่ยวโยงกับความหมายเฉพาะทาง (เทคนิค กฏหมาย..ฯลฯ) ก็คือมีลักษณะทาง legal binding อยู่ไม่มากก็น้อย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ม.ค. 17, 20:59

เรื่องที่สอง   คนไทยกลับไปทำมาหากินในถิ่นที่เป็นบ้านเกิดมากขึ้น  บุคคลเหล่านี้ใช้ความรู้ ความสามารถและความชำนาญที่ได้รับมาในระหว่างการทำงานในระบบต่างๆไปเปิดกิจการของตนเอง ให้บริการแก่ชุมชมท้องถิ่นรวมทั้งรับงานจากที่ต่างๆ  ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปอยู่ในลักษณะของ supply chain  เกิดธุรกิจในระดับจิ๋วเป็นจำนวนมากมาย (Micro entrepreneur)

ในพื้นที่เหล่านั้น ก็มีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ทั้งในลักษณะชั่วคราว (เช่น long stay) แบบถาวร (เช่น แต่งงาน) และแบบผ่านไปมา (เช่น นักท่องเที่ยว)  คนเหล่านี้ได้ใช้ประโยชน์จากธุรกิจจิ๋วเหล่านั้นไม่น้อยเลยทีเดียว  ตัวผมเองก็ยังได้เคยสัมผัสกับความต้องการของชาวต่างชาติเหล่านี้หลายครั้ง นอกเหนือไปจากการสอบถามเส้นทาง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ม.ค. 17, 21:08

ในภาพนี้  ภาษาอังกฤษที่สื่อกันไปมาจะมีความหลากหลายมาก ทั้งในเชิงของสำเนียง การออกเสียงคำ การใช้คำศัพท์ ลักษณะของวลีและประโยค และสำนวน   ขนาดว่าใช้ทั้งคำศัพท์อังกฤษ + คำภาษาไทย + ภาษามือ + หน้าตาท่าทางแล้ว บางครั้งก็ยังไม่รอด                                     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ม.ค. 17, 19:12

เรื่องที่สาม    เพื่อการเข้าสู่ความเป็นสากลในกรอบอาเซียนและสังคมโลก ภาคการศึกษาของเราจึงมีการปรับการสอนในส่วนของวิชาภาษาอังกฤษ ด้วยการใช้ชาวต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษได้เข้ามาร่วมสอนด้วย ก็เลยมีครูหลากหลายเชื้อชาติและสัญชาติเข้ามาสอนกระจายกันอยู่ทั่วไปทั่วประเทศ แถมในบางพื้นที่ก็ยังอาจจะเป็นกลุ่มครูที่มาจากประเทศเดียวกัน

แน่นอนว่า นักเรียนในแต่ละโรงเรียนก็จะได้การฝังภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันออกไป (ในแทบจะทุกมิติ)  แต่ที่น่าเป็นห่วงก็ตรงที่การสอนนั้นๆมีความเหมาะสมและเป็นไปตามขั้นหรือระดับความรู้ที่เด็กในวัยนั้นๆพึงจะได้รับหรือไม่ ??  เพราะ..คนต่างชาติเหล่านั้นก็คงจะมิใช่คนที่เรียนมาโดยตรงในสาขาวิชาด้านการศึกษาเพียงใดนัก เขาเข้าใจหรือมีความกระจ่างชัดมากน้อยเพียงใดในเป้าหมายของภารกิจที่เขากำลังกระทำอยู่     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ม.ค. 17, 20:14

ตามสภาพดังกล่าว  ก็คงจะเกิดความต่างกันมากในเด็กนักเรียนที่อยู่ในชั้นการศึกษาระดับเดียวกันแต่อยู่ต่างโรงเรียนกัน อยู่ต่างถิ่นกัน  ซึ่งก็คงจะไม่แปลกนักหากเราจะต้องรู้สึกมีความขัดแย้งในผลการทดสอบเปรียบเทียบความรู้  อาทิ บางโรงเรียนที่ไม่น่าจะดูเก่งก็กลับเก่งกว่า หรือเก่งบ้างไม่เก่งบ้างเป็นปีๆไป   เพราะการเปลี่ยนแปลงตัวครู (ตามสัญญาการจ้าง) ??
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ม.ค. 17, 18:37

นั่นเป็นภาพของเด็กในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  ในระดับอุดมศึกษาก็จะเป็นอีกภาพหนึ่งที่ไม่ต่างกันไปมากนัก

ในระดับอุดมศึกษานั้น ในเกือบจะทุกสาขาวิชาที่มีการสอนจะต้องมีศัพท์ทางเทคนิคที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของแต่ละวิชา บางวิชาก็อุดมไปด้วยศัพท์ทางเทคนิคมากมาย   ก็จะมีมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป    แต่ละสถาบันจะมีอาจารย์ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศทำการสอน ก็มีการออกเสียงศัพท์เทคนิคต่างๆทั้งแบบฝรั่งในประเทศที่ได้ร่ำเรียนมา ออกเสียงแบบไทย ออกเสียงแบบมี ร เรือ ล ลิง หรือไม่มี (เยอะมาก) แตกต่างกันไป ....     

ก็พอเข้าใจได้อยู่ว่า การบรรยายคำสอนด้วยการใช้ศัพท์บัญญัตินั้นมันยากเอาการอยู่เลยทีเดียว การบรรยายคำสอนแบบใช้คำทับศัพท์นั้นง่ายกว่าเยอะ  เลยดูจะเป็นเหตุผลว่า ด้วยเหตุนี้เอง ในวงสนทนาเรื่องทางวิชาการจึงมีคำภาษาอังกฤษปนเข้ามาในประโยคคำพูดเสมอๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ม.ค. 17, 18:57

เรียนจบมาก็เข้าทำงาน แต่ละกลุ่มงานมันก็ยังมีความต่างกันในการใช้ภาษาอังกฤษกันอีก ทั้งในเชิงของประโยค คำศัพท์และความหมายของศัพท์คำเดียวกัน สำนวน การสะกดคำ วิธีการกล่าว การสร้างประโยค  Pattern ต่างๆ...ฯลฯ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ม.ค. 17, 19:22

จากอารัมภบทที่ผ่านมา  ดูจะเป็นการ set tone ของกระทู้นี้ไปในลักษณะของการตำหนิและการบ่นเป็นหลัก   

มิใช่นะครับ

ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพื่อจะขอให้ท่านสมาชิกได้เข้ามาลองช่วยกันประมวลเรื่องของความเข้าใจที่ต่างกันในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารสนทนากันระหว่างผู้คนในสังคม AEC และที่มาที่ไปของมัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ม.ค. 17, 18:32

ภาพของการเรียนการสอนดังกล่าวมานั้น คงจะมีความคล้ายคลีงในแต่ละประเทศสมาชิก AEC  คงไม่ต่างกันไปมากนัก แต่ดอกผลจากการเรียนการสอนที่จะได้นำมาใช้สื่่อสารระหว่างกันในภายหลังนั้น อาจจะเกิดมีความไม่ลื่นไหลดังที่คาดหวังไว้ในช่วงเวลาหนึ่งเลยทีเดียว
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ม.ค. 17, 19:29

เรื่องหนึ่งก็คือ การใช้ศัพท์ในภาษาอังกฤษ ภาษาอเมริกัน และอื่นๆ

ขอเริ่มด้วย

cookie กับ biscuit     คนไทยคุ้นเคยกับคำว่าคุ๊กกี้ และในความหมายของขนมหวานกรอบร่วน   แต่ทั้งสองคำนี้ โดยนัยของทั้งอังกฤษและอเมริกันแล้ว หมายถึงขนมแป้งอบก้อนเล็กที่ผิวค่อนข้างแห้งกรอบแต่มีเนื้อในนิ่ม

ผมก็ไม่รู้ว่า คนในประเทศสมาชิก AEC อื่นๆจะเห็นภาพของทั้งสองคำนี้ไปในลักษณะใด ?  ก็ล้วนแต่เคยอยู่ในกำกับดูแลของ อังกฤษ ฝรั่งเศส ดัช สเปน และอเมริกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ม.ค. 17, 20:20

lift กับ elevator

คนไทยใช้คำว่า lift ซึ่งเป็นอังกฤษ   อเมริกันใช้คำว่า elevator   
ในลิฟท์ก็มีปุ่มกดเลือกชั้น แบบอังกฤษนิยมเรียกชั้นล่างสุดว่าชั้น G ในขณะที่อเมริกันนิยมเรียกว่าชั้น 1
     
G=ground floor_อังกฤษ  ทำให้ชั้นที่อยู่ถัดขึ้นเหนือขึ้นไปกลายเป็นชั้นที่ 1 (first floor)  ซึ่งหมายถึงชั้นที่ 2 ในแบบอเมริกัน

ลิฟท์ในเมืองไทยทั้งหลาย บางอาคารก็ใช้ระบบการเรียกชื่อชั้นแบบอังกฤษ แต่ส่วนมากดูจะนิยมใช้การเรียกชื่อชั้นแบบอเมริกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง