เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 6158 เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


 เมื่อ 16 ธ.ค. 16, 19:22

(พอดีได้ไปพบเจอกระทู้ที่ชวนให้ขบขิดนิดๆ จากบ้านพันทิพ ก็อ่านแล้วก็อดขำในความขี้สงสัยของเจ้าของกระทู้ไม่ได้ แล้วก็ความพยายามในการโต้กลับนั้นก็ดูน่าสนใจดี

ผมจึงนำคำถามนี้มาขอให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายช่วยไขความกระจ่างให้เจ้าของกระทู้ท่านนี้ และตัวผมหรือท่านอื่นๆที่ไม่ทราบด้วยครับ)

 คือถ้าทุกๆท่านสังเกตนะครับจะเห็นว่าพระเมรุมาศระดับสเกลของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5มาเราจะเห็นว่าขนาดย่อลงจากพระเมรุมาศ(อันนี้ไม่ใช่ประเด็นหลัก) เยอะเลย และมีการเปลี่ยนมาใช้ทรงบุกษก ประเด็นสำคัญที่อยากถามคือทำไมช่างสถาปนิกสมัยก่อนจนมาถึงปัจจุบันถึงเลือกทรงนี้ ทั้งที่ดูไปดูโคะตะระเรียบเลยดูรายละเอียดเหมือนค่อนข้างจะน้อย ซึ่งทรงอื่นมันก็น่าจะมีให้เลือก ทำไมถึงเจาะว่าเป็นทรงนี้ อันนี้ไม่ได้ว่าไรนะแค่สงสัยเฉยๆ จริงอยู่ที่อาจจะดูใหญ่แต่ทรงนี้อย่างเรียบง่าย

บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ธ.ค. 16, 20:29

เข้าใจว่าเป็นพระราชประสงค์ที่ต้องการให้คงไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีในการสร้างพระเมรุมาศ
แต่ไม่ต้องการให้เกิดความยุ่งยากลำบาก สิ้นเปลือง จึงให้ออกแบบเป็นพระเมรุมาศที่ดูเรียบง่าย แต่คงความสง่า สวยงาม สมกับพระเกียรติครับ
บันทึกการเข้า
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ธ.ค. 16, 21:42

 แต่เหมือนเราจะต้องตีความตรง "ทำไมต้องเป็นทรงบุษบก"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 07:43

เข้าใจว่าโครงสร้างพื้นฐานดั้งเดิมของบริเวณที่เผาศพ จะต้องทำปริมณฑลไว้เป็นอาณาเขตโดยการปักไม้ไผ่ไว้สี่มุม ด้านบนรวบยอดขึงผ้าขาวดาดไว้ด้านบนสุด เพื่อบังแดด บังฝน จนเสาสี่มุมนี้พัฒนาเป็นเสา ผ้าขาวพัฒนาการเป็นเพดาน และพัฒนาต่อมาเติมยอดเสริมไปเรื่อยๆ จนพ้องกับรูปร่างของบุษบก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 07:50

พัฒนาการของเสาไม้ไผ่ก็สร้างให้สวยงามขึ้นและเป็นปูนแบบถาวร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 08:37

เมื่อหลังคาเพดานนั้นผนวกเข้ากับคติความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุแล้ว ก็มักจะทำหลังคาซ้อนลดกันขึ้นไปเรื่อยๆ จำนวน ๗ ชั้น คือการถือคติเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ ดังนั้นรูปทรงบุษบกและทรงปราสาทยอดเจ็ดชั้นจึงเข้ามาเสริมสร้างในการสร้างพระเมรุมาศและเมรุต่างๆ
บันทึกการเข้า
สองล้อ
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 10:40

แล้วเมรุมาศในไทย มีทรงอื่นๆไหมครับ นอกจากทรงบุษบก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:11

แล้วเมรุมาศในไทย มีทรงอื่นๆไหมครับ นอกจากทรงบุษบก

มีเมรุปูนหลังหนึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้สร้างยอดเป็นบุษบกแต่เป็นทรงซุ้มฝรั่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:38

แต่เหมือนเราจะต้องตีความตรง "ทำไมต้องเป็นทรงบุษบก"

ตอบให้ตรงกับคำถามนี้สั้นๆคงไม่ได้ ต้องเท้าความสักหน่อย
พระเมรุมาศทรงบุษบกปรากฏครั้งแรกในต้นรัชกาลที่ ๖ สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์มาตั้งแต่คราวออกพระเมรุพระราชบิดาของพระองค์ว่า สำหรับการสร้างพระเมรูมาศสำหรับพระมหากษัตริย์ต่อไป ไม่ควรจะสร้างใหญ่โต สิ้นเปลืองขนาดนั้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯจึงทรงมอบนโยบายดังกล่าวให้กรมหมื่นนเรศร์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการขณะนั้น ให้ช่างออกแบบพระเมรุมาศมาถวายทอดพระเนตร ซึ่งแบบดังกล่าวได้ถูกนำมาถวายพร้อมหนังสือกราบบังคมทูลดังนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:38

ต่อ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:43

ผู้ที่เป็นช่างแบบจริงๆ นี่ผมคิดตามวิสัยของสถาปนิกนะครับ เมื่อได้รับโจทย์ให้ออกแบบอาคารที่ก่อสร้างได้ประหยัดที่สุด และมีรูปทรงที่สอดคล้องกับงานพระบรมศพ ก็ต้องดูโครงสร้างที่เล็กที่สุดที่ใช้งานอยู่ก่อน ซึ่งอะไรจะเหมาะสมไปกว่ารูปทรงของจิตกาธานซึ่งรองรับพระบรมศพ ดังรูป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:44

คราวนี้มาดูกฏข้อบังคับของการออกแบบพระเมรุมาศ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:49

เรือนยอดในลักษณะของกุฎาคารที่ถูกนำมาใช้งานในเรื่องที่เกี่ยวกับพระบรมศพที่สำคัญอย่างหนึ่งคือราชรถ ซึ่งเป็นทรงเดียวกับบุษบก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:51

ดังนั้น การนำรูปทรงของบุษบก ซึ่งเป็นของสูงเหมาะสำหรับพระมหากษัตริย์นั้น ยังไงๆก็ไม่ผิดแน่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 11:54

จึงเป็นที่มาของแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งพลเรือตรี พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นสถาปนิก คิดขึ้นเป็นคนแรก


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง