เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2391 ประวัตินวนิยาย (สอบถาม และพูดคุยครับ)
ชินนามอน
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 08 ธ.ค. 16, 05:21

สวัสดีครับ เพิ่งสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ ฝากตัวด้วยครับผม

ตอนนี้ผมกำลังเรียนทางด้านวรรณกรรมครับ และสนใจเกี่ยวประวัติศาสตร์นวนิยายไทยครับ แต่ออกตัวก่อนว่าผมยังใหม่กับวงการนี้มาก อาจจะถามอะไรแปลกๆ แปร่งๆ ไปบ้างนะครับ

ผมได้อ่านหนังสือของอาจารย์วิภา กงกะนันทน์ The Genesis of The Novel In Thailand (คิดว่ามีฉบับภาษาไทย แต่ผมหาไม่เจอครับ) แล้วรู้สึกว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์มาก แต่หนังสือเขียนไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ก็เพิ่งพบต้นฉบับของครูเหลี่ยม ซึ่งพิมพ์ก่อนนวนิยายของศรีบูรพา ดอกไม้สด และหม่อมเจ้าอากาศฯ และกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของนวนิยายไทย จึงคิดว่าอยากจะลองค้นลองเขียนประวิติศาสตร์นวนิยายขึ้นมาอีกครั้งครับ รวมถึงในหนังสือของอาจารย์วิภา ส่วนตัวรู้สึกว่ายังขาดมุมมองทางสังคมวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในสมัยนั้นอยู่พอควร (ตรงนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวหลังจากลองอ่านเทียบกับประวัติการเกิด Novel ในตะวันตกครับ) อย่างไรก็ตามส่วนตัวคิดว่าอาจารย์วิภา ได้ให้ข้อมูลไว้ค่อนข้างละเอียดและน่าจะยังใช้ได้ในการตีความใหม่ครับ จึงมีความรู้สึกเหมือนอยากเขียนตอนต่อจากของหนังสืออาจารย์วิภาครับ ไม่รู้ว่าจนถึงตอนนี้มีคนเขียนไปบ้างหรือยังครับ? ถ้ามีจะได้ไปหามาอ่านก่อนครับผม แหะ แหะ 

ทั้งนี้ผมไม่ได้อยู่ในเมืองไทยในเวลานี้ จึงไม่สามารถค้นเอกสารชั้นต้นในภาษาไทยได้ครับ (พยายามค้นจากอินเตอร์เน็ตแต่ก็ค่อนข้างหาได้จำกัด)
ตอนนี้ผมสนใจสิ่งพิมพ์ในช่วงรัชกาลที่ 4-5 ครับผม (โดยเฉพาะก่อนการการพิมพ์วชิรญาณวิเศษ) ผมกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับดรุโณวาทครับแต่ยังหาต้นฉบับทางอินเตอร์เน็ตไม่เจอ เลยอยากรบกวนถามผู้รู้ดังนี้ครับผม

1 เนื้อหาของวารสารดรุโณวาทเป็นอย่างไรครับ มีงานเขียนประเภทใดบ้างครับ อ่านเจอมาว่ามีนิทานหรือเรื่องเล่าอยู่ด้วย นิทานในยุคนั้นมีลักษณะอย่างไรครับผม
2 เคยอ่านเจอในบอร์ดนี้เรื่อง "นิทานว่าด้วยนายจิตกับนายใจสนทนากัน" นิทานในดรุโณวาทมีลักษณะ สัจจนิยม (Realism) หรือเปล่าครับ หรือมีความแตกต่างไปอย่างไรครับ   
3 ไม่ทราบว่าในสมัยนั้นสามารถ แยกเรื่องแต่ง (Fiction) กับข้อเท็จจริง (Fact) กันได้อย่างไรบ้างครับ (อาทิ ในสมัยนี้เราอาจจะแยกได้คร่าวๆ จากประเภทของสิ่งพิมพ์ไหมครับ)

ขอถามสามข้อนี้ก่อนนะครับผม ขอความกรุณาผู้รู้ด้วยครับ
ทั้งนี้ หากท่านใดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดนวนิยายในไทย ไม่เกี่ยวกับคำถามข้างต้น ก็ขอรบกวนเขียนมาคุยกันได้เลยครับผม

ขอบคุณครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ธ.ค. 16, 08:36

ขอแนะนำ  ประวัติการประพันธ์นวนิยายไทย (ตั้งแต่สมัยเร่ิมแรก จนถึง พ.ศ.2475) โดย สุพรรณี วราทร  ค่ะ
https://www.facebook.com/textbooksproject/posts/288530191254965
ดิฉันไม่เคยใช้  The Genesis of The Novel In Thailand ค่ะ

ส่วนดรุโณวาท   เข้าไปอ่านได้ในนี้
http://valuablebook2.tkpark.or.th/2013/Darunowat/document.html
มีลักษณะเป็นวารสาร ข้างในมีเรื่องต่างๆกัน เป็นนิทานบ้าง เรื่องสั้นบ้าง บทความบ้าง ค่ะ เนื้อหาในเล่มมีข่าวต่างประเทศ บางเรื่องที่เกี่ยวกับราชการบ้าง หนังสือสุภาษิตเครื่องสอนใจ และตำราการแสดงแบบแผนวิชาต่างๆ จดหมายเหตุเล็กน้อย มีเรื่องอ่านเล่นได้แก่ โคลงกลอน รามเกียรติ์ และนิทานสั้น ๆ เช่น นิทานไตรยภูมิ เรื่องหมาลักขนม เรื่องกระต่างกับกบ เป็นต้น

ดรุโณวาท เป็นสิ่งพิมพ์ทันสมัยในรัชกาลที่ 5 ตอนต้น   มีเค้าของอิทธิพลตะวันตกเห็นได้ชัด     ผู้จัดทำล้วนเป็นคนหนุ่มหัวก้าวหน้าในยุคนั้น นำโดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์    ถ้าคุณสนใจการเมืองในยุคนั้นจะพบว่า เป็นยุคที่คนสองยุคเริ่มชิงความเป็นผู้นำในสังคมกัน   ได้แก่คนรุ่นเก่านำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  และคนรุ่นใหม่คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว     กลุ่มสนับสนุนพระองค์ท่านคือบรรดาพระเจ้าน้องยาเธอที่ทรงเจริญพระชันษาขึ้นมามีบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดิน
ดรุโณวาท แปลว่า คำสั่งสอนของคนหนุ่ม   ชื่อเรื่องก็พอจะสื่อได้แล้วว่า เป็นสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับคนหนุ่มที่มีความคิดอ่านเป็นตัวของตัวเอง   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ธ.ค. 16, 09:05

นิทานในดรุโณวาทมีหลากหลาย  ไม่ผูกขาดแค่สัจจนิยมค่ะ   เป็นนิทานสัญลักษณ์ก็มี เช่นเรื่องลิงกับเทพารักษ์

การแยกเรื่องแต่งกับข้อเท็จจริง  แยกโดยรูปแบบ  เช่นนิทาน เป็นเรื่องแต่ง   รายงานข่าว บทความธรรมะ เป็นเรื่องจริง
ความที่กระแสตะวันตกเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3   มาถึงรัชกาลที่ 4  การศึกษาแบบตะวันตกแพร่หลายในหมู่เจ้านาย ขณะที่ข้างนอกวังยังมีการศึกษาแบบเดิมเหมือนต้นรัตนโกสินทร์ (เว้นก็แต่ขุนนางระดับสูงบางท่าน)  ทำให้เกิดการเขียนแนวใหม่ที่เรียกว่า novel   เมื่อเจ้านายรุ่นใหม่อย่างพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงทดลองแต่งขึ้นมา ตั้งชื่อว่า "สนุกนึก"  ลงในวารสารวชิรญาณวิเศษ  ทรงใช้ฉากจริงคือวัดบวรนิเวศ   คำสนทนาแบบสมจริงของตัวละครที่เป็นพระสงฆ์  ก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่โตถึงสมเด็จพระสังฆราชไม่พอพระทัย     ต้องหยุดเขียน

อ่านได้ที่นี่ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3045.0
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ธ.ค. 16, 09:06

คำถามคุณกว้างมาก   แค่ถามค.ห.เดียว  ตอบได้ยาวเท่ากับวิทยานิพนธ์    ช่วงนี้ติดงานหลายอย่าง  ไม่มีเวลาตอบยาวกว่านี้
ขอรบกวนท่านอื่นๆช่วยตอบด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ชินนามอน
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ธ.ค. 16, 18:49

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูมากครับผม ทั้งนี้ผมขออ่านหนังสือของอาจารย์สุพรรณีก่อนนะครับ ที่จริงเคยได้ยินได้อ่านเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ผ่านงานชิ้นอื่นๆ แต่ยังไม่เคยได้อ่านจนจบเล่ม ขออ่านทั้งหมดแล้วจะกลับมาชวนคุยต่อครับผม ขอบคุณมากครับผม



 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง