เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3962 สำนวน "ขึ้นสวรรค์ชั้นเจ็ด" ในเรื่องมาลัยสามชาย หมายถึงอะไรครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 05 พ.ย. 16, 20:02

มาลัยสามชาย พิมพ์ครั้งที่ 8 หน้า 67
"คะนอง : อย่างคุณยศ จะขึ้นสวรรค์ทั้งที ต้องขึ้นสวรรค์ชั้นเจ็ดสิขอรับ
สวรรค์ชั้นต่ำ ๆ จะไปขึ้นมันทำไม ถ้าอยากเห็น กระผมจะพาไป แต่ต้อง
ไปเงียบ ๆ กันสองคนนะขอรับ"

ผมสงสัยว่า
1. คำว่า "สวรรค์" ในบริบทข้างต้น มีความหมายแฝง หมายถึง ซ่อง ใช่ไหมครับ
2. คำว่า "สวรรค์ชั้นเจ็ด" ในบริบทข้างต้น มีความหมายแฝง หมายถึง ซ่องที่ดีที่สุด,
ซ่องที่สามารถทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการทางเพศ เกิดความอิ่มเอมและความสำราญ
ได้มากที่สุด ใช่ไหมครับ
3. คำว่า "สวรรค์ชั้นเจ็ด" ในภาษาไทย คือสวรรค์ชั้นไหนครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 พ.ย. 16, 20:52

คุณ Wu เข้าใจถูกต้องทุกข้อค่ะ

ข้อสุดท้าย ขอตอบว่า
สวรรค์ของไทย ที่ปรากฏในพุทธศาสนามีแค่ ๖ ชั้น เรียกรวมกันว่า "ฉกามาพจร"  หมายถึงสวรรค์ที่อยู่ในกามภูมิ  คือมีความสุขทางโลกเป็นหลัก  เทวดายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่หลุดพ้นจากกิเลส
ลำดับจากล่างขึ้นบน คือ จาตุมหาราชิกา  ดาวดึงส์  ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

คนไทยยุคก่อนที่อยู่อย่างผู้ครองเรือน ไม่ใช่พระสงฆ์  ถือว่าสวรรค์คือยอดปรารถนา    เพราะเป็นสถานที่เต็มเปี่ยมด้วยความสุข   
คะนองเอ่ยถึงสวรรค์ชั้นเจ็ด ในความหมายเชิงเปรียบเทียบว่า แม้แต่สวรรค์หกชั้นของเทวดาก็ยังสู้ไม่ได้  ค่ะ   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 พ.ย. 16, 21:10

สวรรค์ชั้นที่เจ็ด อยู่ในเมืองไทยนี่เอง อยู่ไม่ไกลด้วย ที่ถนนเยาวราช ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเมืองไทยมีตึกสูงที่สุดเรียกว่าตึกเจ็ดชั้น เยาวราช บนชั้นที่เจ็ดมีการแสดงแบบที่เรียกว่าระบำตาหรั่ง นักเที่ยวจึงเรียกกันว่าสวรรค์ชั้นเจ็ด ปัจจุบันตึกเจ็ดชั้นเยาวราชยังอยู่แต่ไม่เป็นตึกที่สูงที่สุดของเมืองไทย และไม่มีระบำให้ชมแล้ว

สวรรค์ชั้น ๗ อยู่ที่เยาวราช ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นตึก ๗ ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๔๖๓ ถือกันว่าเป็นตึกที่สูงสุดในสมัยนั้น

เพราะเป็นตึก ๗ ชั้นเป็นตึกที่ใช้ลิฟต์แห่งแรกในประเทศไทย สูงและทันสมัยจึงถูกทำเป็นสารพัดสถานบริการ ตั้งแต่ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้าห้องชุดให้เช่าพัก โรงแรม บ่อนการพนัน กระทั่ง สวนสัตว์ ฯลฯ

และที่ขึ้นชื่อที่สุด คือซ่องโสเภณี

กาลานุกรมสยามประเทศไทย ๒๔๘๕-๒๕๕๔ (โพสต์ พับลิชชิง มหาชน) บันทึกว่า โสเภณีบนชั้น ๗ ของตึก ๗ ชั้น ช่วงปี ๒๔๖๓-๒๔๗๓ ราคาค่าตัวต่อคืน ๓-๕ บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาโสเภณีทั่วไปแล้ว...ถือว่าแพงมาก

สำนวน “สวรรค์ชั้นเจ็ด” เกิดขึ้นตอนนี้

ข้อมูลจาก กิเลน ประลองเชิง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 พ.ย. 16, 07:54

คุณ Wu  อย่าเอาคำตอบเรื่องสวรรค์ชั้นเจ็ดของคุณเพ็ญชมพูมาปะปนกับสำนวนในมาลัยสามชายนะคะ  คุณจะสับสน
ซ่องโสเภณีในเรื่องคือซ่องยี่สุ่นเหลือง ซึ่งเป็นซ่องโสเภณีชั้นสูงในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง    ไม่เกี่ยวอะไรกับตึกเจ็ดชั้นค่ะ  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.031 วินาที กับ 19 คำสั่ง