เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 16326 โคลงสี่สุภาพ (๒)
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 03 ส.ค. 01, 02:18

หายไปนานเหมือนกันครับ
ตั้งแต่ลาสิกขากลับมาทำงาน ก็โดนคำสั่งไปร่อนเร่พเนจร ที่ต่างจังหวัดเป็นเวลาเดือนกว่าๆ
ตอนนี้กลับมากรุงเทพฯแล้วครับ ก็เลยแวะเข้ามาทักทายกันหน่อย และคงจะได้เวลาต่อ กระทู้โคลงสี่สุภาพ จากที่ค้างไว้ก่อนไปอุปสมบทเสียที
 
ก่อนจะเริ่มเรื่อง รสความ ในการแต่ง โคลงสี่สุภาพ ตอนนี้ให้เวลานักเรียนในการเตรียมตัว หรือใครจะส่งการบ้านหรือมีคำถาม ก็ส่งมาได้เลยครับ คืนนี้จะมาเริ่มบทเรียนแรกเรื่อง รสความ ครับ
บันทึกการเข้า
เรไร
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ก.ค. 01, 20:20

เข้าทักสวัสดีอาจารย์พลายงามค่ะ

บทเรียนคราวที่แล้ว ยังงู ๆ ปลา ๆ อยู่เลย  การบ้านก็ไม่ได้ฝึกฝน  แถมไม่มีส่งอีกต่างหาก  จะโดนตีหรือเปล่ายังไม่รู้  
ขอเวลากลับไปทบทวนก่อนนะคะ   แล้วจะแอบเข้ามานั่งแถวหลังห้องค่ะ  อาจารย์
บันทึกการเข้า
pink ribbon
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ก.ค. 01, 07:51

เข้ามากอดเอวแม่หญิง สวัสดีคุณครูด้วยค่ะ
เพิ่งเห็นกระทู้คุณครู วันนี้เองค่ะ แล้วจะลองแต่งมานะคะ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ก.ค. 01, 08:50

...หลังจากที่ว่าถึงการแต่งโคลงสี่สุภาพ ในเรื่อง ฉันทลักษณ์ ในกระทู้ที่แล้ว กระทู้นี้จะมาว่าถึงหลักในการผูกความของโคลงสี่สุภาพแต่ละบท
...รสความ ก็คือความหมายของโคลลงฯที่สื่อออกมา สิ่งที่จะพบบ่อยในนักโคลงมือใหม่ คือ ความหมายของโคลงแต่ละบาทไม่เข้ากันเลย ทั้งที่เป็นโคลงบทเดียวกัน
...ลักษณะการผูกโคลงสี่สุภาพ จะต้องผูกเป็นบท เราต้องจะสื่อความหมายอย่างไรก็ต้องผูกโคลงไปหาจุดนั้น
...การผูกโคลงสำหรับผู้เริ่มต้น ควรสรุปความเป็นร้อยแก้ว จัดกลุ่มคำให้ได้สามสิบคำ  แยกให้ได้สี่บาท ตามลักษณะบังคับโคลงสี่สุภาพ แล้วจึงใส่สัมผัส และตำแหน่ง เอก โท บังคับ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ก.ค. 01, 09:03

ตอนนี้มาไล่ไปทีละขั้น ครับ
ผมขอยกตัวอย่างความนี้ ครับ

เมื่อไดเห็นทุกข์
เมื่อนั้นจะเห็นเหตุแห่งทุกข์
เมื่อไดเห็นความดับแห่งทุกข์
เมื่อนั้นจะเห็นหนทางแห่งความดับทุกข์

นำมาจัดรูปใหม่ ให้ได้ ๓๐ คำ แยกสี่บาท ตามลักษณะโคลงสี่สุภาพ ผมจัดได้ดังนี้ครับ

เมื่อไดที่เราเห็น            ความทุกข์
เมื่อนั้นจะเห็นเหตุ       แห่งทุกข์
เมื่อไดเห็นความดับ     แห่งทุกข์
เมื่อนั้นจะพบทาง       แห่งความดับทกข์

ขั้นต่อไปคือการใส่สัมผัส และตำแหน่ง เอก โท บังคับ ซึ่งตรงนี้ต้องเกลาความแต่ละบาทใหม่ ให้ได้ตามลักษณะบังคับ

เมื่อไดรับรู้ทุกข์             จงสดับ
จะพบทุกข์มากับ         เหตุนั้น
เมื่อไดพบความดับ       แห่งทุกข์
จะพบทางแห่งขั้น       ทุกข์สิ้นดับสลาย  

สำหรับการเกลาความขั้นสุดท้าย จะว่ากัน ในเรื่อง รสคำ ครับ

คงเป็นแนวทางบ้างนะครับ
บันทึกการเข้า
little sun
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ก.ค. 01, 12:41

ชอบความหมายของโคลงที่คุณพลายงามนำมาเป็นตัวอย่างค่ะ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ก.ค. 01, 15:16

บ่ายๆงานเริ่มน้อย ลองมาเกลาความจากตัวอย่างอีกทีแล้วกัน

จากตัวอย่างเดิม ความเห็น ๔

...เมื่อใดรับรู้ทุกข์.........จงสดับ
จะพบทุกข์มากับ..........เหตุนั้น
เมื่อใดเห็นความดับ.......แห่งทุกข์
จะพบทางแห่งขั้น........ทุกข์สิ้นดับสลาย

...โคลงบทนี้ ถูกต้องตามลักษณะบังคับทุกประการ ทั้งการส่งสัมผัส และ ตำแหน่ง เอก ๗ โท ๔ แต่จะมีส่วนที่ต้องเกลาใหม่เพื่อให้ใด้ รสคำ ที่ดีขึ้น คือ
๑. มีสัมผัสซ้ำ ระหว่างคำว่า สดับ กับ ดับ จาก บาทที่ ๑ และ ๓
๒.มีการซ้ำคำในบังคับเอก ที่ คำว่า ทุกข์ ๓ ครั้ง และคำว่า พบ ๓ ครั้ง

...ซึ่งข้อบกพร่องเหล่านี้ ต้องแก้ไขและขัดเกลาความให้สละสลวยยิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้จะว่ากันอีกทีในเรื่อง รสคำ แต่ผมจะยังไม่แก้ไขตอนนี้ ขอโคลงบทนี้เป็นการบ้านให้ลองเกลามาใหม่ดีกว่า คงไม่ยากไปนะครับ

---> คุณ Little sun ครับ ตัวอย่างความที่ผมยกมา คัดลอกมาจาก หนังสือ ท่านพุทธทาส ภิกขุ ครับ
บันทึกการเข้า
little sun
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ก.ค. 01, 17:13

ขอบคุณค่ะคุณพลายงาม ถ้าLittle sun สอบเสร็จแล้วจะมาขอเรียนเขียนโคลงด้วยคนนะคะ
บันทึกการเข้า
ลมพัดรำเพย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 ก.ค. 01, 15:06

ชอบกลอนอยู่บทหนึ่ง จำไม่ได้ว่า
พระท่านองค์ใดแต่ง แต่ชอบมาก เลยขอ
เขียนฝากไว้ตรงนี้ด้วยคนนะคะ

อันตัดอื่นหมื่นแสนแดนมนุษย์
แม้ที่สุดตัดเนื้อหนังยังทำได้
แต่ตัดห่วงตัดรักตัดอาลัย
อนาถใจตัดไม่ขาดประหลาดจริง
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ก.ค. 01, 20:36

ลองดู

...เมื่อใดรับรู้ทุกข์.........จงสดับ
จะพบทุกข์มากับ..........เหตุนั้น
เมื่อเห็นซึ่งระงับ...........แห่งทุกข์
จะสบพบทางขั้น........หมดสิ้นทุกข์สลาย
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 ก.ค. 01, 13:09

สองวันนี้ยุ่งมากครับ แต่วันนี้คงจะเสร็จงานที่กำลังทำอยู่ ยังไงขออนุญาตมาว่าต่อเรื่องโคลงฯ วันพรุ่งนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
ชายต๊อง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ส.ค. 01, 14:41

สวัสดีครับอาพรายงาม
     เข้ามารายงานตัวครับ  ช่วงนี้ยังมะค่อยว่างค้างสอบอีก 2 วิชาต้องขอตัวไปอ่านหนังสือก่อนนะครับ ถ้าสอบเสร็จแล้วจามาส่งการบ้านนะครับ
บันทึกการเข้า
ชายต๊อง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ส.ค. 01, 14:18

วันนี้เอาการบ้านมาส่งครับ
 จำ   คืนที่ร่วมสร้าง       สัมพันธ์
ต้อง  ร้างห่างไกลกัน      เหว่ว้า
ตัด    รักที่ผูกพันธ์           สนิทเสน่ห์
ใจ    จึ่งคร่ำครวญล้า     เมื่อร้าง  ห่างนวล
บันทึกการเข้า
Joy Ji-Hun
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ธ.ค. 06, 12:41

 หัวข้อดังต่อไปนี้นะคะแล้วแต่ว่าจะเอาหัวข้อไหนนะคะ



1. สามปีที่ถิ่นนี้       เคยเรียน ร่วมกัน



2. ชีวิตดุจแม่น้ำ      ไหลไป  ไม่คืน



ถ้ามีใครแต่งได้เราก็ขอบคุณมากนะคะ...รบกวนด้วยคะ  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง