เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 39577 พระพุทธเจ้าอยู่หัวในความทรงจำของผม
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 ต.ค. 16, 18:09

คุณพี่ Navarat C. ยังไม่มาตอบ  น้องน้อยอย่างผมขออนุญาตตอบคุณหมอ JFK ว่า ธรรมเนียมเข็นรถพระที่นั่งยังคงปฏิบัติในวันเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานประกาศนียบัตรและรางวัลมาจนถึงทุกวันนี้ครับ  แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมิได้เสด็จฯ ด้วยพระองค์เองก็ตาม

ส่วนคำถามของคุณธสาคร  ตอบได้ว่า คำว่า "คณะ" ในวชิราวุธวิทยาลัยมีที่มาจากคำว่า "House" ซึ่งเป็นที่พักของนักเรียนในพับลิคสกูล  แต่ของเราเรียก "คณะ" แทน "บ้าน" เพราะล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มีพระราชประสงค์ให้โรงเรียนนี้เป็นประดุจพระอารามหลวงประจำรัชกาล  จึงทรงกำหนดให้บ้านของพับลิคสกูลเป็น "คณะ" ซึ่งหมายถึงกุฎีสงฆ์ในพระอาราม

คณะในวชิราวุธวิทยาลัยยุคท่านพี่  Navarat C. และผมนั้นมี ๗ คณะ ประกอบด้วย คณะเด็กโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม คือคณะที่อยู่ ๔ มุมโรงเรียน มี ๔ คณะ คือ คณะผู้บังคับการ ดิคสิต จิตรลดา และพญาไท  ชื่อคณะผู้บังคับการดิดมาจากพับลิตสกูล หมายถึงคณะของครูใหญ่ที่เรียกว่า School House  แต่ที่วชิราวุธวิทยาลัยนั้นครูใหญ่เรียกว่า ผู้บังคับการ  คณะของผู้บังคับการจึงเป็นคณะที่มีผู้บังคับการเป็นครูกำกับคณะ หรือ House Master โดยตำแหน่ง  ส่วนชื่อ ดุสิต จิตรลดา พญาไท นั้นมาจากนามพระราชฐานที่ประทับในรัชกาลที่ ๖ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว  คือ พระราชวังดุสิต  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  และพระราชวังพญาไท

คณะเด็กเล็ก สำหรับนักเรียนชั้นเล็ก คือชั้นประถม ๓ - ประถม ๙ หรือจะเรียกว่าคณะนอกก็พออนุโลมได้  เพราะอยู่อีกฝั่งถนนที่ริมถนนสุโขทัย  ประกอบไปด้วย คณะเด็กเล็ก ๑ - ๒ - ๓  ต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะสนามจันทร์  นันทอุทยาน  และสราญรมย์  นามทั้งสามนี้มาจากที่ประทับในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช  คือ พระราชวังสนามจันทร์  พระตำหนักนันอุทยาน  สองพระราชฐานนี้อยู่ที่จังหวัดนครปฐม  และพระราชวังสราญรมย์

ต่อมาในสมัย ดร.ชัยอนันต์  สมุทวณิช ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  คณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่านีกเรียนในแต่ละคณะอยู่กันแออัดเกินไป  จึงได้อนุมัติให้จัดสร้างคณะเด็กโตเพิ่มเติมอีก ๔ คณะที่ริมสนามด้านหลังโรงเรียน  เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้พระราชทานนามคณะใหม่นั้นว่า จงรัก  ภักดี  ศักดิ์ศรี  มงคล  แต่เนื่องจากการกระจายนักเรียนออกไปอีก ๔ คณะนั้น  ทำให้นักเรียนในแต่ละคณะเหลือจำนวนน้อยลงเกินกว่าที่จะจีดทีมกีฬาได้  จึงต้องรวมคณะใหม่ ๔ คณะนั้นเข้าด้วยกันเป็น ๒ คณะ คือ จงรักภักดี  และศักดิ์ศรีมงคล

สำหรับคำถามอื่นๆ ของตุณธสาคร  ขอยกไว้ให้คุณพี่ Navarat C. เป็นผู้ตอบจะได้อรรถรสกว่าครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 ต.ค. 16, 18:58

บ่ายวันนี้ฟังรายการของคุณฟองสนาน  จามรจันทร์ สนทนากับคุณกิติพัฒน์  ศรีหิรัญกุลทางวิทยุ  คุณฟองสนานท่านเล่าถึงเรื่องการเข็นรถยนต์พระที่นั่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเสด็จทรงดนตรีที่จุฬาฯ  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๐๓  เป็นความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้ยินก็วันนี้  รบกวนชาวจุฬาฯ อาวุโสฯ กรุณามาขยายความด้วยครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 24 ต.ค. 16, 19:43

การเข็นรถพระที่นั่งของนักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยนั้น แต่แรกเริ่มและดั้งเดิมนั้นจะเข็นเป็นระยะทางเพียงใดก็มิทราบ แต่ในสมัยที่ย้ายจากคณะเด็กเล็ก(เด็กเล็ก 1,2,3)เข้ามาอยู่คณะใน(ผบก. ดุสิต จิตรลดา พญาไท)แล้ว  จำได้ว่าการเข็นรถได้กระทำกันไปจนถึงประตูรั้วของโรงเรียนด้านคณะจิตรลดา (มุมของโรงเรียนด้านสี่แยกพระราชวังสวนจิตรลดา / สวนสัตว์ดุสิต)  ต่อมาก็กระทำได้กระทำเพียงระยะทางสั้นๆบนถนนวงกลมหน้าหอประชุม ซึ่งคงเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากกรณีที่คุณ NAVARAT C. เล่ามา   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 ต.ค. 16, 20:22

เข้ามาสนทนาในช่วงนี้ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อครับ
มีคำถามหนึ่งที่คุณธสาครถามว่า ที่ผมเล่า "ย้ายไปเรียนชั้นมัธยมหนึ่งที่วชิราวุธ"  อันนี้หมายถึงประถม5ในปัจจุบันหรือเปล่าครับ? ไม่มีใครตอบตรงๆ ผมขอทำให้ชัดเจนว่า ใช่ ครับ

ส่วนเรื่องนิสิตเข็นรถพระที่นั่งถวายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ผมไม่เคยได้ยิน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยมีการกระทำนั้นะครับ ขอร่วมแสดงความคิดว่าถึงหากเคยก็คงสักครั้งสองครั้งแล้วไปไม่รอด เพราะจำนวนนิสิตของจุฬามหาศาลเมื่อเืัยบกับวชิราวุธ แล้วยังมีนิสิตหญิงอีก อ้าว ทำไมผู้หญิงจะเข็นรถพระที่นั่งถวายไม่ได้ละครับ ไม่ได้ออกแรงอะไรเลย เกาะๆตามกันไปเฉยๆ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 ต.ค. 16, 20:30

เมื่อโตขึ้นก็ได้มีโอกาสเข็นรถยนต์พระที่นั่งเดมเลอร์ ทะเบียน ร.ย.ล. 1 องค์นี้  มีความรู้สึกว่าตั้งแต่เริ่มสัมผัสกับตัวรถพระที่นั่ง ออกแรงเข็น จนกระทั่งรถพระที่นั่งเคลื่อนที่ไปสุดปลายนิ้ว  เป็นความรู้สึกที่เสมือนกับการสัมผัสกับปุยนุ่น  ไม่มีเสียงเครื่องยนต์ ไม่มีความรู้สึกสัมผัสกับวัตถุที่แข็งกระด้าง มีแต่ความรู้สึกที่นุ่มนวลและความบางเบา    เมื่อได้นึกย้อนดูก็พอจะเข้าใจได้ว่า ดั่งครุฑพาห์ของพระองค์ท่านทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์    
บันทึกการเข้า
DrJfk
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 ต.ค. 16, 20:51

ขอบคุณคำตอบ และรอฟังต่อครับ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 02:33

ขอบคุณคำตอบของคุณ V_Mee และคุณ NAVARAT.C ที่เล่าสู่กันฟังครับ
การแบ่งเป็นคณะๆเช่นนี้  ฟังดูแปลกมากในแง่การบริหารจัดการ  หวั่นใจว่าจะเกิดบรรยากาศ "เกาเหลา" ระหว่างแต่ละคณะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 05:55

ไม่มีหรอกครับ วชิราวุธแบ่งนักเรียนเป็นคณะเพื่อเล่นกีฬากัน เราแข่งกีฬาทุกประเภทตั้งแต่แบดมินตันไปจนถึงฟุตบอลหรือรักบี้ เวลาแข่งเอาจริงเอาจังกันมาก เพราะใครชนะเลิศแต่ละประเภทจะได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระหัตถ์(สมัยผม) แต่รู้แพ้รูชนะแล้วก็เลิกกันไป ไม่มีเก็บมาคิดมาแค้น

เพื่อนวชิราวุธนี้รักกันมาก และรักข้ามรุ่นไปแบบว่าไม่ทันเห็นหน้าค่าตากันเลย พอรู้จักกันปุ๊บก็เป็นพี่เป็นน้องขึ้นมาทันที
เพื่อนลูกชายเคยถาม จะให้เขาเรียกผมว่าคุณอาหรือพี่ ผมก็บอกให้เรียกพี่ซิ เขาก็เรียกผมว่าพี่ จนลูกชายผมต้องถามเขาว่านี่ข้าต้องเรียกเอ็งว่าคุณอาหรือเปล่า

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 06:07

ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯพระราชทานแก่นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหมาดๆมาให้อ่าน

"เมื่อเราจะปกครองแบบรัฐสภาแล้ว  ก็ต้องมีคณะการเมืองเป็นธรรมดา  เกมการเมืองก็ย่อมต้องมีกฎของเกมเหมือนกัน  ถ้าเราเล่นผิดกฎการเมืองก็ย่อมจะมีผลเสียหายได้มากทีเดียว  เพราะการปกครองแบบเดโมคราซีย่อมต้องมีการแพ้และชนะ  ซึ่งถือเอาตามเสียงของหมู่มากว่าฝ่ายใดแพ้และชนะ  เพราะคณะการเมืองย่อมมีความเห็นต่างๆ กันเป็นธรรมดา  ต่างฝ่ายก็ต้องมุ่งที่จะให้หมู่มากเห็นด้วยกับตน  และเลือกตนเข้าเป็นรัฐบาล  ฝ่ายไหนประชาชนส่วนมากเห็นด้วยฝ่ายนั้นก็เป็นผู้ชนะ 
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เมื่อเวลาจะพูดชักชวนให้ประชาชนลงความเห็นด้วยกับตนนั้น  ถ้าเราใช้วิธีโกงต่างๆ เช่นติดสินบนหรือข่มขืนน้ำใจ ก็ต้องเรียกว่าเล่นผิดเกมการเมืองโดยแท้  ต้องพูดให้คนอื่นเห็นตามโดยโวหารและโดยชอบธรรมจึงจะถูกกฎของเกม 
การปกครองแบบเดโมคราซีนั้น  ผู้ที่ชนะแล้วได้เข้ามาปกครองบ้านเมือง  ก็ควรจะต้องนึกถึงน้ำใจของฝ่ายน้อยที่แพ้เหมือนกัน  ไม่ใช่ว่าเราชนะแล้วก็จะหาวิธีกดขี่ข่มเหงผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ต่างๆนานาหาได้ไม่  ย่อมต้องมุ่งปกครองเพื่อประโยชน์ของคณะต่างๆ ทั้งหมด  ส่วนผู้ที่แพ้ก็เหมือนกัน  เมื่อแพ้แล้วก็ต้องยอมรับว่าตนแพ้ในความคิดในโวหาร  แพ้เพราะประชาชนส่วนมากไม่เห็นด้วย  เมื่อแพ้แล้วถ้าตั้งกองวิวาทเรื่อย  บอกว่าถึงแม้คะแนนโหวตแพ้ กำหมัดยังไม่แพ้ เช่นนั้นแล้วความเรียบร้อยจะมีไม่ได้  คงได้เกิดตีกันหัวแตกเต็มไป  ฝ่ายผู้แพ้ควรต้องนึกว่า  คราวนี้เราแพ้แล้วต้องไม่ขัดขวางหรือขัดคอพวกที่ชนะอย่างใดเลย  ต้องปล่อยให้เขาดำเนินการตามความเห็นชอบของเขา  ต่อไปภายหน้าเราอาจเป็นฝ่ายที่ชนะได้เหมือนกัน
 
น้ำใจที่เป็นนักกีฬาที่เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  ก็คือว่าเราต้องเล่นสำหรับคณะเป็นส่วนรวม  แม้ในโรงเรียนเรานี้แบ่งออกเป็นคณะต่างๆ  เมื่อเล่นแข่งขันในระหว่างคณะ  เราก็เล่นสำหรับคณะของเราเพื่อให้คณะของเราชนะ  แต่เมื่อโรงเรียนทั้งโรงเรียนไปเล่นเกมกับโรงเรียนอื่น  ไม่ว่าคณะใดก็ตามต้องร่วมใจกันเล่นเพื่อโรงเรียนอย่างเดียวเท่านั้น  เวลานั้นต้องลืมว่าเราเคยแบ่งเป็นคณะ  เคยแข่งขันกันมาในระหว่างคณะอย่างไรต้องลืมหมด  ต้องมุ่งเล่นเพื่อโรงเรียนอย่างเดียวเท่านั้น 

สำหรับประเทศชาติความข้อนี้เป็นของสำคัญอย่างยิ่งเหมือนกัน  เพราะตามธรรมดาย่อมต้องมีคณะการเมืองคณะต่างๆ ซึ่งมีความเห็นต่างๆ กัน  แต่เมื่อถึงคราวที่จะต้องนึกถึงประเทศแล้ว  ต่างคณะต้องต่างร่วมใจกันนึกถึงประโยชน์ของประเทศอย่างเดียวเป็นใหญ่  ต้องลืมความเห็นที่แตกต่างกันนั้นหมด  ถึงจะเคยน้อยอกน้อยใจกันมาอย่างไร  ต้องลืมหมด  ต้องฝังเสียหมด  ต้องนึกถึงประโยชน์ของประเทศของตนเท่านั้น  จะนึกเห็นแก่ตัวไม่ได้  อย่างนี้จึงจะเรียกว่ามีใจเป็นนักกีฬาแท้  เป็นของจำเป็นที่จะต้องปลูกให้คนมีน้ำใจอย่างนั้น  จึงจะปกครองอย่างแบบเดโมคราซีได้ดี"   



ท่านคงจะเข้าใจได้ว่า การขาดการศึกษาของชาตินั้นไม่ได้มีความหมายแค่ให้อ่านออกเขียนได้ แต่ต้องให้พื้นฐานของสังคม อันเป็นรากแก้วของความเป็นประชาธิปไตย ดังที่อังกฤษเขาปลูกฝังให้เด็กตั้งแต่ต้นเข้าโรงเรียนเลยทีเดียว

บันทึกการเข้า
DrJfk
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 08:47

ไม่มีหรอกครับ วชิราวุธแบ่งนักเรียนเป็นคณะเพื่อเล่นกีฬากัน เราแข่งกีฬาทุกประเภทตั้งแต่แบดมินตันไปจนถึงฟุตบอลหรือรักบี้ เวลาแข่งเอาจริงเอาจังกันมาก เพราะใครชนะเลิศแต่ละประเภทจะได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากพระหัตถ์(สมัยผม) แต่รู้แพ้รูชนะแล้วก็เลิกกันไป ไม่มีเก็บมาคิดมาแค้น

เพื่อนวชิราวุธนี้รักกันมาก และรักข้ามรุ่นไปแบบว่าไม่ทันเห็นหน้าค่าตากันเลย พอรู้จักกันปุ๊บก็เป็นพี่เป็นน้องขึ้นมาทันที
เพื่อนลูกชายเคยถาม จะให้เขาเรียกผมว่าคุณอาหรือพี่ ผมก็บอกให้เรียกพี่ซิ เขาก็เรียกผมว่าพี่ จนลูกชายผมต้องถามเขาว่านี่ข้าต้องเรียกเอ็งว่าคุณอาหรือเปล่า



รุ่นน้องลูกผม ในเน็ต ก็เรียกผม พี่หมอทุกคน

ต่อไป ต้องให้ลูกๆผมเรียก เพื่อนป้า ลุง กันแล้ว อิๆ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 08:56

มาลงชื่อค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 11:56

มาขยายความเรื่องระบบการศึกษาของวชิราวุธวิทยาลัยครับ
ระบบการศึกษาที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานเป็นแนวทางไว้ประกอบด้วยหลัก ๓ ประการ คือ
๑. สอนให้เป็นผู้ดี  ผู้ดีในความหมายนี้คือ เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย  รู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ของหมู่คณะ
๒. สอนให้เป็นผู้มีศาสนา  เพราะมีพระราชดำริว่า คนเราหากไม่มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว  ก็สามารถที่จะกระทำการใดๆ ที่สร้างความเดือดร่อนให้ประเทศชาติหรือหมู่คณะได้มาก
๓ฉ สอนให้เป็นผู้มีความรู้  เพื่อใช้ประกอบอาชีพทำมาหาเลี้ยงตนและครอบครัว

จากหลัก ๓ ประการนั้นมีนักเรียนเก่ารุ่นเดียวกับคุณพี่ Navrat C. และ Naitang  ที่ท่านมีประสบการณ์ทางการศึกษาเป็นทั้งรักษาการอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  ท่านอธิบายถึงระบบการศึกษาไทยว่า โรงเรียนทั่วไปนั้นนักเรียนไปโรงเรียนก็เรียนกันแต่ในห้องเรียน  โอกาสที่นักเรียนจะพบปะเสวนากันก็มีแต่ในห้องเรียนหรืออย่างมากก็ในระดับชั้นเดียวกัน  ต่างชั้นกันไปแม้เรียนในโรงเรียนเดียวกันยังแทบจะไม่รู้จักกัน  ท่านจึงเรียกว่าการเรียนแบบนี้เป็นการศึกษาแบบแนวนอน

แต่ที่วชิราวุธนั้นเวลาเรียนในห้องเรียน  นักเรียนทุกชั้นต่างก็จะไปเรียนรวมกันในห้องเรียน  แต่เลิกเรียนในครึ่งวันเช้าแล้ว  นักเรียนกลับไปใช้ชีวิตที่คณะซึ่งมีนักเรียนต่างชั้นกัน  ทั้งยังมีนักเรียนอาวุโสเป็นหัวหน้าปกครองนักเรียนในคณะ  นักเรียนวชิราวุธจึงมีโอกาสที่จะพบปะสัมพันธ์กับทั้งนักเรียนต่างคณะในชั้นเรียนเดียวกัน  และต่างชั้นกันในเวลาที่อยู่คณะ  ท่านว่าระบบการศึกษาของวชิราวุธนี้มีทั้งแกนตั้งและแกนนอน

ด้วยเหตุที่นักเรียนวชิราวุธมีความสัมพันธ์ทั้งแกนตั้งและแกนนอนดังกล่าว  พอลงสนามแข่งขันกันต่างก็มีเป้าหมายนำชัยชนะกลับสู่คณะของตน  และเนื่องจากกีฬาในวชิราวุธวิทยาลัยมีแข่งขันทั้งประเภททีมและบุคคลหลากหลายประเภทกีฬา  กีฬาประเภททีมมีแข่งทั้งรุ่นใหญ่ กลาง เล็ก ตามขนารูปร่สงของนักเรียน  การแข่งขันกีฬาในวชิราวุธจึงมีตลอดทั้งปีตั้งแต่ต้นปีการศึกษาจนปิดท้ายด้วยการแข่งขันกรีฑาหน้าพระที่นั่งในวันเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานประกาศนียบัตรและรางวัลประจำปี  การแข่งขันแต่ละครั้งทุกคนต่างเล่นกันเต็มที่เพื่อนำชัยชนะสู่ของตน  แต่เมื่อไม่ว่าผลแพ้ชนะจะเป็นเช่นไรเมื่อจบการแข่งขันต่างก็กอดคอจับมือกันฉันท์เพื่อนเหมือนเดิม  ไม่เคยปรากฏว่ากีฬาแพ้แต่คนดูไม่แพ้  และเพราะความสัมพันธ์ทั้งแกนตั้งและแกนนอนดังกล่าว  นักเรียนวชิราวุธจึงนับกันเป็นพี่เป็นน้องแม้จะอายุห่างกันหลายสิบปีก็ยังสามารถคุยกันได้สนุกสนานทุกเวลาที่พบกัน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 12:06

ถ้วยรางวัลการแข่งขันกรีฑาระหว่างคณะในวชิราวุธวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ พระราชทานไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 ต.ค. 16, 17:32

คุณ navarat เล่าว่า "ย้ายไปเรียนชั้นมัธยมหนึ่งที่วชิราวุธ"  อันนี้หมายถึงประถม5ในปัจจุบันหรือเปล่าครับ?

ยุคคุณ NAVARAT.C เป็นเด็กเล็ก    การศึกษาไทยแบ่งเป็น 4-6-2
คือประถม 1-4  ต่อด้วยมัธยมต้น 1-6  และมัธยมปลาย 7-8  ก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย
ในยุคที่คุณ NAVARAT.C เป็นวัยรุ่น    การศึกษาไทยแบ่งใหม่เป็น 7-3-2
คือประถม 1-7  ต่อด้วยมัธยมศึกษา 1-3  และมัธยมศึกษา(ตอนปลาย) 4-5   เรียกว่า มศ.
ไม่แน่ใจว่าคุณธสาครทันหรือเปล่านะคะ    ถ้าอายุต่ำกว่า 50 ก็ไม่น่าจะทัน
คงจะอยู่ในยุคปัจจุบัน คือ 6-3-3
คือประถม 1-6   มัธยมต้น 1-3  มัธยมปลาย 4-6   ไม่มีคำว่าศึกษา
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 ต.ค. 16, 06:43

ยุคคุณ NAVARAT.C เป็นเด็กเล็ก    การศึกษาไทยแบ่งเป็น 4-6-2
คือประถม 1-4  ต่อด้วยมัธยมต้น 1-6  และมัธยมปลาย 7-8  ก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย
ในยุคที่คุณ NAVARAT.C เป็นวัยรุ่น    การศึกษาไทยแบ่งใหม่เป็น 7-3-2
คือประถม 1-7  ต่อด้วยมัธยมศึกษา 1-3  และมัธยมศึกษา(ตอนปลาย) 4-5   เรียกว่า มศ.

ไม่แน่ใจว่าคุณธสาครทันหรือเปล่านะคะ    ถ้าอายุต่ำกว่า 50 ก็ไม่น่าจะทัน
คงจะอยู่ในยุคปัจจุบัน คือ 6-3-3
คือประถม 1-6   มัธยมต้น 1-3  มัธยมปลาย 4-6   ไม่มีคำว่าศึกษา

ของผมเป็น 6-3-3 ยุคต้นๆ  ที่ดูเหมือนว่าตำราประถมจะยังไม่เปลี่ยน (ไม่มีมาลี มานะ) แต่ยังเป็นวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่ ศีลธรรม  มีวิชาเลขในใจด้วยครับ
กระทรวงฯคงจะตัดประถม7ออก  แล้วให้ขึ้นมัธยม1เลย 
ผมเคยเอาตำราประถม7ของพี่ชายมาอ่าน  เนื้อหาแนวเดียวกันเป๊ะ  มีเพิ่มมาอีกนิดหน่อย

เห็นแต่ละท่านงัดใบสุทธิมาแสดงกัน  ผมนี้ลนลานกราบเลยครับ  ขอคารวะผู้อาวุโสทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง