เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
อ่าน: 39576 พระพุทธเจ้าอยู่หัวในความทรงจำของผม
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 19:00

พระพุทธรูปบนหน้าผาแบบพระฉายที่ได้ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการถกกันมาในลักษณะของทางเลือกสุดท้ายมาตั้งแต่ระยะแรกๆที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ในกรณีที่ไม่สามารถทำการแกะสลักแบบ bas relief ได้ 

เนื่องจากผมเป็นผู้สำรวจและทำรายงานเรื่องของสภาพหินแต่แรกเริ่ม เสมือนว่าผู้เดียวที่ได้รู้ได้เห็นสภาพจริงในองค์รวม ก็เลยต้องร่วมเสนอและให้ความเห็นกับแนวทางการดำเนินการต่อๆไป  หนึ่งในความเห็นนั้นก็คือ น่าจะลองพิจารณาเทคนิคการใช้คอนกรีตเชื่อมประสานรอยแตกรอยแยก (grouting) เพื่อให้ได้วัตถุเนื้อแน่นที่เป็นเนื้อเดียวกัน และเทคนิคการทำเย็บหิน (rock bolt) ว่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะทำให้สามารถแกะสลักแบบ high relief ? หรือ bas relief ?   กฟผ.ซึ่งมีความสัดทัดและเชี่ยวชาญในเรื่องนี้จึงได้รับการประสานและเข้ามาเกี่ยวข้อง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 19:19

ไม่ขยายความต่อแล้วนะครับ

เอาเป็นว่าเรื่องการแกะสลักนั้น ถูกจำกัดอยู่ในกรอบของความคิดว่า ทำไม่ได้ ยาก ต้องใช้งบสูง และความเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง(ดังที่กล่าวมา)   ครับ...แล้วก็บรรยากาศและสถานะการณ์อื่นๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 19:23

มาอธิบายเพิ่มเล็กน้อย สำหรับท่านที่ไม่คุ้นกับศัพท์เทคนิคค่ะ
Bas Relief  คือการแกะสลักแบบนูนต่ำ   มีความสูงต่ำจากพื้นผิวเดิม เพียงเล็กน้อย

High Relief  คือแกะสลักลอยขึ้นมาจากผิวเดิมมาก   สามารถมองเห็นได้ 3 ด้าน คือด้านหน้า และด้านข้างอีก 2 ด้าน เห็นได้ชัดเจน

ภาพข้างล่างนี้ คือภาพนูนต่ำ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 19:24

ภาพแกะสลักนูนสูง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 19:37

หากได้อ่านและประมวลเรื่องราวและข้อมูลในระโยงที่คุณ NAVARAT C. และคุณ ninpaat ได้ให้ไว้แล้ว ก็จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงมีความผูกพันกับวัดญาณสังวรารามฯอยู่มากเลยใช่ใหมครับ  

ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีดำริว่าจะทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อกรรมสิทธิที่ดินบนพื้นที่ระหว่างวัดกับเขาชีจรรย์ เพื่อจะได้ไม่เกิดมีสิ่งกีดขวางสายตาในอนาคตอีกด้วย    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 20:11

ในช่วงต้นๆของโครงการแกะสลักพระนั้น ก็ยังมีการทำการระเบิดและย่อยหินอยู่ ล่วงมาระยะหนึ่งจึงได้มีการยุติ   สมเด็จพระญาณฯไม่ประสงค์จะให้ยุติในทันใด เพราะจะกระทบกระเทือนต่อทั้งฝ่ายผู้ประกอบและฝ่ายผู้ต้องการใช้หิน   ผมให้ความเห็นว่า เพื่อเป็นการรักษาสภาพของหน้าผาที่ดูดีอยู่แล้ว แทนที่จะให้เขาทำการระเบิด ณ จุดต่างๆอย่างอิสระในช่วงก่อนยุติกิจการ ก็ขอให้เขาช่วยปรับหน้าผาบางส่วน เช่น ส่วนฐานของหน้าผา และส่วนปีกเขาด้านขวา (เมื่อหันหน้ามองหน้าผา) ซึ่งไม่ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไรต่อไปที่หน้าผา เราก็จะเห็นหน้าผาที่ดูสมบูรณ์สวยงาม 
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 19 ธ.ค. 16, 18:02

ผมได้อ่านประวัติการสร้างพระพุทธรูปเขาชีจรรย์  จากระโยงที่คุณ navarat ประเดิมไว้ให้  และตามอ่านจนครบทุกตอน (มีทั้งหมด 6 ตอน) จึงได้พบคำตอบที่ตัวเองสงสัย (ซึ่งตรงกับที่คุณ naitang สรุปไว้สั้นๆในความเห็นที่241) เลยคัดข้อความจากระโยงของเว็บธรณีไทยมาแปะไว้ที่นี่ดังนี้

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัย  สรุปได้ว่าสมควรจัดสร้างเป็นแบบลายเส้น  แต่ให้ลึกและชัดขึ้นเห็นเป็นรูปพระพุทธรูปในระยะไกลจะดีกว่าการสร้างแบบนูนต่ำ  ซึ่งไม่เหมาะสม

เพราะจะมีปัญหาในด้านการบำรุงรักษาตลอดจนระยะเวลาและค่าก่อสร้าง"

"แรงระเบิดจากการทำเหมืองหินในอดีตประกอบกับการแทรกตัวของหินแกรนิตทำให้หินบริเวณหน้าผามีสภาพแตกร้าว มีรอยเลื่อน และคดโค้งมากมาย"

"ด้วยพระองค์ทรงทราบดีว่าสภาพหินของหน้าผาไม่ค่อยดีนัก  จึงมีพระราชวินิจฉัยลงมาว่า  ถ้าหากแกะสลักองค์พระแบบนูนสูง (High Relief) หรือแม้กระทั่งแบบนูนต่ำ (Bass Relief) การก่อสร้าง

อาจจะกระทำไม่สำเร็จหรือมิฉะนั้นค่าใช้จ่ายก็จะสูงและใช้เวลามาก  จึงควรทำเป็นแบบลายเส้น (Lined Pattern)"
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 19 ธ.ค. 16, 18:08

เป็นความวุ่นวายใจของผมเองที่อยากเห็นของสวยๆงามๆตามวิสัยปุถุชน  ทั้งๆที่ทราบว่าหากแกะสลักแบบนูนสูงนั้น  คงสิ้นเปลืองทรัพยากรในทุกๆด้านเป็นอันมาก 
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชอำนาจที่จะอำนวยการให้เรื่องยากสำเร็จลงได้  แต่กลับมีพระราชวินิจฉัยเลือกแบบ "ลายเส้น"  _/\_ ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสในสันตุฎฐีธรรม _/\_
คือถ้าเป็นผมนะ  ถ้ามีทั้งเงิน บุคลากร และโอกาส ที่จะสร้างพระประธานในอุโบสถซักแห่ง  คงอดใจไม่ไหวที่จะเลือกแบบที่สวยที่สุด

รูปที่ฉายเลเซอร์ยามค่ำคืนสวยดีครับ  หากมีการจัดงานรำลึกในโอกาสหน้าคราใด  น่าจะนำเลเซอร์กลับมาฉายอีกซักรอบ  สาธุล่วงหน้า


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 20 ธ.ค. 16, 18:36

วันหนึ่งก่อนที่ผมจะห่างไปจากเรื่องของเขาชีจรรย์ หลังการที่ได้รายงานและอธิบายเรื่องทางเทคนิคต่างๆแล้ว ให้บังเอญว่าเป็นวันคล้ายวันเกิดของผม เลยกราบขอพรจากสมเด็จพระญาณสังวรฯ ก็ได้รับทั้งพรอันประเสริฐและพระเครื่องชุดหนึ่งพร้อมกับหนังสือของวัดบวรฯอีกชุดหนึ่ง    ซึ่งหนังสือที่มีคุณค่ามากสำหรับผม ชื่อ "ลักษณะพระพุทธศาสนา" ซึ่งเป็นคำสอนพระนวกะของสมเด็จพระญาณฯที่ได้ถอดมากจากเทปบันทึกเสียง   ลองหาอ่านดูนะครับ (http://sangharaja.org/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=3)   

สำหรับผมนั้น เมื่อได้ผนวกความรู้และความเข้าใจเรื่องต่างๆที่ประมวลได้จากพระนิพนธ์อื่นๆทั้งหลายร่วมกันแล้ว ทำให้ได้คำตอบต่างๆที่มีการโจทย์ขานเล่าลือกันในหมู่ผู้คนในเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่หัวกับพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย  _/\_

ผมได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระญาณวังวรฯอีกครั้งเมื่อปี 2542 ก่อนที่จะเดินทางไปประจำการอยู่ในต่างประเทศ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 20 ธ.ค. 16, 18:53

ในระหว่างทำเรื่องเขาชีจรรย์ ก็ได้ถูกโยงให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องหินที่จะแกะสลักเป็นพระธรรมจักรเพื่อตั้งวางใว้ที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่พุทธมณฑล  เข้าไปเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการเร่งรัดการจัดสร้างพุทธมณฑล

มีเรื่องเล่านิดเดียวเกี่ยวกับหินพระธรรมจักรนี้ครับ  คงจะมีน้อยคนรู้ว่า หินพระธรรมจักรนี้ตั้งอยู่บนฐานที่เป็นระบบป้องกับแผ่นดินไหว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 20 ธ.ค. 16, 19:23

เมื่อการสร้างสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาชม วันนั้นมีการตั้งเต็นท์ ตั้งบอร์ด ติดโพสเตอร์แสดงเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับการสร้างสังเวชนียสถานแต่ละตำบล   พอมาถึงเต็นท์ตำบลพระธรรมจักร ผมเป็นผู้กล่าวถวายรายงานในส่วนของเรื่องของตัวหินที่นำมาแกะสลักเป็นพระธรรมจักร  พระองค์ท่านทรงยืนอยู่ห่างจากบอร์ดประมาณ 2 เมตร ตัวผมเองยืนอยู่ระหว่างบอร์ดกับพระองค์ท่าน  พอกล่าวถวายรายงานเสร็จ พระองค์ท่านก็ทรงก้มลงเล็กน้อยทอดพระเนตรที่แผ่นบอร์ด ทรงแย้มพระสรวลนิดๆแล้วก็ทรงตรัสว่า "Geology นั้นสะกดผิดนะ ตัว E มิใช่ตัว I"   ผมหันไปดูในทันใด มองไม่เห็นหรอกครับ แล้วก็ตอบ "พะยะค่ะ"  แล้วท่านก็เสด็จพระราชดำเนินต่อไป   พอเสด็จพ้นไปแล้วผู้จัดทำโพสเตอร์อธิบายก็เข้ามาก้มอ่านดู ผมเองต้องเข้าไปใกล้ๆจึงจะมองเห็นคำที่สะกดผิด    ท่านทรงเห็นได้อย่างไรนะในระยะห่างขนาดนั้น  ก็ยังเป็นงงอยู่จนปัจจุบัน         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 20 ธ.ค. 16, 19:42

ครับ ทั้งอายและทั้งขำ  เรียนมาก็โดยตรง ทำงานมาก็โดยตรง รายงานก็เขียนกันอยู่เป็นประจำ ฯลฯ  ทำไมหนอ? จำเพาะเจาะจงจะต้องมาสะกดผิดเอาในงานวันสำคัญที่จัดถวายพระพุทธเจ้าอยู่หัว

ก็เป็นครั้งสุดท้ายที่ผมได้ถวายงานและอยู่ใกล้ๆกับพระองค์ท่าน 

เป็นความทรงจำของผม ที่เมื่อนึกถึงขึ้นมาเมื่อใดก็รู้สึกปิติ ชุ่มฉ่ำหัวใจทุกครั้ง _/\_   
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 14 ต.ค. 19, 13:45

เมื่อวานได้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมวันเดียวที่ยุวพุทธฯ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในหลวงรัชกาลที่ 9 มีคนเข้าร่วมปฏิบัติถึงสี่ร้อยกว่าคน เห็นแล้วปลื้มค่ะ คนไทยยังรักและระลึกถึงพระองค์ท่านอยู่เสมอ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 09 ต.ค. 20, 14:57

ผ่านไปไม่เท่าไร  ใกล้จะครบ 4 ปีแล้ว


บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 18 ต.ค. 20, 08:33

.
กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ฝนหนักน้ำย่อมท่วม แต่วิธีแก้ไขต้องมี! ร.๙ ทรงแก้ด้านตะวันออกได้ยั่งยืน!!
เผยแพร่: 14 ต.ค. 2563 09:14   โดย: โรม บุนนาค



เมื่อก่อนปี ๒๕๒๖ เมื่อฝนตกหนักทีไร นักข่าวทุกสำนักต่างมุ่งไปที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะย่านถนนรามคำแหง
ซึ่งเจิ่งนองไปด้วยน้ำในทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก และไม่ใช่ท่วมเช้าเย็นลด แต่แช่เป็นเดือนๆ การจราจรในย่านนั้นจึงต้องใช้เรือเป็นหลักบนถนน
ทางราชการต่างระดมความช่วยเหลือไปยังจุดนั้น กองทัพบกส่งรถ ยีเอ็มซี. กองทัพเรือส่งเรือท้องแบน ไปช่วยขนคนตามหมู่บ้านทั้งสองฟากถนนรามคำแหงออกมาถนนใหญ่ที่รถเมล์ยังพอวิ่งได้
ส่วนภายในหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านเสรี หลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นหมู่บ้านจัดสรรใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนเป็น “นิวนอร์มอล”
รถขายของที่เคยมาหน้าบ้านทุกวันได้เปลี่ยนเป็นเรือ คนที่เคยหาบของมาขายก็ยังต้องทนลุยน้ำทำมาหากิน แต่ต้องตัดสาแหรกที่หาบให้สั้นพ้นน้ำ
บุรุษไปรษณีย์ที่เคยใช้มอร์เตอร์ไซด์หรือจักรยาน หันไปใช้อ่างใบใหญ่ใส่จดหมาย แล้วเจาะผูกเชือกลากน้ำไปบนฟุตบาทส่งตามบ้าน



แต่ก็แปลก ที่น้ำที่ท่วมขังอยู่ในย่านนั้น แม้จะท่วมอยู่นานถึง ๓-๔ เดือนก็ไม่เน่า เพราะกระแสน้ำไหลแรงอยู่ตลอดเวลา
บางซอยยังมีคนเอาตาข่ายมาขึงดักปลาเป็นกับข้าวได้ และท่วมซ้ำซากแบบนี้อยู่หลายปี นับเป็นความขมขื่นของคนในย่านนั้นทุกฤดูฝน จนหลายคนต้องย้ายบ้านหนี



ในขณะที่คนย่านรามคำแหงต้องลุยน้ำเข้าออกบ้าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ซึ่งประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนจิตรลดา ที่น้ำไม่ท่วม
ก็ทรงมาลุยน้ำเหมือนกัน ในปี ๒๕๒๖ ที่น้ำท่วมหนัก

วันที่ ๘ ตุลาคม เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์ ทอดพระเนตรน้ำท่วมบริเวณซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนลาดพร้าว บางกะปิ พระโขนง และสำโรง

วันที่ ๑๙ ตุลาคม เสด็จโดยเรือของกองพันทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ ไปตามคลองแสนแสบ เพื่อตรวจการก่อสร้างทำนบคลองแสนแสบ ตามพระราชดำริ

วันที่ ๒๗ ตุลาคม เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณซอยศูนบ์วิจัย

วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรน้ำท่วมบริเวณเขตพระโขนงและบางนา

วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณคลองพระยาราชมนตรี
และทรงพระราชดำเนินลุยน้ำผ่านทุ่งนาไปยังประตูระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี เป็นระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร

วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณคลองลาดกระบัง คลองหนองบอน ผ่านตามแนวถนนบางพลี

จากการเสด็จไปค้นหาข้อมูลของปัญหาถึงต้นตอของปัญหา ก็ทรงทราบว่า น้ำที่ท่วมย่านตะวันออกของกรุงเทพฯที่เป็นแอ่งกระทะนี้ เป็นน้ำที่มาจากทางด้านเหนือ
ถ้าจะสูบน้ำในย่านนี้ให้แห้ง ก็ต้องสูบทั้งทุ่งรังสิตให้แห้งก่อน ทั้งน้ำจากด้านตะวันออกของกรุงเทพฯนี้ ยังไหลไปเข้าท่วมตัวเมืองสมุทรปราการและพื้นที่กรุงเทพฯชั้นกลาง
ได้แก่ เขตดอนเมือง บางเขน บึงกุ่ม ลาดพร้าว บางกะปิ สวนหลวง ประเวศ พระโขนง และพื้นที่ชั้นใน เช่น คลองเตย ราชเทวี ปทุมวัน สาทร ป้อมปราบ และพญาไท

ฉะนั้นวิธีแก้ จะต้องกั้นไม่ให้น้ำจากด้านเหนือไหลเข้ากรุงเทพฯทางด้านนี้ ให้ไหลลงคลองก่อนจะมาถึงแอ่งกระทะ ให้ระบายออกลงทะเลโดยตรง

นั่นก็คือโครงการพระราชดำริให้กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมทางหลวงและการรถไฟ สร้างคันดินเลียบถนนนิมิตใหม่ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว เป็นระยะทาง ๗๒ กิโลเมตร
เพื่อกันน้ำจากทุ่งทางเหนือไม่ให้ไหลลงมาในแอ่ง พร้อมทั้งขุดลอกคลองในย่านนั้นที่ตื้นเขินและตีบตัน ระบายน้ำให้ไหลลงทะเลได้คล่องขึ้น
เมื่อฝนตกลงมาในแอ่งกระทะ ไม่ว่าจะหนักแค่ไหน กำลังเครื่องสูบน้ำของ กทม.ก็สามารถสูบให้แห้งได้อย่างรวดเร็ว

จากปี ๒๕๒๗ เป็นต้นมา ปัญหาน้ำท่วมเขตตะวันออกของกรุงเทพฯก็หมดไป ตามคำกล่าวที่ว่า “พระบาทยาตรา ปวงประชาเป็นสุข”

ตอนนี้ทั้งวิศวกรและนักวิชาการทางด้านชลประทานก็มีมากมายแทบจะเดินชนกันตาย แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเจอดีเปรสชั่นเข้าไปน้ำนองไปทั่วประเทศ
และเจอแบบนี้มาซ้ำซาก ซึ่งวิธีแก้ไขก็น่าจะมี และเป็นงานเร่งด่วนกว่าแก้รัฐธรรมนูญเสียอีก น่าจะลงมือกันให้จริงจังกันเสียที
ที่สำคัญคนในเมืองก็ต้องแก้ไขตัวเอง ไม่มักง่ายทิ้งขยะลงไปอุดตันท่อระบายน้ำ ถ้าเจอแบบนี้นักวิชการทั้งหลายก็ต้องมึนไปเหมือนกัน

นิวนอร์มอลกันเสียที ให้เห็นว่าประเทศนี้ก็มีความก้าวหน้า


ขอขอบคุณ : mgronline.com
.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง