เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18
  พิมพ์  
อ่าน: 39738 พระพุทธเจ้าอยู่หัวในความทรงจำของผม
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 09 ธ.ค. 16, 02:26

ขอบพระคุณ คุณnavarat.c  ที่ทำให้ผมกลับเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง
ก็ท่านเจ้าของเสียง  ใช้สรรพนามแทนผู้ฟังว่า เด็กๆ 
ผมเลยพลอยรู้สึกว่าตัวเองเป็นหนึ่งในบรรดาเด็กที่กำลังล้อมวงฟังผู้ใหญ่เล่าเรื่อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 09 ธ.ค. 16, 08:08

ความจริงเสียงของแม่จะเนิบกว่าในไฟล์นี่โหลดลงมานี่หน่อยหนึ่งนะครับ จังหวะจะพอดีๆที่จะเกิดสมาธิในการฟังได้ง่าย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 14 ธ.ค. 16, 18:58

กลับมาจาก ตจว.แล้วครับ  หาช่องเข้ากระทู้นี้ไม่ได้ก็เลยจะขอแทรกเข้าไปดื้อๆแบบไม่ค่อยจะสุภาพนัก แบบแทนที่จะค่อยๆเบียดเข้าไป

ก็จะขอเล่าต่อเรื่องเกี่ยวกับวัดญาณสังวรรามวรมหาวิหารที่ได้เล่าค้างไว้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 14 ธ.ค. 16, 19:46

เรื่องราวของวัดญาณสังวรารามฯตามที่มีปรากฎอยู่ตามสื่อทั่วๆไปนั้น ไม่ค่อยจะมีรายละเอียดให้มากนัก  อันที่จริงแล้วชื่อของวัดเริ่มเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะก็เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับการจะแกะสลักพระองค์ใหญ่ที่หน้าผาเขาชีจรรย์   บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือพัฒนาวัดที่มีการบันทึกกันก็จึงเป็นกลุ่มบุคคลที่เข้ามาในภายหลังจากที่วัดมีการตัดสินใจว่าจะเดินหน้าอย่างจริงจัง(เป็นทางการ)กับแกะสลักพระที่เข้าชีจรรย์ หลังจากที่ได้มีการถกความเห็นกันเป็นการภายในหลากหลายประเด็นมาเป็นเวลานานประมาณ 10 ปี ซึ่งผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องก็ในช่วงเวลานี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 14 ธ.ค. 16, 20:45

การถกความเห็นต่างๆเป็นไปในลักษณะการสนทนาเป็นวงเล็กๆ ก็มีสมเด็จพระญาณสังวรฯ นายทหารเรือท่านหนึ่ง ตัวผม บางครั้งก็มีท่านรองอธิบดีกรมศิลปากร และพระอีกรูปหนึ่ง  วงสนทนาก็เป็นแบบง่ายๆ ไม่เป็นพิธีรีตรอง     ผมรู้สึกสมผัสได้จากข้อความและความเห็นที่สมเด็จพระญาณสังวรฯได้แสดงออกมาในทุกครั้ง ว่าต้องมีการสื่อสารระหว่างองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระญาณสังวรฯอยู่เป็นกิจวัตรประจำในเรื่องราวต่างๆและซึ่งลึกลงไปถึงในระดับรายละเอียดเลยทีเดียว       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 15 ธ.ค. 16, 18:11

ก็คงจะเริ่มสัมผัสกับภาพลางๆเกี่ยวกับพัฒนาการของวัดญาณสังวรารามกันแล้วนะครับ

ท่านที่เคยเข้าไปเที่ยววัดและบริเวณพื้นที่รอบๆคงจะสังเกตเห็นได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างมีระบบ ผ่านกระบวนการคิดและการออกแบบตามพื้นฐานทางวิชาการสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มวิชาสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และแม้กระทั่งทางศาสนา  เราจะเห็นมีการสร้างโรงพยาบาล มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ มีการสร้างถนนหนทางที่วางทอดตัวไปแบบไม่ขัดตา ยังคงเห็นพื้นที่สวนคั่นระหว่างที่ตั้งวัดกับพระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ ฯลฯ 

ภาพที่ดูจะบ่งบอกออกมาก็คงน่าจะต้องเป็นพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่ในลักษณะ self sufficient
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 15 ธ.ค. 16, 19:01

ใช่ครับ ผมได้รับรู้จากสมเด็จพระญาณวังวรฯว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงมีพระประสงค์จะมีสถานที่ๆมีความสงบและเรียบง่ายสำหรับการเจริญธรรมของพระองค์ในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงเข้าสู่วัยชราภาพ 

 _/\_ _/\_ _/\_

ซึ่งสาธารณะชนส่วนมากจะรับรู้เรื่องราวในลักษณะอื่นว่า เป็นวัดของสมเด็จพระญาณสังวรฯและจะเป็นสถานที่ใช้ทรงงานขององค์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเมื่อได้เสด็จออกทรงงานในพื้นที่ภูมิภาคนั้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 15 ธ.ค. 16, 20:20

ในช่วงที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องช่วงแรกๆ พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์นั้นสร้างเสร็จแล้ว ส่วนหินแกรนิตที่จะนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธบาทสำหรับมหามณฑบพุทธบาท ภปร.สก. นั้น ยังอยู่ในช่วงที่กำลังได้พบหินแกรนิตขนาดที่ต้องการในพื้นที่ จ.จันทบุรี

เมื่อผมได้รับรู้ว่าได้มีการรายงานต่อพระพุทธเจ้าอยู่หัวในทันทีที่มีการยืนยันว่าได้มีการพบหินแกรนิตขนาดใหญ่พอที่จะมาแกะสลักเป็นพระพุทธบาทและรายละเอียดต่างๆแล้ว   ผนวกกับได้รับรู้ว่า จุดตำแหน่งที่ตั้งต่างๆของอาคารและพุทธสถานที่สักการะต่างๆของวัดนั้น มาจากการถกกันระหว่างองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระญาณสังวรฯ  ซึ่งทุกตำแหน่งที่ตั้งของถาวรวัตถุต่างๆมีความสัมพันธ์กันหมด (เช่น องค์พระที่จะแกะสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์จะผินพระพักตร์ไปทิศใด สัมพันธ์กับองค์พระเจดีย์ฯเช่นใด กับอาคารหลักเช่นใด และกับพระพุทธบาทเช่นใด)

ก็คงจะคิดเป็นอื่นใดไม่ได้มากนัก วัดนี้เป็นวัดที่พระราชาและพระสังฆราชาร่วมกันสร้างขึ้นมา    ส่วนสำหรับผมเป็นการส่วนตัวนั้น ผม เชื่อว่าเป็นวัดของพระพุทธเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงสร้างขึ้นมา     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 16 ธ.ค. 16, 19:00

ในเรื่องของการแกะสลักพระที่เขาชีจรรย์นั้น เรื่องจริงๆโดยย่อก็เป็นดังนี้

ด้วยที่เขาชีจรรย์มีความสูงที่เห็นโดดเด่นอยู่ในพื้นที่ย่านนั้น ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและสามารถมองเห็นได้จากวัด โดยเฉพาะมองเห็นส่วนที่เป็นหน้าผาของเขาซึ่งเกิดมาจากการทำการระเบิดและย่อยหินต่อเนื่องตลอดมานานหลายปี พื้นที่ของเขาชีจรรย์อยู่ในเขตทหารเรือ และซึ่งการระเบิดและย่อยหินนั้นก็เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของ ทร. 

สมเด็จพระญาณวังวรฯทรงเห็นว่าการระเบิดและย่อยหินต่อไปเรื่อยๆก็มีแต่จะทำลายทรัพยากรธรรมชาตืและลดทอนความสวยงามของพื้นที่ในองค์รวมลงไป  และเห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์เฉพาะทางแต่เดิมนั้น ให้เป็นประโยชน์ในรูปแบบสาธารณะได้ และก็ยังคงเป็นการรักษาธรรมชาติอีกด้วย    ซึ่งสมเด็จพระญาณฯเห็นว่าน่าจะใช้วิธีการแกะสลักพระที่หน้าผาเขาชีจรรย์นั้น   นี่คือแรกที่มาของเรื่องที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องเมื่อเช้าวันหนึ่ง อันเป็นผลจากความเห็นของพระพุทธเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสนอต่อสมเด็จพระญาณฯเมื่อค่ำคืนก่อนเมื่อเวลาประมาณ 21 น. ว่าควรจะให้กรมทรัพยากรธรณีไปสำรวจตรวจดูสภาพของหินเสียก่อน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 16 ธ.ค. 16, 19:25

ความมุ่งหมายแต่เดิมที่แท้จริงของการแกะสลักพระที่เขาชีจรรย์นั้น จึงมิใช่เพื่อการจะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูปแกะสลักองค์ใหญ่ที่สุดในโลก   แต่ด้วยพื้นที่ของหน้าผาในส่วนที่สามารถมองเห็นได้จากบริเวณพื้นที่ของวัดญาณฯนั้น สามารถแกะสลักพระพุทธรูปทรงนั่งที่มีความสมส่วนระหว่างหน้าตักกับความสูงได้ในขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 16 ธ.ค. 16, 20:44

รายงานการไปสำรวจหินของเขาชีจรรย์ของผมนั้น ได้ทำให้มีการถกกันในเรื่องของการแกะสลักพระต่อมาอีกนานหลายปี  ความเห็นต่างๆที่มีการถกกันนั้น ผมทราบว่าพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับทราบอยู่ตลอดเป็นระยะๆ

การถกความเห็นในวงเล็กๆที่ผมได้กล่าวถึงนั้น ก็มีเรื่องของความเป็นไปได้ต่างๆ ไล่เรียงมาตั้งแต่การแกะสลักเป็นองค์พระแบบลอยตัว แบบนูนสูง และแบบนูนต่ำ ค่อยๆถกกันไปทั้งลักษณะรูปทรงขององค์พระและปัญหาที่จะเกี่ยวข้องตามมาทางเทคนิคต่างๆ ค่อยๆประสานถามความเห็นจากบุคคลและหน่วยงานเชี่ยวชาญทางวิชาการเฉพาะทางต่างๆ    ผมรู้สัมผัสได้ว่าเรื่องทั้งหลายนี้พระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับทราบและมีความเห็นผ่านมาทางสมเด็จพระญาณสังวรฯลงมา   

ความเห็นและความร่วมมือแบบจริงๆจังๆเกี่ยวกับเรื่องการแกะสลักพระนี้ ได้รับอย่างเต็มที่จากบุคคลและหน่วยงานต่างๆก็เมื่อสมเด็จพระญาณสังวรฯได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว    ส่วนผมนั้นก็ค่อยๆถูกกันให้ห่างออกไป
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 16:38

ขอบคุณครับที่กรุณาเล่าให้ฟัง  ยาวดีครับ..ผมชอบ
ทีแรกนั้นก็สงสัยอยู่แล้วว่า  ด้วยบารมีของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร  หากจะสร้างองค์พระให้งดงามกว่าในปัจจุบัน  ก็น่าจะทำได้
แล้วนี่ยังมีพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเข้ามาเสริมอีกแรงหนึ่ง  เลยยิ่งฉงนหนัก 
บอกตรงๆว่าเห็นพระพุทธรูปเขาชีจรรย์ครั้งแรก  นึกในใจว่า "นี่เสร็จแล้วหรือ?  หรือว่าเป็นภาพร่างบนหินเพื่อรอการแกะสลักเป็นประติมากรรมนูนสูงต่อไปในอนาคต"
๙๙๙๙๙๙๙๙๙ ๙๙๙๙๙๙๙๙๙ ๙๙๙๙๙๙๙๙๙
รออ่านตอนจบนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 17 ธ.ค. 16, 19:30

ผมเชื่อว่าทุกคนคงจะมีความรู้สึกและฉงนเช่นเดียวกับคุณธสาคร    ที่จริงแล้วผมตั้งใจจะข้ามเรื่องราวของส่วนนี้ไป แต่เมื่อท่านผู้อ่านมีความสนใจ ก็จะขอขยายความออกไปอีกตามสมควร

เป็นความตั้งใจของสมเด็จพระญาณสังวรฯ (และน่าจะเป็นของพระพุทธเจ้าอยู่หัวด้วย) ที่จะดำเนินโครงการต่างๆเกี่ยวกับวัดญาณฯที่ไม่แตกต่างไปจากวิถีปกติที่สามัญชนเขาทำกัน ก็คือบนพื้นฐานของศรัทธาธรรมมากกว่าบนฐานของอำนาจ     ผู้ประสานงานการดำเนินการทั้งหมดของฝ่ายวัด ก็เป็นพระสงฆ์ นายทหารเรือและแม้ตัวผมเองผมที่มีตำแหน่งเพียงระดับกลาง  จึงทำให้เอกชนและหัวหน้าส่วนราชการทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารต่างก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ว่าพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องและทรงมีพระราชดำริหรือความเห็นในเรื่องที่ได้มาติดต่อประสานและขอความเห็นต่างๆ

ผมกล่าวถึงเรื่องนี้ได้อย่างเต็มปาก เพราะเคยเข้าไปร่วมอยู่ในหลายกรณี   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 13:46

นำรูปและเรื่องมาสนับสนุนคุณนายตั้งครับ

http://www.geothai.net/kaocheechan-3/


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 18 ธ.ค. 16, 16:29

ผมขออนุญาต เติมระโยง

ความรู้และประวัติโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
บันทึกโดย ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล ผู้อำนวยการโครงการฯ


ให้ท่านอาจารย์ทั้งสองครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.139 วินาที กับ 19 คำสั่ง