เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
อ่าน: 21658 ร้อยกรอง ๑๓ ตุลา ๒๕๕๙
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 31 ต.ค. 17, 14:31

(เพลงพื้นบ้านจากรายการ ด้วยพระบารมีปกเกล้า ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ ในคลิป) ภูมิพลมหาราชานุสรณ์ | Ch3Thailand
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 03 พ.ย. 17, 11:14

                              นิรันดร์สมัย


      ประมาณมวลมหรรณพห้วง              สี่มหา    สมุทรเอย
ห้วงแห่งน้ำโทมนัสคณา                       นับนั้น
ตาน้ำแห่งน้ำตา                                 รินตลอด
ชั่วกัปกัลปาวสานใช่สั้น                        สุดสิ้นสังสาร

       หนึ่งวารไหวหวั่นทั้ง                      ธรณี
สะท้านสะเทือนถึงตรี                           โลกถ้วน
กันแสงส่งอาลัยวลี                              กำสรวลสลด
ฟ้าจรดหล้า อกล้วน                             ลึกร้าวรานระทม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 03 พ.ย. 17, 11:17

          ห่มไห้ไปทุกห้วง             ขวัญหาย
จำหลักรอย ไม่สลาย                  ล่วงพร้อม
อยู่คง อยู่ไม่คลาย                     ขวัญประเทศ
ไสวสว่างกลางอ้อม                    อกหล้านิรันดร์สมัยฯ


อังคาร จันทาทิพย์  กวีซีไรต์ ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ 

(ภาพ supermop ณ pantip)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:27

(จาก บทเพลงบรรเลงในงานพระบรมศพรัชกาลที่ 9 โดย : สุกรี เจริญสุข,นสพ.มติชน 12 พ.ย. 2560
+ เนชั่นทีวี + kingrama9.net)


               วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ วันพระราชพิธีพระบรมศพรัชกาลที่ ๙ มีริ้วขบวน ๓ ขบวนนำโดย
กองดุริยางค์ทหารบก เป็นกองเกียรติยศ
               ริ้วขบวนที่ ๑ พระยานมาศสามลำคาน นำบรรเลงโดยบทเพลงพระราชนิพนธ์  มาร์ชราชวัลลภ
มาร์ชธงชัยเฉลิมพล ยามเย็น และ ใกล้รุ่ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:28

           ริ้วขบวนที่ ๒ พระมหาพิชัยราชรถ บรรเลงเพลงพญาโศก สรรเสริญเสือป่า และ สรรเสริญ
พระนารายณ์ เป็นบทเพลงที่มีมาแต่โบราณ
 
          เพลงพญาโศกเป็นบทเพลงโศกประจำชาติ เดิมเป็นเพลงสำหรับวงปี่พาทย์ พญาโศกสองชั้น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำมาเรียบเรียง
เป็นเพลงแห่แบบสากล ให้ทหารแตรบรรเลงแทนเพลงสโลว์มาร์ชของชาติตะวันตก
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บรรเลงครั้งแรกในพระราชพิธี
พระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี พระพันปีหลวง ทรงมีพระราชดำรัสว่า
          เพลงนี้ได้ทำขึ้นเหมาะแก่การใช้นำศพอย่างยิ่ง เพราะดี สมควรเป็นเพลงโศกจริง ๆ ต่อไปขอให้
ใช้เพลงนี้เป็นเพลงโศกประจำชาติ และใช้นำตั้งแต่พระบรมศพ ตลอดจนศพสามัญได้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:29

            เพลงสรรเสริญเสือป่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนากองลูกเสือในปี
พ.ศ. ๒๔๕๔ มีพระราชประสงค์ให้มีเพลงคำนับประจำกองเสือป่า กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงเรียบ
เรียงถวาย
            โดยนำบทเพลงนบุหลันลอยเลื่อน ๒ ชั้น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย เรียบเรียงให้เป็นทางสากล สำหรับบรรเลงแตรวง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:31

           เพลงสรรเสริญพระนารายณ์ เป็นเพลงที่มีหลักฐานเป็นเพลงแรก ทำนองเดิมบันทึกในจดหมายเหตุ
ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubere) พ.ศ. ๒๒๓๐
           หลักฐานจากสาส์นสมเด็จ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยตอบว่า

ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
           เพลงที่เรียกว่าสรรเสริญพระนารายณ์นั้น เดิมมีแต่โน้ตอยู่ในหนังสือมองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เรียกแต่
ว่า Siamese Music และเขียนคำขับภาษาไทยไว้ด้วย พยายามอ่านกันมาแต่ก่อน อ่านได้แต่ว่า “สายสมรเอย”
ต่อไปดูเป็นว่า “ลูกประคำสามใบ” ก็ติดกันอยู่เพียงนั้น ที่ท่านทรงอ่านประทานมานั้น(“สายสมรเอย ลูกประคำ
ซ้อนเสื้อ ขอแนบเนื้อเจ้าคืนเดียว หน่อยเอย”) ได้ความดีเป็นสิ้นสงสัย
            ครูฟุสโก เป็นผู้เอาเพลงนั้นออกแต่งเป็นเพลงแตรให้ทหารเรือเป่า จะต้องเรียกชื่อเพลง จึงมีใครให้ชื่อ
ว่าสรรเสริญพระนารายณ์เมื่อเป็นเพลงแตรแล้ว…


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:31

             ระหว่างการเดินในพระราชพิธี ได้ถ่ายทอดโทรทัศน์โดยที่เสียงดนตรีบรรเลงต่อเนื่องเป็นเพลง
เดียวกัน  ทั้งๆ ที่วงดนตรีอยู่ห่างกัน ๔๐๐ - ๕๐๐ เมตร ใช้ระบบเสียงผ่านวิทยุเพื่อไม่ให้เสียงล่าช้า และมี
กลองใหญ่เดินทำนองสม่ำเสมอ พนักงานแตรก็เป่าให้ลงจังหวะพร้อมกัน     

เพลงพญาโศก | สรรเสริญเสือป่า | สรรเสริญพระนารายณ์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:33

               ริ้วขบวนที่ ๓ ราชรถปืนใหญ่ บรรเลงเพลง มาร์ชราชวัลลภ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:35

และมีวงประโคมร่วมบรรเลงในขบวน ประกอบด้วย แตรวิลันดา แตรงอน และ สังข์  ส่วนในวงเครื่องสูง
มีปี่ไฉน กลองชนะ และ กลองมโหระทึก

ส่วนวงปี่พาทย์นั้นประโคมอยู่ที่ศาลา ไม่ได้ร่วมขบวน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:36

              ยังมีวงประโคมอีกวงหนึ่ง เรียกว่า วงบัวลอย เป็นวงปี่กลองประโคมตอนวางดอกไม้จันทน์และ
ประชุมเพลิง วงบัวลอยก็จะมีชุดเพลงประชุมเพลิง
             วงบัวลอย วงบรรเลงดนตรีลักษณะหนึ่งในวงประโคม เป็นการประโคมดนตรีแบบโบราณ
บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคลเท่านั้น โดยจะมีจังหวะช้าเร็วตามกระบวนเพลงที่ถูกกำหนดและเรียบ
เรียงมาแต่โบราณซึ่งสะท้อนกริยาในขณะเริ่มพระราชพิธีถวายพระเพลิง อาทิ
             กระบวนเพลงรัวสามลา เป็นการคารวะรำลึกถึงครูอาจารย์ กระบวนไฟชุม จะให้จังหวะเร็วรัว
เหมือนไฟกำลังโหม และนางหงส์ทางหลวง จะให้ความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น
             สำหรับเครื่องดนตรีในวงบัวลอยมีทั้งหมด ๔ ชิ้น ประกอบด้วยปี่ชวา ๑ เลา กลองมลายู ๑ คู่ และ
ฆ้องเหม่ง ๑ ลูก ครูผู้สืบทอดการบรรเลงวงประโคมวงบัวลอยกล่าวว่า การบรรเลงกระบวนเพลงในวง
บัวลอยถือว่ามีความยาก เพราะผู้บรรเลงต้องใช้ความรู้สึกและถ่ายทอดออกมาให้ตรงตามเนื้อหาที่เล่าใน
ทั้งหมด ๘ กระบวนเพลง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 10:38

            ดนตรีเป็นสาระสำคัญ ของการประโคมประกอบพิธีกรรม   ดนตรีเป็นเสียงศักดิ์สิทธิ์
ทำให้พิธีกรรมมีความขลัง  
            ดนตรีหลอมรวมจิตใจคนให้เป็นหนึ่ง มอบถวายสรวงสวรรค์
            ดนตรีประโคมงานพระบรมศพ เป็นดนตรีพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่คนไทยจะทำได้
            นักดนตรีตั้งใจทำงานแสดงถึงความอาลัยถวายเป็นครั้งสุดท้าย ต่างปลาบปลื้มใจได้รับใช้
ส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์ผ่านเสียงดนตรี บรรเลงโดยไม่ขาดระยะ
            เสียงดนตรีเป็นเครื่องหมายแห่งพระราชอำนาจ เสียงดนตรีอยู่กับพระองค์ผู้ทรงพระบารมี

เป็นการสรรเสริญพระบารมีของพระองค์ด้วยเสียงดนตรีประโคม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 24 พ.ย. 17, 19:38

เพลงสรรเสริญพระนารายณ์ เป็นเพลงที่มีหลักฐานเป็นเพลงแรก ทำนองเดิมบันทึกในจดหมายเหตุลา ลูแบร์ (Simon de La Loubere) พ.ศ. ๒๒๓๐



คำร้องที่ลาลูแบร์บันทึกคำไทยเป็นอักษรโรมันกำกับไว้ กับโน้ตนั้น ขึ้นต้นด้วยคำว่า สายสมร และคำต่อๆ ไปก็ล้วนเป็นคำจำพวกเพลงขับกล่อมแบบเพลงมโหรีทั้งสิ้น คำร้องทั้งหมดนี้ ได้พยายามถอดเป็นคำไทยกันมาหลายต่อหลายท่านแล้ว ไม่ได้ความตลอดสักที ข้าพเจ้าเองก็ได้พยายามมาหลายครั้ง ทั้งลองร้องไปกับเสียงตามโน้ตก็ไม่สำเร็จ

เมื่อได้พิจารณาแล้ว ก็เห็นว่าวิธีร้องเพลงไทยโบราณนั้น มีร้องเอื้อนซึ่งโดยมากเป็นเสียงเออหรือเอย กับแทรกสร้อยคำต่างๆ เช่น เจ้าเอย นะเอย อยู่เป็นอันมาก จึงทำให้ผู้จดบันทึกซึ่งเป็นฝรั่งเข้าใจผิด และจดพลาดพลั้งไปได้ เท่าที่ข้าพเจ้าลองถอดดูในครั้งหลังนี้ พอจะได้ความบ้าง แต่ก็คงจะยังผิดอีกหลายคำ คำร้องที่ข้าพเจ้าถอดเป็นดังนี้

สายสมรเอย ลูปประคำซ้อนเสื้อ

ขอแนบเนื้อฉอ้อน เคียงที่นอนในเอย

เพลงนี้ก็เจ้าเอยเพลงใด เพลงระบำหรือเจ้าเอย

เพลงนี้ก็เท่าเอย เพลงซอนะเอย

พี่เอยหวังละจะเชย จะเยื้องก้าวย่าง

นางช่าง จะเลี้ยวจะเดินเอย

โดยสุจิตต์ วงศ์เทศ เคยแปลไว้คราว พ.ศ. 2511
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 05 ธ.ค. 17, 11:10

           ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการลงนามรับสนองพระราชโองการในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การกำหนดวันสำคัญของชาติไทย ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดว่า
           วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้

           ๑.เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

๒. เป็นวันชาติ และ ๓. เป็นวันพ่อแห่งชาติ        

รวมทั้งยังเป็น วันดินโลก และ วันภูมิพล




บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 05 ธ.ค. 17, 11:20

จากฟบ. อ.นภาลัย สุวรรณธาดา

                  "วันภูมิพล"

         เมื่อ ๕๑ ปีมาแล้ว คือวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ สโมสรนิสิตจุฬาฯ ซึ่งมีนายสงคราม สมบูรณ์ เป็นนายกสโมสร
ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตให้วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันภูมิพล" เพื่อจะได้บำเพ็ญประโยชน์
ถวายเป็นพระราชกุศล เพียง ๓ วันต่อมาก็ได้รับหนังสือตอบ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๐๙ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
หลักฐานนี้มีอยู่ครบถ้วนที่จุฬา ฯ
         โอกาสนี้จึงเขียนกลอนบันทึกไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบที่มา ซึ่งแม้ชาวจุฬา ฯ เองก็ยังไม่ค่อยทราบค่ะ

                   "วันภูมิพล"

วันที่สองธันวาสองห้าศูนย์เก้า
ทรงโปรดเกล้าเรื่องสำคัญอันทรงค่า
พระบรมราชานุญาตประกาศมา
วันที่ห้าธันวา "วันภูมิพล"

ตามที่สโมสรนิสิตจุฬา
ทูลขอมา ด้วยแรงแห่งกุศล
จึงได้รับพระราชทานวันมงคล
จุดเริ่มต้นกิจกรรมที่สำคัญ

ห้าสิบปีต่อมา ปีห้าเก้า
พระผ่านเผ้าเสด็จกลับประทับสวรรค์
ครบร้อยปีจุฬามาพ้องกัน
อัศจรรย์หนักหนาพระบารมี

ยี่สิบเก้าพฤศจิกาสองห้าศูนย์เก้า
วันก้มเกล้ากราบขอต่อทรงศรี
ล้วนเลขเก้าจำเพาะเหมาะพอดี
ร่วมดิถีนวรัชกาลไท้

ชาวจุฬารำลึกคุณอดุลยเดช
ทรงปกเกศประชาสุขทุกสมัย
หยาดเสโทท่วมพระพักตร์เพราะรักไทย
เสด็จไกลทั่วแดนแสนกันดาร

เจ็ดสิบปีที่พระองค์ทรงงานหนัก
สร้างความรักความศรัทธามหาศาล
คราเสด็จเสวยสวรรค์อนันตกาล
ทุกหย่อมย่านจึงฉ่ำด้วยน้ำตา

ปาดน้ำตามาแปลงเป็นแรงรัก
เดินตามหลักทรงสอนบวรค่า
ทุ่มแรงกายแรงใจให้ประชา
ชาวจุฬาทุกสถานประสานใจ

วันที่ห้าธันวาคมจะคงอยู่
ให้โลกรู้ว่าเป็นวันอันยิ่งใหญ่
นามพระองค์จะคงอยู่คู่ฟ้าไกล
จำหลักไว้ชั่วนิรันดร์ "วันภูมิพล"

นภาลัย (ฤกษ์ชนะ) สุวรรณธาดา
ครุจุฬาฯ ๒๕๐๔
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง