เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 27733 คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ ที่อาจจะต้องแก้ไขใหม่ (2)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 21:10

ส่งคำถามต่อไปให้คุณหมอเพ็ญดีกว่า
ถ้าเป็นดิฉันก็คงทับศัพท์ตามเสียง ว่า ซู และอัลบูเคิร์กกี ค่ะ


ว่าตามคุณเทาชมพู เสริมเรื่องชื่อเมือง Sioux - ซู  นี่มาจากชื่อชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งของอเมริกา มาจากภาษาฝรั่งเศส อักษร x เติมเข้ามาเพื่อให้เป็นพหูพจน์ แต่ไม่ออกเสียง ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสก็กำหนดไว้ว่า พยัญชนะที่ไม่ออกเสียงไม่ต้องถอดเป็นพยัญชนะไทย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 21:48

แล้ว Yorkshire ที่ถูกต้องควรจะต้องเขียน    ...เชียร์ หรือ ...เชีร์ย ??

(หมูสายพันธุ์ชื่อนี้แหละที่ญี่ปุ่นเรียกว่าหมูดำ Kurobuta  เนื้อมีราคาแพง)

-ire  ท่านรอยอินถอดเป็น สระเออ หรือ เอีย สำหรับ Yorkshire อาจเป็น ยอร์กเชอร์ หรือ ยอร์กเชียร์

หมูพันธุ์ Yorkshire นี้สีขาว  ส่วนพันธุ์สีดำคือ Berkshire ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า คุโระบุตะ 黒豚 (คุโระ 黒 - ดำ, บุตะ 豚 - หมู) อย่างที่คุณตั้งว่า   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 08:39

คำว่า shire ออกเสียงก้ำกึ่งระหว่าง เชอร์ กับ เชียร์    เคยเห็นสะกดเพื่อความเท่ ว่า เฌอร์
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 09:54


คำว่า "อังกฤษ" นี่เป็นศัพท์บัญญัติ หรือ คำทับศัพท์ครับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 10:46

จากหลาย ๆ ความเห็นในหน้าแรกของกระทู้ อังกิด อังกี๊ดดดดดดด อังกฤษ ของคุณประกอบ พอจะสรุปได้ว่า

เป็นคำทับศัพท์ แต่ไม่ใช่จาก english แต่น่าจะมาจากภาษาฮินดี अँगरेज़ Angrez หมายถึงคนอังกฤษ ถ้าหมายถึงภาษาอังกฤษใช้ว่า अंग्रेजी Angrezi คำนี้มาจากภาษาโปรตุเกสว่า Inglês อีกทีหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 10:46

แรกเริ่มบัญญัติตัวสะกดศัพท์แบบตามแต่หูของใครจะได้ยิน หมอแบรดลีย์ หรือที่คนไทยเรียกหมอบรัดเลย์ บางที่ก็ปลัดเล สะกดคำว่า (The) British Factory ว่า พริฏิษ แฟกฏอรี่
อยากรู้เหมือนกัน ปัญญาชนร่วมสมัยตอนนั้นสะกดว่าอย่างไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 18:16

ในยุคนั้น นอกจากยังไม่มีท่านรอยอินมากำกับการสะกดให้ลงตัวเป็นรอยเดียวกัน    ก็ยังไม่มีคุณหมอเพ็ญชมพูมาช่วยอีกแรงหนึ่งด้วย
คิดว่าปัญญาชนสมัยนั้นสะกดกันตามใจชอบ  แล้วแต่หูได้ยิน  เห็นได้จากการออกเสียงก็ตามใจชอบ   เช่นตะแล็บแก๊บ มาจาก telegraph เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 18:34

แล้ว Yorkshire ที่ถูกต้องควรจะต้องเขียน    ...เชียร์ หรือ ...เชีร์ย ??
(หมูสายพันธุ์ชื่อนี้แหละที่ญี่ปุ่นเรียกว่าหมูดำ Kurobuta  เนื้อมีราคาแพง)
-ire  ท่านรอยอินถอดเป็น สระเออ หรือ เอีย สำหรับ Yorkshire อาจเป็น ยอร์กเชอร์ หรือ ยอร์กเชียร์
หมูพันธุ์ Yorkshire นี้สีขาว  ส่วนพันธุ์สีดำคือ Berkshire ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า คุโระบุตะ 黒豚 (คุโระ 黒 - ดำ, บุตะ 豚 - หมู) อย่างที่คุณตั้งว่า   ยิงฟันยิ้ม

ขอบคุณครับ ที่ได้ช่วยแก้สายพันธุ์หมูคุโระบุตะให้ถูกต้อง  ขออภัยท่านสมาชิกครับ จำได้ไม่แม่นเลยสับสนครับ

หมูสายพันธุ์นี้ ราชวงค์ญี่ปุ่นได้รับเป็นของขวัญจากราชวงค์อังกฤษนานมาแล้ว ? ว่ากันว่าญี่ปุ่นยังคงสามารถรักษาสายพันธุ์แท้ๆได้อยู่จนถึงในปัจจุบัน ?  และแหล่งเพาะเลี้ยงส่งให้ตลาดญี่ปุ่นอยู่ในออสเตรเลีย ?  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 19:07

แรกเริ่มบัญญัติตัวสะกดศัพท์แบบตามแต่หูของใครจะได้ยิน หมอแบรดลีย์ หรือที่คนไทยเรียกหมอบรัดเลย์ บางที่ก็ปลัดเล สะกดคำว่า (The) British Factory ว่า พริฏิษ แฟกฏอรี่
อยากรู้เหมือนกัน ปัญญาชนร่วมสมัยตอนนั้นสะกดว่าอย่างไร

การถอดเสียงและถอดอักขระของหมอ Bradley นี้   สำหรับความเห็นของผมนั้นเห็นว่าน่าสนใจ    ไม่ว่าจะเป็นตัวหมอเป็นผู้ถอดเองหรือจะเป็นการถอดโดยคนไทยก็ตาม  เมื่อดูจากการเลือกใช้อักขระแล้ว ชวนให้คิดไปได้ว่าน่าจะมีความรู้ในภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง  คือ ด้วยการเลือกใช้อักษรที่จะใช้เขียนแทนเสียงคำทับศัพท์ ด้วยการใช้อักษรที่ออกเสียงใกล้กัน (เสียงเดียวกัน ?) เพื่อบ่งชี้ว่าเป็นคำที่มิได้มีอยู่ในระบบที่มีรากอยู่ในตระกูลภาษาไทย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 19:17

คำว่า shire ออกเสียงก้ำกึ่งระหว่าง เชอร์ กับ เชียร์    เคยเห็นสะกดเพื่อความเท่ ว่า เฌอร์

การสะกดเพื่อออกเสียง shire ด้วย เฌอร์ แบบนี้ก็น่าสนใจนะครับ    ลักษณะการออกเสียง ฌ ชอกะเชอ ต่างกับการออกเสียง ช ช้าง (ห่อปากกับอ้าปาก)   อักษร ฌ ให้เสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงก้ำกึ่งของคำว่า shire ระหว่าง เชอร์ กับ เชียร์ (และ เชอะ อีกด้วย)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 ต.ค. 16, 20:30

ความเห็นที่ 38 ถูกใจผมอีก
ส่วนความเห็นที่ 39 นั้น คุณนายตั้งคงจะจำท่านวิเศษศักดิ์สอนเราสมัยเด็กๆได้ คำๆนี้ออกเสียงประมาณ เช่อะร์  กว่าจะออกเสียงถูกใจท่านก็เหนื่อยทั้งครูทั้งศิษย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 ต.ค. 16, 08:24

ผมคิดว่า การใช้ภาษาหนึ่งสะกดเสียงของอีกภาษาหนึ่งนั้น อย่างไรๆก็ไม่มีทางถูกต้อง ราชบัณฑิตน่าจะใช้วิธีอื่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของคำที่มีพื้นฐานมาจากภาษาต่างประเทศ ให้เข้าใจฐานที่มาของภาษานั้นๆ

ยกตัวอย่าง (ผมก็ไม่ทราบว่าใครริเริ่ม) ภาษาไทยอันมาจากภาษาอาหรับที่ใช้ในศสานาอิสลามนั้น จะมีตัวสะกดดังตัวอย่างเช่น  มัสยิดนะฮ์ฎอตุ้ลอิสลาห์ มัสยิดเราฏอตุลอัฏฟาล  มหาวิทยาลัยฟาฏอนี  คุฏบะฮฺวันศุกร์ 
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าจะอ่านให้ถูกต้องตามสำเนียงของชาวมุสลิมอย่างไร แต่ถ้าผมจำเป็นต้องอ่านออกเสียงเพื่อสื่อสาร ก็คงจะเป็นที่เข้าใจได้ก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 ต.ค. 16, 08:27

อีกประการหนึ่ง ทำไมตัวสะกดที่รอยอินโยนก้อนหินถามทางมา จึงมีเฉพาะภาษาอังกฤษ ทั้งที่ภาษาต่างด้าวในภาษาไทย ยังมีที่มาอีกแยะ แม้คำในภาษาฝรั่งเศสที่อังกฤษเอามาเป็นภาษาของตนก็มีถม
จึงอย่าได้แปลกใจว่า เวลาเราเข้าเว็บอย่าง text-to-speech เขาจะให้เราเลือกฟังจากผู้อ่านคำสะกดทั้งหญิงและชายหลายๆคน เพื่อให้เราเลือกใช้สำเนียงที่ถูกใจ เพราะหลายต่อหลายคำที่บุคคลทั้งหลายอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน
ลองเข้าไปเล่นดูครับ

http://www.oddcast.com/home/demos/tts/tts_example.php?sitepal

แล้วราชบัณฑิตไทยจะไปฟันธงอะไรว่าคำต่างๆจะต้องออกเสียงอย่างนั้นอย่างนี้ สะกดเป็นภาษาไทยต้องอย่างนี้อย่างโน้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 ต.ค. 16, 10:19

ยกตัวอย่าง (ผมก็ไม่ทราบว่าใครริเริ่ม) ภาษาไทยอันมาจากภาษาอาหรับที่ใช้ในศาสนาอิสลามนั้น จะมีตัวสะกดดังตัวอย่างเช่น  มัสยิดนะฮ์ฎอตุ้ลอิสลาห์ มัสยิดเราฏอตุลอัฏฟาล  มหาวิทยาลัยฟาฏอนี  คุฏบะฮฺวันศุกร์  
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าจะอ่านให้ถูกต้องตามสำเนียงของชาวมุสลิมอย่างไร แต่ถ้าผมจำเป็นต้องอ่านออกเสียงเพื่อสื่อสาร ก็คงจะเป็นที่เข้าใจได้ก็แล้วกัน

ท่านรอยอินมีหลักเกณฑ์ในการทับศัพท์ภาษาอาหรับอยู่ โดยใช้พยัญชนะไทยต่างกัน เนื่องจากพยัญชนะนั้น ๆ ในภาษาอาหรับออกเสียงต่างกัน การทับศัพท์จึงออกมาอย่างที่คุณนวรัตนเห็น  ท่านรอยอินอธิบายไว้ดังนี้

พยัญชนะในภาษาอาหรับหลายตัวไม่มีเสียงในภาษาไทย จำเป็นจะต้องเลือกอักษรไทยที่มีรูปต่างกันมาเทียบเพื่อแสดงให้เห็นว่าพยัญชนะในภาษาอาหรับเหล่านั้นมีเสียงต่างกัน ดังนี้

๑. ด = ดาล /d/
    ฎ = ฎ๊อด /dˤ/[# 2]
๒. ต = ตาอ์ /t/
    ฏ = ฏออ์ /tˤ/
๓. ค = คออ์ /x/
    ฆ = ฆอยน์, เฆน /ɣ/
๔. ซ = ซัย /z/ ซออ์ /ðˤ/ และซีน /s/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น
    ส = ซีน /s/ ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย
    ศ = ศ้อด /sˤ/
    ษ = ษาอ์ /θ/ และษาล /ð/
๕. ห = หาอ์ /ħ/ ในตำแหน่งพยัญชนะท้าย
    ฮ = หาอ์ /ħ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น และฮาอ์ /h/
๖. ย = ยาอ์ /j/
   ญ = ญีม /d͡ʒ/, /ɡ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น

http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2015/03/2347_5257.pdf
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 13 ต.ค. 16, 12:41

ประเด็นมันคือ ตัวสะกดเหล่านี้ผมแน่ใจว่าคนไทย(ที่มีการศึกษาดี)จะอ่านได้ถูกต้องตามสำเนียงเจ้าของภาษา ซึ่งตัวนี้ต้องเอาลิ้นกดเพดาน ตัวโน้นต้องเปล่งออกมาจากลำคอ ฯลฯ แม้แต่ตัวท่านราชบัณฑิตเองก็เถอะ
แต่เราไม่ว่ากันไงครับ แล้วยังยอมรับโดยดีเสียด้วยว่านั่นเป็นภาษาไทยสำหรับภาษาอาหรับ เพราะเอกลักษณ์อื่นที่เด่นชัดอยู่

แล้วทำไมรอยอินจึงจะต้องเดือดร้อนว่าภาษาไทยที่สะกดคำอังกฤษแบบเดิมๆที่เคยบัญญัติไว้ คนไทยจะอ่านไม่ถูกต้องตามสำเนียงเจ้าของภาษา
เหมือนตัวตลกที่เอาคำว่าพารากอนมาเล่น ให้เพี้ยนไปจากที่ทั้งบ้านทั้งเมืองเขาออกเสียงว่าพาราก้อน ซึ่งผมเชื่อว่าหากมีตาสีตาสามาจากบ้านนอกแล้วบอกแท็กซี่ให้ไปส่งพารากอน แท๊กซี่ก็พาไปส่งที่พาราก้อนถูกอยู่ดี
อยากจะสรุปความเห็นในขั้นนี้ว่า ภาษาไทยที่สะกดคำภาษายุโรป โดยไม่ใช้วรรณยุกต์กำหนดบังคับสำเนียงนั้น ดีอยู่แล้ว อย่าไปทำอะไรให้มันเปลืองเมมโมรี่สมองมนุษย์เลยครับ เดี๋ยวเอาไปออกข้อสอบให้เด็กตกกันมากขึ้นเปล่าๆ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง