เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 27646 คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 176 คำ ที่อาจจะต้องแก้ไขใหม่ (2)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 15:39

หน้า ๕๘๕
กับตันกุกได้เห็นเกาะใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแห่งทเลอินเดีย
กับตันกุกมีความสงไสยว่าเกาะอะไรไม่มีในแผ่นดินปลาดนัก
ปราร์ถนาจะใคร่ทราบจึ่งแล่นกำปั่นใบไปถึงหมู่เกาะทั้ง ๑๐

โปรดสังเกตว่าหมอบรัดเลเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไม่ใช้วรรณยุกต์เช่นเดียวหลักเกณฑ์ของท่านรอยอินในปัจจุบัน แต่การเขียนลักษณะนี้อาจเกิดปัญหาในการอ่านได้เมื่อกาลเวลาผ่านไป คำที่เขียนนั้นคนในอนาคตไม่คุ้นเคยเสียแล้ว คำว่า "กับตันกุก" นั้น หมอบรัดเลต้องการให้อ่านว่า "กับ-ตัน-กุ๊ก" หรือ "กับ-ตัน-กุก" ก็ยังเป็นที่น่าสงสัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 17:34

ปัญหาการใช้วรรณยุกต์เกิดจากศัพท์ภาษาอังกฤษโดยมาก ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ตายตัว   การออกเสียงแปรเปลี่ยนได้ตามรูปประโยค
เพราะเหตุนี้หรือเปล่าหมอบรัดเลย์จึงเว้น ไม่ใช้วรรณยุกต์กำกับศัพท์อังกฤษ

แต่ปัญหาคือ ศัพท์ภาษาไทยแม้เป็นคำที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์  ก็ยังมีเสียงวรรณยุกต์กำกับตายตัวอยู่ดี    เมื่อละเว้นวรรณยุกต์ เสียงก็ยังคงเดิม
ตุ๊กกี้จึงยืนยันว่า Paragon  ต้องออกเสียงว่า พา-รา-กอน  ไม่ใช่ พา-รา-ก้อน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 18:24

ปัญหาการใช้วรรณยุกต์เกิดจากศัพท์ภาษาอังกฤษโดยมาก ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ตายตัว   การออกเสียงแปรเปลี่ยนได้ตามรูปประโยค .....

นอกจากดั่งที่ว่านี้แล้ว ผมก็เห็นว่า ก็ยังขึ้นอยู่กับว่าเราจะอิงการออกเสียงหรือสำเนียงการพูดของประเทศใดหรือกลุ่มคนใด  จะแบ่งอย่างกว้างๆก็น่าจะพอได้ ว่า จะเอาภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หรือจะเอาแบบอังกฤษ หรือแบบออสเตรเลีย...... 

อเมริกันทางฝั่งตะวันออกด้านเหนืออย่างหนึ่ง ทางใต้ก็อย่างหนึ่ง  ทางตะวันตกหรือทางตอนกลางก็อีกแบบหนึ่ง  ของอังกฤษก็ยังมีอีกหลายแบบ เช่น แบบ Wales แบบ Scotland แบบ Ireland .....และอื่นๆ 

จะว่าไป การไม่ต้องมีวรรณยุกต์กำกับสำหรับคำเขียนในภาษาไทยก็ถูกต้องอยู่ส่วนหนึ่ง   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 18:27

ตุ๊กกี้จึงยืนยันว่า Paragon  ต้องออกเสียงว่า พา-รา-กอน  ไม่ใช่ พา-รา-ก้อน

เจ้าของศูนย์การค้า "สยามพารากอน" คงไม่ต้องการให้ออกเสียงทั้ง ๒ แบบข้างบน คิดว่าน่าจะเป็น "สะ-หยาม-พา-รา-ก็้อน"

คำว่า "ก็้อน" ใช้ไม้ไต่คู้มาร่วมกับวรรณยุกต์ตามแบบโบราณ ทำให้เราสามารถออกเสียงเป็นเสียงสั้นได้

เรื่องที่ไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้  ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ งง

ลองอ่านบทความเรื่อง ตำแหน่งของไม้ไต่คู้ (๒) โดยอาจารย์นิตยา กาญจนะวรรณ

ไม้ไต่คู้ อักขระตัวแรกที่ค้นพบใน พ.ศ.๒๐๐๐ ดูเหมือนว่าจะเป็นอักขระที่อยู่คู่กับภาษาไทยมาอย่างยืนยงที่สุด เพราะในปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ และคำว่า ก็ ก็ยังคงเป็นคำพิเศษคำเดียวในภาษาไทยที่เขียนในลักษณะนี้

อย่างไรก็ตาม การใช้ไม้ไต่คู้ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปมิใช่น้อย เมื่อ ดร.นันทนา ด่านวิวัฒน์ ได้ค้นพบว่า ไม้ไต่คู้ ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดจุฬามณี พ.ศ.๒๒๓๐ มีหน้าที่ ทำให้สระเสียงยาวในพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กลายเป็นเสียงสั้น นั้น อาจจะเป็นเพราะว่าในขณะนั้นยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นในสมัยหลัง และถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่บังคับให้เสียงสั้นลงในทำนองเดียวกับไม้ตรี ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประถม ก กา แต่ตำแหน่งของไม้ไต่คู้กลับถูกจำกัดลงไป ดังนี้

๑. ในอดีตทั้งไม้ไต่คู้และไม้ตรีปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ แต่ในปัจจุบันไม้ไต่คู้ไม่สามารถปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๙๑)

๒. ในอดีตไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ ได้ แต่ในปัจจุบันปรากฏร่วมไม่ได้ ดังปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๗๑)

ปัจจุบันมีหลายคำที่เราไม่ได้อ่านตามตัวเขียน นอกจากคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศซึ่งไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับแล้ว เราก็ยังอ่านคำเสียงยาวเป็นเสียงสั้นตามความเคยชินอีกด้วย ดังตัวอย่างในคำว่า "พารากอน" นี้แล  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 18:42

แต่ก็มีคำภาษาอังกฤษอยู่เป็นจำนวนวนมากที่ทุกแห่งจะออกเสียงตรงกัน เช่น คำว่า paragon ซึ่งจะออกเสียงพยางค์สุดท้ายว่า ก้อน    
คำเช่นนี้ ก็น่าจะต้องมีวรรณยุกต์กำกับไว้ได้เลย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 19:23

เรื่องการออกเสียงยาวหรือเสียงสั้นของคำในภาษาไทยก็เป็นเรื่องน่าสนใจเหมือนกัน (สำหรับผมนะครับ)  แน่นอนว่าเรามีไม้ไต่คู้ช่วยกำกับให้เป็นคำที่ออกเสียงสั้น ก็ดั่งที่ อ.เทาชมพูยกมาว่า paragon ก็อาจเขียนว่า พาราก็้อน 

ก็มีอยู่หลายคำเป็นจำนวนมาก เช่น คำว่า แก้ว (แก้วน้ำ) ซึ่งที่ถูกต้องแล้วก็ไม่รู้ว่าควรจะต้องออกเสียงเป็นเสียงยาวหรือเสียงสั้น ??   ตัวผมพอจะจับสัมผัสได้ว่า คนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ดูจะออกเสียงคำว่า แก้ว เป็นเสียงสั้นทั้งนั้น   ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นเนอะ    (นกแต้วแล้ว หากออกเสียงยาว ก็คงจะมิใช่นกนั้นมั๊ง)     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 19:34

คำที่รูปเป็นเสียงสั้นแต่ออกเป็นเสียงยาวตามความเคยชินก็มี (สำเนียงกรุงเทพ)

มีตัวอย่างอีกหลายคำ

คำว่า                             ออกเสียงว่า

น้ำ                                น้าม
ไม้                                ม้าย
ไหว้                              ว่าย
ได้                                ด้าย
ใต้                                ต้าย
เก้า                               ก้าว
เช้า                               ช้าว
เปล่า                              ปล่าว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 20:12

ว่าแต่ว่า เรื่องคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษนี้ เราจะเลือกใช้วิธีการเช่นใด

  ใช้ระบบการถอดอักขระ เช่น การ_เสิร์ฟ_อาหาร  ?
  ใช้ระบบการถอดเสียง เช่น การ_เสิฟ_อาหาร   ?
  หรือ ใช้ระบบรากศัพท์ เช่น อวตาร   ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 20:19

ผมกับคุณนายตั้งคิดคล้ายๆกันมาก จึงขอถอยให้เพื่อนว่าไปก่อนครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 20:26

คำจากภาษาอังกฤษ ท่านรอยอินได้เลือกแล้วให้ใช้วิธีถอดอักขระ เช่น "serve" ท่านให้เขียนว่า "เสิร์ฟ" ให้ความหมายไว้ด้วยว่า ยกอาหารหรือเครื่องดื่มมาบริการ เช่น บริกรเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า; (กีฬา) เริ่มส่งลูกให้ฝ่ายตรงข้ามรับ เช่น ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายได้เสิร์ฟก่อน. (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 20:49

ท่านรอยอินกำหนดคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ตามนี้ค่ะ

http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2015/03/2371_6847.pdf

ก็งงๆอยู่หลายคำ  เช่น horn ทับศัพท์ว่า ฮอร์น
แต่พอมาถึง world   ทับศัพท์ว่า เวิลด ์  คือ r  ตรงกลางหายไป

มึคำอธิบายว่า
คําหรอพยางค์ที่มีพยyญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก
และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย  เช่น
          world          =       
เวิลด ์
          quartz         
=         
ควอตซ์
          Johns         
=         
จอนส์
          first         
=         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 18:12

อยากทราบว่า ตามข้อกำหนดของท่านรอยอินนั้น  เมือง Sioux และเมือง Albuquerque ในสหรัฐฯจะต้องเขียนทับศัพท์เช่นใดจึงจะถูกต้องครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 18:56

ส่งคำถามต่อไปให้คุณหมอเพ็ญดีกว่า
ถ้าเป็นดิฉันก็คงทับศัพท์ตามเสียง ว่า ซู และอัลบูเคิร์กกี ค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 19:14

ครับ ผมก็เช่นกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 19:59

ท่านรอยอินกำหนดคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ตามนี้ค่ะ .......

ก็งงๆอยู่หลายคำ  เช่น horn ทับศัพท์ว่า ฮอร์น
แต่พอมาถึง world   ทับศัพท์ว่า เวิลด ์  คือ r  ตรงกลางหายไป
มึคำอธิบายว่า
คําหรอพยางค์ที่มีพยyญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก
และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย  เช่น world =เวิลด,  quartz = ควอตซ์,  Johns = จอนส์       

แล้ว Yorkshire ที่ถูกต้องควรจะต้องเขียน    ...เชียร์ หรือ ...เชีร์ย ??

(หมูสายพันธุ์ชื่อนี้แหละที่ญี่ปุ่นเรียกว่าหมูดำ Kurobuta  เนื้อมีราคาแพง)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง