เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3505 คำว่า "พรั่งพรู" "หลากหลาย" "แตกฉาน" จัดว่าเป็นคำที่ความหมายใกล้เคียงกัน ไหมครับ
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


 เมื่อ 24 ก.ย. 16, 21:02

ตัวอย่างบริบท
 
"คำศัพท์ภาษาจีนที่คุณพูดออกมาเนี่ย พรั่งพรูมาก"

"คำศัพท์ภาษาจีนที่คุณพูดออกมาเนี่ย หลากหลายมาก"

"คำศัพท์ภาษาจีนที่คุณพูดออกมาเนี่ย แตกฉานมาก"

ภาษาจีน : 你的词汇很丰富。

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.ย. 16, 21:14

ไม่เหมือน และไม่ใกล้เคียงค่ะ
ภาษาก็ไม่ใช่การพูดแบบไทย   เราไม่ใช้คำว่า พูดศัพท์ภาษาจีน   เราใช้ว่า พูดภาษาจีน 

พรั่งพรู = เข้าหรือออกพร้อม ๆ กันอย่างเนืองแน่น
"คำศัพท์ภาษาจีนที่คุณพูดออกมาเนี่ย พรั่งพรูมาก"  ประโยคนี้ ไม่ใช้กันในภาษาไทยนะคะ    ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร
แต่ถ้าตีความตามศัพท์ คือ คุณพูดภาษาจีนไม่หยุดปากเลย

"คำศัพท์ภาษาจีนที่คุณพูดออกมาเนี่ย หลากหลายมาก"
หลายหลาย  = หลายอย่างต่างชนิด 
ถ้าคุณพูดภาษาจีนได้หลากหลาย  อาจแปลว่าคุณพูดได้หลายสำเนียง   พูดจีนกลาง  แต้จิ๋ว แคะ ฮกเกี้ยน ฯลฯ ได้หมด

"คำศัพท์ภาษาจีนที่คุณพูดออกมาเนี่ย แตกฉานมาก"
แตกฉาน = เชี่ยวชาญ ชำนาญ
ถ้าคุณพูดภาษาจีนได้แตกฉาน  แปลว่าคุณรู้ภาษาจีนอย่างเชี่ยวชาญ  ใช้ศัพท์ได้อย่างคนรู้จริง ไม่ผิดพลาด 
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ก.ย. 16, 06:08

คุณ Wu ZeTian ตั้งหัวข้อกระทู้ได้ "กวนประสาท" จนต้องเปิดเข้ามาอ่านว่าใครหนอ  มาป่วนอะไรหนอ  แต่พออ่านแล้ว  ถึงสงสัยว่าคุณเป็นคนจีนที่เรียนภาษาไทยหรือเปล่าครับ?  ผมตอบให้ตามนี้นะครับ

พรั่งพรู...
หมายถึงพูดติดต่อกันอย่างรวดเร็ว  และพูดต่อเนื่องจนคนอื่นพูดแทรกไม่ได้เลย  มักมีสาระแก่นสารในวาจาเหล่านั้นเพียงเล็กน้อย  บางเรื่องจริง-บางเรื่องเท็จ สับปนกันไป เช่น
 + ภรรยาพรั่งพรูวาจาใส่สามี
 + เพื่อนระเบิดความคับข้องใจพรั่งพรูออกมาให้เราฟัง
 + แม่ค้าพูดจาพรั่งพรูอวดสรรพคุณสินค้าในร้านของตน

หลากหลาย...
หมายถึงผู้พูดเป็นนักพูดที่เก่งกาจ  สามารถเรียก "ของ" สิ่งเดียวกันโดยใช้ศัพท์ที่แตกต่างกัน  เพื่อให้เข้ากับบริบทแต่ละประโยค  หรือเพื่อดึงดูดความสนใจ  หรือเพื่อแสดงอารมณ์ขัน เช่น
 + เมื่อวานนี้ฉันไปดูงานประกวดสุนัขที่สวนจตุจักร  เห็นเจ้าของทะนุถนอมพวกมันอย่างกับลูก  ทำให้นึกถึงหมาข้างถนน  ช่างมีชะตากรรมแตกต่างจากบรรดาเจ้าตูบในงานประกวดนี้เสียเหลือเกิน ((สุนัข-หมา-เจ้าตูบ คือสิ่งเดียวกัน  แต่เล่นคำได้หลากหลาย))
 + เมื่อวานนี้ฉันขับรถกลับบ้าน  ผ่านตลาดที่เคยแวะเป็นประจำ  แต่พอเห็นเมฆฝนตั้งเค้าดำทะมึนจึงเปลี่ยนใจบึ่งรถกลับบ้าน ((ขับรถ-บึ่งรถ คือสิ่งเดียวกัน  ลักษณะนี้เรียกว่า "หลากหลาย"))

แตกฉาน...
หมายถึงเลือกใช้ศัพท์ได้เหมาะเจาะกับกาละ-บุคคล-สถานที่  ครอบคลุมความหมายที่ต้องการจะสื่อสารได้ดี 
เลือกใช้คำบุพบท(preposition) คำสันธาน(conjunction) ชวนให้ฟังแล้วเข้าใจง่าย  การเล่าเรื่องมีความต่อเนื่องราบรื่น  ไม่พาหลงประเด็นเพราะใช้คำเชื่อมผิด 
บางครั้งยังแสดงทักษะการเลือกใช้ศัพท์แปลกๆ  ศัพท์ที่มีความหมายจำเพาะเจาะจง (คนทั่วไปจะไม่รู้จักศัพท์พวกนี้) เช่น
 + เมื่อวานฉันไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้  แหม..บทอัศจรรย์เยอะ  อย่าพาเด็กๆไปดูล่ะ
 + ข่าวรายงานว่าประเทศไทย  มีช้างเลี้ยงทั้งสิ้น 3000 เชือก  มีช้างป่าประมาณ 1950 ตัว (ให้สังเกต "เชือก" กับ "ตัว")
 
ประโยคภาษาจีนที่ยกตัวอย่างมาให้ดูนั้น  丰富 น่าจะตรงกับศัพท์ "หลากหลาย" ในภาษาไทยครับ
ถ้าจะฝืนแปลประโยคภาษาจีนนั่น  ก็ต้องแปลว่า "คำศัพท์ที่คุณใช้นั้น ช่างหลากหลายน่าฟัง"
แต่ผมไม่เคยได้ยินคนไทยชมกันในแบบที่ผมฝืนแปลไปนี้นะครับ  คือคนไทยเราจะชมกันแค่ว่า "พูดได้น่าฟัง" แค่นั้นแหละครับ (ไม่มี "หลากหลาย" ให้พะรุงพะรัง)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ก.ย. 16, 09:13

คุณ Wu Zetian เป็นคนจีนที่กำลังเรียนภาษาไทยระดับสูงค่ะ   เข้าใจว่าเรียนจบแล้วน่าจะกลับไปเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยจีน    ท่านเรียนอะไรยากมาก เช่นอ่าน "มาลัยสามชาย" ทั้งเล่ม     
ทำให้นึกถึงตัวเองสมัยเรียน  ต้องอ่านหนังสือเล่มๆ หนาๆ เนื้อหาคนละวัฒนธรรมกับเราโดยสิ้นเชิง    กว่าจะเอาตัวรอดมาได้ก็สะบักสะบอม
ดังนั้นถ้าพอจะตอบอะไรคุณ Wu ได้ก็ยินดีตอบค่ะ  อยากจะขอท่านอื่นๆช่วยคนละไม้คนละมือด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ย. 16, 13:09

คุณ Wu Zetian เป็นคนจีนที่กำลังเรียนภาษาไทยระดับสูงค่ะ   เข้าใจว่าเรียนจบแล้วน่าจะกลับไปเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยจีน    ท่านเรียนอะไรยากมาก เช่นอ่าน "มาลัยสามชาย" ทั้งเล่ม     
ทำให้นึกถึงตัวเองสมัยเรียน  ต้องอ่านหนังสือเล่มๆ หนาๆ เนื้อหาคนละวัฒนธรรมกับเราโดยสิ้นเชิง    กว่าจะเอาตัวรอดมาได้ก็สะบักสะบอม
ดังนั้นถ้าพอจะตอบอะไรคุณ Wu ได้ก็ยินดีตอบค่ะ  อยากจะขอท่านอื่นๆช่วยคนละไม้คนละมือด้วยนะคะ

ภาษาไทยและภาษาจีน คงจะสับสนกันไม่น้อย เพราะว่าคำคล้าย ความหมายใกล้เคียงกันเยอะ และยังต่างกันด้วยวัฒนธรรมกัน สนุกดีครับเมื่อความหมายของไทย กับความหมายของจีน จะลองมาเปรียบเทียบกัน
บันทึกการเข้า
Wu Zetian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 120


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ก.ย. 16, 14:14

ขอขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ก.ย. 16, 09:18

พี่อู รู้จัก "บทอัศจรรย์" มั๊ยครับ  ยิงฟันยิ้ม
(โผล่ขึ้นมาแซว แล้วก็วิ่งหนีลงเรือนไป)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง