เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 25244 ข่าวฮา MV "เที่ยวไทยมีเฮ" จ่อถูกแบบ เอ้า ของสูงมีไว้กราบบบบบบ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 08:45

http://www.reviewthailandweb.com/forum.php?mod=viewthread&tid=93
ชาวเน็ตแห่ลงชื่อ ค้าน ลัดดา ร้องเรียน MV เที่ยวไทยมีเฮ ส่งถึงนายกฯ มีผู้ร่วมลงชื่อทะลุ เกือบ 25,000 คนแล้ว

        โดยใน change.org  เขียนไว้ว่า  เราจะไม่เห็นด้วยกับนางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย อดีตศิลปินกองการสังคีต กรมศิลปากร กับประเด็นเรื่องเข้าร้องเรียน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์) ถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่มิวสิควิดีโอเพลง“เที่ยวไทยมีเฮ” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้ "อ๊อด บัณฑิต ทองดี" นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ร่วมผลิตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยมีศิลปินหัวใจไทย "เก่ง ธชย" ที่ไปสร้างชื่อด้วยการคว้า 27 รางวัลจากการประกวดศิลปะการแสดงระดับโลก World Championship of Performing Art 2016 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และ "ฟิล์ม บงกช" ร่วมร้องและร่วมแสดงด้วยการใส่ชุดโขน นำแก๊งตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งทศกัณฑ์ และเหล่าเสนายักษ์ ตระเวนเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้มีการเผยแพร่ให้ได้ชมกันเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา

         โดย พบว่าในเคมเปญดังกล่าวได้รับเสียงตอบรับจากชาวเน็ตเป็นอย่างดี โดยภายในระยะเวลาเพียง 8 ชั่วโมงหลังเริ่มโครงการ ก็มีผู้เข้ามาร่วมลงชื่อสนับสนุนทะลุ 5,000 คน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังคงมีคนเข้ามาร่วมลงชื่อกันอย่างต่อเนื่อง

สงสัยอย่างเดียวว่าตัวเลข มัน 25,000 หรือ 5,000 กันแน่  ต่างกันหลายเท่าตัว
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 09:00


สงสัยอย่างเดียวว่าตัวเลข มัน 25,000 หรือ 5,000 กันแน่  ต่างกันหลายเท่าตัว

ตอนนี้ เกือบๆ 27,000 แล้วครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 09:21


สงสัยอย่างเดียวว่าตัวเลข มัน 25,000 หรือ 5,000 กันแน่  ต่างกันหลายเท่าตัว

ตอนนี้ เกือบๆ 27,000 แล้วครับ

ไม่รู้มีชาวเรือนไทยไปลงชื่อบ้างรึเปล่า  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 09:30

น่าจะมีด๊อกเตอร์คนนึงขับแท็กซี่ไปลงมั้ง

เห็นด้วยกับคุณ Naris  ค่ะ  น่าจะเป็นเรื่องจุดขายภาพลักษณ์ที่ไม่ตรงกัน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 09:43

ฝรั่งเค้าทำกันขนาดนี้เลย ซึ่งมันน่าประทับใจ

ฝรั่งเขาก็ทำกันยิ่งกว่านี้เหมือนกัน

         สุดๆ ยิ่งกว่านี้ที่ The Naked Gun
ภาพและเนื้อหาไม่เหมาะสม, รับชมได้ที่ยูทูบตามลิ้งค์
youtube.com/watch?v=cWO7QAOnOJU


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 10:14

จะเอามาให้ดูทั้งคลิปแล้ว แต่รู้สึกว่าไม่เหมาะสม  ก็เลยขอให้ตามลิ้งค์คุณหมอ SILA ไปก็แล้วกันค่ะ
บันทึกการเข้า
Onsiri C.
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 10:22

แล้วแบบนี้หล่ะคะ ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 11:37

ผมไม่ได้ไปลงชื่อหรอกครับ

ภาพยนตร์ที่มีการนำภาพลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีอังกฤษมาร่วมแสดงด้วย (นอกเหนือจากพิธีเปิดโอลิมปิก ซึ่งเป็นเรื่องที่ทรงร่วมแสดงด้วยพระองค์เอง) มี Johny English 2 อีกเรื่องหนึ่งครับ ซึ่งผมไม่ทราบจริงๆ ว่า ทางพระราชสำนักอังกฤษเขามีท่าทีกับเรื่องพวกนี้อย่างไร

ประเด็นเรื่องนี้ ผมคุยกับเพื่อนๆ เพื่อนผมหลายคนเปรียบเทียบแนวคิดการประยุกต์วัฒนธรรมของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น โดยมองว่า ประเทศญี่ปุ่นเขานำเอาต้นทุนทางวัฒนธรรมหลายอย่างออกมาเป็นสินค้า หรือเอามาส่งเสริมสินค้า ทำให้วัฒนธรรมญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ส่งผลไปถึงการทำให้สินค้าญี่ปุ่นได้รับความนิยมและขายดีไปทั่วโลกด้วย แนวทางการนำมาใช้ที่นิยมที่สุด คือ การใช้เกมส์ และการ์ตูน(มังงะ/อนิเมะ)

ทุกวันนี้ เกมส์และการ์ตูนญี่ปุ่น ทำหน้าที่เป็นหัวหอกส่งออกวัฒนธรรม เด็กไทบหลายคนสามารถไล่ชื่อโชกุนตั้งแต่ โนบุนางะ จะถึงคนสุดท้ายได้เลย เพราะมีการ์ตูนหลายเรื่องกล่าวถึง แม้ว่า ในบางเรื่อง โนบุนางะ จะกลายเป็นอสูรบ้าง ปีศาจบ้าง แต่สุดท้ายผมก็คือ ทุกคนรู้จักโนบุนางะ

เด็กไทยบางคนที่เล่นเกมส์ สาวเรือรบ (แปลง Character ของเรือรบญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกลำให้เป็นเด็กสาว) สามารถไล่ชื่อเรือรบญี่ปุ่น ที่เข้ารบในสมรภูมิเกาะเลเต รู้ได้ว่า เรือพิฆาตชั้นชิมะคาเสะ มีปีนกี่นิ้ว ตอร์ปิโดกี่ท่อ เรือลาดตระเวนชั้นทาคาโอะ มีเรือพี่น้องกี่ลำ ชื่ออะไรบ้าง ฯลฯ

 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 11:38

กระทรวงวัฒนธรรมมีบทบาทเป็น "องครักษ์พิทักษ์ทศกัณฐ์" มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว สิบปีก่อน (พ.ศ. ๒๕๔๙) ก็เคยมีเรื่องขัดแย้งเกี่ยวกับการเอาทศกัณฐ์มาแสดงในบทบาทที่ไม่เหมาะสม (ในสายตาของกระทรวงวัฒนธรรม เจือด้วยความเชื่อเรื่องโชคลาง)

ต่างชาติสงสัยการทำงานกระทรวงวัฒนธรรมไทย ใช้มาตรฐาน "โขน" บีบศิลปินแก้บท "โอเปร่า"

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงอุปรากรโอเปร่าชุด "อโยธยา" ซึ่งเป็นการแสดงอุปรากรร่วมสมัยที่ดัดแปลงมาจากเรื่องราวของรามเกียรติ์ของมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ กำกับโดย Hans Nieuwenhuis เจ้าของเนเธอร์แลนด์ สตูดิโอ ประพันธ์โดยนายสมเถา สุจริตกุล ศิลปินวัย ๕๓ ปี ซึ่งมีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้นามปากกา เอส.พี.โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประพันธ์ และนำทูลเกล้าฯ ถวาย

โดยเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากบทกวีเรื่อง "รามเกียรติ์" ตามตำนานของเอเชียอาคเนย์

ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การดนตรีที่มีผู้นำเสนอ "รามเกียรติ์" ในรูปแบบสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากล และยังมีการดำเนินเรื่องในมุมมองของนางสีดา ซึ่งเป็นมิติใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอมาก่อนด้วย โดยทีมนักแสดงที่มีทั้งชาวไทย, รัสเซีย, อเมริกัน, ดัตช์, และจีน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสครองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี โดยได้ขอใช้สถานที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดการแสดงมหาอุปรากรระหว่างวันที่ ๑๖, ๑๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙

เนื่องจากฉากจบของโอเปร่าเป็นฉากความตายของทศกัณฐ์ที่มีความรุนแรง จนกระทรวงวัฒนธรรมต้องออกโรงมากล่าวว่า ฉากที่พรรณนาถึงความตายนั้นเป็นข้อห้ามของการแสดง "โขน" เพราะจะเป็นลางไม่ดี

ดังนั้นกระทรวงวัฒนธรรมจึงเจรจาให้มีการปรับแก้ฉากการตายของทศกัณฐ์นั้น เพียง ๒-๓ วันก่อนการแสดงรอบแรก จนตกเป็นข่าวเกรียวกราวในหน้าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในประเทศไทย และในต่างประเทศ

http://prachatai.com/journal/2006/11/10705

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 11:47

(ต่อ)
ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า หากมีนักเขียนการ์ตูนในบ้านเรา ทำเช่นนี้บ้าง ไม่ต้องถึงขนาดว่าเป็นมารฟ้าอะไรหรอกครับ ถ้าเขียนถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ในแบบที่ไม่ค่อยตรงประวัติศาสตร์นัก พวกผมสายการ์ตูนก็คิดว่า น่าจะถูกต่อว่าแล้ว หรือการนำเรือรบไทยมาทำเช่นนั้นบ้าง ก็คงมีคนไม่พอใจเช่นกัน (แต่เรื่องนี้ก็พูดยากครับ เรือรบไทยหลายลำให้พระนามพระมหากษัตริย์มาตั้งเป็นชื่อเรือ เช่น ร.ล. พระพุทธยอดฟ้า)

สิ่งที่ผมอยากนำเสนอคือ แนวคิดในการนำประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม มาเพิ่มมูลค่าของเรา ต่างจากญี่ปุ่นมากครับ ผมไม่รู้ว่า แบบไหนดีกว่ากัน แต่เมื่อดูจากผลลัพธ์ที่ได้ ผมก็อยากให้เด็กไทยรู้จัก พ่อขุนศรีนาวนำถม และไล่ชื่อเรือรบที่เข้ารบในวิกฤตการณ์ รศ. 112 ได้เหมือนกันอ่ะครับ

ถ้าเราเอาตัวละครโขนมาใช้นำโน่น ทำนั่น ทำนี่ แบบที่อาจารย์เทาชมพูเรียกว่า "ทำอะไรอย่างคนยุคนี้เขาทำ" แล้วส่งผมให้เด็กไทยจำได้ว่า คนนี้ ทศกัณฐ์นะ นี่พิเภกษ์นะ นี่มารีศนะ ฯลฯ เมื่อจำได้ ก็ดูโขนรู้เรื่อง เมื่อดูรู้เรื่อง ก็อาจนำไปสู่ความสนใจโขนที่มากยิ่งขึ้น โขนที่เป็น "อย่างหลวง" ก็จะยังมีคนดู และอยู่ต่อไปได้  

แบบนี้ จะไม่ดีหรือครับ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 11:48

ถ้าหนนี้เอาหนุมานมานำเที่ยวอาจจะไม่มีปัญหากระมัง

หนุมานพบจัมโบ้เอก็มีมาแล้ว ฮี่ๆๆ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

แต่แว่วๆมาว่าตอนเอาหนุมานไปเจอจัมโบ้เอ(ผ่านๆตาว่า พ.ศ.2518 รึเปล่าคะ ยังไม่เกิดอ่ะค่ะฮี่ๆ เห็นเขาบอก 40 กว่าปีมาแล้ว) ตอนนั้นกระทรวงวัฒนธรรมก็ออกโรงเองว่าทำลายวัฒนธรรมไทย

แต่พอหนังหนุมานได้รางวัล"วฒ"ท่านก็เงียบไป

แต่คราวนี้น้องฟิล์ม คนรำเป็นพระยายักษ์ทศกัณฐ์นี่คนของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เอง (แอบไปเห็นเฟสน้อง หล่อเชียวล่ะค่ะ) คิดว่า บัณฑิตพัฒนศิลป์ น่าจะรู้อยู่แล้วนะคะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 12:04

ตอนนั้นมีการ์ตูนเรื่อง "ยักษ์" ออกมา น่ารักมากๆเลยค่ะ เรื่องนี้ทศกัณฐ์พระยายักษ์ความจำเสื่อม พระรามเทียบเป็น RAM ออกแนวเป็นตัวร้าย

เป็นการแปรรูปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่น่าสนับสนุนทีเดียว แต่แล้วก็เงียบไป เสียดายจังค่ะ

(ภาพจาก http://mozaic.exteen.com/20121015/entry)



บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 12:07

แต่แว่วๆมาว่าตอนเอาหนุมานไปเจอจัมโบ้เอ(ผ่านๆตาว่า พ.ศ.2518 รึเปล่าคะ ยังไม่เกิดอ่ะค่ะฮี่ๆ เห็นเขาบอก 40 กว่าปีมาแล้ว) ตอนนั้นกระทรวงวัฒนธรรมก็ออกโรงเองว่าทำลายวัฒนธรรมไทย

แต่พอหนังหนุมานได้รางวัล"วฒ"ท่านก็เงียบไป


เรื่องเกิดตอน "หนุมานพบ ๗ ยอดมนุษย์" คุณวิกกี้ ให้ข้อมูลว่า

อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นว่าไม่เหมาะสม ที่จะนำหนุมานซึ่งเป็นตัวละครเอกในวรรณคดีไทย มาพบกับอุลตร้าแมน ซึ่งเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น แต่ทว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลเชิดชูวัฒนธรรมของเอเชีย ในงานประกวดภาพยนตร์เอเชียที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ต่อมา หนุมานพบ ๗ ยอดมนุษย์ เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ ๒๕ เรื่อง ที่กระทรวงวัฒนธรรม เลือกให้เป็นมรดกของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประจำปี ๒๕๕๕
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 12:12

มาทำความรู้จักกับคุณลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ดีกว่า   ปัจจุบันเธอเกษียณแล้ว   แต่หน้าที่การงานในอดีต  เธอเป็นใครมาจากไหน

"สายเดี่ยว เที่ยวดึก เสพยาคึก หิ้วเด็ก เล่นเน็ตเว็บเสียว เลี้ยวเข้าโรงแรม" สารพัดสารพันปัญหาทางวัฒนธรรมที่ประเดประดังเข้าใส่สังคมไทยแบบไม่บันยะบันยัง ทำเอาพ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องกุมขมับเพราะขยับตัวตั้งรับไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
       
       นับแต่การก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)ในปี 2545 หลังจากเคยมีอยู่ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงครามและถูกยุบไปนั้น ชื่อหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงฯ ที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งและสม่ำเสมอ คือ "สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม" ซึ่งหลายคนคงสงสัยว่า สำนักที่ว่าทำหน้าที่อะไร
       
       ต้นกำเนิดอัศวินวัฒนธรรม
       
       ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เปิดเผยถึงที่มาที่ไปของสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมว่า สำนักดังกล่าวเริ่มตั้งไข่มาตั้งแต่ปี 2538 ก่อนที่ วธ.จะก่อตั้งเสียด้วยซ้ำ ซึ่งแต่เดิมนั้นสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ทำหน้าที่ดูแลวิถีชีวิต เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในช่วงก้าวเข้าสู่ยุค "โลกาภิวัตน์" ที่ปัญหาทางสังคมมีมากขึ้น เพราะข้อมูลข่าวสารถ่ายเทกันง่ายดายแค่ปลายนิ้วสัมผัสแป้น ทำให้ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นหมักหมมมากมาย และเป็นวิกฤติทางมรดกวัฒนธรรม
       
       ลัดดา เปิดเผยถึงเหตุผลที่ต้องมีสำนักเฝ้าระวังว่า เพราะวัฒนธรรมเป็นเรื่องไม่นิ่งและพัฒนาไปตามยุคตามสมัย จึงต้องมีหน่วยงานคอยจับตาดู คอยมอนิเตอร์และพยากรณ์วิถีชีวิตของโลก ซึ่งวัฒนธรรมไม่ได้มีแต่วัฒนธรรมเชิงบวกอย่างเดียว แต่มีวัฒนธรรมเชิงลบด้วย
       
       "มนุษย์พยายามนำค่านิยม เรื่องการบริโภค เรื่องการแต่งกาย จากอีกซีกโลกหนึ่งมาปฏิบัติในอีกซีกโลกหนึ่ง ขณะที่วัฒนธรรมประเพณีเดิมของเราเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีขึ้นมากๆ ปัญหาก็ตามมา อาชญากรรม การละเมิดทางเพศ ยาเสพติด คอรัปชั่น เพราะมันนำกระแสบริโภคทุนนิยมเข้ามา จนลืมว่าวิถีไทยเป็นอย่างไร ที่สำคัญวัฒนธรรมเดินทางเร็วจนตั้งรับไม่ทัน โดยผ่านทางเครือข่ายไซเบอร์ ซึ่งงานของเราต้องอาศัยการวิเคราะห์ การศึกษาวิจัยหรือสำรวจความคิดเห็นร่วมด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ เราจะไปชี้เลยว่าอันนี้ขัดกับวัฒนธรรมไทย ทุกอย่างต้องมีข้อมูลมารองรับ"
       
      อ่านทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ
      http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000075209
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 12:14

จาก facebook ของคุณ Pat Hemasuk
 
ผมคิดว่าคนประเภทที่ต้องโหนรากเหง้าเพื่อให้คนอื่นมองดูดีนั้น น่ารังเกียจพอๆ กับคนอีกประเภทที่จ้องจะทำลายรากเหง้านั่นแหละครับ แต่คนที่ทำงานต่อยอดรากเหง้าไม่ให้ตายไปกับกาลเวลานั้นน่าสรรเสริญกว่าคนสองประเภทนี้

หลายคนไม่รู้หรอกครับว่ารากเหง้าของโขนนั้นถูกดัดแปลงและพัฒนาตลอดเวลา ท่ารำโขนและบทพากย์นั้นสร้างใหม่สมัยรัชกาลที่ 6 นั้นมีจำนวนไม่ใช่น้อย โดยเป็นผลงานของกรมโขนหลวงที่ต่อมาได้รวมเข้าเป็นกรมมหรสพ แต่หลักใหญ่ๆนั้นเล่นตามสำนวนของรัชกาลที่ 2 ที่ยึดถือจนถึงปัจจุบัน นั่นคือการพัฒนาของโขนบรรดาศักดิ์ที่อยู่ในวัง แต่โขนเชลยศักดิ์ที่เป็นคณะของเอกชนนั่นมีตั้งแต่ โขนโรง โขนกลางแปลง จนถึงโขนนั่งราว นั้นดัดแปลงบทและการแต่งกายเกือบทั้งหมดก็ว่าได้

นั่นก็ไม่มีใครในสมัยนั้นโหนโขน พร่ำรำพันถึงความสูงส่งของจารีตโขน ดูถูกคนอื่นที่คิดเห็นต่างกับตัวเองว่าเอาโขนทำลาย หรือเอาโขนไปรับจ้างเล่นนั่งราวกระบอกไม้ไผ่ตามงานศพ

และในอีกทางหนึ่งซึ่งในสมัยนั้นก็ไม่มีใครด่ารากเหง้าของตัวเอง นอกจากยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามที่ไม่เห็นคุณค่าแถมยังทำลายจนศิลปะไทยในยุคนั้นถึงกับกาลวิบัติไปเกือบหมด และคล้ายมากกับพวกลิเบอร่านในสมัยนี้นี้ ที่เรียกประเทศไทยว่ากะลาแลนด์ อะไรเป็นรากเหง้าของไทยพวกมันด่าหมดทุกอย่าง

ดังนั้นคนสองประเภทนี้แหละครับคือพวกน่ารังเกียจในสังคม เป็นพวกที่ไม่มีแสงในตัวเอง ต้องโหนของสูงหรือด่าของสูงเพื่อให้ตัวเองมองดูคล้ายกับเป็นคนมีราคา หรือเพียงแต่พูดเพื่อให้คนอื่นมองเห็นตัวเองที่ไร้ค่าในสังคมมีที่ยืนเพียงตามมุมห้อง คนสองประเภทนี้แม้ตายไปก็ไม่เคยทิ้งอะไรให้กับคนรุ่นหลัง

แต่คนที่มีแสงในตัวเองนั้นเขาไม่สนใจเสียงไร้สาระพวกนี้หรอกครับ เขาจะทำทุกอย่างตามที่เขาเห็นว่าดีและสร้างสรรสิ่งใหม่จากรากเหง้าเดิมในการตีความหมายของเขา ทุกอย่างนั้นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คนที่กล้าขับเคลื่อนให้สิ่งนั้นไม่ตาย และปรับตัวให้ทันสมัยไปตามกาลนั้น น่าสรรเสริญกว่าคนไร้ค่าสองประเภทที่ผมพูดให้ฟังมากมายนัก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง