เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 25242 ข่าวฮา MV "เที่ยวไทยมีเฮ" จ่อถูกแบบ เอ้า ของสูงมีไว้กราบบบบบบ
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


 เมื่อ 21 ก.ย. 16, 11:01

หนอยยยย พวกนี้บังอาจทำลายวัฒนธรรมชองชาติ มันน่ากุดหัวทิ้งยิ่งนัก  แลบลิ้น

เอ็มวี“เที่ยวไทยมีเฮ”ถูกร้องแบน !!! หวั่นทำตัวละครวรรณคดีเสียเกียรติ

 
เป็นประเด็นร้อนฉ่า เมื่อ นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย อดีตศิลปินกองการสังคีต กรมศิลปากร เข้าร้องเรียน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์(วิทยาลัยนาฏศิลป์) ถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่มิวสิควิดีโอเพลง “เที่ยวไทยมีเฮ” ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ให้ "อ๊อด บัณฑิต ทองดี" นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ร่วมผลิตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยมีศิลปินหัวใจไทย "เก่ง ธชย" ที่ไปสร้างชื่อด้วยการคว้า 27 รางวัลจากการประกวดศิลปะการแสดงระดับโลก  World Championship of Performing Art 2016 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และ "ฟิล์ม บงกช" ร่วมร้องและร่วมแสดงด้วยการใส่ชุดโขน นำแก๊งตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งทศกัณฑ์ และเหล่าเสนายักษ์ ตระเวนเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้มีการเผยแพร่ให้ได้ชมกันเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา
 
โดยที่ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์) ให้เหตุผลว่า ไม่ได้ติดใจการพาทศกัณฐ์หรือนางในวรรณคดีไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แต่ติดใจที่ ทศกัณฐ์ ซึ่งถือว่าเป็นราชาแห่งยักษ์ทั้งปวง รวมถึงยังเป็นตัวละครในวรรณคดีที่สง่างาม น่าเกรงขาม ทำกิจกรรมไม่เหมาะ เช่น หยอดขนมครก, ขับโกคาร์ท, ถ่ายเซลฟี่, ขี่บั้งไฟ เป็นต้น
 
ในขณะที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่งมี “คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” เป็นผู้ดูแล ได้เชิญทั้ง 2 ฝ่าย คือ ผู้ผลิตมิวสิควีดีโอ ผู้กำกับ และผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มาหาทางออกร่วมกัน ก่อนที่ นางสาวลัดดา หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม จะโพสต์ลงเฟสบุ๊คถึงผลการประชุมว่า ทางผู้ผลิตยอมรับในความผิดพลาดเพราะขาดความรู้ในมิติวัฒนธรรม ยินดีปรับปรุง และหากปรับแก้แล้วยังทำให้เกิดความเสียหายกับวัฒนธรรมของชาติ ก็ยินดีให้ไม่ออกอากาศมิวสิควีดีโอดังกล่าว รวมถึงสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลปจะเร่งทำจรรยาบรรณวิชาชีพเพื่อปกป้องมรดกของชาติ อย่าง นาฏศิลป์ชั้นสูง อย่างยั่งยืน
 
ด้าน "อ๊อด บัณฑิต" ผู้กำกับฯกลับโพสต์เฟสบุ๊คว่า สำนักเฝ้าระวังจะขู่ฟ้อง ฐานทำลายวัฒนธรรมของชาติ ถ้าไม่อยากโดนฟ้องก็ต้องตัดต่อมิวสิควีดีโอใหม่ ก่อนที่จะเปิดใจกับ "ไนน์เอ็นเตอร์เทน" ว่า ตอนที่ได้ประชุมร่วมกัน นางลัดดาา ได้พูดว่าสามารถล่ารายชื่อจำนวน 10,000 รายชื่อเพื่อฟ้องทีมตนได้ เนื่องจากมีกฏหมายคุ้มครองวัฒนธรรม ซึ่งในความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องอ้างกฏหมายตนทำให้อยู่แล้ว อยากจะอธิบายว่าในระหว่างถ่ายทำ ผู้สวมหัวโขนในเส้นเรื่อง เป็นเด็กจากวิทยาลัย นาฏศิลป์ ในขณะที่หัวหน้าทีมผู้คุมการแสดงเป็นคนของกรมศิลปากร และเป็นผู้ให้คำปรึกษาตลอดว่าสิ่งใดสมควร ทำได้หรือไม่ ซึ่งทางคกก.ต้องการให้แก้ไขสิ่งใด ตนยินดีปรับแก้ให้ หากปรับแล้วยังไม่พอใจอยู่ก็พร้อมจะแก้ให้จนพอใจ หรือในที่สุดเห็นว่าไม่สมควรจะแบนไม่ให้ออกอากาศก็คงต้องเป็นไปตามนั้น ตนเข้าใจดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน.-ไนน์เอ็นเตอร์เทน


ที่มาข่าว http://mcot-web.mcot.net/9ent/view.php?id=57e1055e93816306528b456e

คลิปต้นเรื่อง


คุณลัดดา ตั้งสุภาชัยผู้อาสาปกป้องวัฒนธรรมอันดีงามอย่างแข็งขัน


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 11:24

อ่านอยู่ 3 เที่ยวเพื่อให้แน่ใจว่าจับประเด็นคัดค้านถูก
ข้อใหญ่ใจความคือตรงนี้

โดยที่ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์) ให้เหตุผลว่า ไม่ได้ติดใจการพาทศกัณฐ์หรือนางในวรรณคดีไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แต่ติดใจที่ ทศกัณฐ์ ซึ่งถือว่าเป็นราชาแห่งยักษ์ทั้งปวง รวมถึงยังเป็นตัวละครในวรรณคดีที่สง่างาม น่าเกรงขาม ทำกิจกรรมไม่เหมาะ เช่น หยอดขนมครก, ขับโกคาร์ท, ถ่ายเซลฟี่, ขี่บั้งไฟ เป็นต้น

สรุปว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้จะไม่ว่าอะไร ถ้า
1   ตัวโขนที่มาเล่นบทโฆษณาไม่ใช่ตัวพญายักษ์      เอาตัวเสนายักษ์ หรือยักษ์ตัวประกอบเล็กๆน้อยๆในโขนรามเกียรติ์ เช่นม้ารีศ นางสำมนักขา  มาหยอดขนมครก ถ่ายเซลฟี่  ซะก็หมดเรื่อง  ไม่เป็นไร
2   ถ้าจะเอาทศกัณฐ์มา ห้ามทำอะไรอย่างคนยุคนี้เขาทำ   ต้องรำท่าโขนที่เป็นท่าของทศกัณฐ์เท่านั้น

จับประเด็นได้แล้ว ค่อยวิจารณ์  เชิญค่ะ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 11:39

ผมกลับคิดว่า ท่านไม่ได้มองเรื่องความประพฤติของทศกัณฐ์หรอกครับ เพราะทศกัณฐ์ในวรรณคดีจริงๆ ก็มีพฤติกรรมไม่สมเป็นราชาหลายประการ และเมื่อมีการเอา Character นี้มาประยุกต์กับเหตุการณ์สมัยใหม่ ก็จะเกิดคำถามแบบท่านอาจารย์เทาชมพูว่า รวมทั้งเกิดคำถามว่า อะไรบ้างที่สมเป็นราชายักษ์

ผมมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของการทำใจไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ตนให้ความสำคัญมากๆครับ กล่าวคือ โขน เป็นศิลปะที่หัดยาก ฝึกยาก แสดงยาก และรวมๆกันอีกหลายๆ ยาก การจะเป็นคนโขนได้ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักมาเป็นเวลานาน จึงเกิดความหวงแหน เมื่อเห็นการนำเอาโขนไปใช้ทำอะไรในแบบที่ไม่เหมือนเก่า จึงรู้สึกไม่พอใจครับ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 12:19

กำลังเป็นประเด็นในโลกออนไลน์กันมากทีเดียวค่ะ ซึ่งส่วนตัวรู้สึกเห็นด้วยกับที่คุณ Naris ว่านะคะ
ซึ่งเอาจริงๆเคยได้ยินมาว่าในวงการนาฏศิลป์เองก็มีสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่ม "อนุรักษ์นิยมแบบสุดโต่ง" คือจะประยุกต์ไม่ได้เลย ทำอะไรที่ผิดรูปผิดรอยไม่ได้เลย ส่วนอีกกลุ่มจะเป็นกลุ่มที่ชอบและเห็นด้วยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก้าวตามโลก แต่บังเอิญกลุ่มแรกมีอานาจมากเสียด้วย กลุ่มหลังก็พูดอะไรไม่ออก   รูดซิบปาก:-X
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 12:45

ระหว่างลงไปกินข้าว ผมก็นั่งคิดถึงประเด็นนี้ไปด้วย คือโดยส่วนตัว ผมมองว่า การนำตัวละครทศกัณฐ์ มาใช้อย่างใน MV นั้น ไม่ได้เสียหายอะไรครับ แต่ก็ยังคิดต่อไปว่า หากจะมีฝ่ายที่ไม่พอใจ ความไม่พอใจนั้น จะเป็นเพราะเหตุใดได้บ้าง นอกจากแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์นิยมแล้ว หากมองในมุมของการตลอด อาจเป็นไปได้ว่า นี่เป็นเรื่องของภาพลักษณ์ของสินค้าครับ

กล่าวคือ โขน เป็นศิลปะการแสดงที่สามารถขายได้ และทางกระทรวงวัฒนธรรม อาจจะต้องการขายตัวละครทศกัณฐ์ ในฐานะส่วนหนึ่งของศิลปะชั้นสูงครับ ด้วยเหตุนี้ MV ของ ททท. ที่เสนอภาพของทศกัณฐ์ในฐานะตัวโจ๊ก ตัวฮา ตัวลั้ลลา (เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ทศกัณฐ์ กลายเป็น Mascot ของการท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานในประเทศไทย)

ภาพลักษณ์ที่สองหน่วยงานต้องการนำเสนอจึงขัดกันอย่างแรงครับ และเมื่อเป็นสินค้าตัวเดียวกัน กระทรวงวัฒนธรรมจึงยอมรับในสิ่งที่ ททท. พยายามนำเสนอไม่ได้ครับ  
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 13:18

ฝรั่งเค้าทำกันขนาดนี้เลย ซึ่งมันน่าประทับใจ

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 13:29

นายกญี่ปุ่นในพิธีปิดโอลิมปิกครั้งนี้ก็น่าสนุกนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 14:47

นึกถึงวาทะสะท้านใจของ "สาย สีมา"

“ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่าทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัวและไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องปลอบใจท่านเหล่านี้ได้เท่ากับไม่มีอะไรหยุดยั้งความรุดหน้าของกาลเวลาที่จะสร้างปีศาจเหล่านี้ให้มากขึ้นทุกที ท่านคิดจะทำลายปีศาจตัวนี้ในคืนวันนี้ต่อหน้าสมาคมชั้นสูงเช่นนี้ แต่ไม่มีทางจะเป็นไปได้เพราะเขาอยู่ยงคงกระพันยิ่งกว่าอาคิลลิสหรือซิกฟริด เพราะเขาอยู่ในเกราะกำบังแห่งกาลเวลา ท่านอาจจะเหนี่ยวรั้งอะไรไว้ได้บางสิ่งบางอย่างชั่วครั้งชั่วคราว แต่ท่านไม่สามารถจะรักษาทุกสิ่งทุกอย่างไว้ได้ตลอดไป โลกของเราเป็นคนละโลก...โลกของผมเป็นโลกของธรรมดาสามัญชน”

การปะทะกันระหว่าง "คนโลกเก่า" และ "คนโลกใหม่" ยังคงดำเนินอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 18:09

ฝรั่งเขาก็ทำกันยิ่งกว่านี้เหมือนกัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 18:16

http://www.naewna.com/local/236434

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทันที กรณีที่ "อ๊อด-บัณฑิต ทองดี" นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "บัณฑิต ทองดี" เปิดเผยกรณีถูก น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย อดีตศิลปินกองการสังคีต กรมศิลปกากร เข้าร้องเรียนต่อสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์) ถึงความเหมาะสมของมิวสิควิดีโอเพลง "เที่ยวไทยมีเฮ" ที่ "อ๊อด บัณทิต" ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมผลิตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีการนำตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มาร่วมแสดง โดยที่ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ให้เหตุผลว่า ติดใจที่นำ "ทศกัณฐ์" ราชาแห่งยักษ์ทั้งปวง และเป็นตัวละครในวรรณคดีที่สง่างาม น่าเกรงขาม มาทำกิจกรรมที่ดูไม่เหมาะสม อาทิ หยอดขนมครก ขับโกคาร์ท ถ่ายเซลฟี่ เป็นต้น

ขณะที่ "อ๊อด บัณฑิต" โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า "คุณค่าทางวัฒนธรรมควรเก็บไว้แค่บนหิ้งหรือไร นำมาต่อยอดเพื่อประโยชน์ของชาติก็ไม่ได้ ถูก...กับ...เรียกไปขู่ว่าจะฟ้อง โทษฐานทำลายวัฒนธรรมชาติ"



นอกจากนี้ "อ๊อด บัณฑิต" ยังให้สัมภาษณ์เปิดใจต่อสื่อมวลชน ว่า ระหว่างการประชุม น.ส.ลัดดา กล่าวว่า สามารถล่ารายชื่อ 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อฟ้องร้องทีมงานได้ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองวัฒนธรรม ซึ่งตามจริงไม่ต้องนำกฎหมายมาอ้างก็ทำให้อยู่แล้ว และขออธิบายว่า ระหว่างการถ่ายทำ คนสวมหัวโขนในเรื่องเป็นเด็กจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ หัวหน้าทีมผู้คุมการแสดงก็เป็นคนของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้ให้คำปรึกษาตลอดการถ่ายทำ แต่หากทางคณะกรรมการให้แก้ตนก็ยินดี แต่หากแก้แล้วยังไม่เป็นที่พอใจ แต่หากเห็นว่าไม่สมควรจะแบนไม่ให้ออกอากาศก็ต้องเป็นไปตามขั้น เข้าใจดีว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

ด้านบุคคลที่มีเสียงชื่อทั้งด้านวงการบันเทิง วงการศิลปวัฒนธรรม วงการภาพยนต์ ก็ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องนี้ดังนี้

ยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน และนักเขียนบทละครเวทีและภาพยนตร์ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Euthana Mukdasanit" ข้อความว่า
 "!!! เอาวิดีโอเพลง "เที่ยวไทยมีเฮ" ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่มาให้เพื่อนๆ ลองชม
...ส่วนตัวได้ดูแล้วก็ว่าน่ารักดี...แต่ถ้าถามว่าดีหรือไม่ ก็จะบอกว่าไม่ดี!!!!
ด้วยเหตุผล 2 ประการ 1.จากเคมเปญเที่ยวไทยทำให้เห็นตัวละครมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าชมต่างๆ....

2.ศิลปวัฒนธรรมการแสดงชั้นสูงของไทยที่เรียกว่าโขนนั้น มีการพัฒนามาหลายร้อยปีจนอยู่ในระดับคลาสสิค และจะแสดงอยู่เพียงเรื่องเดียวคือ รามเกียรติ เพื่อเชิดชูประเด็น ธรรมย่อมชนะอธรรม เพื่อเชิดชูพระมหากษัตริย์เท่านั้น...

มีทั้งการแสดง โขนโรงใน โขนกลางแปลง โขนฉาก และโขนหน้าจอเป็นต้น...ซึ่งถ้าใครเคยดูและดูเป็นจะรู้ว่าวิจิตรงดงามมากในทุกมิติ...การแสดงที่หยิบยืมมาแต่เฉพาะตัวละครมาพัฒนาดนตรีและท่าเต้น เพื่อขายการท่องเที่ยวย่อมทำได้ แต่จะได้ผลบวกสมดังเจตนาหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ.....

ปล.อ่านในเนื้อข่าวที่คุณพิเชษฐ์ให้สัมภาษณ์แล้วออกจะงงๆ เพราะเนื้อหามีแต่ประเด็นเสียดสีมิได้แยกแยะว่ามีผลดีร้ายอย่างไรบ้าง!!! น่าจะแจ้งให้ทราบว่านี่ไม่ไช่โขน แต่เป็นงานคอนเทมป์เพื่อขายการท่องเที่ยวเท่านั้นมากกว่า"

ต่างจาก พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินนักรำไทยที่ได้รับการฝึก "โขน" จาก ครูชัยยศ คุ้มมณี ครูโขนอาวุโสของกรมศิลปากร ที่ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Pichet Klunchun" ข้อความว่า "การเติบโตทางวัฒนธรรม ด้านความคิด การกระทำ จิตใจ ของคนที่ข้องเกี่ยวกับงานศิลปะจะเป็นส่วนสำคัญในการนำพาให้ศิลปะแบบดั้งเดิม ยังคงดำรงอยู่ได้อย่างสง่างาม การปิดกั่นวัฒนธรรม ทางความคิด การกระทำและจิตใจ ก็รังแต่จะส่งผลให้ศิลปะแบบดั้งเดิม เสื่อมถอยลดน้อยลงไปจากสังคม การปิดกันไม่ให้ผู้อื่นแสดงออกแม้แต่ความคิดนั้น มันสะท้อน ให้เห็นถึง อาการด้อยภูมิทางความรู้ ของคนผู้นั้นและสิ่งนั้นไปพร้อมๆ กัน ศิลปะแบบประเพณีไม่ต้องการการปกป้องจากวาจาที่ทำร้ายกันของคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ไม่ต้องการการปกป้องด้วยกฏข้อบังคับทางสังคม

วิธีเดียวที่จะปกป้องงานศิลปะแบบดั้งเดิมได้นั้นคือทำให้งานศิลปแบบดั้งเดิมปกป้องตัวมันเองให้ได้ โดยปราศจากการปรุงแต่งด้วยสิ่งอันไร้สาระทั้งปวง แสดง นำเสนอ หาวิธีให้คนทั่วไปรับรู้ให้ได้ว่ามันมากกว่าคำว่า วัฒนธรรมประจำชาติ นี้เป็นการทับซ้อนกันทางสภาวะของความคิดความรู้สึกที่มีต่อความเชื่อและความจริง ที่เรารับรู้ซึมซาบเข้าไว้ในตัวเราผ่านวัฒนธรรมและความเชื่อ มีความจริงที่ไม่จริงแฝงอยู่ มีความไม่รู้แก่กูรัก

อะไรคือความไม่เหมาะสมมากกว่ากันระหว่างที่ทศกัณฐ์ทำกิจกรรมไม่เหมาะสม กับผู้แสดงกินเหล้าก่อนแสดง ผู้แสดงไม่ฝึกซ้อม ผู้แสดงมีความไม่พร้อมทางร่างกายที่อ้วนลงพุง การแสดงที่ควรจะอยู่ในโรงละคร กับไปอยู่ในร้านอาหาร ข้างถนน บนโรงแรม หรือล่องเรือชมแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรื่องอีกมากมายที่เกิดขึ้นกับนาฏศิลป์ไทยที่ไม่เหมาะสม แต่ไม่ถูกพูดถึง เพราะมันอยู่ที่ใครทำ พวกใคร และใครได้อะไร ก็เรื่องเดิม แยกไม่ออกระหว่างวัฒนธรรม ความเชื่อ ความจริงและเวลาปัจจุบัน"

เช่นเดียวกับ "กอล์ฟ-ฟักกลิ้ง ฮีโร่" ศิลปินแร็ปเปอร์ชื่อดัง ที่โพสต์ข้อความผ่านเพจ "ฟักกลิ้ง ฮีโร่" ข้อความว่า "อ่านข่าวนี้แล้วปวดจิต ไม่คิดกันบ้างเหรอครับว่าอีกไม่นานท่านก็ตาย ผมก็ตาย เราทุกคนก็ต้องตาย ศิลปะวัฒนธรรมต้องถูกส่งต่อให้คนรุ่นใหม่สืบทอด นี่คือสิ่งที่ยั่งยืน การเอาสายตาท่านมองแทนมุมของเขารังแต่จะทำให้เขาหันหลังให้สิ่งนี้ไปเรื่อยๆ

รากนั้นหากมั่นใจว่ายึดอยู่ในดินแข็งแรงดีแล้ว ก็ควรปล่อยให้ใบ ดอก ผล ผลิออกไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นน่าจะดีกว่า เห็นมีแมลงมาเจาะใบ พายุแรงโหมพัดค่อยมาดูแลกันไม่ดีกว่าเหรอครับ นี่เพียงกิ่งก้านเติบโตไม่เป็นทรงเดิมเสียหน่อยก็เอากรรไกรไปตัดกิ่งเสียแล้ว แล้วต้นไม้ต้นนี้จะเติบโตได้อย่างไรในเมื่อใบมันน้อย แต่รากมันโตเหลือเกิน

กายเราคราฝังดินมันก็เป็นแค่ปุ๋ย รักสิ่งนั้นจริง ควรหรือที่จะกอดสิ่งนั้นให้ตาย ย่อยสลายไปกับเรา การจับวัวนุ่งโจงกระเบน ไม่เกิดประโยชน์ถ้ามันลืมตีน แล้วถ้ายักษ์รำใส่กางเกงยีนส์ ถามว่านั่นยังคงเป็นท่ารำอยู่มั้ยครับ? ด้วยความเคารพและรักนะ"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 20:59

http://www.matichon.co.th/news/293871

      อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มองได้ 2 มุมมอง ทั้งแง่บวกและแง่ลบ แต่แง่ลบมีมากกว่าแง่บวก ซึ่งในมุมมองอนุรักษ์ มองกันว่าการแสดงโขนเป็นการแสดงอนุรักษ์ เป็นการแสดงของราชสำนัก ก่อนที่จะพระราชทานให้คนดูทั่วประเทศ เวลาแสดงแสดงต้องไหว้ครู ต้องทำพิธีบวงสรวง บูชาครู ถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อในเอ็มวี มีการมาแต่งเครื่องโขน จึงอาจไม่เหมาะสมที่นำมาประกอบในลักษณะตลก ส่วนในแง่การโฆษณานั้น ตนมองว่าสามารถทำได้ในรูปแบบของแอนิเมชั่นหรือตัวการ์ตูนโดยนำการ์ตูนยักษ์ทั่วไปที่ไม่ใช่ทศกัณฑ์มาใช้ ถ้าในลักษณะนี้เชื่อว่าก็คงไม่ต้องมาตอบคำถามหรือข้อสงสัย
                                                                                 นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
                                                                   อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 21:01

ตอบโจทย์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 23:03

ผมกลับคิดว่า ท่านไม่ได้มองเรื่องความประพฤติของทศกัณฐ์หรอกครับ เพราะทศกัณฐ์ในวรรณคดีจริงๆ ก็มีพฤติกรรมไม่สมเป็นราชาหลายประการ
ผมมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของการทำใจไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ตนให้ความสำคัญมากๆครับ กล่าวคือ โขน เป็นศิลปะที่หัดยาก ฝึกยาก แสดงยาก และรวมๆกันอีกหลายๆ ยาก การจะเป็นคนโขนได้ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักมาเป็นเวลานาน จึงเกิดความหวงแหน เมื่อเห็นการนำเอาโขนไปใช้ทำอะไรในแบบที่ไม่เหมือนเก่า จึงรู้สึกไม่พอใจครับ

เห็นด้วยครับ  ไม่เพียงแต่ทศกัณฐ์..แม้แต่อิเหนา พระอภัยมณี ก็ยังมีพฤติกรรมไม่สมเป็นพระเอก ไม่สมเป็นขัตติยวงศ์
การที่กระทรวงวัฒนธรรมยกตัวอย่างว่า  ทศกัณฐ์หยอดขนมครก ขี่รถโกคาร์ต ดูแล้วไม่เหมาะสมนั้น  น่าจะเป็นคำแก้เกี้ยวเสียมากกว่า
เหตุผลที่ฟังขึ้น  น่าจะเป็นดังข้างล่าง
                              V
                              V
                              V
นอกจากแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์นิยมแล้ว หากมองในมุมของการตลาด อาจเป็นไปได้ว่า นี่เป็นเรื่องของภาพลักษณ์ของสินค้าครับ

กล่าวคือ โขน เป็นศิลปะการแสดงที่สามารถขายได้ และทางกระทรวงวัฒนธรรม อาจจะต้องการขายตัวละครทศกัณฐ์ ในฐานะส่วนหนึ่งของศิลปะชั้นสูงครับ
ด้วยเหตุนี้ MV ของ ททท. ที่เสนอภาพของทศกัณฐ์ในฐานะตัวโจ๊ก ตัวฮา ตัวลั้ลลา (เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ทศกัณฐ์ กลายเป็น Mascot ของการท่องเที่ยวอย่างสนุกสนานในประเทศไทย)

ภาพลักษณ์ที่สองหน่วยงานต้องการนำเสนอจึงขัดกันอย่างแรงครับ และเมื่อเป็นสินค้าตัวเดียวกัน กระทรวงวัฒนธรรมจึงยอมรับในสิ่งที่ ททท. พยายามนำเสนอไม่ได้ครับ  

ถ้าสามารถถ่ายทำใหม่ได้ (ไม่ติดขัดเรื่องงบประมาณ) และเป็นการรักษาน้ำใจของทั้ง 2 กระทรวง  เปลี่ยนจากทศกัณฐ์เป็นสหัสเดชะ  มันจะลงเอยด้วยดีไหมครับ
คือยักษ์ 2 ตนนี้  มีลักษณะกายที่โดดเด่นตรงที่มีหลายศรีษะ  ซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ถ้าใช้ยักษ์อื่นอาจ "เรียกแขก" ได้ไม่ดีเท่ายักษ์คู่นี้
ต่อไปภายหน้า  ททท.ยังจับสหัสเดชะมาใช้ได้อีกเรื่อยๆ  ช่วยให้คนไทยรู้จักยักษ์อื่นๆด้วยนะ (นอกจากทศกัณฐ์ กุมภกรรณ ซึ่งผมคิดว่าคนส่วนใหญ่รู้จักแค่ 2 ตนนี้)
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.ย. 16, 23:13

ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 ก.ย. 16, 00:34


เดี๋ยวต้องช่วยกันร้องเรียนศูนย์เฝ้าระวังวัฒนธรรม
แขกพวกนี้แต่งกายล้อเลียนทศกัณฐ์ ทำภาพพจน์มรดกชาติดูไม่ดี



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง