เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 23952 สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


 เมื่อ 13 ก.ย. 16, 19:59

เห็นเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า  สกุลไทยคงจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้

...และแล้ว นิตยสารเก่าแก่ระดับตำนานที่โลดแล่นอยู่ในวงการหนังสือมากว่า 60 ปี อย่างสกุลไทย ก็เตรียมตัวปิดฉากลง ตามรอยนิตยสารรุ่นพี่บ้างรุ่นน้องบ้าง ไปอย่างน่าใจหาย เหตุเพราะขาดหัวเรือใหญ่ อย่าง ประยูร ส่งเสริมสวัสดิ์ ซึ่งได้เสียชีวิตลงไปเมื่อไม่นานมานี้ งานนี้โฆษณาก็เลยลดน้อยลงไปด้วย แว่วๆ มาว่า ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ น่าจะเป็นฉบับสุดท้าย ที่เราจะได้เสพสาระจากหนังสือที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน หากเป็นจริง สาวกแฟนคลับหนังสือเล่มนี้ อย่าลืมตามเก็บฉบับสุดท้ายกันนะเจ้าคะ...

จริงเหรอคะ  สกุลไทยเป็นนิตยสารฉบับท้ายๆ เลยนะคะที่ดิฉันคิดว่าจะปิดตัวลงในช่วงนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 20:09

จริงค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 20:20

จะเป็นฉบับที่ขึ้นรอบปีของสกุลไทยพอดีค่ะ    ก่อนจะอำลาวงการ
บก.ขอให้เขียนอะไรให้เป็นที่ระลึก   กำลังร่างอยู่ค่ะ
เป็นเรื่องน่าเศร้ามาก   เหมือนเห็นเพื่อนเก่าที่รู้จักมาตลอดชีวิต ต้องจากลาไปไม่มีวันกลับ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 20:33

โอย ใจหายค่ะ  เพื่อนจากไปอีกหนึ่งแล้ว

จำได้ว่าตอนเด็กๆ ดิฉันอ่านนิทานจากสตรีสาร  พอโตขึ้นก็เริ่มอ่านนิยายจากสกุลไทย

ที่ไม่คาดคิดว่าสกุลไทยจะต้องปิดตัวลง  เพราะมองว่าสกุลไทยแตกต่างจากนิตยสารแฟชั่นหัวนอกหัวในที่ทยอยปิดตัว  เพราะมี content ที่แตกต่าง  ไม่สามารถหาอ่านจากอินเทอร์เน็ตได้  ไม่คิดว่าปัญหาการขาดโฆษณาจะส่งผลรุนแรงเช่นนี้

หลังๆ นิตยสารรายปักษ์ที่เคยเล่มหนาขนาดนอนอ่านแล้วหล่นใส่หน้าดั้งจมูกแทบยุบ  ก็พากันบางลง  โฆษณาสวยๆ ที่เคยเปิดดูอย่างเพลิดเพลินก็ลดน้อยลง  รวมทั้งเรื่องราวน่าสนใจก็พลอยหายตามหน้ากระดาษที่ลดลงจนไม่อยากซื้อ  ต่อให้พยายามหาของแถมมาล่อก็ตาม

นี่ยังเหลือต่วยตูนพิเศษอีกเล่ม  ไม่ทราบจะยืนได้นานแค่ไหน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 07:38

นิตยสารสกุลไทย เคยใช้ข้อมูลตัดแปะเพื่อส่งครูทำรายงานเรื่องความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีพอๆ กับนิตยสารขวัญเรือน ซึ่งมีคอลัมภ์ให้ความรู้ดีๆ อยู่มากมาย ก็ตกใจเหมือนกันว่านิตยสารเก่าแก่นี้จะปิดตัวลงไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 08:17

ในเฟซบุ๊ค มีสกุลไทยออนไลน์ซึ่งเริ่มทำมาระยะหนึ่งแล้วค่ะ  คัดบทความประวัติศาสตร์ไปลง ก็มีการตอบรับด้วยดี
ต้องรอว่าผู้บริหารสกุลไทยจะดำเนินการอย่างไรต่อไป     ดิฉันก็ไม่ทราบรายละเอียดเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 09:23

ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ น่าจะเป็นฉบับสุดท้าย

จะเป็นฉบับที่ขึ้นรอบปีของสกุลไทยพอดีค่ะ    ก่อนจะอำลาวงการ

ปกสกุลไทยฉบับแรก วางแผงเมื่อ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ นางแบบคือคุณบุญปรุง ศิริธร ฉบับละ ๓ บาท


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 09:25

สงสัยผมคงไปทำให้เขาต้องปิด ลังเล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 09:40

คงมิใช่เช่นนั้นหนอ  ยิงฟันยิ้ม

ผมเลยอยากจะถือโอกาสบอกว่า กระทู้นี้ได้แปลงร่างเป็นบันเทิงสารคดี ลงในคอลัมน์ประวัติศาสตร์มีชีวิตของสกุลไทยไปแล้ว คิดว่าวันจันทร์หน้า ตอนที่ ๑ จะออกโรง แล้วจะต่อเนื่องกันไปถึงสิ้นปี รวม ๑๖ ตอน
หลังจากนั้นก็จะรวมเล่มครับ

ใครอยากได้เอาไว้เก็บบนหิ้งหนังสือ สำหรับตนเองหรือลูกหลานจะได้อ่าน ก็อดทนรอหน่อยแล้วกัน ๔ เดือนลืมๆซะก็แป๊บเดียวเอง


กำลังนึกอยู่เชียวว่า จะกระทบถึงหนังสือเรื่อง "ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์" ของคุณนวรัตนอย่างไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 09:56

"สกุลไทย" ควรรับนับเป็นพี่
"เรือนไทย" นี้เป็นน้องสองสมร
เมื่อพี่ต้องจากไปให้อาวรณ์
น้องร้าวรอนห่วงหาไห้อาลัย


ในนามของชาวเรือนไทยคนหนึ่ง  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 10:19

   สังคมของคนรุ่นใหม่ ไม่มีพื้นที่ให้การอ่านอะไรยาวๆ หน้าแล้วหน้าเล่า ต่อเนื่องกัน 7 วันครั้งอีกแล้ว     เขาสื่อสารสองทางกันได้ทันใจ    ด้วยการอ่านข้อความสั้นๆในมือถือ  ดูข่าวสั้นๆและรูปที่ส่งกันไปมา แป๊บเดียวรู้เรื่อง   
   เมื่อโซเชียลมิเดียก้าวเข้ามา   สิ่งพิมพ์ที่เป็นการสื่อสารทางเดียวก็ต้องหลีกทางไปค่ะ

       
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 10:25

ท่านอาจารย์ใหญ่กว่าคงต้องมาเขียนต่อบนเรือนไทยแทนแล้วหละครับ

ยุคสมัยของนิตยสารกำลังจบลง หนังสือธรรมดาก็กำลังตามไปติดๆ

ขนาดผมที่เป็นคนขาดตัวหนังสือไม่ได้ จะกินข้าว นั่งอึในห้องน้ำ รอเพื่อน ประชุมฯลฯ ต้องมีอะไรอ่านติดมือตลอด ตอนนี้แทบจะไม่อ่านอะไรจากหนังสือกระดาษแล้ว  ขนาดบอกรับเป็นสมาชิก NG ไว้ปีนึง 2-3 เล่มหลังยังไม่ได้อ่านเลยและคงไม่ต่ออายุสมาชิกแล้ว หรือต่วยตูนพิเศษนี่ตั้งแต่ไปขับ taxi ที่ต่างแดนก็เลิกอ่านไปเลยจนถึงปัจจุบัน

แม้จะเลิกอ่านหนังสือกระดาษ แต่ผมยังคงอ่านๆๆๆๆ อยู่ เพียงแต่อ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนแล้ว ยิ่งยุคนี้แหล่งข้อมูลความรู้มีให้อ่านหลากหลาย แค่หนังสือโหลดฟรีก็อ่านไม่หวาดไม่ไหวแล้ว  ที่เป็นภาษาอังกฤษเจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจก็สามารถกดดูความหมายได้เลย  หรืออย่างนิยายของ "แก้วเก้า" เล่มหนาๆ นี่ ไม่กี่วันก่อนไปเจอให้โหลดแบบละเมิดลิขสิทธิ์ เอาใส่ tablet อ่านสะดวกกว่าแบบเล่มมาก ผมจะรอซื้อแบบ e-book ก็ไม่มีขาย จะซื้อแบบกระดาษตอนนี้นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนไปแล้ว

สื่อหรือสำนักพิมพ์ต้องรีบปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงแล้วเพราะช่องทางหารายได้จากโฆษณาบนหนังสือตีพิมพ์ใช้ไม่ได้อีกต่อไป  ขนาดผมเป็นคนรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ เพิ่งมี tablet ใช้ไม่กี่ปี ลักษณะนิสัยการอ่านเปลี่ยนไปอย่างถาวรแล้ว แล้วคนรุ่นใหม่ๆ จะยิ่งเปลี่ยนมากกว่าอีก

และที่ท่านอาจารย์ใหญ่ว่ามายิ่งจริงขึ้นไปอีก คนจำนวนไม่น้อยไม่สามารถทนอ่านอะไรยาวๆ ได้อีกต่อไป แต่ต้องเป็นอะไรที่สั้นๆ กระชับ สำเร็จรูป ขนาดข้อสอบ ถ้าโจทย์ยาวหน่อย นศ สมัยใหม่ยังอ่านไม่ได้เลย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 10:31

ได้อ่านข่าวเหมือนกันค่ะ เสียดายจริงๆ แต่ติดตามสกุลไทยออนไลน์อยู่เหมือนกัน

สมัยเด็กๆติดกุลสตรีค่ะ ด้วยที่บ้านน้าเป็นร้านตัดเสื้อก็ต้องรับนิตยสารเหล่านี้มาไว้ มีหญิงไทย กุลสตรี ขวัญเรือน

แต่ที่ชอบอ่านกุลสตรีเพราะคอลัมน์ "นางในวรรณคดี" ของมาลัย กับพวกนิทานสนุกๆในนั้น ปัจจุบันที่เห็นล่าสุดกุลสตรีปรับตัวไปไกลมากโขจนนึกว่าเป็นนิตยสารนอกอย่าง "คลิโอ" เสียอีก
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 10:36

ยุคสมัยของนิตยสารกำลังจบลง หนังสือธรรมดาก็กำลังตามไปติดๆ

ที่คุณชายประกอบเทพว่ามา เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

สมัยก่อนต้องซื้อหนังสือพิมพ์รายวันอ่านวันละอย่างน้อย ๑ ฉบับ จนมีหนังสือกองเป็นตั้ง ๆ รอให้คนรับซื้อของเก่ามาจัดการ ระยะหลังเคยซื้อมาแล้วทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้เปิดเลยก็มี จนวันหนึ่ง (เมื่อไม่นานมานี้) เห็นว่าหมดความจำเป็นที่จะต้องอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์กระดาษแล้ว ด้วยว่าข่าวสารทั้งปวงหาได้จากหนังสือพิมพ์ในอินทรเนตร รวดเร็ว หลากหลาย และไม่เสียตังค์อีกด้วย (เรื่องหลังคุณชายฯคงชอบ  ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 11:14

ทุกท่านมีความเห็นสอดคล้องไปทางเดียวกันนะคะ
การอ่านบนกระดาษที่เรารู้จักกันมาหลายชั่วคน เปลี่ยนแปลงเป็นอ่านหน้าจอ   การเขียนและการพิมพ์บนกระดาษก็กำลังจะหมดไป  เมื่อหน้าจอมีทั้งเขียนและพิมพ์ได้   
เดี๋ยวนี้ยังพูดใส่หน้าจอให้เลขาดิจิตัลพิมพ์ลงได้ด้วย

เมื่อปี 2435  ดิฉันเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ที่สมัยนั้นเรียกว่าเวิร์ดโปรเซสเซอร์  เป็นเครื่องตั้งโต๊ะจอขาวดำ    เวลาพิมพ์ต้องใช้โปรแกรมแผ่น เสียบลงไป ต่อพริ้นเตอร์    มีโปรแกรมให้พิมพ์ คือเวิร์ดราชวิถีกับเวิร์ดจุฬา   คำสั่งเยอะมาก  เวลาพิมพ์ตัวเอียงตัวหนา ต้องตั้งหลักให้ดีว่าจะสั่งตรงคำไหน  ไม่งั้นผิด
พิมพ์เสร็จ ก็ออกคำสั่งพริ้นเตอร์ให้พิมพ์ลงแผ่น เสร็จแล้วส่งไปรษณีย์ไปที่ปลายทาง
ต่อมา สกุลไทยมาติดตั้ง Fax modem ให้

ต่อมา อินเทอร์เน็ตมาถึงกรุงเทพและกระจายไปปริมณฑล ปี 2542   ก็เริ่มใช้อีเมล์กะเขาส่งต้นฉบับ ไม่ต้องพริ้นท์อย่างเมื่อก่อน   พิมพ์ลงไฟล์เสร็จส่งอีเมล์ได้เลย     เริ่มรู้จักวินโดว์เป็นครั้งแรก   หน้าต่างบานแรกคือวินโดว์ 3.1

กูเกิ้ลยังไม่มี มีแต่ยาฮู ซึ่งใช้ได้ดีที่สุดในยุคนั้น เอาไว้ค้นข้อมูล ส่วนใหญ่ข้อมูลจากต่างประเทศหาได้เยอะกว่าของไทย
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ค่อยๆผุดขึ้นมาทีละเว็บสองเว็บ     เลยสั่งเด็กส่งหนังสือพิมพ์ให้เลิกส่ง    อ่านออนไลน์ง่ายกว่า
ส่วนใหญ่อ่านหน้าแรกพอ   ไม่ขยันพอจะเปิดหน้าหลังๆเหมือนสมัยคลี่หนังสือพิมพ์ออกอ่านทุกหน้า
 
จาก 2542 ถึง 2559   ยาวนานพอที่พฤติกรรมการอ่านจะเปลี่ยน   เมื่อก่อนชอบซื้อวรรณกรรมฝรั่งรุ่นเก่ามาสะสมไว้อ่าน     เดี๋ยวนี้เปิดเข้าไปดูทีไร เจอของฟรีให้โหลดได้ทั้งนั้น     ก็เลยอำลาการซื้อมาสิบกว่าปีแล้วค่ะ

อ่านอะไรจากหน้าจอยาวๆเกิน 2-3 หน้าไม่ได้   มันปวดตา     เดี๋ยวนี้อ่านจากมือถือยิ่งอ่านไม่ได้หนักเข้าไปอีก  ใหม่ๆเคยเห่อไลน์  ลงทุนพิมพ์เป็นประโยค เพื่อคุยกับเพื่อนๆ   เดี๋ยวนี้เหลือแต่กู๊ดมอนิ่งกับสติ๊กเกอร์ ok thank you 

พฤติกรรมตัวเองยังเปลี่ยน  ก็เลยไม่แปลกใจว่าทำไมคนหนุ่มสาวเขาถึงเปลี่ยนกันจากยุคเราไปหมดแล้วน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง