เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 23919 สกุลไทยจะตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเดือนพฤศจิกายนนี้
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 ก.ย. 16, 17:26

ดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มน่าจะได้เปรียบกว่านิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ ที่ต้องต่อสู้กับความไวของข้อมูลออนไลน์  เหมือนนวนิยายรวมเล่มที่ยังขายได้เรื่อยๆ  เฉพาะในเรือนไทยเองนี้ก็มีนับร้อยกระทู้ที่สมควรจัดพิมพ์รวมเล่มเก็บไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวในสมัยก่อน 

เรื่องพม่าที่คุณ Navarat.C เขียนนี่ก็น่ารวมเล่มนะคะ  เพราะข้อมูลแน่นหนารูปภาพก็งดงาม  แต่ 3 เล่มแรกที่พิมพ์ออกมาเล่มเล็กเหลือเกินค่ะ  อ่านไม่จุใจ  อยากได้เล่มใหญ่ เรื่องราวละเอียดและภาพสวยๆ อย่างในกระทู้น่ะค่ะ  จะได้เก็บไว้ให้ลูกหลาน

กรุณารับความเห็นไว้พิจารณาด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 ก.ย. 16, 17:52

จะพิมพ์อย่างนั้นได้ต้องมีสปอนเซอร์แยะๆน่ะครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 ก.ย. 16, 22:49

ก่อนนี้ผมก็เคยคิดว่าหนังสือกระดาษน่าจะยังอยู่ไปอีกนาน แต่ตั้งแต่ยุคของ tablet ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดครับ


ก่อนหน้านี้นับสิบปี ผมอ่านอะไรต่อมิอะไรบน internet ผ่านคอมพิวเตอร์ notebook ซึ่งมันก็สะดวกในระดับนึง แต่มันยังเคลื่อนย้ายไม่สะดวกนัก น้ำหนักยังมากไป แถมจอเป็นแนวนอน เวลาอ่านพวก web ต่างๆ พอไหว แต่เวลาอ่านหนังสือที่มีการแปลงเป็น pdf มันยังไม่สะดวก เพราะหนังสือส่วนใหญ่ที่ถูกแปลงมาจากกระดาษแนวตั้ง พอมาอ่านบนคอมการเลื่อนหน้าจอทีละหน้าจอจะลำบากเพราะมันจะเหลื่อมๆ แต่ก็อ่านมาได้เป็นสิบปีแบบขัดอกขัดใจพอสมควร  ระหว่างนี้หนังสือกระดาษก็๋ยังสำคัญกับผม แต่ก็ลดลงไปไม่น้อย ผมใช้เวลากับการอ่านบนหน้าจอมากกว่าบนกระดาษมากๆ


สามสี่ปีก่อน ผมซื้อ tablet ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วเครื่องแรกมาใช้ โลกของการอ่านเปลี่ยนไปเยอะ เพราะสำหรับ tablet จะอ่านในแนวตั้งหรือแนวนอนได้ทั้งนั้น การอ่าน pdf ที่มาจากหนังสือกระดาษสะดวกขึ้นในเรื่องของการอ่านได้ทีละ 1 หน้าจอเหมือนอ่านหนังสือกระดาษ ไม่ต้องค่อย slide เลื่อนบรรทัด แต่มีปัญหาว่า pdf ที่มาจากหนังสือเล่มใหญ่กว่า pocket book เวลาอ่านบนจอ 7 นิ้วตัวหนังสือจะเล็กมาก แม้จะขยายขนาดตัวหนังสือได้ แต่ก็ไม่สะดวกกับการต้องคอยเลื่อนหน้าจอ  แต่ถ้าเป็นการอ่าน e-book ที่ทำมาสำหรับอุปกรณ์พวกนี้จะไม่มีปัญหาเลย ผมซื้อ e-book มาอ่านจำนวนมาก ราคาถูกกว่าหนังสือกระดาษเยอะ เจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจเปิดดิกดูได้เลยแค่กดที่คำนั้นไว้


แต่ e-book ตอนนี้จะมีข้อด้อยตรงที่หนังสือที่มีรูปมากๆ พอทำเป็น e-book เค้าไม่เอารูปมาใส่ไว้ เจอแต่ตัวหนังสือ หรือหนังสือที่พิมพ์ 4 สีสวยงามพอมาทำ e-book แล้วไม่ได้เรื่อง สู้หนังสือกระดาษไม่ได้เลย แต่ถ้าสำหรับคนที่รักตัวหนังสือมากกว่ารูป มันสะดวกกว่าหนังสือมาก จะนั่งกินข้าวอ่านหนังสือไปด้วยสะดวก ไม่ต้องหาอะไรมาคอยทับหน้ากระดาษแบบหนังสือด้วย ปัญหาเดียวคือหนังสือภาษาไทยที่เป็น e-book จริงๆ ไม่ค่อยมี แต่ภาษาอังกฤษนี่เยอะมาก และ e-book นี่ไม่ใช่หนังสือกระดาษที่เอามาแปลงเป็น pdf นะครับ จะแตกต่างกันมากโดยเฉพาะการจัดหน้า


สามเดือนก่อนซื้อ tablet ราคาถูกขนาดจอ 10 นิ้วแต่แบตอึดมาใช้ คราวนี้ pdf เก่าที่สะสมไว้ที่ตัวอักษรเคยเล็กบนจอ 7 นิ้ว ตอนนี้มันใหญ่พอให้อ่านสะดวกแล้วบนจอ 10 นิ้วที่แม้ขนาดอุปกรณ์มันจะใหญ่ไปบ้างแต่กลายเป็นว่าตอนนี้ผมไปไหนโดยไม่มี tablet ไม่ได้แล้ว การอ่านหนังสือส่วนใหญ่ 90% ตอนนี้เป็นการอ่านบน tablet  ตอนนี้ทั้งหนังสือกระดาษหรือคอมพิวเตอร์ notebook ที่เคยเป็นอุปกรณ์หลักหมดความสำคัญไป ผมมีหนังสือเป็นร้อยเล่มอยู่บนอุปกรณ์อันเดียว แถมเวลาเบื่อจากการอ่านก็เปลี่ยนไปเล่นเน็ตดูหนังฟังเพลงได้อีก


ยุคสมัยใหม่ที่หนังสือกระดาษจะหายไปจะมาเร็วกว่าที่คิดมากๆ ครับ น่าจะเป็นในชั่วชีวิตพวกเราทั้งเด็กและเด็กน้อยหน่อยแล้วนี่แหละที่ได้เห็น หนังสือกระดาษยังไม่หมดไปทันที แต่สุดท้ายจะหายไปในที่สุดแน่นอน ส่วนสำนักพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ นิยายต่างๆ ยังคงอยู่ นักอ่านยังคงเป็นนักอ่าน แต่ทุกอย่างจะไม่อยู่บนกระดาษแล้ว


การจากไปของสกุลไทยป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะเป็นการจากไปในช่วงรอยต่อ จากไปก่อนยุคของนิตยสารแบบอิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาครองโลกของการอ่านอย่างเต็มรูปแบบ แต่จากไปเพราะผลกระทบของมัน
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 08:57

ความเห็นของคุณประกอบ ทำให้ดิฉันเกิดความคิดใหม่  ว่า...
ถ้าสกุลไทยไม่ไปผูกพันอยู่กับแผ่นกระดาษ     สกุลไทยก็จะไม่มาถึงตอนจบค่ะ
ความเป็นสกุลไทยมีได้อีกหลายแบบ   เมื่อกระแสโลกหนังสือเปลี่ยนแปลง ก็ปรับตัวให้เข้ากับมัน   สกุลไทยก็จะอยู่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 10:28

อันนี้ซีเรียสนะครับ

ถ้าดร.ประกอบเขียนแนวนี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมาก คุ้มค่ากับเวลาที่มานั่งเสียไปกับการ "เล่น" อินเทอเน็ต (ของทั้งสองฝ่าย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 14:13

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2559 00:00:16 น.
ถนอมจิต คงจิตต์งาม
thanomjitk9@gmail.com

ดิฉันเป็นสมาชิกนิตยสารสกุลไทย เป็นโดยผ่านร้านซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ เจ้าประจำข้างบ้าน

ทุกเย็นวันจันทร์หรือเช้าวันอังคาร พี่โกวิท เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตจะต้องประคับประคองถือสกุลไทยไว้อย่างดี เพราะกลัวยับย่นยู่ยี่ มากดออดเรียกแล้วบรรจงเสียบไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน โดยคำนวณเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศประกอบ เพื่อไม่ให้หนังสือถูกฝนเปียกปอนเสียหาย



ดิฉันเองอาจจะไม่ได้มีเวลาอ่านทุกอย่างภายในหนังสือเล่มนี้ แต่เมื่อรับมาปุ๊บจะพลิกดูโดยพลัน และหนึ่งในคอลัมน์ที่เปิดก่อนเลยคือ บทสัมภาษณ์พิเศษที่เขียนโดย "เมล็ดข้าว" เพื่อนรุ่นพี่ที่รู้จักกันมานาน ไม่ค่อยได้ติดต่อกัน แต่อาศัยคอลัมน์นี้เองที่ช่วยเป็นสะพานการสื่อสารเพื่อบอกให้รู้ว่า ตอนนี้พี่เขาทำอะไร ไปที่ไหน และยังสุขสบายดีอยู่หรือเปล่า

ถัดมาก็พินิจพิจารณาเรื่องของปก สกุลไทยนำภาพคนมาขึ้นปก แต่ถ้าเป็นช่วงวาระสำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็เป็นรูปของพระองค์ท่าน ดิฉันเคยทึ่งว่าตลอดเวลา 61 ปีที่ผ่านมา ทำไมนิตยสารฉบับนี้จึงสามารถสร้างความแตกต่างได้ภายใต้โจทย์เดียว วันสำคัญมีเป็นประจำทุกปี แต่สิ่งที่นำมาเป็นรูปปกก็แตกต่างไปได้ทุกปีเช่นกัน

จากนั้นต้องพลิกไปอ่านก่อนเลย คือนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน ศิลปินแห่งชาติและนักเขียนในดวงใจ ที่มีทั้งวิธีคิด คติสอนใจ ซุกซ่อนไว้ในกลวิธีดำเนินเรื่อง ผ่านชีวิตคน ทุกเรื่องวางอยู่บนสัจธรรมพื้นฐานของกฎธรรมชาติที่อยู่เบื้องหลังการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน

ถัดมาขาดไม่ได้เลย คือ "ตอบปัญหาคาใจ" ของ "น้ำผึ้งป่า" ซึ่งส่วนใหญ่ที่ให้คำตอบกับผู้เขียนมาถามได้อย่างเหลือเชื่อ ภายใต้ความรอบรู้เข้าอกเข้าใจในความเป็นมนุษย์ผสมผสานกับการนำหลักวิชาโหราศาสตร์ว่าด้วยดวงดาวมาช่วยอธิบายเป็นแนวทางของคำตอบ

ดิฉันเคยลองอ่านเรื่องที่ผู้อ่านถามมา แล้วทำตัวเป็นคนตอบ จากนั้นค่อยไปอ่าน "น้ำผึ้งป่า" ว่าให้แนวทางกับคนอ่านอย่างไร ปรากฏว่าความคิดของเรานั้นเต็มไปด้วยอารมณ์  ขณะที่ "น้ำผึ้งป่า" คลี่คลายปัญหาให้ผู้อ่านด้วยหลักของเหตุผลและหลักธรรม

ต้องบอกว่าคอลัมน์ต่างๆ ในสกุลไทยช่วยทำให้เราหูตากว้างไกล กลายเป็นคนทันสมัย เพราะมีตั้งแต่ภาพและข่าวสังคมความเคลื่อนไหว มีบทสัมภาษณ์ทั้งผู้ที่มากประสบการณ์และคนหนุ่มสาวผู้เปรียบเสมือนดาวพราวแสงที่กำลังเติบโต, มีแฟชั่น ความงาม บันเทิง, บทกวี มองภาษา, คอลัมน์เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน, สารคดี บทความ การให้โอกาสนักเขียนหน้าใหม่ในคอลัมน์สนทนาประสาเรื่องสั้น

ที่ดิฉันต้องอ่านอีก 2-3 คอลัมน์ คือ "ตะวันชายบ่ายคล้อย" ของครูแอ๋ว     อรชุมา และ "เศรษฐศาสตร์ชาวเมือง"ของ "นวพร เรืองสกุล" "สำรับโลก" ของวราภรณ์ สามโกเศศ ส่วนนวนิยายไม่ต้องพูดถึง สัปดาห์หนึ่งทยอยอ่านเกือบครบ ไม่ว่าจะเป็นงานของ ว.วินิจฉัยกุล, ม.มธุการี, โสภาค สุวรรณ และอีกหลายท่าน

ปกติเวลาอ่านเสร็จแล้ว ดิฉันจะส่งหนังสือไปบริจาคตามโรงพยาบาล ให้คนไข้เอาไว้ใช้อ่านระหว่างรอ เพราะรู้สึกว่าอยากส่งสารที่เป็นสาระและดีไปให้ผู้อ่านอื่นๆ พอรู้แบบนี้ปุ๊บเป็นอันต้องเก็บที่เหลือไว้ทั้งหมด

เพราะโดยส่วนตัวนั้น สำหรับดิฉันวนเวียนอยู่กับการทำงานเขียน นิตยสารสกุลไทย ไม่ได้เป็นแค่หนังสือสำหรับมีไว้ให้อ่านแก้เหงาเท่านั้น หากแต่เป็นตำราเล่มใหญ่ที่ดิฉันมีไว้หาคำตอบในการเขียนหนังสือด้วย ติดขัดเรื่องใด ข้องขัดเรื่องไหน ก็ไปรื้อ ไปค้น สักพักก็ได้คำตอบ ได้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการทำงานด้านภาษา

นิตยสารเล่มนี้จึงมีคุณค่าทางใจ เพราะเป็นหนังสือในอุดมคติ มีเรื่องราวของความจริง ความดีและความงามอยู่ภายใน มีความทันสมัยที่หยิบฉวยมาปฏิบัติได้ เป็นบรรทัดฐานของการใช้ภาษาไทย อ่านครั้งใดก็อิ่มเอมใจ ติดขัดเรื่องใดก็ศึกษาหาความรู้ได้

ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวง เลยทำให้รู้สึกวิเวก โหวงเหวง เมื่อทราบว่านิตยสารสกุลไทยจะต้องปิดตัวลงไป ไม่มาทักทายกันเหมือนที่ผ่านมา แต่ครั้นพินิจพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ก็ต้องยอมรับความจริงและทำใจ

ทุกอย่างเป็นไปตามกติกาสากลของธรรมชาติ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามกาลเวลา
ส่วนที่เป็นกายภาพ เป็นสังขารนั้น เป็นธรรมดาที่ย่อมเปลี่ยนแปลงและแตกดับได้
แต่สิ่งที่คงอยู่ตลอดไปคือ คุณค่าที่มีต่อชีวิตและจิตใจของผู้คน
ดิฉันสั่งพี่โกวิทไว้แล้วว่า ช่วยเก็บฉบับสุดท้ายไว้ 5 เล่ม อยากได้ไว้เป็นที่ระลึกและเก็บไว้เป็นของขวัญสำหรับคนที่คู่ควร

ส่งไลน์ไปไม่กี่นาที พี่โกวิทตอบทันใจ อาจไม่ได้ตามที่สั่ง เพราะใครๆ ก็สั่งแบบเดียวกัน

ดิฉันเลยคิดว่า ไม่เป็นไร เพราะสิ่งที่ได้รับมาแล้วจากนิตยสารสกุลไทยตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น เป็นคลังขุมทรัพย์ทางความรู้ ที่นำมากิน มาใช้มากเท่าไรก็ไม่มีวันหมดอยู่แล้ว


 : http://www.ryt9.com/s/tpd/2511732
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 14:17

ฮิฮิ นานๆ ค่อยมีสาระที  อายจัง  ยิ้มกว้างๆ


เนื่องจากช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อ สิ่งเก่าคือหนังสือกระดาษกำลังหมดไป สิ่งใหม่คือนิตยสาร online ยังมีอุปสรรคและความท้าทายรออยู่อีกเยอะ ดังนั้นน่าเศร้าที่สกุลไทยแบบปัจจุบันต้องจบลงโดยยังไม่ทันได้เป็นนิตยสาร online เต็มรูปแบบ


อุปสรรคหนึ่งของหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์คือเนื้อหามันถูกทำสำเนาหรือ copy แจกจ่ายกันง่ายมาก ดังนั้นรูปแบบการขายจะไม่เหมือนหนังสือซะทีเดียว การขายสมาชิกที่อนุญาตให้เฉพาะคนที่จ่ายเงินอ่านได้อาจจะไม่เหมาะ เพราะถ้ามีคนจ่ายคนเดียวก็อาจจะ copy ไปจ่ายแจกได้ อีกปัญหาหนึ่งคือระบบการจ่ายเงิน โดยเฉพาะในบ้านเรายังไม่สะดวก เช่นการตัดบัตรเครดิตหรืออื่นๆ นี่เป็นอุปสรรคอยู่และบ้านเราก็ปรับตัวกับเรื่องนี้ช้ามากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ พวกนี้จะทำให้จำนวนคนบอกรับเป็นสมาชิกจะน้อย


ดังนั้นรายได้หลักของนิตยสาร online ตอนนี้ที่มองเห็นจะมาจากค่าโฆษณามากกว่าและ เพราะการเข้าถึงที่สะดวกของคนอ่านถ้าเนื้อหาน่าสนใจปริมาณคนอ่านจะเยอะกว่าแบบหนังสือมากๆ  ถ้าไปดูในเว็บของสกุลไทยที่น่าจะเป็นช่องทางหารายได้ได้มากจะไม่เห็นโฆษณาข้างนอกเลย กลายเป็นเว็บที่เป็นช่องทางขายหนังสือนิยายกระดาษแบบ online มากกว่า แถมเนื้อหาที่น่าสนใจที่อ่านได้ก็ไม่มีโฆษณาเลย พื้นที่ว่างเหลือเยอะมาก ทำให้ช่องทางหารายได้หายไปอย่างน่าเสียดายทั้งที่ปริมาณคนอ่านน่าจะเยอะ นี่เป็นการปรับตัวไม่ทันที่มีผลเสียหายต่อสกุลไทยมากทั้งๆ ที่สกุลไทยมีศักยภาพที่ทำได้  หลายๆ เว็บที่หารายได้จากค่าโฆษณาอย่างเดียวแล้วเติบโตได้ก็มี ตัวอย่างเช่นเว็บ Pantip หรือ Dek-dee ที่โฆษณาไม่ได้ทำให้ดูรกแต่ค่อนข้างกลมกลืน เว็บพวกนี้รายได้ไม่น้อยสามารถเอาตัวรอดทางธุรกิจได้ แม้แต่เรือนไทยของเราถ้าจะมี sponsor บ้างผมก็ไม่รังเกียจเลย


อีกเรื่องคือหนังสือที่สกุลไทยขายบนเว็บยังเป็นหนังสือกระดาษ ซึ่งพวกนี้มีต้นทุนทั้งค่าพิมพ์ ค่ากระดาษ ต้อง stock ของอีก กำไรต่อเล่มไม่มาก หนังสือจำนวนมากพวกนี้ไม่ได้ทำเป็นแบบ e-book ขายเลยทั้งที่ทำได้ไม่ยาก ถ้าขายเองลำบาก สามารถฝากขายผ่านเว็บใหญ่ๆ เช่น Amazon ได้  ไม่ต้องกลัวถูกอ่านฟรีๆ เพราะพวก Amazon เค้าป้องกันการอ่านฟรีได้ดีพอสมควร ไม่ต้อง stock ของ จะมากจะน้อยเล่นต้นทุนเท่ากัน แถมขายได้ทั่วโลกตลอดเวลา คนไทยในต่างแดนจำนวนมากเป็นแสนคนต้องการอ่านนิยายแต่หาซื้อไม่ได้ หรือซื้อได้ก็ราคาแพงเกินไป ตอนผมอยู่ ตปท อยากอ่านหนังสือมากมายแต่ซื้อไม่ได้ สู้ค่าส่งไม่ไหว การขายแบบ online จะทำให้ต้นทุนต่อเล่มลดลงมากๆ แถมขายได้ตลอดเวลาไม่มีพรมแดน  แถมถ้าหนังสือ e-book มีมากๆ เข้าถึงสะดวกจะเป็นการบังคับคนอ่านให้หันมาปรับตัวกับหนังสือลิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นด้วย จำนวนคนใช้ก็จะมากตามไปอีก


เดิมผมเป็นพวกไม่อ่านนิยาย โดยเฉพาะนิยายไทย แต่หลังเป็นสมาชิกเรือนไทยแล้วกลับมาไทยค่อยมาเริ่มอ่าน ช่วงนี้อ่านงานเรื่องผีๆ แบบติดหนึบ แต่เงินรายได้ขับ taxi มันน้อย ผมซื้ออ่านเล่มละ 3-4 ร้อยมากๆ ก็ไม่ไหว งานหนังสืองวดที่แล้วโชคร้ายไม่เจอท่านอาจารย์ใหญ่และใหญ่กว่า เตารีดคันไถที่พกไปไม่ได้ใช้งาน แค่นิยายของ "แก้วเก้า" นี่เผลอแป๊บเดียวแบงค์พันหายไปสองสามใบ ถ้าเป็นแบบ e-book ที่ราคาถูกลง อาจจะแค่ 25% แปลว่าผมจะซื้อหนังสือได้มากขึ้นอีก 25% ด้วยกับจำนวนเงินเท่ากัน แต่จริงๆ ต้นทุนกระดาษโกดังไม่มี อาจจะลดราคาไปได้มากกว่านั้นโดยที่ทุกๆ ฝ่ายยังมีรายได้เท่าเดิมก็ได้ นี่ต้องฝากท่านอาจารย์ใหญ่ไปบอก "แก้วเก้า" ด้วยครับ อย่างตอนนี้ที่ผมมี 3-4 เรื่องแบบ pdf เป็นของละเมิดลิขสิทธิ์หมดเลย ไม่ใช่อยากละเมิด แต่หาแบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ถูกกฏหมายไม่ได้เลย ทั้งที่มันอ่านบน tablet สะดวกมาก ผมไม่สนใจว่าปกต้องสวย สนใจแต่เรื่องที่สนุก ผมเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนไปรอของใหม่แล้ว แต่ของใหม่ยังมาไม่ทันผม



ช่วงเวลาที่สกุลไทยเหลือเวลาอยู่อีกไม่มาก แต่ยังมีเนื้อหาต่อเนื่องที่ยังไม่จบ แฟนยังมีมากมาย แทนที่จะปิดตัวลง ทีมงานแยกย้าย สกุลไทยอาจจะลองกัดฟันเปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจหันมาเป็นนิตยสาร online ที่หารายได้จากการโฆษณาหรือแบบอื่นๆ ซักระยะหนึ่งดูผมเชื่อว่าน่าจะไปต่อได้ ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วแม้แฟนๆ รุ่นเก่ามากๆ บางส่วนอาจจะปรับตามไม่ทัน แต่ก็มีโอกาสที่จะได้แฟนรุ่นใหม่เพิ่ม เพราะถ้าพูดถึงเนื้อหาแล้วสกุลไทยไม่แพ้ใคร นิยายแต่ละเรื่องระดับปรมาจารย์เขียนทั้งนั้น เพียงแต่รูปแบบทางธุรกิจปัจจุบันมันปรับตัวไม่ทัน ที่จริงคนที่พร้อมจะสนับสนุน ที่ผูกพันกับสกุลไทย ทั้งคนอ่านและ sponsor ที่พร้อมลงโฆษณาแบบ online ผมเชื่อว่ายังมีอยู่เยอะมากๆ แทนที่จะเป็นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็กลายเป็น เกิดขึ้น คงอยู่ ต่อไป(แต่เปลี่ยนรูปแบบ)
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 14:44

ดิฉันขออนุญาตนำข้อเขียนของคุณประกอบ ส่งให้ผู้บริหารสกุลไทยนะคะ

หลังจากหดหู่มาพักหนึ่งกับการจากไปของสกุลไทย   ดิฉันก็นึกขึ้นมาได้ว่า สกุลไทยไม่ได้มีความหมายแค่สิ่งพิมพ์    แต่สกุลไทยหมายถึงความรู้ และความบันเทิงที่ยังมีเสน่ห์อยู่ในตัวครบถ้วน
ถ้าเปลี่ยนจากพิมพ์บนกระดาษเป็นเผยแพร่ในรูปอื่น     สกุลไทยก็ยังเป็นสกุลไทยอยู่ดี 
ขึ้นกับว่าผู้บริหารจะหาทางออกยังไงเท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 15:00

ยินดีมากๆ เลยครับ ผมอยากให้ผู้บริหารสกุลไทยลองสู้ดูวิธีใหม่ ผมเป็นแฟนคอลัมภ์ในสกุลไทยหลายคอลัมภ์มาก  ในระยะแรกอาจจะต้องสอนหรือแนะนำแฟนรุ่นเก่าทีไม่ทันเทคโนโลยีนิดนึง แต่ชื่อสกุลไทยมันผูกพันกับผู้อ่านมากเกินกว่าจะให้จบไปง่ายๆ ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 16:22

ต้องเสริมอีกนิดหน่อยเผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ


รูปแบบธุรกิจของหนังสือแบบดิจิตอลจะแตกต่างกับนิตยสารแบบดิจิตอลมาก และเมื่อเปลี่ยนการขายหนังสือเข้าสู่ความเป็นดิจิตอลมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประพันธ์มากกว่าต่อสำนักพิมพ์เช่นสกุลไทย ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้แต่งมีนิยายดีๆ ซักเรื่องต้องการขายเป็น e-book ผู้แต่งสามารถแปลงเป็น e-book เองได้อย่างง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก แล้วส่งไปขายบน Amazon ได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งตัวแทนจำหน่ายใดๆ อีก  Amazon ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายให้เอง ดังนั้นบทบาทเดิมของสกุลไทยในฐานะผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือนิยายอาจจะต้องเปลี่ยนไป ต่อไปอาจต้องมีการตกลงเรื่องลิขสิทธิ์หรือสิทธิในการจำหน่ายหนังสือแบบ e-book จากนิยายที่ตีพิมพ์ในนิตยสารก่อนที่อาจจะไม่เหมือนเดิมสมัยเป็นกระดาษ ดังนั้นสมมุติถ้าสกุลไทยจะเปลี่ยน บทบาทตรงนี้ก็จะเปลี่ยนเช่นกัน


e-book ที่ขายบน Amazon ส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ยที่ประมาณ  $2.99 หรือแค่ประมาณร้อยบาทเท่านั้น จำนวนมากราคาแค่ $0.99 เท่านั้น  Amazon จะหักหัวคิว 30% ที่เหลือเป็นของคนแต่ง  ถ้าราคายิ่งแพงค่าหัวคิวจะยิ่งมาก และยิ่งถ้าแพง ถ้าไม่ใช่หนังสือดังหรือคนแต่งมีชื่อเสียงอาจจะขายได้ยาก อาจต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ในการโปรโมทและการขาย แต่นั่นคือหนังสือภาษาอังกฤษ ปัจจุบันหนังสือภาษาไทยผมไม่เคยเจอ ไม่รู้ราคาเฉลี่ยเท่าไหร่ คนไทยขายหนังสือบน Amazon มีน้อยมากๆ ก็ไม่รู้นักเขียนใหญ่ท่านใดจะเริ่มก่อน


ข้อเสียของ Amazon คือค่าหัวคิว ถ้าจะขายเองโดยตรงก็ไม่ต้องเสียหัวคิว แต่ต้องระวังเรื่องการ copy e-book  ซึ่งถ้าผ่าน Amazon หนังสือแต่ละเล่มจะผูกติดกับบัญชี Amazon ของผู้ซื้อคนนั้นซึ่งขั้นตอนการ copy e-book ออกไปให้คนอื่นอาจยุ่งยาก ทำให้ซื้อเลยง่ายกว่าเพราะราคาไม่แพง แต่ Amazon ยืดหยุ่นให้แบ่งปันหนังสือในบัญชีของเรากับคนในครอบครัวได้ด้วยทำให้ไม่ต่างกับการซื้อหนังสือเข้าบ้านที่ทุกคนในบ้านอ่านได้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 16:25

ขอไปเผยแพร่ในเฟซนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 18:13

สมกับวิทยฐานะจริงๆ

น่าคิดมากครับ ทำอย่างไรมนุษยชาติจะปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคดิจิตอลได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 19:08

ถ้าผู้แต่งมีนิยายดีๆ ซักเรื่องต้องการขายเป็น e-book ผู้แต่งสามารถแปลงเป็น e-book เองได้อย่างง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก แล้วส่งไปขายบน Amazon ได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งตัวแทนจำหน่ายใดๆ อีก  Amazon ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายให้เอง

e-book ที่ขายบน Amazon ส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ยที่ประมาณ  $2.99 หรือแค่ประมาณร้อยบาทเท่านั้น จำนวนมากราคาแค่ $0.99 เท่านั้น  Amazon จะหักหัวคิว 30% ที่เหลือเป็นของคนแต่ง  ถ้าราคายิ่งแพงค่าหัวคิวจะยิ่งมาก และยิ่งถ้าแพง ถ้าไม่ใช่หนังสือดังหรือคนแต่งมีชื่อเสียงอาจจะขายได้ยาก อาจต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ในการโปรโมทและการขาย แต่นั่นคือหนังสือภาษาอังกฤษ ปัจจุบันหนังสือภาษาไทยผมไม่เคยเจอ ไม่รู้ราคาเฉลี่ยเท่าไหร่ คนไทยขายหนังสือบน Amazon มีน้อยมากๆ ก็ไม่รู้นักเขียนใหญ่ท่านใดจะเริ่มก่อน

อ่านในบทความเรื่อง ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการเอาหนังสือไปขายที่ Amazon เขาบอกว่า Amazon ไม่รองรับภาษาไทย หากทำหนังสือไปขายที่ Amason ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ (หรือภาษาที่ Amazon รองรับ) ก่อน จริงหรือเปล่าท่านดอกเตอร์
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 ก.ย. 16, 20:50

ฮิฮิ ผมอ่านแต่ e-book ภาษาอังกฤษ ยังคิดเลยทำไมไม่มีภาษาไทย ที่แท้ Amazon ยังไม่รองรับนี่เอง นี่จะเป็นอุปรรคกับนักเขียนไทยมากหน่อย แต่สำหรับนิตยสารอาจจะไม่ใช่ เพราะช่องทางหารายได้ต่างกัน

แต่แม้ Amazon ไม่รองรับ ปัจจุบันมีเว็บที่ขาย e-book ภาษาไทยหลายที่ เท่าที่ดู app ต่างๆยังข้อจำกัดยังมีในหลายๆ ส่วนเพราะระบบต้องป้องกันการ copy ต่อค่อนข้างมาก ความสะดวกเลยลดลง แต่ก็เป็นช่องทางขายงานของนักเขียนได้ไม่เลว แต่เท่าที่เห็น e-book ไทยจากนักเขียนที่ผมไม่รู้จักยังราคาค่อนข้างแพงอยู่ ไม่ค่อยดึงดูดให้ลองซื้อ

e-book เริ่มต้นเป็นจริงเป็นจังมายังไม่ถึง 10 ปี ในต่างประเทศผลกระทบค่อนข้างชัดเจนกว่าเมืองไทย คิดว่าต่อไปอีกไม่นานอุปสรรคเรื่องภาษาอาจจะลุล่วงไป  และเมื่อนั้นมันจะมา เพราะในมุมมองของนักคอมพิวเตอร์ที่ผมพอมีประสบการณ์บ้างนิดหน่อยเทคโนโลยีไม่ใช่ข้อจำกัดหลัก น่าจะเป็นเรื่องตลาดหรือการเมืองมากกว่า แต่ของพวกนี้พอมันมามันจะมาเร็วมากๆ มาแบบไม่รู้ตัวเลย ดูอย่าง facebook ก็ได้ ในเวลาไม่ถึง 10 ปีกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของคนจำนวนมากไปแล้ว ตอนนี้มือถือเองเริ่มจอใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบโจทย์การเป็นเครื่องมือในการเสพสื่อหลายรูปแบบ tablet ที่จอใหญ่กว่าก็เริ่มมา คนที่พกอุปกรณ์พวกนี้คนละอันหรือสองอันเป็นเรื่องปกติมากในปัจจุบัน

อีกปัญหาที่จะเป็นคู่แข่งนิตยสาร online หรือ e-book คือลักษณะนิสัยการอ่านของคนที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบพวก social network เช่น facebook ที่่ทำให้คนต้องการอ่านอะไรที่กระชับ สั้น แต่ up-to-date มากกว่าอะไรที่ช้าและยืดยาวกว่า พวกนี้มันกระทบสมาธิในการอ่านมากเพราะทำให้เราไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการทำอะไรสิ่งเดียวได้ คนจะสมาธิสั้นขึ้น จดจ่อกับอะไรนานๆ ไม่ได้ แต่ถ้าหนังสือมีเนื้อหาที่ชวนติดตามก็ยังสู้กับนิสัยการอ่านที่เปลี่ยนไปได้ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 ก.ย. 16, 07:43

ในอนาคตที่ยังพอเดาถูก ประมาณว่าสัก ๕ ปีที่จะถึงนี่ ผมยังไม่คิดว่า e-book จะเข้าถึงคนไทยทุกระดับได้เช่นเดียวกับหนังสือที่เป็นเล่ม เพราะปัญหาหลักคืออุปกรณ์ที่ใช้สื่อยังมีราคาสูงอยู่ แม้ว่าตามบ้านนอกจะมีมือถือในระบบ Android กันเป็นจำนวนมากแล้ว แต่ก็จะใช้เล่นไลน์กันมากกว่าที่จะใช้อ่านหนังสือประเภทเป็นเล่มๆ ส่วน tablet เห็นจะมีน้อยมาก พวกนี้พอเสียก็จบข่าว เพราะหาช่างซ่อมยาก จะซื้อใหม่ก็แพงเกิน

หนังสือที่เป็นเล่มกระดาษในห้องสมุด จะยังคงมีบทบาทไม่น้อยลงไปกว่าเดิม ยิ่งห้องสมุดประจำจังหวัดและอำเภอ ถือเป็นขุมทองของผู้กระหายการอ่านโดยแท้ แต่ที่ผมไม่ทราบก็คือ ปัจจุบันรัฐมีการส่งเสริมและจัดงบให้ห้องสมุดสาธารณะทั้งหลายซื้อหนังสือใหม่ๆแค่ไหน แต่คงไม่ได้แค่รอบริจาคหนังสือเก่าอย่างเดียว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง