เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35615 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 10:19


เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ
คนเสนอที่จะรื้อประวัติศาสตร์ใหม่คือคุณสมบัติไม่ใช่หรือครับ
ที่เติมคำว่า ถือ เข้าไปก็จากความเห็นที่คุณเขียนมาทั้งนั้น
ที่ผมแย้งไปเพราะว่าคุณสรุปไม่ตรงข้อเท็จจริง ด่วนสรุปแบบไม่สมเหตุผล

ผมจะเสนอข้อมูลแย้งก็ได้ครับแต่คงไม่ตอบตามที่คุณเคี่ยวเข็ญมา


จากส่วนไหนครับ
สรุปไม่ได้รับคำตอบ ขอถือเป็นคำกล่าวลอยๆไม่มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ขอบายครับ

ผมขอตั้งเป็นข้อสันนิษฐานว่า

คำว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” ที่ผมว่าไม่เป็นความจริงนั้น
แท้จริงแล้วได้ผิดเพี๊ยนมาจากความหมายของคำว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อถือ

ด้วยเหตุผลสนับสนุน 2 ข้อดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ครับ

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 18:56

นี่หรือคำถามครับ

นี่เอาความคิดเห็นที่ 122 ของผมมาอ้าง มาเกี่ยวพันกับคำที่คุณว่า ที่เติมคำว่า ถือ เข้าไปก็จากความเห็นที่คุณเขียนมาทั้งนั้น

ความคิดเห็นของผมเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2
ไม่เกี่ยวข้องกับช่วงก่อนปี 2427 (ต้นรัชกาล)
ผมได้อ้างคำว่าถือตรงส่วนไหนอีกไหม

ผู้ติดตามกรุณาอ่านความคิดเห็นที่ 122 และ 123

เมื่อก่อนก็ได้เคยคิดอยู่ ว่าถ้าหากมีผู้แย้งมา จะแย้งว่าอย่างไรได้บ้าง

หมดคำถามแล้วหรือยังครับ เอาสิ่งที่คุณมั่นใจหรือยืนยันไปแล้วมาถามผมก็ได้
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 19:54


โปรดอ่าน 179 ก่อน
อย่าเพิ่งวู่วาม
แล้วเชิญคุณว่าไปตามสะดวกเลย
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 20:40

ก็ไม่เห็นมีอะไร ถ้าได้อ่านความคิดเห็นของผมที่ 125 และ 126 แล้ว
คุณคงหมดคำถามแล้ว นั้นผมขอถามบ้างนะ ว่าที่คุณเข้าใจน่ะ เพราะอะไรเจ้าหมื่นไวยวรนารถถึงได้ขายที่ดิน 180 ชั่งเพื่อซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามที่คุณลงในความคิดเห็นที่ 179
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 08:16

 ฮืม

แสดงว่าคุณสมบัติ สุขุมาลย์ไม่ได้อ่าน 178   มีคำถามอยู่ในนั้น
ไม่เป็นไรครับ ผมเดาว่าคุณยังอยู่ในวัยทำงาน ยังมีพลังที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ดีได้ต่อไป

เรื่องถามไป ถามมา แล้วถ้าผมตอบเหมือนกันคือ
1. ไม่ทราบ 2. นี่หรือคำถาม 3. ไม่เห็นจะมีอะไร
ก็คงจะไม่ไปไหนอย่างคุณว่า เสียเวลาผู้อ่านท่านอื่น (ถ้ายังมี)
ไป ๆ มา ๆ เดี๋ยวมันจะกลายเป็นทะเลาะกันให้คนอื่นเขาอ่านซะเปล่าๆ

ถ้าจะรับฟัง feedback จากผู้อ่านให้มากขึ้นจะเป็นการดี
เช่น ที่คุณ CrazyHorse บอกว่าไฟฟ้าไทยมีมาแต่สมัยฝรั่งส่งอุปกรณ์มาให้เจ้าฟ้าน้อยแล้ว
       ท่าน Navarat.C บอกว่า ไฟฟ้าหลังคาตัด เป็นสร้อยคำ
เหล่านี้เป็นประเด็นที่ถ้าคุณจะพิจารณาต่อจะได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น หนังสือจะได้มีคุณภาพมากขึ้น

ในส่วนที่ผมแย้งว่าอย่าด่วนสรุปว่า ประวัติการไฟฟ้า หรือ ประวัติธุรกิจการไฟฟ้า ที่เขาเผยแพร่นั้นผิด
เพราะเขามีบริบทที่ต่างออกไป เขียนเฉพาะประวัติความเป็นมาขององค์กรของเขา
ถ้าคุณสมบัติ สุขุมาลย์ ต้องการจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไข ประวัติองค์กรนั้นๆ ก็ติดต่อผู้ว่าการโดยตรงเลย
ซึ่งผมเชื่อว่าก็จะมีข้อขัดแย้งเหมือนกัน เพราะเขาให้ความสำคัญเหตุการณ์จุดหลอดไส้ส่องสว่างแบบ incandescent ในปี 2427 เป็นหลัก

อย่าหาว่าผมว่าหรือตำหนิก็แล้วกันนะครับ แค่ให้คำแนะนำตามประสาผู้อ่านที่ขี้เกียจหาข้อมูล

ถ้าคุณสมบัติ อยากให้หนังสือประวัติไฟฟ้าไทยที่วางขายเผยแพร่ในวงกว้าง ก็สามารถทำได้
โดยไม่ต้องไปติเตียนเรื่องประวัติการไฟฟ้าไทยขององค์กรอื่นเขาเพราะมีจุดประสงค์ต่างกัน เขาไม่พูดถึง arc lamp ที่มีมาก่อนด้วยซ้ำ
จุดเริ่มต้นของธุรกิจการไฟฟ้าไทยตามที่เขาว่า คือการมุ่งให้บริการไฟฟ้าแสงสว่างแก่ภาคครัวเรือนโดยหลอดไฟฟ้า incandescent ที่เป็นของใหม่
(ส่วนทำไปแล้วเจ๊ง เขายกเอาไว้ไม่กล่าวเน้นย้ำ)

ไหนๆ ได้ใช้เวลามาเสวนากันแล้ว ผมยก 101 ที่คุณสมบัติ สุขุมาลย์เขียน ประเด็นปัญหามันอยู่ในนั้น

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมในความคิดเห็นที่ 94
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงแรกเริ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาเปรียบเทียบกับเนื้อหาประวัติไฟฟ้าไทยที่มีการเผยแพร่อยู่ก่อนแล้วในคำที่ว่า
                                 1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ
                                 2. หลอดไฟฟ้าสว่างไสวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427

เป็นการที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 (ก่อนวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ไม่ถึง 2 เดือน) มีความตอนหนึ่งว่า
 
          เมื่อเดิมข้าพระพุทธเจ้าได้ขอพระบรมราชาณุยาท ที่จะคิดทำเครื่องไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงทหาร แลโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นปจักษศิลปาคมกะดวงไฟที่จะใช้ในที่ต่างๆ แลจะจัดใช้เครื่องสติมสำหรับหุงต้มเลี้ยงทหารแลการอีกหลายอย่าง
ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุยาทแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งบาญชีของที่จะต้องการต่างๆ ออกไปให้
พระวงษเธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ให้สืบราคา ได้ทำเอศติเมศส่งเข้ามายังข้าพระพุทธเจ้าฯ ได้ตรวจดู เหนเปนเงินนั้นมาก
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลปฤกษากับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทววงษวโรประการให้ทรงทราบ ท่านรับสั่งว่าเงินแผ่นดินยังหามีจะภอจ่ายไม่
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะจัดการไปก่อน ภอจะไม่ให้เสียการ แลจะไม่ให้เสียพระราชทรัพย์ของแผ่นดินมาก แต่การไฟที่จะใช้ในโรงทหารใหญ่นั้น
ข้าพระพุทธเจ้ายังมีความวิตกเปนล้นเกล้าฯ ด้วยจะต้องใช้ไฟหลายร้อยดวงไฟ ไฟที่กะไว้นั้นภอสว่างภอที่จะเดิรไปมาไม่โดนของที่ตั้งอยู่เท่านั้น
แต่ไฟเวลานี้ก็ต้องใช้น้ำมันปิดเตลียม เพราะเปนน้ำมันถูกกว่าน้ำมันไฟอื่นๆ แต่โสหุ้ยต้องเสียมาก คือต้องซื้อโคมในคราวแรก
ค่าไส้ตะเกียงที่ต้องใช่อยู่เสมอ ๑ ค่าโคมชำรุธ ๑ ค่าน้ำมัน ๑ แล้วโคมที่ใช้น้ำมันตั้งร้อยดวงดังนี้แล้ว ก็คงจะมีเอกซิเดนบ้างเปนแน่
ท่าน้ำมันตกติดไฟขึ้นก็เปนที่น่ากลัวมาก บางทีจะเปนอันตรายใหญ่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ ดังนี้จึงได้มีความวิตกเปนล้นเกล้าฯ
ไม่ทราบเกล้าฯ ว่าจะผ่อนผันใช้ไฟอย่างไรให้เปนที่ไว้ใจได้....
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 นก/36 หน้า 918-919)


พอดีว่าผมมีปัญหาอินเตอร์เน็ตตอนนี้หาข้อมูลไม่สะดวก
คุณสมบัติ สุขุมาลย์พอจะมี หนังสือทูลเกล้าฯ (จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 นก/36 หน้า 918-919)
ฉบับเต็ม ๆ ลงให้ได้ไหมครับ จะได้แน่ใจว่าไม่ตกใจความสำคัญไป
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 08:59

ก็ไม่เห็นมีอะไร ถ้าได้อ่านความคิดเห็นของผมที่ 125 และ 126 แล้ว
คุณคงหมดคำถามแล้ว นั้นผมขอถามบ้างนะ ว่าที่คุณเข้าใจน่ะ เพราะอะไรเจ้าหมื่นไวยวรนารถถึงได้ขายที่ดิน 180 ชั่งเพื่อซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามที่คุณลงในความคิดเห็นที่ 179

ผมเข้าใจว่าคุณไม่กล้าตอบหรอก เพราะความจริงจะปรากฎว่าคุณมโนถากถางไปเรื่อย

ผมยอมสละเวลานานมากเพื่อหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาเผยแพร่ให้ทราบกัน ในหลายๆ ทาง
ด้วยที่เรียนมาทางวิศวกรรมไฟฟ้า ได้ถูกตีพิมพ์ผลงานวิจัยในนิตยสารไฟฟ้า-อุตสากรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ คอลัมส์สมองกลคนไทย
แหล่งอ้างอิงของผมต้องเชื่อถือพิสูจน์ได้ ทำได้แค่นั้นซึ่งดีที่สุด
อยู่กับนโม ไม่ใช่มโน

คุณอ้างอินเตอร์เน็ตมีปัญหา มีให้หาหรือครับข้อมูลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่กล่าวถึง ในอินเตอร์เน็ต

เข้าใจว่าหลายท่านรอฟังคำตอบนี้จากคุณอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน นักศึกษา (อย่าโยนไปโน่นมานี่ ช่วยดึงมาตอบให้ด้วยครับ)

ส่วนข้อมูลที่คุณขอ จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 นก/36 หน้า 918-919 ไม่ขัดข้องครับ น่าจะช่วงเวลาเย็นนี้นะครับ
ที่ผมอ้างถึงมาทั้งหมด ขอได้ทั้งหมดครับ
อะไรต่างๆ ที่ผมค้นคว้ามา หรือมีผลงานอะไร ใครจะเอาไปทำอะไรในเชิงพาณิชย์ เชิญตามสบายเลยครับ ผมอนุญาตไม่ถือเป็นลิขสิทธิ์ บางอย่างต้องปรึกษาขออนุญาตหอจดหมายเหตุแห่งชาติก่อน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 13:05

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสิงคโปร์ของรัชกาลที่ 5 เมื่อต้นรัชกาลในปี 2419 นั้น วันหนึ่งเสด็จทอดพระเนตรโรงยิมนีเซียม วิลเลียมที่ 3 เพื่อทอดพระเนตรที่ทำแยกธาตุและไฟฟ้า
...
ตรงนี้คงประมาณวิชาเคมี ในการแสดงว่ามีอิเลคตรอน โปรตรอน แล้วกระมัง


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 14:38


ตอบคุณ siamese
   ที่ว่าแยกธาตุแลไฟฟ้า นั้นเป็นวิชาไฟฟ้าเคมี แยกสารละลายโดยไฟฟ้า พวกชุบโลหะเป็นต้น
   เวลานั้นคนยังไม่มีความรู้เจาะจงลงไปถึง อิเล็กตรอน และ โปรตอน

ตอบคุณ สมบัติ สุขุมาลย์
   ผมย้ายที่พิมพ์แล้วยังมีปัญหาอินเตอร์เน็ตเหมือนเดิม
   ขอบคุณมากที่ช่วยบอกให้ไม่ต้องไปหาทางอินเตอร์เน็ต และจะช่วยนำเอกสารนั้นมาลง

   ผมไม่ถือหรอกที่คุณบอกว่า ผมมโนเสียดสีไปเรื่อย ถ้าคิดอย่างนั้นก็ขอโทษด้วย
   คงต้องระมัดระวังเวลาสนทนากัน ไม่งั้นจะทำให้วงแตกซะก่อน
   
   คุณจบวิศวกรรมไฟฟ้าขอชื่นชม ยินดีด้วยที่คุณมีความสนใจสืบค้นประวัติศาสตร์ไฟฟ้าไทยมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน
   และผมคิดว่าเข้าใจสภาพแวดล้อมของคุณมากขึ้น ขอให้ผ่านอุปสรรคไปได้ด้วยดี   

   นานมาแล้วสัก สามสิบกว่าปีได้ ผมเคยเป็นลูกมือช่างไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักร
   นาน ๆ ที ก็ไปรับจ้างช่วยซ่อมอุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ในโรงงาน พอมีความรู้ไฟฟ้าอยู่บ้าง อ่านแบบติดตั้งพอออก
   ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว นานๆทีครูที่เขาจะทำอาจารย์สาม เอาผลงานมาปรึกษาบ้าง
   ถนัดเรื่องดูจุดบกพร่องของผลงานคนอื่น แต่ผลงานตนเองมองไม่ค่อยเห็นจุดบกพร่อง
   ข้อเสียของตนเองมักมองไม่เห็น อย่าถือสากัน 

   รอดูเอกสารฉบับจริง แล้วจะตอบคำถามเท่าที่ตอบได้ รับรองไม่ลอกการบ้าน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 16:49

ส่งไปโคราช


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 18:28

ขอบคุณครับคุณ Koration ผมก็ต้องขอโทษด้วยเหมือนกัน
ใช่ครับ ถ้าวงแตกก็ไม่เห็นมีใครได้ประโยชน์เลย

นี้เป็นหนังสือกราบบังคมทูลของเจ้าหมื่นไวยวรนารถถวายแด่รัชกาลที่ ๕ ระบุรับตรงกับวันจันทร์ ที่ 28 กรกฎาคม 2427
เพิ่มให้อีก 1 หน้าเป็น 3 หน้าแรกจากทั้งหมด 7 หน้า     4 หน้าหลังไม่เกี่ยวข้องเลย หากต้องการจะลงให้ภายหลังครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 09:53

ผมทิ้งๆขว้างๆไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ จนกระทั่งเมื่อสองสามวันที่แล้ว เห็นมีเรื่องถามตอบที่เกากันไม่ถูกที่คันค้างอยู่ จึงได้ย้อนกลับไปอ่านหลายเที่ยว รวมถึงได้ใช้อินทรเนตรค้นต่อในเว็บฝรั่งมังค่าด้วย
ในเบื้องต้น ผมพอจะสรุปความเข้าใจของผมเองได้สั้นๆดังนี้

๑ ใช่ครับ ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. ๒๔๒๗ หลายปี ทว่าทั้งหมดไม่ใช่ไฟฟ้ากระแสสลับ แต่เป็นไฟฟ้าสถิต(เมื่อทาวน์เซนด์ แฮรรีสนำอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบที่ใช้ในห้องแลบ มาถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯในปี ๒๓๙๙)  และไฟฟ้ากระแสตรงจ่ายจากแบตตารี่ โดยใช้หลอดไฟให้แสงสว่างแบบ arc lamp (ดังที่ติดตั้งที่หอธรรมสังเวช พระเจ้าอยู่หัวเคยทอดพระเนตรในปี ๒๔๒๓)

๒ ในช่วงก่อนนั้น พระเจ้าอยู่หัวคงจะเคยตรัสว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” ซึ่งผมตีความว่าทรงหมายถึง ไฟฟ้า และ หลังคาตัด(flat roof) ไม่ทรงเชื่อ(ว่าจะไม่มีปัญหา) ส่วนจะทรงตรัสเมื่อไหร่ ในบริบทใดไม่แจ้ง แต่คงมิได้ตรัสซ้ำซาก เพราะไฟฟ้ามีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในการแก้ปัญหาที่เคยเป็นอุปสรรค
ในปี ๒๔๒๓ ไฟฟ้าจากแบตตารีแม้จะให้ความสว่างได้เสถียรขึ้น แต่ยังมียุ่งยากในเรื่องของเครื่องปั่นไฟ และความทนทานของแบตตารี่เอง ทำให้การใช้ไฟฟ้าแสงสว่างจำกัดอยู่ในงานบางประเภทเท่านั้น

๓ การอ้างคำพูดคนโน้นคนนี้โดยผู้เขียนประวัติเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี โดยอ้างว่าได้ยินจากท่านเอง เชื่อถือไม่ได้ทุกเรื่อง เอาเป็นสาระมากไม่ได้ บางเรื่องถูกจับโกหกได้จะแจ้ง เช่นเรื่องที่อ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวจะส่งพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ ไปเรียนที่อังกฤษ โดยจะให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าภาณุรังสีไปเป็นพระพี่เลี้ยง เพื่อหวังว่าทั้งสองจะเป็นเสมือนควีนวิกทอเรียและปรินซ์อัลเบิร์ต เป็นต้น

๔ แต่เรื่องเจ้าหมื่นไวยวรนารทหรือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ลงทุนซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พร้อมอุปกรณ์การจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับจากอังกฤษพ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นเรื่องที่เชื่อถือได้ และถือว่าท่านเป็นบุคคลแรกที่ทำให้ไฟฟ้าได้เกิดประโยชน์ขึ้นจริงในประเทศนี้ และต่อมาทางราชการให้สัมประทานโรงไฟฟ้าแก่คนเดนมาร์กไปด้วยฝีมือการวิ่งเต้นของริชลิว ทำให้ไฟฟ้าได้ต่อยอดไปถึงประชาชนคนกรุงเทพเป็นวงกว้าง

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 10:23

ขยายความเข้าใจของผมเรื่องไฟฟ้าหลังคาตัดหน่อย

ผมเชื่อว่าหลังคาตัดเป็นสร้อยคำที่แถมเข้ามา แบบสำนวนไทยเจ้าบทเจ้ากลอนเช่น ผู้ชายพายเรือเชื่อไม่ได้ เป็นต้น ไม่ได้แปลว่าคนพายเรือที่เป็นเพศชายเชื่อไม่ได้ ต้องใช้คนพายที่เป็นผู้หญิงนะครับ
ถ้าผู้หญิงกล่าวว่า ผู้ชายพายเรือ ฉันไม่เชื่อ ต้องดูทั้งบริบทด้วยว่ากำลังพูดกำลังทำอะไรกัน เพราะสำนวนนี้มีความหมายว่าผู้ชายมักจะจีบผู้หญิงไปงั้นๆ ไม่ได้จริงจังอะไร

หลังคาตัดหรือหลังคาแบน เป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมของฝรั่ง เอามาสร้างในเมืองไทยที่ภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกทั้งปี วัสดุกันซึมสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีใช้ ก็แน่นอนว่าทั้งซึมทั้งรั่ว ปูนที่โบกปั้นไว้บนเพดาน สวยแป๊บเดียวก็ราชึ้น วันดีคืนร้ายก็ร่วงลงมา ใครอยู่ในห้องอาจซวย

ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ ก็หมายถึงไฟฟ้านั่นแหละ คุณภาพมันยังไม่ดีพอเพราะใช้แบตตารี เดี๋ยวสว่างพอดีไม่พอดี หรี่ๆดับๆ ปัญหาพอๆกับหลังคาตัด
ไม่ได้แปลว่า ที่เชื่อไม่ได้เพราะสายไฟต้องเดินไปบนเพดาน โคมไฟก็ต้องติดบนเพดาน หากอาคารเป็นหลังคาตัดพอเพดานชื้นสายไฟและอุปกรณ์ต่างๆเลยเสียเร็ว
นั่นก็จริงอยู่ แต่จริงน้อย แบตตารี่มันพังเสียก่อนละมากกว่า

ปัญหาเรื่องแบตตารีนี้ ใครที่ใช้ไฟฟ้าแสงสว่างจากโซลาเซลล์ คงเข้าใจได้โดยทันที ถึงสมัยนี้มันก็ยังเป็นปัญหาเดียวกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 10:55

จะเขียนประวัติการติดตั้งไฟฟ้าเมืองไทย ต้องดู timeline ของโลกด้วยครับ

1840 modern kerosene lamps (oil lamps that burn fuel from petroleum)
1841 Arc-lighting used as experimental public lighting in Paris
1853 Ignacy Lukasiewicz invents kerosene lamp glassblower
1854  ปี ๒๓๙๙ทาวน์เซนด์ แฮรรีส นำอุปกรณ์ไฟฟ้าสถิตย์แบบที่ใช้ในห้องแลบ มาถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
1856 Heinrich Geissler confines theelectric arc in a Geissler tube.
1867 A. E. Becquerel demonstrates the first fluorescent lamp.[4]
1874 Alexander Lodygin patents an Incandescent light bulb.
1875 Henry Woodward patents an electric light bulb.
1876 Pavel Yablochkov invents the Yablochkov candle, the first practical carbon arc lamp, for public street lighting in Paris.
1879 Thomas Edison and Joseph Wilson Swan patent the carbon-thread incandescent lamp. It lasted 40 hours.
1880 Edison produced a 16-watt lightbulb that lasts 1500 hours.
1882 Introduction of large scale direct current based indoor incandescent lighting and lighting utility with Edison's first Pearl Street Station
1884  พ.ศ. ๒๔๒๗ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 11:14

Pavel Yablochkov carbon arc lamp


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 11:23

งานติดตั้งของ Yablochkov ในโรงละครที่ Place du Château d'Eau in Paris, ปี 1880


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง