เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35782 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 15 ก.พ. 17, 16:15

วันจันทร์ 21 มิถุนายน 2423

ในตอนหาเครื่องตกแต่งพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ความว่า "แล้วกรมภูธเรศกับพระยานรรัตน์เข้าเฝ้าขอซ่อมทองคำแว่นฟ้า แล้วพระองค์เจ้าทองใหญ่เฝ้าทรงด้วยโคมไฟฟ้า ซึ่งจะติดเสาใหญ่พระเมรุกับรับสั่งให้ทำระย้าแขวนพระเมรุด้วย"

วันที่ 27 มิถุนายน 2423
เวลา 2 ทุ่มเสด็จออกหอธรรมสังเวช รับสั่งกับกรมพระยาบำราบปรปักษ์ จะทอดพระเนตรไฟฟ้าที่ท่านมีอยู่ วันนี้ท่านมาจุดทูลเกล้าฯถวายอัฏฏวิจาร ณ ศาลา ใช้แบบตารี่ 100 หนึ่ง แต่ไม่ได้ประทับทอดพระเนตรด้วยฝนตก

วันที่ 28 มิถุนายน 2423
เวลา 2 ทุ่ม วันนี้ไม่ได้ประทับอัฏฏวิจารศาลา และที่ทิมคดมหาปราสาท ซึ่งสมเด็จกรมพระบำราบปรปักษ์ทรงจัดโคมไฟฟ้าทูลเกล้าฯ ถวายครู่หนึ่งแล้วเสด็จขึ้น ใช้ 310 แบบตารี
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 15 ก.พ. 17, 21:24

ด้วยที่มีการกล่าวมาแล้วข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความคิดเห็นที่ 101
ที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2427
ระบุว่า "ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุยาทแล้ว"
แล้วจะมีคำว่า "ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" ในปี พ.ศ. 2504 ได้อย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 16 ก.พ. 17, 12:54

หาไม่เจอว่าท่านจขกท. ตั้งใจจะเขียนพ.ศ.อะไร แทนที่จะเป็น 2504
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 16 ก.พ. 17, 18:37

ตามความคิดเห็นที่ 103 ครับ
(จากหนังสือประวัติการของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๐๔)
อยู่ในปกรณ์ ๓๐ เรื่องทำการไฟฟ้า

เข้าใจว่าประวัติไฟฟ้าไทยในช่วงแรกเริ่ม ที่มีการเผยแพร่อยู่ทุกวันนี้ ได้นำข้อมูลมาจากหนังสือเล่มนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 17 ก.พ. 17, 08:08

อ้อ หนังสือซึ่งพิมพ์ในปี ๒๕๐๔

ไม่ใช่ "ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" ในปี พ.ศ. 2504

ครับ แล้วไป ผมเพียงแต่จะทวนความว่าทรงมีพระราชกระแสดังกล่าวจริงๆแล้ว ปีไหน
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 17 ก.พ. 17, 19:02

ขอตั้งคำถามบ้าง มี 3 ข้อครับ

              ข้อ 1 บิดาแห่งการไฟฟ้าไทยคือใคร
              ข้อ 2 ได้รับการสถาปนาจากใคร หรือหน่วยงานใด
              ข้อ 3 เมื่อใด

มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ ถึงค่อยตอบนะครับ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 17 ก.พ. 17, 20:11

ขอตั้งอีก 1 คำถามครับ

คำถามมีว่า
ก่อนที่จะมีกระทู้นี้ ท่านทราบพระราชกรณียกิจหรือพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อย่างไรบ้าง
นอกเหนือจากกับคำว่า "ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ"
(โดยรวม เห็นแต่ข้ามไปเรื่องไฟฟ้าสยามคอร์ปอเรชั่นและไฟฟ้าหลวงสามเสน ซึ่งอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 17 ก.พ. 17, 20:12

ขอตั้งคำถามบ้าง มี 3 ข้อครับ

              ข้อ 1 บิดาแห่งการไฟฟ้าไทยคือใคร
              ข้อ 2 ได้รับการสถาปนาจากใคร หรือหน่วยงานใด
              ข้อ 3 เมื่อใด

มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ ถึงค่อยตอบนะครับ

ถ้าจะให้นึกถึงบิดาแห่งการไฟฟ้าไทย อันดับแรกที่คิดถึงก็ควรจะเป็น ผู้ที่นำไฟฟ้าเข้ามาติดที่โรงทหารให้ความสว่างไสว นั่นก็ควรจะเป็น "เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) และควรได้รับสถาปนาจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้านั่นก็ควรจะเป็น "การไฟฟ้านครหลวง" ที่ไม่ใช่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 17 ก.พ. 17, 20:49

จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิเคราะห์ว่าข้อมูลต่างๆ เป็นจริงหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่

เช่น ในหนังสือนี้ที่จัดทำเรียบเรียงโดยเครือญาติได้บอกว่า เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้ขายที่ดินแปลงหนึ่งที่ตำบลวัดละมุดบางอ้อ ในราคาเท่าทุน คือราคา 180 ชั่ง เพื่อเอาไปซื้อสิ่งของและใช้หนี้สินเขาด้วย

แต่จากหลักฐานอื่นพบว่า ได้ขายที่ดินตำบลบางอ้อ 3 แปลง และตำบลวัดละมุด 1 แปลง รวมเป็น 4 แปลง ในราคา 144 ชั่ง จากที่ซื้อไว้ 87 ชั่ง ได้กำไร 56 ชั่ง
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร ม.ร. 5 นก/22 เลขที่ 279 หน้า 734-735)

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 17 ก.พ. 17, 21:19

โดยส่วนตัว ผมมีความเชื่อเป็นอย่างยิ่ง ว่าเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) ผู้มีคุณูปการต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างยิ่ง ว่าท่านเป็นผู้ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างในโรงทหารน่าหรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน
แต่ผมไม่เชื่อว่าท่านจะขายที่ดินเพื่อนำมาซื้อเครื่องไฟฟ้าด้วยเหตุที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ
แต่เป็นเพราะเงินหลวงไม่พอ ในชั้นแรกใช้งบประมาณที่สูงมาก ท่านคงบั่นทอนตามเงินที่ท่านมีอยู่ (ท่านเพิ่มเติมกระทรวงกลาโหมเป็น 3 ชั้น จากแบบแปลนเดิม 2 ชั้น)
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 19 ก.พ. 17, 09:05

        เจ้าหมื่นไวยวรนารถคงคิดว่าเงินขายที่ดิน 144 ชั่ง เมื่อนำไปซื้อสิ่งของและใช้หนี้สินเขาแล้วนั้นเหลือไม่มากพอแก่การซื้อเครื่องไฟฟ้าไปติดตั้งในโรงทหารน่า (กรมยุทธนาธิการ)
จึงได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อีกครั้ง (หลังจากที่รัชกาลที่ 5 เคยได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถติดตั้งเครื่องไฟฟ้าไปแล้ว แต่ติดขัดที่ต้องใช้เงินมาก เงินหลวงไม่พอ) ตามความคิดเห็นที่ 101

         คาดว่าเจ้าหมื่นไวยวรนารถคงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เงินหลวงไปใช้จ่ายเรื่องเครื่องไฟฟ้านี้ ในปริมาณเงินที่สูงกว่าเงินที่เจ้าหมื่นไวยวรนาถมีอยู่มาก
อันสังเกตจากการที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ทูลเกล้าถวายแด่รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 (จากการที่รัชกาลที่ 5
ทรงจะต้องพระราชประสงค์ใช้ข้อมูลแสดงความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ว่ารัฐบาลควรจะทำอย่างไรกรณีบริษัทไฟฟ้าสยามขาดเงินลงทุน เพื่อทรงพระบรมราชวินิจฉัย
มีใจความตอนหนึ่งว่า
        "ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เกล้ากระหม่อมรับราชการในกรมยุทธนาธิการตำแหน่งผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ จึงได้เป็นผู้รักษาและจัดการการไฟฟ้าอันมีอยู่แล้ว
ได้จุดใช้ราชการหลายครั้งก็ไม่เป็นการสะดวกติดบ้างดับบ้างต้องจัดการแก้ไขกันไปต่างๆ ไม่หยุด แก้ไปแก้มาเครื่องไหม้จุดอีกไม่ได้ต่อไป
ทำไม่ได้ในเมืองไทยต้องส่งเครื่องออกไปทำใหม่ที่ยุโรป ... บัญชีจ่ายในการซ่อมทำเครื่องไฟฟ้าเช่นนี้แพงมิใช่เล่น
ได้เคยเห็นมาแต่ก่อนเมื่อรับราชการเป็นผู้บัญชาการใช้จ่ายในกรมยุทธนาธิการ ได้ตั้งเบิกเงินที่จ่ายในการทำเครื่องไฟฟ้านั้นด้วยร้อยด้วยพันชั่ง
ซึ่งรู้สึกเต็มใจว่าไม่ได้รับประโยชน์จากทุนที่ลงไป แม้แต่หนึ่งในส่วนร้อยก็ทั้งยาก ลมเจียนจะจับทีเดียวแต่จำต้องเบิกจ่ายไป ตัดรอนไม่ได้เพราะเป็นการเก่าที่ทำแล้ว"
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 น/93 น10/2 หน้า 77-81)
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 25 ก.พ. 17, 09:57

ประวัติไฟฟ้าไทยในช่วงเริ่มแรก ที่มีการเผยแพร่อยู่ก่อนแล้ว ที่ว่า

                         เจ้าหมื่นไวยวรนารถอยากให้ระย้าที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใช้ไฟฟ้า แต่ครั้นจะกราบบังคมทูลก็เห็นว่าคงไม่สำเร็จ
           เพราะเมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนารถกลับมาจากยุโรป ได้กราบบังคมทูลว่า “ที่ฝรั่งเศสเขาไว้ใจใช้ไฟฟ้ากันทั่วทั้งเมือง อยากจะทำไฟฟ้าในเมืองไทย”
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” เจ้าหมื่นไวยวรนารถจึงต้องลงทุน
           ขายที่ดินของตนเพื่อนำเงินมาซื้อเครื่องไฟฟ้า
           (ความคิดเห็นที่ 86 ฝรั่งเศสใช้แก๊สทั่วทุกบ้านทุกเรือน)

ประเด็นสำคัญคือคำว่า “เคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอ

ทำไมพระองค์ต้องรับสั่งอยู่เสมอ?

ดูขัดๆ แปลกๆ สมเหตุสมผล สมแก่ช่วงเวลาไหมครับ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 04 มี.ค. 17, 18:12

จากที่ว่า
                   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” เจ้าหมื่นไวยวรนารถจึงต้องลงทุนขายที่ดินของตน

ก็ได้มีการเผยแพร่ต่ออีกว่า
                   เจ้าหมื่นไวยวรนารถจึงต้องลงทุนขายที่ดิน 180 ชั่ง แล้วจัดให้นายมาโยลาครูฝึกทหารม้าวัดระยะทางจากโรงทหารน่า (กระทรวงกลาโหม) ถึงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
          แล้วเดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อซื้อเครื่องไฟฟ้าโดยสายไฟฟ้าที่ใช้ข้ามถนนให้เป็นเคเบิ้ลฝังใต้ดิน ซื้อเครื่องไดนาโมสองเครื่องเพื่อผลัดเปลี่ยนกัน
          ซื้อโคมไฟขนาดใหญ่ตั้งบนหอนาฬิกา ซื้อโคมหลอดอาร์คไลท์หลายดวง เครื่องหลอดแก้วและโคมต่างๆ สำหรับใช้กับกิ่งระย้าแก้ว
          ให้นายมาโยลาเรียนวิชาสำหรับเข้าเป็นช่างไฟและช่างกลด้วย เมื่อกลับเข้ามากรุงเทพฯ ก็ติดตั้งที่โรงทหารน่าก่อนแล้วติดไฟฟ้าที่ระย้าแก้วในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทต่อไป........

ได้มีข้อสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่ หรือเป็นเรื่องเหลือเชื่อหรือไม่ ดังนี้
           1.   ถ้าหมายถึงรัชกาลที่ 5 ทรงไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาต แล้วเจ้าหมื่นไวยวรนารถจะสามารถกระทำการต่างๆ ดังกล่าวได้เชียวหรือ
           2.   วิธีการต่างๆ เช่นการเดินสายไฟฟ้าข้ามถนนเป็นเคเบิ้ลฝังใต้ดิน ซื้อเครื่องไดนาโมสองเครื่องเพื่อผลัดเปลี่ยนกัน ให้นายมาโยลาไปเรียนวิชาไฟฟ้าในต่างประเทศ สำหรับในสมัยนั้นดูแปลกๆ อยู่
           3.   เงินขายที่ดินจำนวน 180 ชั่งเพียงพอสำหรับการอย่างนี้หรือไม่
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 05 มี.ค. 17, 13:53

                                       การที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 (ตามความคิดเห็นที่ 101)
ประกอบกับที่มีการเผยแพร่ว่า
                                       หลอดไฟฟ้าสว่างไสวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427


ได้มีข้อสงสัยว่าเป็นไปได้หรือไม่ หรือเป็นเรื่องเหลือเชื่อหรือไม่ เพิ่มอีกว่า
           4.   ระยะเวลาเพียงไม่ถึงสองเดือนการดำเนินการตามความคิดเห็นที่ 117 จะสามารถทำได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 25 มี.ค. 17, 20:48

ที่มีการเผยแพร่กันมาว่า หลอดไฟฟ้าสว่างไสวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427
ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ”

เรื่องราวต่างๆ หลายเหตุการณ์ก่อนวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ที่ได้กล่าวมาแล้วในกระทู้นี้ เพียงแต่ละเหตุการณ์ก็เพียงพอที่จะกล่าวได้ว่า
คำว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” นั้นไม่เป็นความจริง

สำหรับในประเด็นนี้ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังปี พ.ศ. 2427 ก็ไม่จำเป็นต้องมีการกล่าวถึง

อีกทั้งการนำประโยคหรือสำนวนของคำที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ”
มาใช้แสดงถึงเหตุการณ์ในช่วงแรกเริ่ม ก็ไม่สมเหตุสมผล ไม่เหมาะแก่ช่วงเวลา

จึงเป็นที่ต้องหาข้อมูลต่อไปว่า แล้วเหตุใดจึงมีการระบุในหนังสือประวัติการของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ”
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง