เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35801 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 22 ม.ค. 17, 15:48

ตรงกลางคือโคมไฟฟ้าที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 29 ม.ค. 17, 15:23

ครับ ขอเสริมรายละเอียดที่ผมตั้งกระทู้ไว้ ว่าในปี พ.ศ. 2408 ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
หนังสือพิมพ์จดหมายเหตุ THE BANGKOK RECORDER เล่ม 2 ใบที่ 2 ได้ลงข่าวที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีเครื่องไฟฟ้าโทรเลขแล้ว
มีความว่า

              •   ผู้ลงหนังสือพิมพ์, ว่าซ้ำซากเซ้าซี้ด้วยเรื่องเตเลแครฟ, มีแทบทุกฉบับ.
      ด้วยเข้าใจว่าผู้อ่านได้ฟังแล้วจะพิศวง. ตื่นกันออโอ๋เปนที่สุดที่แล้ว.
      เดียวนี้ผู้อ่านรู้แล้วพิศวงเตมที. ออโอ๋จนต่อแห้ง, เสียงเกือบจะไม่มีอยู่แล้ว.
      ว่าตามจริงเตเลแครฟนั้น, ในกรุงนี้ก็มีแล้ว, ได้ลองทำดู, ก็มีผู้ทำใช้ได้แล้ว, ไม่อัศจรรยอะไรนัก.
      อย่าต้องลงพิมพ์บ่นซ่ำซากถึงเตเลแครฟนักเลย.

(เป็นปี พ.ศ. ที่สอดคล้องกับความคิดเห็นที่ 20 แต่ไม่ทราบว่าเป็นสถานที่เดียวกันหรือไม่ น่าจะเป็นสถานที่เดียวกัน)
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 29 ม.ค. 17, 16:19

ตามรายละเอียดที่ผมตั้งกระทู้ไว้ว่า
                       3 กันยายน พ.ศ. 2438 ประมาณ 18.00 น. รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินประพาสในพระนคร
                       จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางรถพระที่นั่ง เสด็จขึ้นทรงรถรางไฟฟ้าบริเวณถนนวังแล่นไปจนถึงสะพานเหล็ก
                       เสด็จทอดพระเนตรเครื่องจักรในโรงไฟฟ้าซึ่งผลิตไฟฟ้าให้แก่รถรางของบริษัท บางกอกแตรมเว จำกัด
                       (จากหนังสือพิมพ์กุมารวิทยา ฉบับที่ 3)
ประกอบกับรูปสะพานเหล็กล่าง ปัจจุบันคือสะพานทิพยเสถียร ตามความคิดเห็นที่ 38

ผมมีความเห็นว่าน่าจะเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จทรงรถรางไฟฟ้าและทรงเสด็จโรงไฟฟ้าด้วย (ไม่ใช่โรงไฟฟ้าวัดเลียบ)
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 06 ก.พ. 17, 23:05

ขอเสริมรายละเอียดที่ผมตั้งกระทู้ไว้ ว่าในปี พ.ศ. 2388 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หนังสือพิมพ์จดหมายเหตุ THE BANGKOK RECORDER เล่ม 1 ใบที่ 12 ได้ลงข่าวว่าในประเทศอเมริกาได้มีการสร้างและทดลองใช้โทรเลขได้เป็นผลสำเร็จแล้ว ทั้งนี้ผมขอลงเนื้อหาตามข่าวทั้งหมดซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้านครับ มีความว่า

                                                                                Electro – Magnetic Telegraph
   จะว่าด้วยเครื่องส่งข่าว, ที่ทำด้วยเครื่องไฟฟ้ากับเครื่องแม่เหลกติดกันอย่างหนึ่ง, ทำเปนที่จะสำแดงให้รู้ข่าวเรว. เหมือนกับหนทางไกล ๒๐ โยชน์ ๓๐ โยชน์ ๔๐ โยชน์, เครื่องนั้นก็จะให้รู้ข่าวเรวรู้ใน ๒ นาที ๓ นาทีได้. ว่ามีคนหนึ่งชื่อว่าโมระซะ, อยู่ในเมืองอเมริกา, ได้คิดทำเครื่องส่งข่าวที่ว่ามานี้, คิดมาหลายปี. เครื่องส่งข่าวนั้นคือเขาคิดทำดังนี้, คือเอาลวดเหลกก็ดีลวดทองแดงก็ดีทำให้ยาวทำเปนสองสาย, ๆ หนึ่งจะส่งข่าวข้างโน้นมา, สายหนึ่งจะส่งข่าวข้างนี้ไป. สายหนึ่งนั้นมีลวดทบกันเข้าเปนสองเส้น ๆเหมือนกัน, ทำเหมือนกันทั้งสองสาย , แต่จะว่าแต่สายเดียวก็เหมือนกับว่าทั้งสองสายเหมือนกัน, แต่ว่ามันกลับหวัวกลับท้ายกันอยู่. สายหนึ่งนั้นเขาทบลวดเข้าเปนสองเส้นติดกัน, แต่ปลายลวดข้างจะส่งข่าวไปนั้นห่างกันอยู่แต่ภอจะกระทำให้กระทบกันได้. แต่ปลายข้างจะรับข่าวนั้นลวดมันชิดกัน. แล้วก็มีเครื่องที่จะเขียนอย่างหนึ่งติดกับปลายลวดที่ชิดกันนั้น. แล้วก็มีจักรอย่างหนึ่งเหมือนกับจักรแห่งนารกา, สำหรับจะได้ชักกระดาษให้เดินเสมอไปนั้น. ถ้าเขาจะส่งข่าวมาให้รู้แล้ว, เขาก็เอาเครื่องไฟฟ้ากับเครื่องแม่เหลกนั้นกระทำให้ปลายลวดที่แยกกันกระทบกันเข้าตามเรวแลช้า, แล้วเครื่องเขียนที่อยู่ปลายลวดข้างโน้นก็จะเขียนในกระดาษที่เดินอยู่นั้น, ตามที่เขาจะกระทำให้กระทบกันตามสำเหนียกตัวอักษรนั้น. แลคนที่รับข่าวนั้นก็จะรู้ข่าวตามที่เครื่องเขียนจะเขียนลงในกระดาษนั้น. อนึ่งถ้าคนที่รับข่าวถ้ารู้ข่าวแล้ว, แลจะส่งข่าวตอบมา ข้างนี้ก็เอาเครื่องไฟกับแม่เหลกกระทำเหมือนกันในลวดสายหนึ่ง, แล้วคนข้างนี้ก็จะรู้ข่าวตามที่เขียนนั้น. แลลวดสองสายนั้นอยู่เคียงกัน, แล้วก็กระทำสิ่งที่กำบังปกปิดสายลวดทั้งสองนั้น, มิให้เปนอันตรายด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, มีฝนแลแดดเปนต้น, ตลอดไปตามสายลวดใกล้แลไกลนั้น. แลเจ้าเมืองอเมริการู้เหตุนั้นจึงให้เงินแก่โมระซะสามหมื่นเหรียน, ให้โมระซะนั้นกระทำซึ่งเครื่องส่งข่าวนั้นลองดู, ด้วยเหนว่าเครื่องนั้นจะเปนประโยชน์แก่เมืองเปนอันมาก. แล้วโมระซะก็กระทำซึ่งเครื่องนั้นตั้งแต่เมืองหลวงออกไปแห่งหนึ่งยาว ๔๘๐ เส้น, แลเมื่อทำยังไม่แล้ว, ๆ แต่ครึ่งหนึ่งคือ ๒๔๐ เส้น, เขาก็ลองดูในปีมโรง เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ. เมื่อลองดูก็ทำดั่งนี้, คือคนที่ส่งข่าวนั้นอยู่ปลายข้างหนึ่ง, คนที่รับข่าวนั้นอยู่ปลายข้างหนึ่ง. สองคนนั้นสอบนารกาให้เดินถูกกัน, คนที่จะส่งข่าวไปนั้นอยู่ใกล้หนทางที่รถไฟเดิน. เมื่อคนนั้นเหนรถไฟเกือบจะมาถึงที่ตนอยู่แล้ว, เขาก็ส่งข่าวไปตามอย่างที่ว่ามาแล้ว, ว่ารถไฟมาแล้ว. คนที่อยู่ปลายข้างโน้นก็รับข่าวในขณะนั้นข่าวนั้นไปถึงกันเรวนัก. รถไฟที่คนส่งข่าวแลเหนว่าเกือบจะมาถึงตัวนั้น, รถนั้นก็มายังไม่ทันจะพ้นผู้ส่งข่าวไป, ข่าวนั้นก็รู้ถึงข้างโน้นแล้วว่ารถไฟมาแล้ว. แลคนที่รับข่าวนั้นเมื่อรับก็กำหนดโมงแลนาทีเหมือนกัน. ทีหลังคนสองคนก็มารวมกัน, แล้วก็สอบเวลาที่ส่งข่าวแลรับข่าวตามโมงแลนาทีที่กำหนดไว้. จึ่งรู้ว่าข่าวนั้นไปเรวนักไม่ช้า, ครู่เดียวถึง
   จะว่าด้วยเครื่องส่งข่าวนั้นต่อไปอีก, ว่าเมื่อข้าพเจ้าแต่งเครื่องส่งข่าวที่ว่ามาแล้วแต่ข้างหลังนี้, เปนความในหนังสือข่าวใบหนึ่ง, แล้วข้าพเจ้าก็ดูในหนังสือข่างใบหนึ่งที่ตีภิมในเมืองนุยอกตีภิมเมื่อปีมโรงเดือนเจด. ข่าวนั้นว่าเขาทำเครื่องส่งข่าวนั้น, เขาทำตั้งแต่เมืองวัดชิงทันตลอดไปถึงเมืองบัลติโมร, เปนทางไกลศัก ๓ โยชน์ครึ่งเขาทำแล้ว, ไกลเหมือนทางไปจากกรุงเทพนี้ไปถึงบังไซ. แลเพลาวันหนึ่งมีคนผู้หนึ่งในเมืองบัลติโมระถามซึ่งเหตุการในเมืองวัดชิงทัน, ถามด้วยเครื่องส่งข่าวนั้น. คนที่อยู่ในเมืองวัดชิงทันก็บอกตอบมาด้วยเครื่องส่งข่าวนั้น, ข่าวนั้นรู้ถึงกันทั้งสองข้างนั้นเรวนักไม่ช้า, ศักนาทีเดียวเท่านั้น. แลในหนังสือข่าวนั้นว่า, ว่าเมื่อเขาทำเครื่องลวดส่งข่าวนั้น, เขาเอาเสาปักเรียงกันเปนระยะต่อๆ กันไปเปนอันมาก, จนถึงที่จะส่งข่างถึงนั้น. เสานั้นสูงพ้นดินประมาณ ๑๔ ศอก, แล้วที่ปลายเสานั้นเขาทำซึ่งแก้วกลมๆ ติดไว้กับปลายเสา, แล้วเขาเจาะซึ่งแก้วนั้นให้เปนรูตลอด, แล้วเอาลวดร้อยไปในรูแก้วนั้นตลอดต่อๆ ไปทุกเสาๆ จนถึงเสาที่สุดนั้น. เขาทำดั่งนี้ประสงค์จะไม่ให้ไฟฟ้านั้นเดินลงมาตามเสาได้, จะให้ไฟฟ้านั้นเดินไปตามเส้นลวดนั้น. ด้วยธรรมดาไฟฟ้านั้นมันรักษแก่เหลกแลทองแลไม้ แต่แก้วนั้นไฟฟ้าไม่รักษเลย. เหตุดั่งนั้นเขาจึ่งเอาลวดร้อยไปตามรูแก้วนั้น, ด้วยจะไม่ให้ไฟฟ้าติดไปตามแก้ว, จะให้ไฟฟ้าติดไปตามลวดนั้น. แลมีข่าวอีกข้อหนึ่งเขาตีภิมเมื่อปีมโรงเดือน ๙, ว่าเจ้าเมืองอเมริกายังจัดแจงกระทำซึ่งเครื่องส่งข่าวนั้นอยู่, จะกระทำตั้งแต่เมืองบัศะตันตลอดไปถึงเมืองนุยอก, แลตลอดไปถึงเมืองฟีละเดลเฟีย, แลไปถึงเมืองบัลติโมระ. ทางนั้นยาวศัก ๓๕ โยชน์, มากกว่าทางเมืองนี้ไปกรุงเก่าศัก ๗ เท่า. แลเครื่องส่งข่าวนี้ข้าพเจ้าก็เข้าใจว่าเจ้าเมืองนั้นจะเปนเจ้าของ, แต่จะเปนอย่างนั้นจริงหฤาไม่จริงข้ายังไม่รู้แน่. แลข้าพเจ้าก็เหนว่าเครื่องส่งข่าวจะเปนประโยชน์มากต่างๆ หลายอย่าง.

   ต่อไปจะพูดถึงคำว่า ไฟฟ้าหลังคาตัด ครับ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 09 ก.พ. 17, 10:46

จากเนื้อหาที่ผ่านมาในกระทู้นี้ ผมขอคัดเรื่องราวที่แสดงถึงเหตุการณ์ในช่วงแรกเริ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาเปรียบเทียบกับเนื้อหาประวัติไฟฟ้าไทยที่มีการเผยแพร่อยู่ก่อนแล้วในคำที่ว่า

                           1.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ
                           2.   หลอดไฟฟ้าสว่างไสวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427

   มีดังนี้ครับ
                1.   พ.ศ. 2387  และ พ.ศ. 2388 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าหลายข่าว แสดงว่าประเทศไทยได้มีการรับรู้ข่าวสารเรื่องไฟฟ้าแล้ว

                2.   พ.ศ. 2399  ซึ่งอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แฮริสได้นำเครื่องไฟฟ้าเข้ามาในสยาม ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้า มิเตอร์วัดไฟฟ้า
                                       ของเล่นและชุดสาธิตด้วยอานุภาพของไฟฟ้าต่างๆ (ตามความคิดเห็นที่ 26 และ 27) แสดงว่าประเทศไทยมีสิ่งประดิษฐ์ทางไฟฟ้าแล้ว

                3.   พ.ศ. 2408  ซึ่งอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าว่าประเทศไทยมีเครื่องไฟฟ้าโทรเลขแล้ว
                                       ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นที่ 20 (เครื่องโทรเลข ในวังกรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชา) แสดงว่าประเทศไทยมีโทรเลขแล้ว

                4.   พ.ศ. 2421  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการทดลองใช้เครื่องโทรศัพท์ตัวอย่าง
                                       และทรงโปรดให้มีการติดตั้งใช้เครื่องโทรศัพท์ระหว่างสมุทรปราการถึงกรุงเทพฯ โดยใช้สายโทรเลขที่ติดตั้งอยู่แล้ว แสดงว่าประเทศไทยมีโทรศัพท์แล้ว

                5.   พ.ศ. 2423  เจ้าพระยามหินธรศักดิ์ธำรงค์ ได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
                                       ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง   เพื่อใช้ในงานสมโภชเฉลิมพระชนมพรรษา แสดงว่าประเทศไทยมีหลอดไฟฟ้าแล้ว

                6.   พ.ศ. 2426  หลวงปฏิบัติราชประสงค์ได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
                                       ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างในพระบรมมหาราชวังแทนโคมไฟแก๊สโดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใหม่ไม่มีแปรงถ่านซึ่งดีกว่าของหลวงที่มีอยู่ก่อนแล้ว

                7.   พ.ศ. 2427  พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
                                      ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตติดตั้งโคมไฟฟ้าในสวนสราญรมย์โดยใช้โคมไฟฟ้าของหลวงที่อยู่แล้วแต่ไม่ได้ใช้งาน
                                      โดยครั้งหนึ่งนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ได้เคยซื้อชุดเครื่องไฟฟ้าเพื่อจะติดตั้งใช้แทนไฟแก๊สในสวนสราญรมย์นี้

ผมไม่พบคำว่า ไฟฟ้าหลังคาตัด ก่อนที่จะมีการติดตั้งสายไฟฟ้าตามเพดานโบกปูนหรือในช่วงแรกๆ ที่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทยที่กล่าวถึงข้างต้นนี้

ต่อไปจะพูดถึงคำว่า ไฟฟ้าหลังคาตัด เมื่อมีการติดตั้งสายไฟฟ้าตามเพดานโบกปูนไปสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต่างกันมากครับ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 09 ก.พ. 17, 13:11

                5.   พ.ศ. 2423  เจ้าพระยามหินธรศักดิ์ธำรงค์ ได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
                                       ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง   เพื่อใช้ในงานสมโภชเฉลิมพระชนมพรรษา แสดงว่าประเทศไทยมีหลอดไฟฟ้าแล้ว


ข้อสรุปนี้ ไม่ถูกต้องครับ
ควรแยกระหว่าง electric arc lamp กับ electric light bulb
หลอดไฟฟ้าเข้ามาหลังจากนั้นครับ

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 09 ก.พ. 17, 18:33

ผมว่าถูกต้องแล้วครับ
ในความหมายว่า หลอดไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แทนตะเกียง เทียนไข คบ ไต้ เพื่อให้แสงสว่าง
หลอดไฟ LED ก็เหมือนกันแหละครับ

เพียงแต่ในยุคนั้นมีหลอดไฟฟ้าอยู่ 2 ประเภทคือหลอดไฟฟ้าประเภทอาร์คไลท์ และ หลอดไส้หรือหลอดอินแคนเดนเซนต์ (ประวัติและรูปภาพหลอดไฟฟ้าหาได้ไม่ยาก)
โดยหลอดอาร์คไลท์มีขึ้นก่อนหลอดไส้
ซึ่งหลอดอาร์คไลท์จะมีแสงกระพริบเพราะจากการอาร์คหรือสปาร์คของแท่งคาร์บอน มักจะติดตั้งในสถานที่โล่งๆ หรือภายนอกอาคาร

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 11 ก.พ. 17, 08:10

หลักๆ แล้ว ในสมัยนั้น เมื่อไฟฟ้าได้ถูกติดตั้งในอาคารสถานที่ต่างๆ ที่เป็นคอนกรีตไปซักระยะหนึ่งแล้ว เช่นเพดานหลังคาคอนกรีต (ไฟฟ้าหลังคาตัด)
ได้เกิดปัญหาจากการเสื่อมสภาพของฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้าประกอบกับการเสื่อมสภาพของพื้นผนังเพดานคอนกรีต (ปูน)
ที่เกิดการแตกร้าวทำให้น้ำเช่นน้ำฝนรั่วไหลถูกสายไฟฟ้าได้
 
ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัถเลขาไปยังเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2449

ลิงค์ประวัติของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ผู้มีคุณูปการยิ่ง
http://pradub-sukhum.com/Yomaraj.html/The%20King%20Letters/(2).html

ขออนุญาตอ้างถึงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องครับ ดังนี้

สวนดุสิต
วันที่ ๓๑ ม.ค. รัตนโกสินทรศก ๑๒๕
พระยาสุขุม
วันนี้เข้าใจว่าเจ้าจะฟกเต็มทีจึงได้หายไป แต่ความจริงนั้นสามารถที่จะบอกได้ว่า งานที่เป็นหลักถานนับเป็นแล้วสำเร็จ
ถึงชั้นติดรูปริทูกราฟแลโฟทูกราฟ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นที่สุดแห่งงานอื่นๆ ต่อนี้ไปจะต้องไปทำงานแต่วันละสักชั่วโมงหนึ่งฤๅ ๒ ชั่วโมงก็พอ
เป็นอันสม ปราถนาที่จะได้หยุดพักไม่ให้เหน็จเหนื่อยฉาบน่างาน แต่อีกฝ่ายหนึ่งในส่วนงานที่ต้องทำมาจากที่อื่นยังขาดค้างมากจนนึกหนักใจว่า
ในเวลางานจะไม่พ้นจากจับอะไรเข้าเปียกเปื้อนสี มือเหนียวน้ำมันอย่างแต่ก่อนๆ มา กล่าวคือฝาขั้นห้อง ตู้ในภาคปรัศจิม กรอบรูป
ซึ่งจะต้องซ่อมแลทำขึ้นใหม่เป็นต้น ซึ่งเป็นงานของดุ๊กมากกว่างานของเจ้า จำจะต้องช่วยกันพัดไว้ ด้วยใกล้ตรุศม์จีนเข้าไปทุกวัน
ถ้านั่งเพลินๆ ไปถึงตรุศม์จีนถึงจะเฆี่ยนให้ตายเจ๊กก็ไม่ยอมทำ ถ้าตรุศม์จีนแล้วจึงได้มาติดมาตั้งเป็นไม่พ้นมือเปื้อนมือเหนียว
ข้อสำคัญ ๓ ประการ ซึ่งได้กำชับไว้ คือน้ำที่จะขึ้นไปบนพระที่นั่ง วันนี้ปรากฎแล้วว่าบนห้องเล็กชั้นบนไม่มีน้ำทั้งที่ได้นัดหมายกันไว้
ยังล่องแลถังกับทั้งท่อไม่เคยมีสมประดีในเมืองไทย อย่างเดียวกันกับไฟฟ้าหลังคาตัดเป็นข้อที่ ๒ กับหลังคาตัดเป็นข้อที่ ๓ ซึ่งได้รับอาญัตไว้นั้น
ขอให้พิจารณาให้จงมาก
สยามินทร์


สวนดุสิต
วันที่ ๑ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕
ถึง พระยาสุขุม
การเรื่องนี้ก็ไม่ประหลาดอะไร แต่เป็นธรรมเนียมฝนตกเคยตรวจมาสำหรับได้แก้ไข หลวงศักดิ์ได้ขึ้นไปตรวจบนหลังคายื่นรายงานว่า
ชั้น ๓ รั่วด้วยรางน้ำ ๖ แห่ง รั่วด้วยปูนแตก ๓ แห่ง ชั้น ๒ รั่วด้วยรางน้ำ ๘ แห่ง รั่วด้วยปูนแตก ๒๑ แห่ง รั่วด้วยสายถูกไฟฟ้า ๒ แห่ง
นี่ตรวจบนเพดาน ส่วนในห้องนั้นที่ห้องมุขหลังรั่วเฉลียงเหนือน้ำนองทีเดียว ไม่ใช่รั่วราง ห้อง เตอรกีรั่วกลางๆ เฉลียง มุขขวางรั่ว ๒ แห่ง
ห้องสีชมภูสีฟ้าเฉลียงด้านเหนือลมเป่าสายฝนเข้ามาตามช่องเชิงฝาอย่างที่เล่าให้ฟังวันนี้ว่าปูเข้ามาได้ ช่องเช่นนี้โทษถึงต้องอุด
ห้องสีน้ำเงินที่เฉลียงสายไฟฟ้าเปียก ไฟฟ้าไม่เดิน เรื่องไฟฟ้ากับน้ำฝนนั้นน่ากลัวอยู่หน่อยหนึ่ง เข้าใจว่าตามเฉลียงจะไม่มีท่อเหล็ก
จะเป็นสายหุ้มไหม ถ้าเป็นสายหุ้มไหมแรกๆ ก็ไม่เป็นไร ถ้าสายผุไฟฟ้าอาจเดินได้ด้วยถูกน้ำอยู่ข้างรวังยาก ลมวันนี้เป็นตวันออกแลตวันออกเฉียงใต้
มุขในระหว่างมุขหลังแลมุขขวางยื่นออกไปมาก ข้างด้านตวันตกกลับไม่สาด ไปสาดปูเข้าตามเชิงฝาด้านเหนือ แต่ถ้าเป็นฝนฤดู
มาทางตวันตกเห็นจะยิ่งกว่านี้มากจะต้องเตรียมตัวไว้คอยรับ
สยามินทร์


วันที่ ๓
ถึง เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ด้วยเมื่อณวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม ฝนตกหนัก โทรศัพท์ ในระหว่างสเตชั่น หูเจ้าถนอมไปถึงสเตชั่นหัวใจเดินไม่สะดวกได้บอกโทรศัพท์แต่วันที่ ๒ เวลาดึก
จะเป็นกี่ทุ่มไม่ทราบแน่ เพราะนาฬิกาเดินไม่สะดวก ลูกตุ้มเบาไป พึ่งได้รับโทรศัพท์ต่อวันนี้เวลาบ่าย ๔ โมง เห็นว่าช้าเกินนัก ด้วยระยะทางแต่หูถึงใจ
ถ้าหูซ้ายก็ไม่กี่เซนติเมเตอร์ ถ้าหูขวาก็ไม่ถึงครึ่งเมเตอร์จะว่าไฟฟ้าไม่เกินตลอดเวลาตีสายไม่ได้ก็ไม่ใช่ ถ้าจะไฟฟ้าไม่เดินก็คงเพียง ๘ ชั่วโมงหรือ ๙ ชั่วโมง
คือตั้งแต่ ๘ ทุ่มจน ๔ โมง หรือ ๕ โมงเช้าไฟฟ้าคงจะเดิน สงไสยว่าจะเป็นด้วยบุรุษไปรษนีย์เกียจคร้านเสียไม่เดิน ในเท้าบุรุษไปรษนีย์ผู้นี้อยู่ข้างจะเชือนแชอยู่บ่อยๆ
นายสเตชั่นส่งโทรเลขให้ไปแล้วก็ไม่เดินไปหลบหลีกนั่งนอนเสียในที่ใด จึงได้เกิดเหตุขึ้นดังนี้ จะควรแก้ไขโทรศัพท์ในระหว่างบางหูไปหาบางใจอย่างไรได้


ขอเสริมครับ คือว่า พระราชหัตถเลขา วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๕ ในลิงค์ มีคำว่า พัดลม ด้วยครับ แสดงว่ามีการใช้พัดลมในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว

ต่อไปจะขอพูดถึงคำว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 11 ก.พ. 17, 10:49

พัดลม ต้องตีความให้ดีว่าเป็นพัดลมชักด้วยมือ ที่ใช้ผ้าขึงไว้บนเพดาน หรือ พัดลมไฟฟ้า แต่ดูแนวโน้มว่าจะเป็นพัดลมชักมือเสียมากกว่า เพราะถ้ามีพัดลมควรจะกล่าวถึงเรื่อง ปลัํกไฟ ด้วย
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 11 ก.พ. 17, 21:28

ขอบคุณมากครับ ไม่ทราบมาก่อนว่ามีพัดลมแบบชักด้วยมือด้วย
เหมือนกับที่ไม่ทราบมาก่อนว่าสะพานเหล็กมีทั้งสะพานเหล็กบนและสะพานเหล็กล่าง

แต่ก็ขอตั้งเป็นที่สงสัยไว้ก่อน ว่าเป็นพัดลมประเภทใดกันแน่

คำว่าพัดลมนี่ พาผมสับสนงงเสียเวลาอยู่ไม่น้อย ใจก็พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับพัดลมเป่าคน
เช่นว่า พัดลมระบายอากาศร้านอาหารตามสั่งข้าวราดผัดกระเพราไข่ดาว จะเรียกว่าพัดลมด้วยหรือไม่  ฮืม
 
เพราะข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าวัดเลียบใช้คำว่าพัดลม ขนาด 100 โวลต์ 100 เฮิร์ต
สำหรับเป่าลมเข้าไปผสมในการเผาไหม้แกลบเพื่อให้ควันเท่าถ่านปลิวออกมาทางปล่องควันไปรบกวนพระภิกษุสามเณรน้อยลง (ตามความเห็นที่ 47)

ขออนุญาตนำประโยคในลิงค์ที่พูดถึงมาลงครับ มีความว่า
                         เรื่องพัดลมนั้น ได้ว่าเองว่ารกรุงรังนัก ถ้าขายคนถื่นไม่ได้ ขายกันเองในกระทรวงวังก็ได้
                         ได้เคยพูดกับหลวงนริศไว้บ้างแล้วให้เริ่มหาพัดตั้งเสีย ถ้าไม่มีควรสั่งก็จะต้องสั่ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 12 ก.พ. 17, 11:10

ภาพสวิทซ์ไฟและปลั๊ก ในห้องเครื่องของพระวิมาดาเธอฯ วังสวนดุสิต


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 13 ก.พ. 17, 20:02

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมในความคิดเห็นที่ 94
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงแรกเริ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาเปรียบเทียบกับเนื้อหาประวัติไฟฟ้าไทยที่มีการเผยแพร่อยู่ก่อนแล้วในคำที่ว่า
                                 1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ
                                 2. หลอดไฟฟ้าสว่างไสวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427

เป็นการที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 (ก่อนวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ไม่ถึง 2 เดือน) มีความตอนหนึ่งว่า
 
          เมื่อเดิมข้าพระพุทธเจ้าได้ขอพระบรมราชาณุยาท ที่จะคิดทำเครื่องไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงทหาร แลโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นปจักษศิลปาคมกะดวงไฟที่จะใช้ในที่ต่างๆ แลจะจัดใช้เครื่องสติมสำหรับหุงต้มเลี้ยงทหารแลการอีกหลายอย่าง
ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุยาทแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งบาญชีของที่จะต้องการต่างๆ ออกไปให้
พระวงษเธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ให้สืบราคา ได้ทำเอศติเมศส่งเข้ามายังข้าพระพุทธเจ้าฯ ได้ตรวจดู เหนเปนเงินนั้นมาก
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลปฤกษากับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทววงษวโรประการให้ทรงทราบ ท่านรับสั่งว่าเงินแผ่นดินยังหามีจะภอจ่ายไม่
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะจัดการไปก่อน ภอจะไม่ให้เสียการ แลจะไม่ให้เสียพระราชทรัพย์ของแผ่นดินมาก แต่การไฟที่จะใช้ในโรงทหารใหญ่นั้น
ข้าพระพุทธเจ้ายังมีความวิตกเปนล้นเกล้าฯ ด้วยจะต้องใช้ไฟหลายร้อยดวงไฟ ไฟที่กะไว้นั้นภอสว่างภอที่จะเดิรไปมาไม่โดนของที่ตั้งอยู่เท่านั้น
แต่ไฟเวลานี้ก็ต้องใช้น้ำมันปิดเตลียม เพราะเปนน้ำมันถูกกว่าน้ำมันไฟอื่นๆ แต่โสหุ้ยต้องเสียมาก คือต้องซื้อโคมในคราวแรก
ค่าไส้ตะเกียงที่ต้องใช่อยู่เสมอ ๑ ค่าโคมชำรุธ ๑ ค่าน้ำมัน ๑ แล้วโคมที่ใช้น้ำมันตั้งร้อยดวงดังนี้แล้ว ก็คงจะมีเอกซิเดนบ้างเปนแน่
ท่าน้ำมันตกติดไฟขึ้นก็เปนที่น่ากลัวมาก บางทีจะเปนอันตรายใหญ่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ ดังนี้จึงได้มีความวิตกเปนล้นเกล้าฯ
ไม่ทราบเกล้าฯ ว่าจะผ่อนผันใช้ไฟอย่างไรให้เปนที่ไว้ใจได้....
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 นก/36 หน้า 918-919)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 14 ก.พ. 17, 14:24

ให้ภาพพัดลมไฟฟ้า ตั้งบนโต๊ะ (ล่างของภาพ) ณ ห้องบรรทมชั้น ๓ พระที่นั่งอัมพรสถาน สมัยรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 15 ก.พ. 17, 08:36

จากที่ได้มีการเผยแพร่เกี่ยวกับประวัติไฟฟ้าไทยในช่วงแรกเริ่ม ที่ว่า

                      เมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนารถกลับมาจากยุโรป ก็ได้กราบทูลพระกรุณาเล่าถวายให้ฟังว่า “ที่กรุงปรารีสซึ่งเป็นเมืองหลวง
                      ของประเทศฝรั่งเศสนั้นเขาใช้ไฟฟ้ากันทั่วทั้งเมืองและเขาเป็นที่ไว้วางใจกันได้ด้วย
                      อยากจะทำไฟฟ้าใช้ในเมืองไทยบ้าง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ”
                      การที่จะให้ทำไฟฟ้าขึ้นใช้ให้สำเร็จ จำต้องลงทุนลงรอนของตนก่อน.........
                      (จากหนังสือประวัติการของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๐๔)


อยากให้พิจารณาเปรียบเทียบกับการลงข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าราชทูตสยามที่ออกไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส ได้บรรยายถึงสภาพต่างๆ ของสังคมฝรั่งเศสที่ได้พบเจอมา ที่ว่าฝรั่งเศสใช้ไฟแก๊สหรือไฟก๊าดทั่วไปทุกบ้านทุกเรีอน (เคยได้นำมาลงไว้ในความคิดเห็นที่ 86) มีความตอนหนึ่งว่า

                      ตามสองข้างถนนนั้นมีเสาเหลกกาไหล่ทองแดง สูงประมาณห้าศอกปักห่างกันประมาณแปดวา
                      แต่ปักเยื้องกันเปนฟันปลา บนปลายเสาใส่โคมแก้ว ตามไฟในเวลากลางคืนไฟที่ตามโคมนั้นฝรั่งเสศเรียกไฟก๊าด
                      เปนของประหลาดไม่ต้องใช้น้ำมัน แลใส่เหมือนตะเกียงธรรมดา เวลาเยนเปิดกอกไฟก๊าดไปทั่วทุกเสาโคม
                      เสาโคมเปนหลอดขึ้นไป เอาแต่ไฟจุดปลายหลอด ก็ติดสว่างดีกว่าตะเกียงที่ตามด้วยน้ำมัน เมื่อจะให้ดับก็บิดควงเสีย
                      อย่าให้ลมก๊าดเดินได้ไฟก็ดับ บางถนนที่แคบนั้นก็เอาเหล็กทำเปนกิ่งติดเข้ากับผนังตึก มีโคมแก้วตามไฟก๊าดเหมือนกัน
                      ไฟก๊าดนั้นฝรั่งเสศใช้ทั่วไปทุกบ้านทุกเรือน........                     
                      (จากหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุสยามไสมย ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2428 เล่ม 4 แผ่น 9)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 15 ก.พ. 17, 10:25

คำว่า"ไฟฟ้าหลังคาตัด" ข้าไม่เชื่อ ผมคิดว่าเป็นสร้อยคำ

หลังคาตัด คือหลังคาแบนที่เรียกว่า Flat roof ที่เห็นกันในเมืองฝรั่งมังค่า ถ้าคิดจะเอามาทำในเมืองไทยบ้างจะมีปํญหามากมายเรื่องแตกร้าวฝนรั่ว มีคนเอามาทำแล้วบอกว่าดี "ข้าไม่เชื่อ"

คือไม่ทรงเชื่อทั้งไฟฟ้าและหลังคาตัด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง