เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35666 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 07:54

แผนที่โรงไฟฟ้าสำหรับรถรางไฟฟ้า (โรงเครื่องรถไอ) ของบริษัท บางกอกแตรมเว จำกัด
ปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเป็นอย่างไรหนอ? (สะพานเหล็ก)

สะพานเหล็กในที่นี้คือสะพานเหล็กล่าง ปัจจุบันคือสะพานทิพยเสถียร ซึ่งขอรับพระราชทานที่ดินบริเวณชานป้อมรอบกรุง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 09:14

แนวทางรถรางไฟฟ้า เห็นสะพานเหล็ก
ใช้เทียบเคียงกับแผนที่


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 09:52

แนวทางรถรางไฟฟ้า เห็นสะพานเหล็ก
ใช้เทียบเคียงกับแผนที่

สะพานตามในภาพเป็นสะพานเหล็กโค้งข้ามคลองบางลุำพู ถนนจักรพงษ์ ต่อมารื้อลงและก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กในรัชกาลที่ ๖ คือ สะพานนรรัตนสถานในปัจจุบัน
สี่แยกในภาพคือถนนพระสุเมรุตัดกับถนนจักรพงษ์ครับ
สะพานเหล็กล่าง (สะพานพิทยเสถียร) จะเป็นสะพานแบบยกเปิดได้ ส่วนสะพานเหล็กบน (สะพานดำรงสถิตย์) และสะพานหัน จะเป็นสะพานแบบเลื่อนเปิดได้ในแนวราบ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 09:54

แนวทางรถรางไฟฟ้า เห็นสะพานเหล็ก
ใช้เทียบเคียงกับแผนที่

นี่สะพานเหล็กคนละที่ครับ สะพานเหล็กโค้งในภาพเป็นสะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุงด้านเหนือ (สะพานนรรัตน์) ตรงบางลำพูครับผม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 09:54

แผนที่โรงไฟฟ้าสำหรับรถรางไฟฟ้า (โรงเครื่องรถไอ) ของบริษัท บางกอกแตรมเว จำกัด
ปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเป็นอย่างไรหนอ? (สะพานเหล็ก)

ลองเปรียบเทียบกับสภาพในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 10:20

ขอบคุณครับ แสดงว่าผมเข้าใจผิด ช่วยเสริมให้หน่อยครับว่า สะพานแบบยกเปิดและแบบเลื่อนเปิดมีไว้ใช้ประโยชน์อะไร ภาพสะพานเหล็กใกล้โรงไฟฟ้าเป็นอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 11:04

ขอบคุณครับ แสดงว่าผมเข้าใจผิด ช่วยเสริมให้หน่อยครับว่า สะพานแบบยกเปิดและแบบเลื่อนเปิดมีไว้ใช้ประโยชน์อะไร ภาพสะพานเหล็กใกล้โรงไฟฟ้าเป็นอย่างไรครับ

เอาตรงสะพานเหล็กตรงสะพานทิพยเสถียรพอนะครับ เดิมเป็นสะพานไม้ครั้นมีวาระสำคัญแห่งการฉลองต่างๆ รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเรี่ยไรทำบุญให้เจ้านายต่างๆร่วมกันลงขันกันซ่อมหรือใช้เงินจากกรมโยธาสร้างสะพาน เคยอ่านเจอว่าเสาไม้ของสะพานทิพยเสถียรถูกเพรียงเจาะพรุนไปหมด เลยต้องซ่อมสะพานแบบใหม่เป้นพื้นเหล็ก แต่ที่จะให้ยกได้คงไว้สำหรับเรือบรรทุกฟืนและเรือมีหลังคาที่ผ่านเข้ามาในคลองนี้ ซึ่งฝรั่งตรงข้ามโรงเก็บรถรางจะเป็นบริเวณที่ทำน้ำแข็ง น้ำโซดา กลุ่มของนายเลิด ครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 11:59

สะพานสุประดิษฐ์ สะพานเหล็กโค้งข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่ตำบลหัวลำโพง ก่อนจะรื้อถอนและสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแทน คือ สะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 13:21

แนบภาพสะพานเหล็กล่าง (สะพานทิพยเสถียร) เบื้องหลังเป็นโรงรถราง และป้ายอักษร Bangkok Tramways Company Limited


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 21:48

สะพานเหล็กที่กล่าวถึงในหนังสือฉบับข้างล่างนี้หมายถึงสะพานเหล็กล่างตามรูปภาพข้างบนนี้ซึ่งมีปล่องควันใช่ไหมครับ หนังสือนี้หมายถึงบริษัทบางกอกแตรมเวจำกัดจะดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 70 แรงม้าสำหรับรถรางไฟฟ้าใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงขนส่งทางเรือครับ ส่วนโรงเก็บรถรางถ้าจำไม่ผิดอยู่สถานที่อื่นมีคำว่า "แม้นศรี" อะไรประมาณนี้ ขอเวลาค้นเอกสารรูปภาพหน่อยครับ จำได้ว่ามีเก็บไว้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 07:35

แผนผังบริเวณชานป้อมปิดปัจนึกท้ายตลาดน้อย เชิงสะพานทิพยเสถียรหรือสะพานเหล็กล่างนั้นเป็นที่วางสถานีรถรางไฟฟ้าอยู่ริมคลองเพื่อสะดวกในการตั้งเครื่องจักรไอน้ำผลิตไฟฟ้า ส่วนตัวสำนักงาน (Office) ตั้งอยู่อีกมุมหนึ่งของตัวป้อม


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 14 ก.ย. 16, 22:08

แผนที่แสดงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำหรับรถรางไฟฟ้าของบริษัท รถรางไทย ทุนจำกัดในเขตวัดเทวราชกุญชร (กรอบเส้นประสีแดง) โรงไฟฟ้าสมัยนั้นมักอยู่ใกล้คลองหรือแม่น้ำเพราะใช้ขนแกลบและใช้น้ำสำหรับเครื่องจักรไอน้ำ โรงไฟฟ้าเป็นระบบผลิตไฟฟ้ากระแสตรงเพราะง่ายต่อการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ในรถรางโดยการใช้ Rheostat (โรงไฟฟ้าของบริษัทไฟฟ้าสยามจำกัดที่จ่ายให้แก่หลอดไฟเป็นระบบผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 ก.ย. 16, 09:44

ภาพอาคารโรงไฟฟ้า แถวประตูสามยอด


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 16 ก.ย. 16, 21:45

ภาพอาคารโรงไฟฟ้า แถวประตูสามยอด
มีภาพตึกหลังนี้อีกมุมหนึ่งซึ่งคุณสมิทธ์ เกตุทัตได้กรุณาอ่านภาพไว้เมื่อ พ.ศ.2521 ว่า "ตึกหลังนี้ตั้งอยู่มุมถนนเจริญกรุง-ถนนมหาไชยเชิงสพานดำรงสถิต (สพานเหล็กบน) สามยอด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นห้างบีกริมแอนด์โก โดยรวมเอาบริษัทสาขา The Bangkok Outfitting co. กับ The Pratoo Samijawt Store เข้าไว้เป็นห้างเดียวกัน ต่อมาเป็นตึกที่ทำการบริษัทไฟฟ้าสยาม คอร์เปอร์เรชั่น (Siam Electric Co.orporation) แล้วต่อมาเป็นตึกที่ทำการบริษัทไทยนิยมพานิช...สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ พร้อมกับตึกกรมการรักษาดินแดนปัจจุบัน...ได้รื้ออาคารหลังนี้ลงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อสร้างโรงแรมสูง ๗ ชั้นขึ้นแทน..."      โดยส่วนตัวเมื่อสังเกตจากภาพถ่ายและเอกสารที่พบเจอมา ผมเข้าใจว่าตึกหลังนี้ได้เป็นที่ทำการ (office) ของบริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัดก่อน แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นที่ทำการของ บริษัท ไฟฟ้าสยามคอปอเรชั่น จำกัดที่เกิดจากการรวมกันของบริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัดกับบริษัท รถรางไทย ทุนจำกัด และต่อมาก็ย้ายไปอยู่ตึกหลังใหม่ที่ว่ากันว่าเป็นตึกหลังแรกที่สร้างด้วยปูนซีเมนต์ที่ผลิดในประเทศไทย (ปูนซีเมนต์บางซื่อ) อยู่ที่โรงไฟฟ้าวัดเลียบซึ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่ เป็นของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน) สำนักงานเขตวัดเลียบ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 ก.ย. 16, 22:34

แผนที่แสดงสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าสำหรับรถรางไฟฟ้าของบริษัท รถรางไทย ทุนจำกัดในเขตวัดเทวราชกุญชร (กรอบเส้นประสีแดง) โรงไฟฟ้าสมัยนั้นมักอยู่ใกล้คลองหรือแม่น้ำเพราะใช้ขนแกลบและใช้น้ำสำหรับเครื่องจักรไอน้ำ โรงไฟฟ้าเป็นระบบผลิตไฟฟ้ากระแสตรงเพราะง่ายต่อการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ในรถรางโดยการใช้ Rheostat (โรงไฟฟ้าของบริษัทไฟฟ้าสยามจำกัดที่จ่ายให้แก่หลอดไฟเป็นระบบผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ)
ขอเสริมอีกหน่อยครับ เพราะอยากให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจว่าประวัติศาสตร์ไทยน่าสนใจจับต้องได้ สามารถใช้วิทยาการสมัยใหม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้ ไม่น่าเบื่อ เป็นอย่างนี้ครับ เนื่องจากรถรางไฟฟ้าต้องมีการควบคุมความเร็วของรถให้ช้าลง เช่นเวลาจอดหรือเวลาออกตัว เทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่สามารถควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ในระบบไฟฟ้ากระแสสลับได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ เพราะการประสงค์ที่จะปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับโดยใช้ตัว Rheostat (ตัวต้านทานไฟฟ้าขนาดใหญ่) เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่ตัวมอเตอร์ลดลงนั้นจะส่งผลให้แรงบิด (Torque) ของมอเตอร์ลดลง (T=V/f) รถรางไฟฟ้าในสมัยนั้นจึงต้องใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสตรง แต่ถ้าเป็นสมัยนี้สบายมากครับโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เช่น PWM INVERTER
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง