เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35820 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ก.ย. 16, 12:36

แรงดันไฟฟ้าขนาด 800 โวลท์ กระแสไฟฟ้า 1600 แอมป์ สำหรับใช้ขับเคลื่อนรถรางให้แล่นได้ ถ้าถูกดูดแล้วไม่ตายนี่ก็ยกให้เป็นยอดมนุษย์หละ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ก.ย. 16, 12:38

เคยเห็นป้ายบอก cable ที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า

สายไฟฟ้าแรงสูงจากโรงไฟฟ้าวัดเลียบวางทอดมากับก้นแม่น้ำ จ่ายไฟไฟ้าให้กับฝั่งจังหวัดธนบุรี ช่วยกับโรงไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซลที่อยู่เชิงสะพานเนาวจำเนียร ริมคลองบางกอกใหญ่ ใกล้สามแยกบางยี่เรือ

จะมีป้ายอีกป้ายหนึ่งที่เขียนว่า "ห้ามเกาสมอ" ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ ทำไมถึงห้ามเกา ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ก.ย. 16, 14:09

ตั่วรถราง รับรองขึ้นแล้วไฟไม่ดูด

Cr. จากเวปสะสม


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ก.ย. 16, 16:35

ตั๋วโดยสารของบริษัทรถรางไทยทุนจำกัดนี้มีในช่วงปลายรัชสมัย ซึ่งรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำสิทธิ์กรรมและเปิดทางรถรางในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2448 อย่างไรก็ตามตั๋วนี้แสดงให้เห็นว่าเคยมีคนขึ้นรถรางแล้วถูกไฟดูด ทำให้ผู้คนเกิดความกลัวไม่กล้าขึ้นรถรางไฟฟ้า ซึ่งบริษัทได้ปรับปรุงแก้ไขจนรับว่าปลอดภัยแล้ว (รถรางไฟฟ้าช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นของบริษัทบางกอกแตรมเวจำกัดก็มีคนไม่กล้าขึ้นโดยสาร บริษัทได้ให้ทดลองโดยสารฟรี ไม่มีตั๋ว)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ก.ย. 16, 09:20

เกาสมอ คือการลากสมอให้ครูดไปกับพื้นท้องน้ำครับ ซึ่งหากบริเวณนั้นมีสายไฟฟ้าอยู่ การเกาสมออาจทำให้สายไฟฟ้าเสียหายได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 ก.ย. 16, 09:47

เครื่องโทรเลข ในวังกรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชา ในพ.ศ. 2408


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.ย. 16, 22:05

รถรางไฟฟ้าหรือรถไอมีหลักการทำงานคือ การขับเคลื่อนเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรง ล้อเหล็กที่สัมผัสกับรางเป็นขั้วลบต่อถึงกันกับมอเตอร์ไฟฟ้า มีตะขอหรือลูกรอกเกี่ยวสายไฟเปลือยที่อยู่เหนือบนหลังคารถประมาณ 2 ศอก ตลอดเส้นทางซึ่งเป็นขั้วบวก ในตัวรถมีมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งต่อเป็นวงจรอนุกรม (เรียงกัน) กับรีโอสตัท (Rheostat) หรือตัวบังคับกำลังไฟฟ้า คือเป็นตัวต้านทานขนาดใหญ่ปรับค่าได้อยู่ใต้ท้องรถ เป็นการควบคุมให้มีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่มอเตอร์ไฟฟ้าตามต้องการ ทำให้การหยุดและออกตัวรถเป็นไปด้วยความนุ่มนวล ไม่ให้รถเคลื่อนออกตัวเต็มกำลังหรือออกตัวแบบกระชาก เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้โดยสารและไม่เกิดความเสียหายแก่สิ่งของสัมภาระที่บรรทุกอยู่บนรถราง ในกรณีที่รถรางไฟฟ้าหยุดหรือเริ่มจะออกวิ่งจะมีแรงดันหรือพลังงานไฟฟ้าที่ตัวรีโอสตัทนี้สูงมาก เมื่อคนขับค่อยๆ ปรับที่บังคับเพื่อลดค่าความต้านทานของรีโอสตัท ก็จะมีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมมอเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การปรับค่าความต้านทานของรีโอสตัทนี้เป็นการเลื่อนของหน้าสัมผัสที่มีกระแสไฟฟ้าสูงไหลผ่านจึงเกิดความร้อนมีควันหรือไอออกมาทางหน้ารถ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “รถไอ”

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ก.ย. 16, 10:54

ตราสัญลักษณ์บริษัท บางกอกแตรมเว จำกัด (รถรางไฟฟ้า)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 ก.ย. 16, 11:22

วันเปิดรถรางไฟฟ้าในกรุงเทพ

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ก.ย. 16, 11:40

ตราสัญลักษณ์บริษัท รถรางไทย ทุนจำกัด (มีนางมะณี เมขลา ฬ่่อแก้ว)
รถรางไฟฟ้าของบริษัท บางกอกแตรมเวจำกัดเริ่มสร้างปี พ.ศ.2434 (ของฝรั่ง)
รถรางไฟฟ้าของบริษัท รถรางไทย ทุนจำกัดสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2448 (ของคนไทย)
ฝากพิจารณาประเด็น "ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ.2427 หลายปี" ด้วยครับ
ต่อไป จะพยายามส่งแผนที่โรงไฟฟ้าของทั้งสองบริษัท เชิงสพานเหล็ก และ วัดเทวราชกุญชร คอยหน่อยครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ย. 16, 15:33

ภาพการเดินพาเหรดเนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในส่วนงานกิจการวางสายโทรเลข เห็นป้ายห้ามถะ และถอนสมอ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ก.ย. 16, 15:52

มีเก่ากว่านี้ไหมล่ะครับ

แฮริสถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (เชื่อว่าบรรดาพวกทูตที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ควรทำการบ้านมาก่อนว่าจะมาพบกับใคร สนใจอะไรเพื่อประโยชน์ทางการทูต ศึกษามาเป็นอย่างดีแล้ว)

ท่านเห็นว่าพระองค์ท่านสนใจเครื่องมือแปลก ๆ ดังนั้นท่านทูตแฮริส จึงนำ "เครื่องใช้ไฟฟ้า" เข้ามาลองอ่านดูละกันว่าคืออะไร

- เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ล่าสุด มีพลังมาก มีแผ่นกระจกหนา 30 นิ้ว ปั่นด้วยลูกยาง 4 ลูก สื่อไฟทองเหลืองรองรับก้านแก้ว 4 ก้าน
- ขวดเลย์เดน เมื่อได้รับไฟฟ้าจะสว่าง
- โลหะปล่อยกระแสไฟฟ้า
- ระฆังไฟฟ้า สั่นได้ด้วยไฟฟ้า มีเสียง 5 ใบ
- ม้านั่งฉนวน เป็นไม้ขัดเงา ถ้าคนนั่งแล้วจะรับประจุกกระแสไฟให้เส้นผมตั้งตรง
- มิเตอร์วัดความแรงไฟ
- กระบอกแล้วบรรจุลูกกลม ทำจากแกนไม้ และลอยได้ด้วยอิทธิพลไฟฟ้า
- บ้านสายฟ้า แสดงผลฟ้าผ่าลงบ้าน
- ชายผมยาว แสดงให้เห็นว่าไฟฟ้าทำให้ผมลุก
- หุ่นจำลองโรงเลื่อยไฟฟ้า
- บ้านติดไฟฟ้า เพื่อแสดงไฟไหม้บ้าน
- นักกีฬาไฟฟ้า มีขนนกหลายอัน กระแสไฟฟ้าทำให้ขนขนปลิว
- ขนนกระจาย ผูกกับทองเหลือง
- เครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงตำแหน่งในระบบสุริยะ หมุนได้ เปล่งแสงออกมาได้
- ที่วางไข่ไฟฟ้า ทำให้ไข่มีแสง
- เครืองบดไฟฟ้า ด้วยระเบิดไฮโดรเจน เสียงดังมาก
- ภาพมหัศจรรย์สำหรับคนกระตุกด้วยไฟฟ้า
- คนขี่ม้า 6 คน ขี่ไล่ด้วยอำนาจไฟฟ้า
- การทดสอบสายตา การกลืนกันของสีและแสง

จะเห็นว่าของเล่นไฟฟ้ามีมากมาย (ลุงไก่คงเหนื่อยแรงในการค้นหาเครื่องมือเหล่านี้  ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ก.ย. 16, 16:29

อ่า ขอบคุณคุณม้า เคยโพสไว้ลืมไปนาน  แฮริสเข้ามาสยาม เมื่อพุทธศักราช 2399
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ก.ย. 16, 23:01

ขอบคุณมากครับ นอกจากหนังสือ Seditious histories: contesting Thai and Southeast Asian pasts โดย Craig J. Reynolds แล้วยังมีแหล่งอ้างอิงอื่นอีกไหม จะหาว่าอุปกรณ์ใดเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ากันแน่ มีกำลังไฟฟ้าและระดับแรงดันไฟฟ้าเหมาะสมที่จะจ่ายให้แก่ของเล่นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้ทั้งหมดเลยหรือ เขาทำได้อย่างไรน่าสนใจมาก มีการสาธิตหรือไม่ อีกประเด็นหนึ่งคือการนำวิทยาการด้านไฟฟ้าเข้ามาในสยามเกี่ยวข้องกับการคาดหวังให้มีการยอมรับการเดินสายโทรเลขมาจากต่างประเทศหรือไม่ เท่าที่ทราบมีความพยายามกันหลายครั้ง สังเกตจากอเมริกาและช่วงเวลา ผมก็คิดไปเรื่อยเปื่อย  ฮืม
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 ก.ย. 16, 00:07

แผนที่โรงไฟฟ้าสำหรับรถรางไฟฟ้า (โรงเครื่องรถไอ) ของบริษัท บางกอกแตรมเว จำกัด
ปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเป็นอย่างไรหนอ? (สะพานเหล็ก)


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง