เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35908 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 22 ต.ค. 16, 21:54

พระราชกรณียกิจเพียงเสี้ยวด้านหนึ่งของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี
มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง คือ พระปิยมหาราช คือ เสด็จพ่อ ร.5 ทรงมีพระราชกระแสต่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ จากกรณีที่ “ไฟฟ้าหลวง” เกิดสภาวะขาดทุนเป็นเวลานาน มีใจความตอนหนึ่งว่า
“เรื่องนี้ที่ขาดทุนมาแต่ก่อน ควรที่เธอจะตรวจตราและคิดอ่านเสียช้านานมาแล้ว ซึ่งทอดทิ้งไว้ไม่คิดอ่านให้ตลอดจนต้องมีผู้อื่นมาร้อนรนแทนดังนี้
เป็นการทำราชการบกพร่องในหน้าที่ ให้ต้องเปลืองพระราชทรัพย์ เป็นความผิดของเธอซึ่งไม่มีทางจะแก้ว่าไม่ผิดได้
จึงขอติเตียนอย่างแรงในข้อที่ทำให้เงินของรัฐบาลต้องเสียไปโดยมิได้คิดอ่านการให้รอบคอบและละเลยไม่ว่ากล่าวพิททูลให้แก้ไข
สืบไปเมื่อหน้าการอันใดในกระทรวงซึ่งเห็นว่าเป็นแต่เปลืองเงินเปล่าไม่ได้ประโยชน์คุ้ม ควรจะแก้ไขลดหย่อนหรือเปลี่ยนแปลงประการใดก็ต้องคิดจัดการโดยเร็วที่สุดอย่าให้เสียเวลา
ถ้าจะจัดไม่ตลอดก็ควรจะพิททูลว่ากล่าวให้ตลอดไป การเรื่องไฟฟ้านี้ก็เห็นว่าเป็นอันขาดทุนเหลือเกินกว่าที่จะทนไปอย่างเดิมได้ จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงการใหม่
แต่เพื่อจะให้เป็นการพรักพร้อมกันทุกหน้าที่ จึงได้สั่งไปยังกระทรวงพระคลังมหาสมบัติให้พร้อมกับเธอและพระยาเทเวศร์ซึ่งจะเป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ ปรึกษากันจัดการเรื่องไฟฟ้านี้เสียให้ทันใน ศก ๑๑๖ ถ้ามีที่จะจัดการได้ดีที่สุดอย่างไร”
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 น/93 น10/3)

พรุ่งนี้วันปิยมหาราชครับ 23 ตุลาคม 2559
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 22 ต.ค. 16, 22:48

พรระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีไทย
พระองค์ทรงหาข้อมูลว่า ทำไมโรงไฟฟ้าถึงต้องใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เพราะมีชาวบ้านเดือดร้อนว่ามีเถ้าแกลบปลิวปกคลุมไปทั่ว
พระองค์ทรงหาข้อมูลว่า โรงไฟฟ้าสำหรับรถรางไฟฟ้าของฝรั่งทำไมถึงมีกำไร โรงไฟฟ้าวัดเลียบช่วงที่เป็นของคนไทยทำไมถึงขาดทุน

3 กันยายน พ.ศ. 2438 ประมาณ 18.00 น. รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินประพาสในพระนครจากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางรถพระที่นั่ง เสด็จขึ้นทรงรถรางไฟฟ้าบริเวณถนนวังแล่นไปจนถึงสะพานเหล็ก เสด็จทอดพระเนตรเครื่องจักรในโรงไฟฟ้าซึ่งผลิตไฟฟ้าให้แก่รถรางของบริษัท บางกอกแตรมเว จำกัด (จากหนังสือพิมพ์กุมารวิทยา ฉบับที่ 3)

17 มกราคม พ.ศ. 2438 ประมาณ 18.00 น. รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินประพาสทางรถพระที่นั่ง เสด็จทอดพระเนตรในโรงไฟฟ้าหลวงที่ วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) เป็นเวลา 15 นาที (จากหนังสือพิมพ์กุมารวิทยา ฉบับที่ 21)

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ใกล้เวลา 19.00 น. รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นทรงรถรางไฟฟ้า ณ ข้างกระทรวงยุทธนาธิการ แล่นตรงจนสุดทางที่บางคอแหลม เสด็จพระราชดำเนิน แล้วเสด็จทรงรถรางแล่นกลับมาถึงพระบรมมหาราชวังเวลา 3 ทุ่มเศษ (จากหนังสือพิมพ์กุมารวิทยา ฉบับที่ 26)

พรุ่งนี้วันปิยมหาราชครับ 23 ตุลาคม 2559
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 27 ต.ค. 16, 22:10

ใบอัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำสิทธิ์กรรมและเปิดทางรถรางของบริษัท รถรางไทย ทุนจำกัด
ในการเสด็จครั้งนี้ทางบริษัทได้กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 ต.ค. 16, 20:18

รายการจดบันทึกตัวเลขของมิเตอร์ไฟฟ้าในเดือนแรกของประเทศไทย
คือได้มีการติดตั้งใช้มิเตอร์ไฟฟ้าโดยได้จดบันทึกการใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2441
แต่เป็นมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่สำหรับวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสถานที่ราชการต่างๆ
หมายถึงว่ามีการเดินสายไฟฟ้าแยกออกต่างหากจากที่จ่ายไฟฟ้าให้แก่บ้านเรือนประชาชนทั่วไป มิเตอร์ไฟฟ้านี้ติดตั้งไว้ที่โรงไฟฟ้า (ไฟฟ้าวัดเลียบ)
ส่วนการคิดค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชนนั้น คิดจากการตกลงว่าแต่ละรายได้ใช้หลอดไฟฟ้าขนาดเท่าไรบ้าง จำนวนเท่าไร กำหนดค่าไฟฟ้าต่อเดือนดวงละเท่าไร เมื่อติดตั้งแล้วจะเปิดหรือปิดไฟก็ต้องเสียเงิน
รายละเอียดจะกล่าวถึงต่อไปครับ


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 10 ธ.ค. 16, 23:23

3 กันยายน 2432 บริษัทไฟฟ้าสยามจำกัดได้ออกจุลสารประกาศแจ้งให้ประชาชนในกรุงเทพฯ บริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าทราบโดยทั่วกัน ชักชวนให้มาสมัครเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ได้ให้เหตุผลถึงข้อดีของการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างว่ามีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการใช้น้ำมันปิโตรเลียมและไม่ทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้านเรือนได้ เวลาใกล้ค่ำหลอดไฟฟ้าจะติดเองและจะดับเองในเวลาเช้าตรู่ (โรงไฟฟ้าจะจ่ายไฟฟ้าออกมาเฉพาะในช่วงเวลาค่ำคืน) ซึ่งได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าตามขนาดของหลอดไฟฟ้าต่อเดือนและแสดงการเปรียบเทียบปริมาณแสงสว่างที่ได้จากหลอดไฟฟ้าขนาดต่างๆ กับตะเกียงหรือโคมไฟน้ำมันให้เข้าใจด้วย ดังนี้

                           ขนาดหลอดไฟฟ้า (วัตต์)        ค่าไฟฟ้าต่อเดือน(บาท)                 มีความสว่างเท่ากับ
                                      5                                    1                             ตะเกียงธรรมดา 1 โคม
                                    10                                    1.50                         โคมไขลาน 1 โคม
                                    20                                    2                             โคมไขลาน 2 โคม
                                    50                                    5                             โคมไขลาน 5 โคม
                                   100                                  10                             โคมไขลาน 10 โคม
(ยุคสมัยนั้นใช้คำว่า “ดวงเทียนไข” หรือ “แรงเทียน” แทนคำว่า “วัตต์” ซึ่งใช้เทียบเคียงความสว่างได้เฉพาะกับหลอดไส้หรือหลอดอินแคนเดสเซนต์เท่านั้น)
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 10 ธ.ค. 16, 23:39

ในส่วนโคมไฟน้ำมันและโคมไฟแก๊สตามท้องถนนหลวงที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระนครบาลนั้น ที่ผ่านมาจะมีการใช้โคมนี้เฉพาะด้านความปลอดภัยในบางสถานที่ให้มีแสงสว่างพอได้เห็นทางสำหรับจับโจรผู้ร้าย ไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่คนเดินทางโดยทั่วไป ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในการสัญจรยามค่ำคืนจึงได้มีการคิดที่จะติดตั้งโคมไฟฟ้าตามถนนหลวงหลายเส้นทางด้วยกัน โดยกำหนดให้ติดตั้งโคมไฟฟ้าสลับเป็นระยะฟันปลา บริเวณถนนในพระนครปักห่างกันเสาละ 12 วา ถนนนอกพระนครปักห่างกันเสาละ 15 วา ซึ่งเป็นเส้นทางเฉพาะที่เคยมีพลตระเวนประจำการอยู่แต่ก่อน ใช้โคมไฟฟ้าขนาด 20 วัตต์จำนวน 1,103 ดวง
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 11 ธ.ค. 16, 17:48

      เมื่อเริ่มตั้งกระทู้ชื่อ “รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี” ผมตั้งใจจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเข้ามาของไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยที่เข้าใจว่าประวัติไฟฟ้าของไทยสมควรที่จะต้องมีการชำระประวัติศาสตร์เสียใหม่
      ด้วยเหตุที่ว่า
          - ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อนที่หลายคนเข้าใจหลายปี
          - หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า รัชกาลที่ 5 ไม่ทรงโปรดไฟฟ้า
          - ประวัติวิวัฒนาการด้านไฟฟ้าของไทยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ขัดแย้งกันอย่างมาก
          - โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชกรณียกิจด้านไฟฟ้าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่ถูกนำมาเปิดเผยให้ทราบกัน แต่กลับมีการเผยแพร่อย่างแพร่หลายว่า “ในช่วงต้นรัชกาล รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" ที่หมายความว่าพระองค์ทรงไม่เชื่อว่าหลอดไฟฟ้าที่ติดบนเพดานคอนกรีตจะมีจริงได้ ทั้งๆ ที่บ้านเมืองไทยในขณะนั้นมีการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ กล่าวคือไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟถูกแปลงเป็นรหัสเช่นโทรเลข ต่อมาก็ถูกแปลงเป็นเสียงเช่นโทรศัพท์ และต่อมาก็ถูกแปลงเป็นแสงสว่างเช่นหลอดไฟไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดอันใดในใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
      ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการนำข้อมูลจากหนังสือต่างๆ เช่นจากหนังสือชีวประวัติของบุคคลที่จัดทำโดยเครือญาติ ที่จัดทำเป็นของขวัญ ของชำร่วย ของแจก ในงานต่างๆ เช่นงานศพ งานฉลองครบรอบคล้ายวันเกิด ต่างๆ เหล่านี้อาจมีเนื้อหาที่มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้สูง เกิดจากการเยินยอแต่งเติมเกินจริง หากผู้ใดนำมาเผยแพร่โดยไม่มีการตรวจสอบ ก็อาจทำให้เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริง
ผมขอแนะนำและขอแจ้งว่า จะขอลงและปรับปรุงเนื้อหาประวัติไฟฟ้าไทยและพระราชกรณียกิจด้านไฟฟ้าของรัชกาลที่ 5 แบ่งเป็น 3 ตอน (ขณะนี้มี 2 ตอน) ในเว็ปพันทิปเพื่อให้มีความสมบูรณ์ละเอียดมากยิ่งขึ้น ระบุอ้างอิงหลักฐานชั้นปฐมหรือเอกสารตั้งต้นให้มากขึ้น จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงรัชกาลที่ 6 และ 7 ตามลำดับในตอนอื่นเป็นโอกาสต่อไป ดังนี้
                   ประวัติไฟฟ้าไทย - Pantip         http://pantip.com/topic/35302930
                   ประวัติไฟฟ้าไทย (ตอนที่ 2) – Pantip      http://pantip.com/topic/35383731
   เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ทราบถึงพระราชกรณียกิจจำนวนมากที่เกี่ยวกับไฟฟ้าไทย ในช่วงรัชสมัยภายใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยในพระบรมราโชบายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงมีพระราชปณิธานและพระราชประสงค์ ทั้งทรงพยายามเต็มพระมหาพิริยุตสาหะทะนุบำรุงเป็นที่สุด มิได้ทรงคำนึงถึงความลำบากเหนื่อยยากพระสกนธ์กายและพระราชหฤทัย แม้พระองค์ทรงเป็นอรรคบริโสดมบรมสุขุมาลชาติเพื่อพระราชประสงค์จะให้บังเกิดสุขประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน บรรดาเป็นผลให้สยามประเทศเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ไฟฟ้าไทยจึงได้วิวัฒนาการเจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบันนี้
   ผมมีความมุ่งหวังให้มีการชำระประวัติศาสตร์ มีการแก้ไขพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ถูกต้อง
 นำไปสู่การเชิดชูพระองค์ทรงเป็น “พระบิดาแห่งการไฟฟ้าไทย”
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 15 ธ.ค. 16, 10:47

ช่วงนี้อาจจะเงียบๆไปบ้าง แต่ผมก็ยังตามอ่านอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 04 ม.ค. 17, 20:10

ขอบคุณมากครับคุณ Naris
สวัสดีปีใหม่ครับ ขอให้ทุกท่านหมั่นดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ทานอาหารครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอนะครับ
จะอวยพรให้ไม่เจ็บไม่ไข้ก็คงจะฝืนกฏธรรมชาติและผมก็ไม่ใช่ผู้วิเศสซะด้วย ฮา  ยิ้มเท่ห์

คือว่าผมตั้งใจจะลงประวัติไฟฟ้าไทยเป็นสารานุกรม (ตามลำดับกาลเวลา) จึงได้ลงในพันทิป ซึ่งสามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนได้ ที่ต้องมีหลายตอนเพราะมีขีดจำกัดตอนละไม่เกิน 10,000 ตัวอักษร
ส่วนเวปคุณภาพอย่างเรือนไทยนี้เช่นกัน ผมก็จะเขียนลงต่อไปหละครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 04 ม.ค. 17, 20:19

สวัสดีปีใหม่ค่ะ    ยินดีที่เห็นคุณสมบัติกลับมาอีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 04 ม.ค. 17, 21:11

ขอบคุณมากครับคุณ เทาชมพู
งั้นขอต่อเลยครับ
เป็นเรื่องของโทรศัพท์ (ไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นเสียง)

8 มิถุนายน พ.ศ. 2421 เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดีได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีความตอนหนึ่งว่า

   ด้วยมิสเตอร์เฮลเยลเจ้าของตะละฟอลที่ส่งเข้ามาครั้งก่อน ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าส่งให้เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์นำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายนั้น
   บัดนี้มิศเตอเฮลเยลเข้ามาด้วยเรือราชาณัฒถึงกรุงเทพฯ แต่เวลาวานนี้ เวลาวันนี้มิศเตอเฮลเยลมาหาข้าพระพุทธเจ้า ถามข้าพระพุทธเจ้าว่าตัวอย่างตะละฟอลที่ได้ส่งเข้ามาครั้งก่อนนั้น คอเวอนแมนต์สยามเหนว่าจะใช้ได้ฤาไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้แจ้งกับเขาว่า ตัวอย่างตะละฟอลนั้นข้าพระพุทธเจ้าได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทดลองดู ก็เหนว่าที่พูดกันไปมาได้ยินแต่ไม่สู้เข้าใจชัดดี มิสเตอร์เฮลเยลว่าการที่ทำนั้นเหนจะไม่สู้เรียบร้อยดีจึ่งฟังไม่เข้าใจ มิศเตอเฮลเยลจะขอทำให้ข้าพระพุทธเจ้าดู เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพูดเหนว่าเข้าใจดีแล้ว ขอให้ข้าพระพุทธเจ้านำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าลอองฯ
   เวลาบ่ายวันนี้ข้าพระพุทธเจ้าให้มิศเตอเฮลเยลผูกสายลวดตั้งแต่บ้านข้าพระพุทธเจ้าไปถึงบ้านพระยามนตรีสุริยวงษ์เปนทางสายลวด ๔ เส้น ๑๗ วา แล้วมิศเตอเฮลเยลได้พูดไปมาให้ข้าพระพุทธเจ้าฟัง
   ถ้ามิศเตอเฮลเยลพูดแล้วผู้ใดฟังก็เข้าใจได้ถนัด แต่ถ้าผู้อื่นพูดแล้วฟังไม่เข้าใจถนัด ต้องพูดหลายครั้งจึ่งฟังได้ความ แต่ถ้าคนอื่นพูดไปแล้วมิสเตอเฮลยลเข้าใจตอบมาถูกทุกคำ
   ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯ ว่า เหนจะเปนโดยชำนาญที่ฟังเสียงนั้นจึ่งเข้าใจได้ง่าย มิศเตอเฮลเยลคนนี้เปนคนชาวเยอรมันดูกิริยาก็เปนคนเรียบร้อย มิศเตอเฮลเยลอยากจะขอเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท จะได้กราบบังคมทูลอธิบายวิธี ในการที่จะใช้ตะละฟอลให้เข้าใจกันนั้นให้ทรงทราบใต้ฝ่าละออง
ถ้าจะทรงพระกรุณาโปรดให้มิศเตอเฮลเยลลองทำทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงทอดพระเนตรเปนตัวอย่าง ตั้งแต่เมื่อสมุทปราการขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นี้ก็ได้ ด้วยสายโทระเลขมีอยู่แล้ว ...
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 04 ม.ค. 17, 21:34

9 มิถุนายน พ.ศ. 2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังเจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี มีความตอนหนึ่งว่า
   ด้วยเธอจดหมายมาว่าด้วยเรื่องเตเลโฟนนั้นได้ทราบแล้ว เหนว่าทางปากน้ำไม่ลำบากสิ่งใด ลองติดเข้าดูใช้ได้ก็เปนการดี ฉันก็อยากจะมีตั้งแต่บางกอกไปบางปอินบ้าง ดูเหมือนอาลบาสเตอได้ถามเมชันไปแล้ว
   การที่จะลองนี้ ให้เธอกำหนดวันจะทำได้วันใด ก็ให้เขาไปจัดการที่ออฟฟิชโทรเลขทั้งสองแห่งเถิด...
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 รล-พศ/2 หน้า 435)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 ม.ค. 17, 07:32

9 มิถุนายน พ.ศ. 2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังเจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี มีความตอนหนึ่งว่า
   ด้วยเธอจดหมายมาว่าด้วยเรื่องเตเลโฟนนั้นได้ทราบแล้ว เหนว่าทางปากน้ำไม่ลำบากสิ่งใด ลองติดเข้าดูใช้ได้ก็เปนการดี ฉันก็อยากจะมีตั้งแต่บางกอกไปบางปอินบ้าง ดูเหมือนอาลบาสเตอได้ถามเมชันไปแล้ว
   การที่จะลองนี้ ให้เธอกำหนดวันจะทำได้วันใด ก็ให้เขาไปจัดการที่ออฟฟิชโทรเลขทั้งสองแห่งเถิด...
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 รล-พศ/2 หน้า 435)

อยากทราบว่า ลักษณะการพูดจาของเตเลโฟน ในครั้งนั้นพูดจากันอย่างไร และหมุนเบอร์อะไร ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 05 ม.ค. 17, 09:36

เขาใช้ operator เป็นผู้เชื่อมสายให้ครับ
ยกหูพูดกับเธอ แล้วบอกให้ต่อไปคนโน้นคนนี้ เธอก็จัดการให้เหมือนที่บางแห่งก็ยังใช้อยู่นี่แหละ เพียงแต่ระบบของอุปกรณ์ต่างกันเท่านั้น


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 07 ม.ค. 17, 19:58

ในช่วงแรกๆ โทรศัพท์เป็นระบบแม็กนีโตซึ่งจะต้องมีแบตเตอรี่ประจำตัวเครื่อง

        กรณีที่เป็นการทดลองใช้เครื่องโทรศัพท์ระบบแม็กนีโตจำนวน 2 เครื่องที่กล่าวถึงนี้ จะต่อสายสัญญาณถึงกันโดยตรง โดยผู้เรียกจะหมุนคันหมุนที่เครื่องโทรศัพท์เพื่อสร้างสัญญาณทำให้กระดิ่งที่เครื่องโทรศัพท์ของผู้รับดัง ผู้รับจึงยกหูโทรศัพท์เพื่อรับสายพูดคุยกัน

        ส่วนกรณีที่มีโทรศัพท์ในระบบชุมสายตั้งแต่ 3 เครื่องขึ้นไป ระบบนี้ไม่สามารถโทรติดต่อหรือหมุนเลขโทรศัพท์ไปยังผู้รับได้โดยตรง จะต้องแจ้งผ่านชุมสายโทรศัพท์ โดยผู้เรียกจะหมุนคันหมุนที่เครื่องโทรศัพท์ สัญญาณไฟจะไปติดที่ชุมสาย ซึ่งจะมีพนักงานคอยรับแจ้งความประสงค์ว่าต้องการติดต่อกับผู้ใด พนักงานก็จะส่งสัญญาณให้กระดิ่งที่เครื่องโทรศัพท์ของผู้รับดัง เมื่อมีผู้รับสายพนักงานก็จะเสียบแจ็คสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อสายให้พูดคุยกัน เมื่อคุยกันเสร็จแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องหมุนคันหมุนที่เครื่องโทรศัพท์เพื่อส่งสัญญาณให้พนักงานทราบว่าได้พูดคุยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว พนักงานก็จะถอดแจ็คสายสัญญาณเพื่อยกเลิกการเชื่อมต่อ

   หมายความว่าโทรศัพท์ในสมัยนั้นยังไม่เป็นแบบหมุนที่สามารถหมุนเลขโทรหาผู้รับได้โดยตรง จะต้องแจ้งให้พนักงานที่ชุมสายโทรศัพท์เป็นผู้เชื่อมต่อให้ แต่ถ้าระบบใดมีเพียง 2 เครื่องก็ไม่ต้องมีชุมสายโทรศัพท์ที่มีพนักงานคอยต่อสายให้ ต่อสายถึงกันได้โดยตรง

        อย่างไรก็ตามแสดงว่า อย่างช้าคือในปี พ.ศ. 2421 โทรศัพท์ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางไฟฟ้า (ไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นเสียง) ได้เข้ามาในประเทศไทยแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้ทรงทราบและทรงโปรดให้มีการทดลองใช้เครื่องเครื่องโทรศัพท์ด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง