เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
อ่าน: 35618 รู้ไหม? ไฟฟ้าเข้ามาในไทยก่อน พ.ศ. 2427 หลายปี
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 11:27

หลอดไฟฟ้ากระแสสลับของเอดิสัน ที่ทำให้ความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอายุใช้งานยาวนานนับพันชั่วโมง และไม่ต้องใช้แบตตารี่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 11:57

แบตตารี่ไฟฟ้ากระแสทางตรงสำหรับหลอดไฟให้แสงสว่างแบบ arc lamp นั้น ในรัชกาลที่ ๕ สั่งแบบไหนจากใครมาไม่ทราบ แต่หน้าตาคงไม่พ้นของโบราณแบบหนึ่งแบบใดในนี้้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 11:58

และเครื่องชาร์ตแบตตารีก็เทอะทะพอกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 12:51

หนังสือกราบบังคมทูลของเจ้าหมื่นไวยวรนารถเรื่องไฟฟ้าโรงทหารนั้นอ่านยากมาก จับความได้อยา่งเดียวว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงมีส่วนช่วยสืบราคา ดังนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวจึงน่าจะเป็นของที่ทำในอังกฤษ พอดีกับจังหวะนั้น J.E.H. Gordon วิศวกรอังกฤษได้สร้างขึ้นสำเร็จพอดี หน้าตาก็อย่างนี้แหละครับ


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 14:49

กรณีหนังสือกราบบังคมทูลของเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ได้เคยลงไว้ในความคิดเห็นที่ 101 ส่วนหนึ่งว่า

เป็นการที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้มีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 (ก่อนวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ไม่ถึง 2 เดือน) มีความตอนหนึ่งว่า
 
          เมื่อเดิมข้าพระพุทธเจ้าได้ขอพระบรมราชาณุยาท ที่จะคิดทำเครื่องไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงทหาร แลโปรดเกล้าฯ
ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นปจักษศิลปาคมกะดวงไฟที่จะใช้ในที่ต่างๆ แลจะจัดใช้เครื่องสติมสำหรับหุงต้มเลี้ยงทหารแลการอีกหลายอย่าง
ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุยาทแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งบาญชีของที่จะต้องการต่างๆ ออกไปให้
พระวงษเธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ให้สืบราคา ได้ทำเอศติเมศส่งเข้ามายังข้าพระพุทธเจ้าฯ ได้ตรวจดู เหนเปนเงินนั้นมาก
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลปฤกษากับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทววงษวโรประการให้ทรงทราบ ท่านรับสั่งว่าเงินแผ่นดินยังหามีจะภอจ่ายไม่
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะจัดการไปก่อน ภอจะไม่ให้เสียการ แลจะไม่ให้เสียพระราชทรัพย์ของแผ่นดินมาก แต่การไฟที่จะใช้ในโรงทหารใหญ่นั้น
ข้าพระพุทธเจ้ายังมีความวิตกเปนล้นเกล้าฯ ด้วยจะต้องใช้ไฟหลายร้อยดวงไฟ ไฟที่กะไว้นั้นภอสว่างภอที่จะเดิรไปมาไม่โดนของที่ตั้งอยู่เท่านั้น
แต่ไฟเวลานี้ก็ต้องใช้น้ำมันปิดเตลียม เพราะเปนน้ำมันถูกกว่าน้ำมันไฟอื่นๆ แต่โสหุ้ยต้องเสียมาก คือต้องซื้อโคมในคราวแรก
ค่าไส้ตะเกียงที่ต้องใช่อยู่เสมอ ๑ ค่าโคมชำรุธ ๑ ค่าน้ำมัน ๑ แล้วโคมที่ใช้น้ำมันตั้งร้อยดวงดังนี้แล้ว ก็คงจะมีเอกซิเดนบ้างเปนแน่
ท่าน้ำมันตกติดไฟขึ้นก็เปนที่น่ากลัวมาก บางทีจะเปนอันตรายใหญ่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ ดังนี้จึงได้มีความวิตกเปนล้นเกล้าฯ
ไม่ทราบเกล้าฯ ว่าจะผ่อนผันใช้ไฟอย่างไรให้เปนที่ไว้ใจได้....
(จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสเอกสาร มร 5 นก/36 หน้า 918-919)

ประมาณว่า 28 กรฎาคม 2427 ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลอีกครั้ง จากที่ครั้งก่อนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุณาตแล้ว แต่เงินหลวงไม่พอ
คาดว่าครั้งหลังนี้คงได้พระบรมราชานุญาตด้วยงบประมาณที่สูง แต่ใช้ติดตั้งไฟฟ้าในโรงทหารน่าเท่านั้น
ไม่ใช่ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ"   ที่ทำให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถไปขายที่ดิน 180 ชั่งเพื่อซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ในปี 2426 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้หลวงปฏิบัติราชประสงค์ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างในพระบรมมหาราชวังรวมทั้งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปก่อนแล้ว ดังที่ได้กล่าวไปแล้วตามความคิดเห็นที่ 79 และ 80


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 15:07

กรณี หลอด incandescent ของเอดิสัน เป็นหลอดไส้ธรรมดาเหมือนที่ใช้กันอยู่
ใช้กับไฟตรง เช่นหลอดไฟฉาย ไฟรถจักรยาน มอเตอร์ไซด์ รถยนต์
ใช้กับไฟสลับ เช่นโคมไฟอ่านหนังสือ ใช้ในห้องอาหาร หรือเป็นไฟสีประดับ (หลอดปิงปอง)
ถ้าระดับแรงดันไฟฟ้าเท่ากันก็ใช้แทนกันได้
เมื่อไส้หลอดขาดก็คือเสีย

เอดิสันผลิตหลอดไฟที่ไส้หลอดขาดยากขึ้นได้แล้ว ก็ทำธุรกิจสร้างโรงไฟฟ้ากระแสตรงจ่ายให้แก่หลอดไฟตามบ้านเรือนในเมือง ในวงแคบๆ
ต่อมาบริษัทเวสติ้งเฮาส์ได้สร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้หลักการของนิโคล่า เทสล่า ซึ่งสามารถขยายพื้นที่ไปได้ไกลกว่า
โดยผลิตไฟฟ้าแรงดันสูงๆ แล้วจ่ายไปไกลๆ ใช้หม้อแปลงไฟฟ้าลดแรงดันเอา
จึงทำให้สามารถสร้างไฟฟ้าจากพลังน้ำตามเขื่อนได้ กิจการของเอดิสันจึงต้องยุติไป

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 20:09

วันจันทร์ 21 มิถุนายน 2423

ในตอนหาเครื่องตกแต่งพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ความว่า "แล้วกรมภูธเรศกับพระยานรรัตน์เข้าเฝ้าขอซ่อมทองคำแว่นฟ้า แล้วพระองค์เจ้าทองใหญ่เฝ้าทรงด้วยโคมไฟฟ้า ซึ่งจะติดเสาใหญ่พระเมรุกับรับสั่งให้ทำระย้าแขวนพระเมรุด้วย"

วันที่ 27 มิถุนายน 2423
เวลา 2 ทุ่มเสด็จออกหอธรรมสังเวช รับสั่งกับกรมพระยาบำราบปรปักษ์ จะทอดพระเนตรไฟฟ้าที่ท่านมีอยู่ วันนี้ท่านมาจุดทูลเกล้าฯถวายอัฏฏวิจาร ณ ศาลา ใช้แบบตารี่ 100 หนึ่ง แต่ไม่ได้ประทับทอดพระเนตรด้วยฝนตก

วันที่ 28 มิถุนายน 2423
เวลา 2 ทุ่ม วันนี้ไม่ได้ประทับอัฏฏวิจารศาลา และที่ทิมคดมหาปราสาท ซึ่งสมเด็จกรมพระบำราบปรปักษ์ทรงจัดโคมไฟฟ้าทูลเกล้าฯ ถวายครู่หนึ่งแล้วเสด็จขึ้น ใช้ 310 แบบตารี
ขอบคุณ คุณ Siamese มากครับ ที่ได้นำข้อมูลที่สำคัญมาลงให้อยู่หลายครั้ง รวมถึงเรื่องที่ทรงทอดพระเนตรเกี่ยวกับไฟฟ้า ณ สิงคโปร์เมื่อปี 2419 ด้วย
ทำให้ผมเข้าใจพระอัจฉริยภาพด้านไฟฟ้าของรัชกาลที่ ๕ ช่วงก่อนปี 2427 ได้ง่ายขึ้น
อย่างเช่นกรณีการตระเตรียมงานพระเมรุนี้ เมื่อได้เข้าไปอ่านแล้ว มีคำว่า
แล้วพระองค์เจ้าทองใหญ่เฝ้าทรงด้วยโคมไฟฟ้า ซึ่งจะติดเสาใหญ่พระเมรุ กับรับสั่งให้ทำระย้าแขวนพระเมรุด้วย (วันจันทร์ 21 มิถุนายน 2423 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง)
แต่ไม่ได้ประทับทอดพระเนตรด้วยฝนตก รับสั่งให้จุดพรุ่งนี้อีกวันหนึ่ง (วันที่ 27 มิถุนายน 2423 แรม 6 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง)
อีกทั้งเมื่อได้ทราบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับโทรเลขและโทรศัพท์ซึ่งมีก่อนหน้านั้นด้วยแล้ว
และจากการที่พระองค์ทรงได้รับการถวายหนังสือพิมพ์จากชาวต่างชาติอยู่หลายครั้งตามในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงไม่แปลกใจเลย ว่าทำไมหนังสือกราบบังคมของหลวงปฎิบัติราชประสงค์ในปี 2426 ที่มีรายละเอียดทางเทคนิคค่อนข้างมากจะเป็นที่ทรงเข้าพระทัยได้
และไม่แปลกใจเลยอีกเช่นกัน ว่าทำไมหนังสือกราบบังคมทูลของเจ้าพระยามหินธรศักดิ์ธำรงค์ ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2423 ตามที่ได้กล่าวถึงบ้างแล้วในต้นกระทู้นี้ ที่ซึ่งมีรายละเอียดน้อยมากจะเป็นที่ทรงเข้าพระทัยได้




บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 20 ก.พ. 18, 20:03

น่าจะมีประโยชน์ต่อการพิจารณาบ้างครับ
https://pantip.com/topic/37304619
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 14:19

เอดิสันสร้างไฟฟ้ากระแสตรง
เทสล่าสร้างไฟฟ้ากระแสสลับ
หลอดไส้ (incandescent) ใช้ได้กับทั้งระบบไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
จากสื่อต่างๆ จะประมาณนี้ (นาทีที่ 19)

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 11 มี.ค. 18, 14:40

น่าจะมีประโยชน์ต่อการพิจารณาบ้างครับ
https://pantip.com/topic/37304619
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าถ้าเป็นเรื่องจริงเจ้าหมื่นไวยวรนารถก็จะต้องซื้อหลอด arc lamp
อย่างไรก็ตาม ทั้งหลอด incandescent และหลอด arc lamp ใช้ได้กับทั้งระบบไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ

บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 23 มี.ค. 18, 12:26

กรณี หลอด incandescent ของเอดิสัน เป็นหลอดไส้ธรรมดาเหมือนที่ใช้กันอยู่
ใช้กับไฟตรง เช่นหลอดไฟฉาย ไฟรถจักรยาน มอเตอร์ไซด์ รถยนต์
ใช้กับไฟสลับ เช่นโคมไฟอ่านหนังสือ ใช้ในห้องอาหาร หรือเป็นไฟสีประดับ (หลอดปิงปอง)
ถ้าระดับแรงดันไฟฟ้าเท่ากันก็ใช้แทนกันได้
เมื่อไส้หลอดขาดก็คือเสีย
แก้ไขครับ เปล่ี่ยนเป็นไฟรถจักรยานใช้กับไฟสลับ
พูดถึงสมัยก่อน หลอดไฟรถจักรยานต่อกับไดนาโมหรือไดจักรยานที่สร้างไฟฟ้ากระแสสลับมีแกนหมุน (rotor) สัมผัสกับวงล้อจักรยาน แกนหมุนเป็นแม่เหล็กถาวร ส่วน frame มีขดลวด (stator) ต่อสายไฟไปยังหลอดไฟหน้ารถจักรยาน
สมัยก่อนมีการใช้แทนกันระหว่างหลอดไฟจักรยานกับหลอดไฟกระบอกไฟฉายที่ใช้ไฟตรงจากถ่านตรากบ ตราห่าน ฯลฯ แต่ถ้าใช้แทนกันขนาดไม่เหมาะสมหลอดจะขาดง่าย
มีบางคนเรียกซื้อหลอดไฟตามจำนวนถ่านไฟฉาย เช่นแบบถ่าน 2ก้อน 3ก้อน หรือ 4ก้อน
คือหลอดไส้ใช้ได้กับไฟตรงและไฟสลับ
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 24 มี.ค. 18, 10:16

ในช่วงต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ จะใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นตัวต้นกำลังให้แก่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องสูบน้ำ
กรณีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยคร่าวๆ แล้วมีทั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ

ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงใช้ในกิจการไฟฟ้าแสงสว่าง โทรเลข โทรศัพท์ รถรางไฟฟ้า ซึ่งทั้งโทรเลขโทรศัพท์และรถรางไฟฟ้าโดนหมากบังคับให้ต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงมีแบตเตอรี่เพราะระบบการทำงานเป็นตัวกำหนด เช่นรถรางไฟฟ้ามีข้อจำกัดเรื่องการควบคุมความเร็วของรถรางดังที่ได้กล่าวไว้แล้วอย่างละเอียด รถรางไฟฟ้านี้ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจ่ายให้แก่หลอดไฟฟ้าหน้ารถ

ต่อมาไม่นานก็ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับในกิจการไฟฟ้าแสงสว่างที่สามารถส่งไฟฟ้าไปได้ไกลๆโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าตั้งปรับแรงดันในสถานที่ต่างๆ ให้เหมาะสม สมัยนั้นได้เกิดเหตุไฟฟ้าดับๆ ติดๆ อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเกิดจากคุณภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและความรู้ความเข้าใจทำให้เกิดความเสียหายแบบปัจจุบันทันด่วนเมื่อเครื่องปั่นไฟเสียไฟก็ดับก็ต้องจุดเทียนจุดตะเกียงกัน
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 29 มี.ค. 18, 15:46

เกี่ยวกับคำว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” ในหนังสือประวัติการของจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ตีพิมพ์ พ.ศ. 2504 มีว่า “เคยมีพระบรมราชกระแสรับสั่งอยู่เสมอว่า”


บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 29 มี.ค. 18, 19:06

ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นคำเหล่านี้

https://th-th.facebook.com/ElectricalRm/photos/a...115230.../1167701296576602
แต่ทว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รับสั่งว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัด ข้าไม่เชื่อ”. จหมื่นไวยวรนาถ มาพิจารณาที่ท้องพระโรงในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อตอนที่มีงานต้องใช้เทียนไขจุดหลายร้อยแท่งบนระย้า กว่างานจะเลิก ต้องเปลี่ยนถึงสองสามครั้ง และเปลี่ยนยากเพราะอยู่สูง. ต่อมาเปลี่ยนมาใช้โคมน้ำมันก๊าด ก็ยังยุ่งยากเพราะต้องมีปูนขาวเตรียมไว้ดับไฟ ...

https://www.gotoknow.org › หน้าแรก › จุ้ม › สมุด › บล็อกแรกวือาเคเคอืเอส
กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า เมื่อกลับมาเมืองไทยจึงคิดว่า เมืองไทยน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารย ประเทศ และการนี้จะทำให้สำเร็จได้คงต้องเริ่มภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีพระราชดำรัสว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" เมื่อเป็นเช่นนี้ ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=embracingislam&month=14...
14 ธ.ค. 2548 - ... สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า เมื่อกลับมาเมืองไทยจึงคิดว่า เมืองไทยน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ และการนี้จะทำให้สำเร็จได้คงต้องเริ่มภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีพระราชดำรัสว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" เมื่อเป็นเช่นนี้จมื่นไวยวรนาถ ...

www.theccn-news.com/1828-54_ปี_กฟน._ฟันกำไรปี_55_โตกว่า_5,894.79_ล้าน...
30 มิ.ย. 2555 - ... (Paris) ประเทศฝรั่งเศส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้าเมื่อกลับมาเมืองไทยจึงคิดว่า เมืองไทยน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ และการนี้จะทำให้สำเร็จได้คงต้องเริ่มภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีพระราชดำรัสว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" เมื่อเป็นเช่นนี้ ...

https://hilight.kapook.com/view/142340
19 ก.ย. 2559 - ... แสงชูโต) เมื่อครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นไวยวรนาถ ได้เป็นอุปทูตไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเห็นเมืองที่สว่างไสวด้วยไฟฟ้าจึงนำมากราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ไฟฟ้า หลังคาตัด ข้าไม่เชื่อ" เมื่อได้ยินดังนั้น จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงกราบทูลขายที่ดินให้กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ ...
บันทึกการเข้า
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 31 มี.ค. 18, 18:32

น่าจะมีความเข้าใจต่อคำว่า ทรงรับสั่งว่า “ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ” ต่างกันอยู่ 2 อย่าง
อย่างที่ 1 หมายถึงพระองค์ทรงทราบว่าหลอดไฟฟ้าแสงสว่างมีอยู่จริง แต่มีปัญหาไม่น่าเชื่อถือ
อย่างที่ 2 หมายถึงพระองค์ทรงไม่เชื่อว่าหลอดไฟฟ้าแสงสว่างจะมีจริง

คาดว่าผู้คนโดยมากเข้าใจเป็นอย่างที่ 2 ซึ่งเป็นที่เผยแพร่กัน อย่างเช่นที่ครูอาจารย์นำไปสอนเด็กนักเรียนระดับ ม. ต้นอยู่ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง เผยแพร่กันประมาณว่าในช่วงต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ไฟฟ้าแสงสว่างยังไม่มีในไทย ยังไม่มีใครเคยเห็นหลอดไฟส่องแสง เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้กราบบังคมทูลไปเห็นมาในต่างประเทศ แต่พระองค์ทรงรับสั่งว่า ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ เจ้าหมื่นฯ เห็นว่าถ้าจะให้มีไฟฟ้าในไทยได้ต้องลงทุนขายที่ดินของตัวเองเพื่อติดตั้งให้ดูกันว่ามีจริง เมื่อทดลองจุดหลอดไฟมีผู้คนตื่นตาตื่นใจจากแสงไฟประหลาดกันแน่นขนัด ต่อมาพระองค์ทรงทราบเรื่องก็ให้ติดไฟในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นับหลอดไฟฟ้าสว่างไสวเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในวันที่ 20 กันยายน 2427 วันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาชนรุ่นหลังยกย่องเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจ้าหมื่นไวยวรนารถ) ให้เป็นบิดาแห่งการไฟฟ้าไทย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง