เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 20764 บ้านหรือวังผู้ใด ตั้งริ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สวยสง่า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ส.ค. 16, 21:31

ขยายให้ดูชัดๆขึ้นอีกค่ะ
ไม่ใช่ตึกหลังเดียวนะคะ เป็นหมู่ตึก 3 หลัง ขนาดสองชั้น ใหญ่โตโอ่อ่า
ตึกประธานอยู่ตรงกลาง  ขนาบด้วยตึกซ้ายขวา
หลังซ้าย   ทางด้านหน้าต่อเป็นอาคารชั้นเดียวแบบฝรั่ง ยื่นออกมาคล้ายห้องประชุม
คงจะไม่ได้ใช้ประโยชน์สำหรับเจ้าของบ้าน เอาไว้กินข้าวหรือทำครัวแน่นอน

อาคารต้อนรับแขกเมือง?



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 ส.ค. 16, 21:34

ซูมให้ดูค่ะ 


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 08:18

แต่สถานที่ตรงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯพระราชทานให้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือกรุงเทพ ตำหนักที่เห็นคงไม่ได้สร้่างในสมัยกลางหรือปลายรัชกาล แม้ขยายภาพดู ในปีที่ถ่ายนั้นสภาพอาคารก็ชำรุดทรุดโทรม เจ้าของไม่น่าจะอยู่เสียแล้ว และน่าแปลกที่พื้นที่ของวัดซึ่งอยู่ถัดไป ดูจะเป็นที่ตั้งของเมรุหลวงวัดอรุณ เวลาเผาศพกันในสมัยนั้นกลิ่นคงมาถึง บุคคลใหญ่โตมีอำนาจวาสนาจึงไม่น่าจะทนอยู่อาศัยได้

นอกจากว่าจะเป็นมณฑป

ขอถอนคำว่าเมรุหลวงวัดอรุณไปก่อนที่คุณหนุ่มสยามจะบังคับผมก็แล้วกันครับ

อาคารยอดแหลมสี่เหลี่ยม คือ มณฑปพระพุทธบาท ครับผม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 09:40

ภาพมุมเดียวกันอยู่ในกลุ่มภาพถ่ายของเบอร์เจอร์ เข้ามาถ่ายภาพไว้ พ.ศ. 2412 ต้นรัชกาลที่ 5 ไม่พบอาคารดังกล่าวเลย  ฮืม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 09:50

งั้นก็สร้างทีหลัง 
ที่เดาว่าเป็นกลางหรือค่อนไปทางปลายรัชกาลที่ 5  เพราะลักษณะบ้านหลังกลาง คล้ายกับที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บรรยายไว้ถึงบ้านของเจ้าคุณพ่อของแม่พลอย  ท่านบอกว่าเป็นบ้านที่ทันสมัยในยุคแม่พลอยอายุ 10 ขวบ  ก็ตกอยู่ตอนกลางรัชกาลที่ 5 ค่ะ

ซูมภาพเข้าไปดูแล้ว    ไม่เหมือนบ้านคนอยู่อาศัยค่ะ 
อาคารทางขวา หน้าต่างเปิด มีร่องรอยคนอยู่อาศัย  แต่หลังกลางที่ใหญ่โตกว่าเพื่อนดูเงียบเหงา หน้าต่างปิดเกือบหมด   ในเมื่อสร้างหน้าต่างรายรอบตัวบ้านชั้นบน เหมือนจะให้ลมเข้าได้เต็มที่  แล้วปิดเสียทำไมเกือบหมด
บันทึกการเข้า
chakad77
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 13:38

น่าจะเป็นพระตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ก่อนที่จะสร้างตำหนักอีกหลังติดกัน ที่เรามักเห็นภาพกันอยู่บ่อยๆ


จากข้อความนี้

ภาพนี้คือภาพพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (พระยศในขณะนั้น) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ จาตุรนต์รัศมี ทรงจัดซื้อสิ่งของวก่อสร้างด้วยพระองค์เองและโปรดฯให้ นายสเตฟาโน คาร์ดู (Stefano Cardo) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง
ตัวตำหนักเป็นอาคาร ๓ ชั้น ก่ออิฐถือปูน ใช้โครงสร้างผนังรับตำหนัก ทางเข้าด้านหน้าทำเป็นเฉลียง มีบันไดโค้ง ๒ ข้างสมมาตรกัน ด้านหลังตำหนักมีปีกอาคาร ๒ ข้างเป็นตึกสูง ๒ ชั้นล้อมลานโล่งตรงกลาง (คล้ายๆกับลักษณะตัวอาคารพระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท พระรามราชนิเวศน์ นั้นเองค่ะ) พื้นชั้นล่างปูกระเบื้องหน้าวัว พื้นชั้นบนปูกระดานไม้สัก พื้นเฉลียงปูหินอ่อนจีน หลังคามุงสังกะสี
ทว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ สมเด็จเจ้าฟ้าฯจาตุรนต์รัศมี ไม่โปรดมาประทับ จึงทรงสร้างตำหนักใหม่ขึ้นอีกหลังหนึ่ง ถัดออกมาทางฝั่งวัดอรุณราชวราราม เรียกกันว่า "เก๋งจักรปีก" ทำเป็นตึก ๒ ชั้น โครงสร้างก่ออิฐถือปูน ชั้นล่างปูไม้กระดานและกระเบื้องอิตาเลี่ยน พื้นชั้นบนปูกระดานไม้สัก หลังคาปั้นหยาความสูงต่างๆกัน มุงสังกะสี ที่มุมทั้ง๔ ทำเป็นโดมขนาเล็ก ตรงกลางตำหนักทำหลังคาแบบมังซาร์ด (Mansard) มุงด้วยสังกะสีตัดเป็นเกล็ด ชายคาประดับด้วยสังกะสีฉลุลาย
ในภาพมุมขวาล่างเราจะเห็นลักษณะสถาปัตยกรรมของเก๋งจักรปีกอย่างชัดเจน ส่วนตำหนักใหญ่นั้นจะอยู่ถัดไปด้านหลังในหมู่แมกไม้ ฝั่งตรงข้าม ซ่ายล่างเราจะเห็นบริเวณศาลาท่าน้ำวังจักรพงษ์ และถัดไปคืออาคารโรงเรียนสุนันทาลัย หรือโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน ซึ่งอาคารทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งสิ้น
เรียบเรียงโดย Sense&Scene

พระตำหนัก เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ที่เรามักเห็นกันบ่อยๆ


รูปด้านล่างนี้ คุณGiJane Bkk เพิ่มภาพให้พร้อมบรรยายว่า น่าจะเป็นตึกเก๋งจักรปีกนะคะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 14:21

Sense&Scene เรียบเรียงข้อมูลจากหนังสือสถาปัตยกรรมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง โดย ผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์พีรศรีเคยเข้ามาในเรือนไทยบ่อย ๆ  หากท่านเข้ามาอาจจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 15:23

อย่าเพิ่งงงทิศกันนะครับ อาคารหลังปริศนาอยู่เหนือวัดอรุณ ส่วนวังเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีอยู่ใต้วัดอรุณ ครับ  ตกใจ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 17:00

หลังคาแบบฝรั่งเศสมี่เรียกว่ามองซารด์ Mansard หน้าตาจะเป็นอย่างนี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 ส.ค. 16, 09:09

ภาพนี้ ตรงมุมเดิม ครับ น่าจะเป็นโรงเรียนนะครับ โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 ส.ค. 16, 09:19

ภาพนี้ ตรงมุมเดิม ครับ น่าจะเป็นโรงเรียนนะครับ โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก

ไม่ใช่โรงเรียนประถมทวีธาครับ คือแนวเป็นแบบนี้ครับ วัดอรุณ - โรงเรียนประถมทวีธาฯ - คลองวัดอรุณ - ตึกปริศนา ? ครับผม

แนบภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2438 ให้ดู ถ่ายติดส่วนบนอาคารโดยชาวญี่ปุ่น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naracha
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ส.ค. 16, 08:24

ผมมองว่าเหมือนกุฎีในสมัยก่อนมากกว่านะครับ
บันทึกการเข้า
c136
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ส.ค. 16, 04:41

ภาพสีขยายดูเห็นคำว่า รร.ประถมทวีธาภิเศกครับ
ส่วนภาพสีเล็กๆ ข้างล่างเป็น รร.ทวีธาภิเศก ที่ติดวัดนาคกลาง ภาพประมาณ 2519-2523 เป็นช่วงที่ผมเรียนอยู่พอดี  เพราะเขาทำกำแพงไม้กันลูกบอลเข้าประตูห้องเรียน  ปัจจุบันรื้ออาคารทิ้งไปแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 ส.ค. 16, 07:59

หยิบแผนที่กรุงเทพ สำรวจเมื่อก่อน พ.ศ. 2426 และจัดพิมพ์ใน พ.ศ. 2430 วาดตำแหน่งตึกปริศนานี้ไว้ชัดเจนพอสมควร หากมองจากด้านบนจะเป็นรูปตัว E คือมีมุขยื่นที่อาคารสามมุข และด้านเหนือเป็นบริเวณของวัดเครือวัลย์ และกลุ่มบ้านเรือนของเจ้าพระยาภูธราภัย (นชุ)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 ส.ค. 16, 08:23

ทีนี้ได้แผนผังการเวนคืนที่ดิน ออกเมื่อ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๕ สมัยจอมพล ป. เวนคืนที่ดินเพื่อใช้พื้นทีทั้งหมดเป็นเขตทหารเรือในปัจจุบันนี้ ในราชกิจจาจุเบกษาที่ออกประกาศดังกล่าว ได้บอกว่าหมายเลขที่ดินแต่ละแปลง แต่ละโฉนดเป็นเจ้าของโดยใคร จึงทำให้ทราบข้อมูลคร่าวๆ ดังนี้

ที่ดินหมายเลข ๑ คือ ทีดินที่ตึกนี้ตั้งอยู่พอดีเลย เจ้าของคือ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เนื้อที่ดิน ๓ งาน ๗๐ วา

ที่ดินติดกัน ๙๔๖ กับ ๑๑๘ เนื้อที่รวมกันแล้วได้ ๑ งาน ๖๐ วา เจ้าของคือ นางฮวย ชัยชนารักส์

ถัดมาด้านหลัง ที่ดินเลขที่ ๙๐๔ เป็นของพระยานรินทราภรณ์ (เปลี่ยน) ๒ งาน ๘๐ วา

เลขที่ ๒๖๑ กระดีเจ้าเซ็น

เลขที่ ๒๕๘ พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) เนื้อที่ ๒๐ วา

เลขที่ ๒๕๑ เจ้าจอมมารดาอ่อน พระองค์เจ้าอดิศัย เนื้อที่ ๒ งาน ๘ วา

เลขที่ ๒๔๙ เจ้าจอมมารดาเลื่อน ๓๖ วา

เลขที่ ๒๔๘ เจ้าจอมช่วง ๕๒ วา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง