siamese
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 30 ส.ค. 16, 14:52
|
|
พระภักดีพัฒรากร (โอจิว) ค่ะ
นามของท่านคือ โอจิว อุทกภาชน์ น่าจะดูเป็นเจ้าของตึกมากที่สุด มีการยึดที่ดินเป็นของหลวง และตึกอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 30 ส.ค. 16, 15:24
|
|
ลองมาค้นหานามสกุล "อุทกภาชน์" มาพบว่า คุณหญิงส่วน อุทกภาชน์ ได้มาสมรสกับพระยาชลภูมิพานิช (ต้นตระกูลอเนกวณิช) สร้างบ้านที่บางยี่ขัน
ทั้งนี้เมื่อมองคร่าวๆ แล้วลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารเป็นรูปตัว E คือ มีมุขอาคารอยู่สามตอน ส่วนกลางทำเป็นบันไดขึ้นลงอาคารจากชั้นสอง เหมือนกับลอกเลียนกันมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 30 ส.ค. 16, 15:28
|
|
ราชทินนามของท่านน่าจะเป็น "ภักดีภัทรากร" ดูเหมือนว่าราชทินนามนี้ใช้สำหรับตำแหน่ง "นายอากร" ดังนั้น พระยาภักดีภัทรากร จึงมีหลายท่าน นอกจาก พระยาภักดีภัทรากร (โอจิว) แล้วที่คันได้จากอินทรเนตร ก็ยังมี พระยาภักดีภัทรากร (เกงซัก) พระยาภักดีภัทรากร (เล่ากี้ปิง) จาก หนังสือ "กระเบื้องถ้วยกะลาแตก" หน้า ๑๘๙
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 30 ส.ค. 16, 22:32
|
|
กุฏีบน กุฏีล่าง
ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 ชาวมุสลิมที่ถือนิกายชีอะห์ หรือสังคมไทยเรียกว่า "เจ้าเซ็น" ได้อพยพหนีพม่าลงมาทางใต้ โดยล่องลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได้มาพักพิงบริเวณคลองบางกอกใหญ่ โดยอาศัยอยู่ในเรือนแพและเมื่อรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งบริเวณปากคลองมอญ ระหว่างคลองมอญกับคลองวัดอรุณราชวราราม ให้แก่ท่านก้อนแก้ว ซึ่งได้รับพระราชทานตำแหน่ง เป็นพระยาจุฬาร ท่านอากาหยี่ น้องชายของท่านก้อนแก้วเป็นบุคคลหนึ่งที่มิได้ย้ายไปอยู่ในที่ดินพระราชทาน เนื่องจากได้จับจองที่ดินไว้ผืนหนึ่ง ในบริเวณที่เรียกว่า เจริญพาศน์ ในปัจจุบัน เมื่อท่านก้อนแก้วได้ถึงแก่กรรม ท่านอากาหยี่จึงได้รับพระราชทาน ให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีแทน และได้สร้างศาสนาสถาน สำหรับชีอะห์อีกแห่งหนึ่งในที่ดินดังกล่าว ชาวบ้านเรียกกุฎีเจ้าเซ็นของท่านก้อนแก้วว่า กุฎีบน และเรียกกุฎีเจ้าเซ็นของท่านอากาหยี่ว่า กุฎีล่าง
ที่เรียกว่ากุฎีบน กุฎีล่าง สันนิษฐานว่าคงใช้พระราชวังเดิมเป็นเกณฑ์ ถ้าอยู่ด้านเหนือของพระราชวังเดิมเรียกว่า กุฎีบน ถ้าอยู่ใต้พระราชวังเดิมลงมาเรียกว่า กุฎีล่าง ทุกวันนี้ชุมชนกุฎีบนได้ย้ายไปอยู่ที่พรานนกบางกอกน้อย เนื่องจากมีการเวนคืนที่ดินเพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือ ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของกรมสารวัตรทหารเรือจนถึงทุกวัน
อ้างถึง - มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 30 ส.ค. 16, 22:41
|
|
ข้อความตรงนี้น่าสนใจว่า "พระภักดีพัฒรากร (โอจิ) เป็นคหบดีเป็นนายอากร มีทีดิน ๓๒๐ ตารางวาและมีตึกอยู่ในที่ดิน บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดอรุณฯ ต่อมาถวายบ้านตึกและที่ดินแลกเปลี่ยนกับที่บ้านพระยาอิศรานุภาพ ซึ่งเป็นที่หลวงที่อยู่ติดกัน
เบื้องต้นทราบว่าพระภักดีพัฒรากรมีปัญหาเรื่องการส่งเงินเข้าพระคลัง ทำให้ถูกริบทรัพย์เป็นของหลวงหมด บ้านนี้จะใช่ของพระภักดีหรือไม่ ?
มาพ้องกับที่ดินหมายเลข ๑ คือ ทีดินที่ตึกนี้ตั้งอยู่พอดีเลย เจ้าของคือ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เนื้อที่ดิน ๓ งาน ๗๐ วา เกือบพอดีกันเลย
จะเป็นพระยาภักดีพัฒรากร(ภักดีภัทรากร)คนเดียวกันหรือเปล่า เรื่องการฟ้องล้มละลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 30 ส.ค. 16, 22:43
|
|
และเรื่องการถอนฟ้องล้มละลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 31 ส.ค. 16, 07:54
|
|
กุฏีบน กุฏีล่าง
ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 ชาวมุสลิมที่ถือนิกายชีอะห์ หรือสังคมไทยเรียกว่า "เจ้าเซ็น" ได้อพยพหนีพม่าลงมาทางใต้ โดยล่องลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได้มาพักพิงบริเวณคลองบางกอกใหญ่ โดยอาศัยอยู่ในเรือนแพและเมื่อรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งบริเวณปากคลองมอญ ระหว่างคลองมอญกับคลองวัดอรุณราชวราราม ให้แก่ท่านก้อนแก้ว ซึ่งได้รับพระราชทานตำแหน่ง เป็นพระยาจุฬาร ท่านอากาหยี่ น้องชายของท่านก้อนแก้วเป็นบุคคลหนึ่งที่มิได้ย้ายไปอยู่ในที่ดินพระราชทาน เนื่องจากได้จับจองที่ดินไว้ผืนหนึ่ง ในบริเวณที่เรียกว่า เจริญพาศน์ ในปัจจุบัน เมื่อท่านก้อนแก้วได้ถึงแก่กรรม ท่านอากาหยี่จึงได้รับพระราชทาน ให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีแทน และได้สร้างศาสนาสถาน สำหรับชีอะห์อีกแห่งหนึ่งในที่ดินดังกล่าว ชาวบ้านเรียกกุฎีเจ้าเซ็นของท่านก้อนแก้วว่า กุฎีบน และเรียกกุฎีเจ้าเซ็นของท่านอากาหยี่ว่า กุฎีล่าง
ที่เรียกว่ากุฎีบน กุฎีล่าง สันนิษฐานว่าคงใช้พระราชวังเดิมเป็นเกณฑ์ ถ้าอยู่ด้านเหนือของพระราชวังเดิมเรียกว่า กุฎีบน ถ้าอยู่ใต้พระราชวังเดิมลงมาเรียกว่า กุฎีล่าง ทุกวันนี้ชุมชนกุฎีบนได้ย้ายไปอยู่ที่พรานนกบางกอกน้อย เนื่องจากมีการเวนคืนที่ดินเพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือ ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของกรมสารวัตรทหารเรือจนถึงทุกวัน
อ้างถึง - มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ
พระนมปริก เกิดในที่ดินของตระกูลกัลยาณมิตร คาดว่าจะสถานที่เกิดของท่านจะอยู่ระหว่างวัดแจ้งกับ กุฎีเจ้าเซ็น(ล่าง) มากกว่านะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 31 ส.ค. 16, 07:55
|
|
จากบันทึกรายงานผลการสำรวจวัดมกุฎกษัตริยาราม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรงเทพมหานคร โดยกลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 31 ส.ค. 16, 07:59
|
|
พระนมปริก เกิดในที่ดินของตระกูลกัลยาณมิตร คาดว่าจะสถานที่เกิดของท่านจะอยู่ระหว่างวัดแจ้งกับ กุฎีเจ้าเซ็น(ล่าง) มากกว่านะครับ
บริเวณที่ดินของตระกูลกัลยาณมิตร เรียกกุฎีฝรั่งหรือกุฎีจีนครับ ไม่ใช่กุฎีของชาวมุสลิมดังเช่นกุฎีเจริญพาศน์
"ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 แต่ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสเหล่านั้น แทบไม่เหลือเค้าลางของรูปร่างหน้าตาแบบตะวันตกแล้ว ชุมชนแห่งนี้มีโบสถ์ซางตาครู้ส เป็นศูนย์กลางของชุมชน ชุมชนแห่งนี้มีขนมกุฎีจีนขายเป็นขนมพื้นเมืองของชุมชนนี้ และขนมกุฎีจีนของชุมชนนี้ถือได้ว่าเป็นขนมพื้นเมืองดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครเลยทีเดียว ชุมชนกุฎีจีนตั้ง อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ที่แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร" - วิกิพีเดีย
หมายเหตุ - เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 02 ก.ย. 16, 16:12
|
|
เจอวิววัดอรุณเลยบอกตำแหน่งคร่าวๆ ให้ดูกัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 04 ก.ย. 16, 22:25
|
|
อีกมุมหนึ่ง จากหนังสือของโฟเนโร ปี ๒๔๓๗  ถ้าผู้ถ่ายภาพเลื่อนหน้ากล้องไปทางซ้ายสัก ๑-๒ ช่วงหน้ากล้อง เราก้คงจะได้เห็นภาพของ "เก่งปิ่นจักร" ที่มองจากกลางแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างชัดเจน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 12 ก.ย. 16, 10:12
|
|
ถ้าผู้ถ่ายภาพเลื่อนหน้ากล้องไปทางซ้ายสัก ๑-๒ ช่วงหน้ากล้อง เราก้คงจะได้เห็นภาพของ "เก่งปิ่นจักร" ที่มองจากกลางแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างชัดเจน
ภาพข้างล่างนี้ น่าจะเห็น "เก๋งปิ่นจักร" อยู่ทางซ้ายสุดของภาพ เป็นกระทู้ที่น่ารักน่าลุ้นมากครับ แล้วภาพเก่า ๆ แต่ล่ะภาพก็สวยงามเหลือเกิน ผมค่อนข้างชอบเรือเป็นพิเศษ ถ่ายติดแต่ล่ะลำนี่ อยากแทรกภาพเข้าไปดูของจริงกันเลยทีเดียว  ในลำน้ำมีเรืออยู่หลายลำ ขอมอบให้คุณ superboy เป็นพิเศษ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 13 ก.ย. 16, 10:31
|
|
ภาพนี้ก็เห็น "เก๋งจักรปีก" ทางซ้ายสุดเช่นเดียวกัน (คคห.ข้างบน เผลอเรียกตามคุณลุงไก่ว่า "เก๋งปิ่นจักร" ขออภัย  ) ภาพถ่ายจากท่าราชวรดิฐ กลางภาพปรากฎอาคารนี้อยู่กลางภาพ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 13 ก.ย. 16, 11:45
|
|
ขออนุญาตนอกเรื่อง บ้านหรือวังผู้ใด ไว้สักนิด เมื่อเห็นภาพในความเห็นที่ ๗๒ และ ๗๓ ทำให้นึกได้ว่า หนุ่มรัตนะพันทิป ณล เคยตั้งคำถามเรื่องของศาลาหลังหนึ่งที่ฝั่งท่าราชวรดิษฐ์เอาไว้ ใน facebook เมื่อสัก ๒ เดือนก่อน
|
|
|
|
|