ขออนุญาตคัดลอกบทความส่วนหนึ่งจากหนังสือ sense & scene เขียนลงใน facebook เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ มาให้อ่านเพื่อพิจารณา ดังนี้

ภาพเก่าเล่าเรื่องคืนนี้
นำภาพลักษณะสถาปัตยกรรมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงมาให้ชมกันค่ะ
หลายๆท่านมองภาพนี้แล้วก็ชวนให้สงสัยว่าที่นี่คือที่ใดกันแน่ องศาการมองของภาพนี้เห็นตึกโรงเรียนสุนันทาลัย (โรงเรียนราชินีในปัจจุบัน) แล้วตั้งอยู่บริเวณที่เป็นโค้งน้ำอันเหมาะเจาะ หลายคนที่กำลังแคลงใจคิดว่านี่น่าจะเป็นพระราชวังเดิม แต่เอ๊...ทำไมพระราชวังเดิมถึงมีตึกฝรั่งเช่นนี้ล่ะ
คำตอบที่ว่าเป็นพระราชวังเดิมนั้นถูกต้องแล้วค่ะ แต่เป็นภาพพระราชวังเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งโปรดฯให้ใช้เป็นที่ประทับในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์สำคัญของพระองค์
ภาพนี้คือภาพพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (พระยศในขณะนั้น) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ จาตุรนต์รัศมี ทรงจัดซื้อสิ่งของวก่อสร้างด้วยพระองค์เองและโปรดฯให้ นายสเตฟาโน คาร์ดู (Stefano Cardo) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง
ตัวตำหนักเป็นอาคาร ๓ ชั้น ก่ออิฐถือปูน ใช้โครงสร้างผนังรับตำหนัก ทางเข้าด้านหน้าทำเป็นเฉลียง มีบันไดโค้ง ๒ ข้างสมมาตรกัน ด้านหลังตำหนักมีปีกอาคาร ๒ ข้างเป็นตึกสูง ๒ ชั้นล้อมลานโล่งตรงกลาง (คล้ายๆกับลักษณะตัวอาคารพระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท พระรามราชนิเวศน์ นั้นเองค่ะ) พื้นชั้นล่างปูกระเบื้องหน้าวัว พื้นชั้นบนปูกระดานไม้สัก พื้นเฉลียงปูหินอ่อนจีน หลังคามุงสังกะสี
ทว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ สมเด็จเจ้าฟ้าฯจาตุรนต์รัศมี ไม่โปรดมาประทับ จึงทรงสร้างตำหนักใหม่ขึ้นอีกหลังหนึ่ง ถัดออกมาทางฝั่งวัดอรุณราชวราราม เรียกกันว่า "เก๋งจักรปีก" ทำเป็นตึก ๒ ชั้น โครงสร้างก่ออิฐถือปูน ชั้นล่างปูไม้กระดานและกระเบื้องอิตาเลี่ยน พื้นชั้นบนปูกระดานไม้สัก หลังคาปั้นหยาความสูงต่างๆกัน มุงสังกะสี ที่มุมทั้ง๔ ทำเป็นโดมขนาเล็ก ตรงกลางตำหนักทำหลังคาแบบมังซาร์ด (Mansard) มุงด้วยสังกะสีตัดเป็นเกล็ด ชายคาประดับด้วยสังกะสีฉลุลาย
ในภาพมุมขวาล่างเราจะเห็นลักษณะสถาปัตยกรรมของเก๋งจักรปีกอย่างชัดเจน ส่วนตำหนักใหญ่นั้นจะอยู่ถัดไปด้านหลังในหมู่แมกไม้ ฝั่งตรงข้าม ซ่ายล่างเราจะเห็นบริเวณศาลาท่าน้ำวังจักรพงษ์ และถัดไปคืออาคารโรงเรียนสุนันทาลัย หรือโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน ซึ่งอาคารทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งสิ้นเรียบเรียงข้อมูลจาก :
หนังสือสถาปัตยกรรมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง โดย ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพประกอบจาก : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
สรุปจากบทความข้างต้นโดยสั้นๆ ว่า ตึกหลังดังกล่าว คือ พระตำหนัก "เก๋งจักรปีก" ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ
