เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 31141 สงครามดอกกุหลาบ The Wars of the Roses
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 17 ส.ค. 16, 07:53

ต้องย้อนกลับไปอ่านกระทู้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2   อีกทีค่ะ  ดิฉันก็ชักจะเลือนๆ
จำได้แต่ว่าราชวงศ์สจ๊วตของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8  สิ้นสุดลงที่พระเจ้าเจมส์ที่ 2  น้องชายพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 ส.ค. 16, 08:45

ต้องย้อนกลับไปอ่านกระทู้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2   อีกทีค่ะ  ดิฉันก็ชักจะเลือนๆ
จำได้แต่ว่าราชวงศ์สจ๊วตของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8  สิ้นสุดลงที่พระเจ้าเจมส์ที่ 2  น้องชายพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1


ราชวงส์ต่อมาคือราชวงศ์แฮนโนเวอร์ เป็นรุ่นโหลนของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 กษัตริย์ต้นราชวงศ์สจ๊วตครับ และเพราะเป็นโปรแตสแตนท์เลยได้สิทธิสืบราชสมบัติ พระเจ้าเจมส์ที่ 1 ก็มีเชื้อสายสืบมาจากเฮนรี่ที่ 7 ที่สืบมาจากจอห์นแห่งก็อทอีกที เลยทำให้สายเลือดไม่บริสุทธิที่ช่วงใดช่วงหนึ่งที่ไม่รู้แน่ชัดในประวัติศาสตร์ครับ

เอาสายการสืบสันตติวงส์มาฝากครับ ว่าใครมาจากใคร  ยาวมากหน่อย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 17 ส.ค. 16, 19:29

      ผลจากศึกที่เซนต์อัลบันส์  นอกจากดยุคแห่งซอมเมอเซท หัวเรือใหญ่ทางฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินจะต้องพลีชีพแล้ว   พระเจ้าเฮนรี่ผู้ออกศึกด้วย  ก็ได้รับบาดเจ็บ   ฝ่ายดยุคแห่งยอร์คจึงเป็นฝ่ายชนะ จับพระราชาได้   ยกพลเข้าลอนดอนอย่างฮึกเหิม    เรียกอำนาจของเขาคืนมาได้อีกครั้ง
      จริงๆแล้วยอร์คก็อยากจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน   แต่ว่าพรรคพวกของเขาในสภาค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับเสียงทางฝ่ายพระเจ้าเฮนรี่ที่นำโดยพระนางมาร์กาเร็ต      ก็เลยยังผลีผลามขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่ได้  ทำได้แต่เลื่อนตำแหน่งตัวเองขึ้นไปสูงกว่าเดิม   เป็น Lord Protector  ของอังกฤษ    ตำแหน่งนี้เทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน    คือมีอำนาจสูงสุดเหนือกว่าพระเจ้าแผ่นดินเสียอีก  หากว่าพระเจ้าแผ่นดินยังมีพระชนม์อยู่ก็ไม่ค่อยจะมีปากมีเสียงได้เท่ากับ Lord Protector  เพียงแต่ LP  ไม่ได้สวมมงกุฎและไม่ได้อยู่ในพระราชวังเท่านั้น
     ยอร์คจับพระเจ้าเฮนรี่เป็นนักโทษ ถูกคุมขังอยู่ในปราสาทเฮิร์ทฟอร์ด หรือไม่ก็ในลอนดอนเอง       เมื่อสภาเปิดสมัยประชุมอีกครั้ง  ก็พบว่าบัลลังก์ว่างเปล่า พระราชาล่องหนไปอยู่ไหนแล้วก็ไม่ทราบ  มีแต่ข่าวปล่อยออกมาว่าพระองค์ประชวร พระสติฟั่นเฟือนอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 ส.ค. 16, 17:43

   แม้ว่ายอร์คกุมอำนาจเอาไว้ได้ แต่อำนาจนั้นก็ยังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดพอที่เขาจะเลื่อนฐานะตัวเองขึ้นเป็นพระราชา    ขุนนางส่วนหนึ่งก็ยังจงรักภักดีต่อพระเจ้าเฮนรี่  โดยมีพระนางมาร์กาเร็ตเป็นหญิงเหล็กผู้นำ  แม้ว่าพระนางเองถูกลิดรอนอำนาจ  ให้จำกัดองค์เองอยู่ในฐานะผู้ดูแลพระสวามีเป็นส่วนใหญ่   แต่พระเจ้าเฮนรี่กับพระนางก็ยังปลอดภัยดี       ขุนนางอีกส่วนก็ยังลังเล ไม่ลงความเห็นลงไปให้เด็ดขาดว่ายอร์คมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์เหนือว่าเจ้าชายน้อยรัชทายาทของพระเจ้าเฮนรี่
    ถ้ายอร์คแกรู้จักสุนทรภู่   แกก็คงได้รับคำเตือนว่า
    ประเพณีตีงูให้หลังหัก                    มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
    จรเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง                เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
    อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า               ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย

   ในเมื่อยอร์คยังปล่อยเสือเอาไว้    การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายก็เริ่มชัดเจนขึ้นทุกที   กำลังของทางฝ่ายพระเจ้าเฮนรี่นำโดยพระมเหสีก็กล้าแข็งขึ้น พอจะรวบรวมขุนนางได้เป็นปึกแผ่นพอดู     ตั้งกองกำลังแข็งข้ออยู่ทางเหนือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 11:20

   สถานการณ์ในลอนดอนชักไม่สู้ดีหนักขึ้น เพราะนอกจากฝ่ายจงรักภักดีต่อพระเจ้าเฮนรี่ ซึ่งเรียกว่าแลงคาสเตรียน หรือพวกแลงคาสเตอร์จะรวบรวมกำลังกันได้เป็นปึกแผ่นแล้ว  พระนางมาร์กาเร็ตหญิงเหล็กยังลอบส่งสารไปแสวงหาพันธมิตรจากสก๊อตแลนด์ อีกส่วนหนึ่งด้วย     ยอร์คจะทำไม่รู้ไม่ชี้อยู่ก็ไม่ได้ จึงเรียกกองทัพยกจากลอนดอนขึ้นไปทางเหนือ    ไปถึงก็พบว่าสถานการณ์เลวร้ายกว่าที่คิด  คือพวกนั้นยึดเมืองยอร์คไว้ได้แล้ว  ศึกครั้งที่สองที่เรียกว่า Battle of Wakefield หรือศึกที่เวคฟิลด์ ก็ปะทุขึ้น รบพุ่งกันดุเดือดอยู่ 5 วัน ละเลงเลือดกันทั้งสองฝ่าย
    โบราณเขาว่าคนบุญไม่ถึงนี่ยังไงก็บุญไม่ถึง     ดยุคแห่งยอร์คมีโอกาสจะสร้างชื่อตัวเองในฐานะพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษได้มากกว่าพระราชาอีกมากมายหลายองค์ในอาณาจักรนี้ ที่ไม่ได้เหนื่อยยากอะไร แต่บุญหล่นทับ ได้เป็นพระราชาขึ้นมาเพราะรัชทายาทตายบ้าง  หารัชทายาทอื่นไม่ได้บ้าง ตัวเองเลยได้เป็น ก็มี    
     ส่วนยอร์ค ไหนจะมีเชื้อสายทางพ่อทางแม่ให้อ้างได้ครบถ้วน   ไหนจะทำศึกเหนื่อยยากตรากตรำมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่    ขนาดขึ้นมายึดอำนาจได้จนเป็นผู้สำเร็จราชการ    พอวันร้ายคืนร้าย  ไปปราบกบฎที่ตัวเองเห็นว่าเล็กๆอยู่ทางเหนือ    ปะทะกันเข้าจริงๆ  ฝ่ายแลงคาสเตอร์หรือฝ่ายกุหลาบแดง ที่กุหลาบขาวอย่างยอร์คนึกว่าหมูๆ  กลับกลายเป็นหมูป่าเขี้ยวตันขึ้นมา
     ใช่ค่ะ ในการปะทะกันครั้งนี้ ยอร์คต้องสังเวยชีวิตให้ฝ่ายแลงคาสเตอร์   ลูกชายคนที่สองที่ไปร่วมรบด้วยก็ถูกจับได้และประหารชีวิตไป   แถมศพของยอร์คยังถูกประจาน  ตัวถูกฝังไปตามประเพณี แต่หัวถูกตัดเสียบประจานแยกไปต่างหาก  สวมมงกุฎกระดาษให้บนซากหัว เพื่อเยาะหยันความพยายามของเขาที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์   แต่พ่ายแพ้ชะตากรรม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 11:23

 ลังเล


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 12:08

แข่งเรือแข่งพายแข่งได้แต่แข่งวาสนาแข่งไม่ได้จริงๆค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 13:02

  ขอแยกซอยคุยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหน่อยค่ะ
  เห็นรูปการรบสมัยสงครามดอกกุหลาบ  ซึ่งก็คือยุคกลางน่ะละค่ะ   อัศวินทั้งหลายสวมเกราะกันตั้งแต่หัวจดเท้า
  เกราะพวกนี้ดิฉันเคยเห็นของจริงมาแล้ว พอหมดยุคกลาง ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้อีก ก็เก็บไว้เป็นวัตถุโบราณ ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆในยุโรป ไม่ใช่เฉพาะในอังกฤษ    มันไม่ใช่เหล็กรีดบางเหมือนกระดาษ อย่างสมัยนี้   แต่เป็นแผ่นเหล็กหนาหนัก ยังกะเอาตัวถังรถยนต์มาย่อส่วน สวมเข้าบนร่าง   จะใส่จะถอดแต่ละชิ้น  น่าจะโกลาหล   ดูแล้วเหนื่อยแทน   
  ยังนึกสงสัยว่า ตอนสวมเข้าไป คงถอดไม่ได้ง่ายๆ   ทีนี้ถ้าเกิดปวดท้องทั้งหนักทั้งเบาขึ้นมา จะหาทางออกยังไง 
   เคยไปดูพิพิธภัณฑ์อาวุธในออสเตรีย เมืองอะไรจำชื่อไม่ได้แล้ว    แค่เห็นเครื่องอานและเครื่องป้องกันอาวุธที่ใส่บนตัวม้าก็รู้สึกว่าม้าแทบจะยืนไม่ขึ้น อย่าว่าแต่วิ่งเลย     ยิ่งเจอนายม้าใส่เกราะเข้าไปทั้งตัวอีก  สงสารม้าว่าคงอายุสั้น ไม่ได้ถูกฆ่าตาย แต่หมดแรงตาย
 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:17

พูดเรื่องเกราะแล้วต้องขอนอกเรื่องนิดตามประสาคนเรียบร้อยที่ทะลึ่งเป็นบางครั้ง  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม ไม่รู้จะโดนไม้เรียวหรือเปล่า  ร้องไห้  ร้องไห้


ชุดเกราะแม้จะหนังอึ้ง แต่หลายๆ ชุดนี่เน้นการปกป้องแบบอลังการงานสร้างมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
มากจนต้องขวยเขิลลลลลลลลลลกันเลยทีเดียวเชียว แบบว่ามันอาไรก๊านนนนนนนนน ทำไมเน้นการปกป้องตรงนั้นจัง  อายจัง  อายจัง  อายจัง  อายจัง




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:23

สงครามนี้ที่เรียกว่าสงครามดอกกุหลาบ ก็เพราะฝ่ายแลงคาสเตอร์ ใช้สัญลักษณ์กุหลาบแดงเป็นเครื่องหมาย ส่วนฝ่ายยอร์คใช้กุหลาบขาว ทั้งสองฝ่ายล้วนมีบรรพบุรุษเดียวกันตามผังที่ท่านอาจารย์ใหญ่ว่ามา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยอร์คกับมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ยังมีประเพณีแข่งกีฬาร่วมกันทุกปี



กุหลาบในอังกฤษสมัยนั้นคงเป็นพวกกุหลาบลา ไม่ใช่กุหลาบกลีบซ้อนแบบที่เห็นในปัจจุบัน ถามท่านอาจารย์ใหญ่หรือดอกเตอร์ประกอบว่า ทำไมฝ่ายหนึ่งใช้สีแดง อีกฝ่ายหนึ่งใช้สีขาว มีเบื้องหลังเหมือนกีฬาสี แดง-เหลือง ในเมืองไทยไหม
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:31

ภาพของ อ. ประกอบ นี่ ผมมีเพื่อนที่ไปอังกฤษมา ก็ถ่ายภาพสิ่งนี้มาให้ชมเหมือนกันครับ แสดงว่า สะดุดตาจริงๆ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:36

ดูไปดูมา ตราดอกไม้นี่มันคล้ายๆดอกซึบากิของญี่ปุ่นมากกว่าดอกกุหลาบนะคะ ดอกซึบากิอยู่ในตระกูลดอกคามิเลีย มีหลายสี สีขาวก็มี แดงก็มี

แต่เขาบอกกุหลาบก็กุหลาบเอ้า


บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:41

ท่านลอร์ดประกอบเทพน่าจะตอบคำถามโปรเฟสเซอร์เพ็ญได้ค่ะ   แต่ท่านมัวเพลินสวมชุดเกราะ   เลยยังไม่เข้ามาตอบ  ดิฉันตอบให้แทนก็แล้วกัน
เอากุหลาบแดงก่อนนะคะ  กุหลาบขาวทิ้งไว้ให้ท่านลอร์ดทำงานมั่ง
กุหลาบแดงเป็นดอกไม้ประจำแคว้นแลงคาเชอร์( Lancashire)ค่ะ  ถิ่นของแลงคาสเตอร์ค่ะ   เอิร์ลแห่งแลงคาสเตอร์คนแรกต้นราชสกุลแลงคาสเตอร์ นำกุหลาบแดงที่เป็นดอกไม้ประจำแคว้นมาเป็นตราตระกูล  ประดับอยู่บนโล่เวลาออกศึก   กุหลาบแดงที่ว่าก็เลยมาเป็นสัญลักษณ์ของแลงคาเชอร์
ส่วนเป็นพันธุ์ไหนยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ชัด  สันนิษฐานว่าเป็นกุหลาบพันธุ์ที่เรียกว่า Rosa gallica officinalis   ส่วนกุหลาบลาคืออะไร  ข้าเจ้าบ่ฮู้   รู้จักแต่กุหลาบมอญ เพราะเมื่อก่อนขนมไทยหลายอย่างมีกลีบกุหลาบมอญประดับหน้าขนม  เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:52

ส่วนกุหลาบลาคืออะไร  ข้าเจ้าบ่ฮู้   รู้จักแต่กุหลาบมอญ
รอยอินท่านว่า ลา  ว. มีกลีบชั้นเดียว, ไม่ซ้อน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น มะลิลา พุดลา รักลา.

กุหลาบลาซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของทั้ง ๒ ฝ่ายอาจจะมีหน้าตาเป็นอย่างนี้

ภาพจาก http://www.087087.net/bara_gensyu.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 19 ส.ค. 16, 14:58

ดูจากรูปวาด   กุหลาบแดงและขาวน่าจะซ้อน 2 ชั้นนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง