coo
อสุรผัด

ตอบ: 10
|
สวัสดีค่ะ เราแอบอ่านและเก็บข้อมูลในเวปนี้มาสักพักแล้ว แต่ครั้งนี้อยากนำข้อมูลไปใช้ต่อ แต่ไม่แน่ใจจริงๆค่ะ เลยอยากรบกวนขอสอบถามผู้รู้ที
เราอยากทราบว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) มีการ "ออกร้าน" ในงานวัดรึเปล่าคะ? เท่าที่พยายามหาดูเข้าใจว่ามีงานวัด แต่จะเป็นการจัดมหรสพการแสดง จุดเทียนเล่นไฟ แต่ไม่มั่นใจว่าการออกร้านขายของมีด้วยรึเปล่า หรือว่าเริ่มมีตอนช่วงในงานภูเขาทอง (ส่วนตัวเราเข้าใจว่าเป็นของคู่กันมาแต่โบราณ แต่อาจจะมีร้านไม่เยอะ เหมือนใครมีหัวการค้าก็มาหาที่ทางขายเอง)
ถ้ายังไงรบกวนผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจให้เราทีนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 11:16
|
|
ก่อนอื่น อยากจะให้คุณเปลี่ยนคำเรียกตัวเองว่า "เรา" มาเป็น " ดิฉัน" หรือ "หนู" ก็ยังดีค่ะ คุณอาจจะเอาความเคยชินจากการสนทนาในเว็บต่างๆมาใช้ ไม่ได้มีเจตนา ข้อนี้ไม่ว่ากัน แต่คุณคงสังเกตได้ว่า คนที่จะตอบคำถามคุณ ไม่ใช่เพื่อนวัยเดียวกัน แต่เป็นคนที่อายุคราวลุงป้า หรือตายายคุณ เนื่องจากคำถามคุณ ต้องอาศัยคนรู้รายละเอียดในประวัติศาสตร์ มีชั่วโมงการทำงานยาวนานหลายสิบปี
ช่วยปรับคำเรียกขานสักนิดนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 13:07
|
|
ฝากส่งต่อถึงคุณเพ็ญชมพูและท่านอื่นๆด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 13:30
|
|
งานวัดสระเกศเริ่มมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แต่จะเน้นเรื่องการละเล่นทางน้ำ เช่นเล่นเพลงเรือ ในคลองที่ทรงโปรดให้ขุดขึ้นและพระราชทานนามว่า “คลองมหานาค” จวบจนมาถึงสมัยรัชกาลที ๕ ทรงสร้างภูเขาทองต่อจากรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ จนแล้วเสร็จ อีกทั้งได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาจากรัฐบาลอินเดีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุประดิษฐานไว้บนองค์พระบรมบรรพต ภูเขาทอง และให้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ในช่วงเทศกาลลอยกระทง จนกลายเป็นประเพณีนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับชาวพระนครที่เก่าแก่ที่สุดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน งานภูเขาทองในรัชกาลที่ ๕ นี้น่าจะมีการออกร้านขายของ เช่นเดียวกับงานวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ ถ้าจะให้สนุกยิ่งขึ้น ต้องตามเสด็จหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลท่านเข้าไปเที่ยว
งานที่สนุกที่ ๑ ในวัดเบญจมบพิตร คืองานออกร้านในวัดนี้ อันเป็นงานประจำปีในฤดูหนาว เพื่อเก็บเงินบำรุงวัดซึ่งยังไม่แล้วเรียบร้อยดี เรียกกันในสมัยนั้นว่า “งานวัด” ร้านต่าง ๆ มีตั้งแต่ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้านายทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย สุดแต่ใครมีกำลังจะทำได้ จนถึงชาวต่างประเทศผู้เป็นนายห้างใหญ่ ๆ บริเวณร้านอยู่ในเขตรั้วเหล็กแดงเท่านั้น ต่อมาทางตัวพระอุโบสถก็มีแต่พวกร้านขายธูปเทียนดอกไม้และทองเปลว สำหรับผู้จะไปบูชาพระและทำบุญ พวกเราเด็ก ๆ มิได้เคยไปทางนั้นเลย ซ้ำกลัวว่ามืดอีกด้วย เราพากันวิ่งวุ่นอยู่แต่ทางร้านต่าง ๆ ซึ่งเห็นในเวลานั้นว่าใหญ่โตมโหฬารสุดหล้าฟ้าเขียวซ้ำยังมีสถานที่ที่เรียกว่า สำเพ็ง อยู่นอกรั้วแดงทางถนนราชดำเนินอีกเมืองหนึ่ง มีทั้งโรงโขนชักรอกและเขาวงกฎที่เข้าไปแล้วออกไม่ได้ จนกว่าจะเดินถูกทาง ร้านในแถวสำเพ็งอย่างเดียวกับงานภูเขาทอง ผิดกับข้างในวัดอย่างเทียบไม่ได้ เพราะความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความนิยมผิดกัน
ทุกคนที่ก้าวเข้าประตูเหล็กแดงเข้าไปแล้ว จะรู้สึกเหมือนเมือง ๆ หนึ่งที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ผู้คนแต่งตัวสวยๆ งามๆ ร้านจัดกันอย่างประณีตและเรียบร้อย ไม่มีเสียงอึกทึกครึกโครม นอกจากเสียงดนตรีเบา ๆ พอได้ยินพูดกันไม่ต้องตะโกน ไม่มีคนแน่นจนถึงเบียดเสียดกัน ไม่มีใครมาถ่มขากปล่อยเชื้อโรคข้าง ๆ ตัว และสิ่งที่วิเศษยิ่งก็คือ ไม่มีขโมยเลย ฉะนั้นทุกคนที่มีเพชรนิลจินดาก็แต่งกันได้วุบวับ (ที่ไม่มีอาจจะยืมเขามาบบ้างก็คงมี) ทุกคนหน้าตาเบิกบาน เสียงทักทายกันแต่ว่า “ร้านอยู่ไหน เดี๋ยวไป” เพราะร้านของใครก็พาครอบครัวไปนั่งเป็นเจ้าของร้าน เป็นผู้ชาย ทั้งนี้ก็เพราะทุกคนจะได้เฝ้าในหลวงของเขาทั่วกัน ใครอยากเฝ้าก็นั่งอยู่หน้าร้าน เวลาเสด็จผ่านทางหยุดทอดพระเนตรและทักทายเจ้าของร้าน ทั้งครอบครัวก็ได้เฝ้า ใครอยากทูลอะไร อยากถวายอะไรก็ถวายได้
อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้นพวกนักเรียนเมืองนอก กำลังเรียนจบทยอยกันมาทุกปี ท่านพวกนี้เปรียบเสมือนเทวดาตกลงมาจากสวรรค์ ความคิดของท่านไม่ยอมให้ คลุมถุงชน นั้นเป็นแน่ ฉะนั้น “งานวัด” นี้ จึงเป็นที่หนุ่มสาวเขาเลือกคู่กันเอง แต่เขาไปนั่งคุยกันตามร้าน ไม่มีไปไหนด้วยกันได้ พวกเราเด็ก ๆ ขนาด ๑๑-๑๒ ขวบอยู่นอกเกณฑ์ ก็วิ่งเล่นสนุกแทบตาย ความสนุกนั้นคือ ไปเที่ยวตามเด็กรุ่นเดียวกัน ไปเที่ยวดูตุ๊กตา แม้จะแพงซื้อไม่ได้ เพียงไปนั่งดูก็สนุก ออกจากร้านตุ๊กตาไปร้านตกเบ็ด เขาทำเป็นสระและห่อสลากเป็นรูปสัตว์น้ำต่าง ๆ อยู่ในนั้น มีเบ็ดแม่เหล็กไว้ตรงปลาย ใครจะตกเบ็ดก็เสีย ๑ บาท แล้วยื่นเบ็ดลงไปในสระ ห่อสัตว์เหล่านั้นมีเหล็กอยู่ข้างใน ก็กระโดดขึ้นมาติดเบ็ดเรา ชอบเสียจริง ๆ จัง ๆ
อีกแห่งหนึ่งก็คือร้านที่มีกลไกต่าง ๆ เช่น มีร้านหนึ่งจัดเป็นถ้ำและมีลำธาร พาเรือลำเล็กขนาดนั่งคนเดียวลอยเข้าไปในถ้ำ แล้วพากลับออกมาเอง เราไปยืนดูเห็นประหลาดหนักหนาว่าทำไมเรือมันไปเองได้ และในน้ำมีอะไรบ้าง อยากรู้เสียจริง ๆ ตกลงนักกันว่าเราจะลงกันคนละลำ (มีอยู่ ๓ ลำ) ถ้าเขาเป่านกหวีดให้เรือออก เราจะเอามือสาวฝั่ง ๒ ข้างให้มันไปเร็วเข้า จนเห็นว่าทำไมเรือมันไปเองได้ เมื่อซื้อตั๋วใบละบาทและลงนั่งในเรือแล้ว พอเขาป่านกหวีดปล่อยเรือ เราก็สาวฝั่งเข้าไปในถ้ำ พอโผล่ก็เจอผู้ชายคนหนึ่งกำลังยกโพงสังกะสีพุ้ยน้ำดังโพล่ง ๆ เราตะโกนพร้อมกันว่า “นั่นแน่!” ตาพุ้ยน้ำหดตัวกลับเข้าไปหลังหิน หายเงียบ เราภาคภูมิใจเสียจริง ๆ ว่าจับได้แล้วว่าทำไมเรือมันไปเองได้ กลับออกมาคุยโมง จนเจ้าของร้านต้องมากระซิบว่า อย่าเอะอะไป
ที่ที่สนุกอีกแห่งหนึ่ง ก็คือในเมืองจีนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีประตูตีตั๋วเข้าไปข้างใน แล้วมีร้านเป็นห้องๆ รอบสี่เหลี่ยมขายอาหารจีน ขายน้ำชา ขายจันอับ และอะไรต่างๆ ที่เป็นจีน มียกพื้นเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางเมืองให้พวกตลกเล่น พวกเราติดละครตลก การเข้าเมืองนั้นเป็นอันไม่ได้ตีตั๋ว เพราะเราคุ้นเคยกับพวกขายตั๋วเสียแล้ว เราวิ่งเข้าวิ่งออกได้สบาย ส่วนเงินที่ใช้จ่ายบ้างนั้น ถ้าไม่มีหรือหมดก็เที่ยวขอพวกผู้ใหญ่ ซึ่งโดยมากเขาให้เพราะไม่ต้องการให้กวน
บางส่วนจาก ความสนุกในวัดเบญจมบพิตร พระนิพนธ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
coo
อสุรผัด

ตอบ: 10
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 16:29
|
|
ขอบคุณคุณเทาชมพู และคุณเพ็ญชมพูมากค่ะ
เรื่องคำเรียก ต้องกราบขออภัยจริงๆค่ะ ที่ใช้คำไม่สมควรโดยไม่ทันได้ไตร่ตรองก่อน ดิฉันไม่สามารถแก้ไขข้อความแรกได้ ต้องขออภัยด้วยนะคะ แต่สัญญาว่าครั้งถัดไปจะระวังให้มากกว่านี้ค่ะ
ดิฉันต้องขอบคุณคุณเพ็ญชมพูสำหรับข้อมูลที่นำมาให้อีกครั้งนะคะ
ที่มาสอบถามเนื่องจากดิฉันกำลังวาดรูป โดยอ้างอิงสมัยช่วงรัชกาลที่๔ ซึ่งไม่มั่นใจว่างานวัดในช่วงนั้น จะมีการมาออกร้านขายของแล้วหรือไม่ (เกรงว่าหากวาดไปตามความเข้าใจจะเป็นการเผยแพร่สิ่งผิดๆออกไป)
แต่จากข้อมูลที่คุณเพ็ญชมพูฝากไว้ให้รวมกับข้อมูลที่หามาดิฉันจึงคิดว่างานวัดช่วงสมัยรัชการที่๔ น่าจะเน้นที่การละเล่นและมหรสพเพื่อให้ผู้คนได้มาพบปะกันมากกว่า อาจมีการออกร้านบ้างแต่คาดว่าคงไม่มาก ซึ่งการออกร้านในงานวัดน่าจะนิยมและมีมากขึ้นตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่๕ เป็นต้นมา (หากดิฉันเข้าใจคลาดเคลื่อนไปต้องขออภัยด้วย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 18:58
|
|
^ น่ารัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 19:35
|
|
เอาภาพจิตกรรมฝาผนังให้ชม นี่เป็นภาพเขียนที่วัดพระแก้ววังหน้า บรรยากาศทิ้งผลกัลปพฤกษ์ ด้านขวาภาพปรากฎร้านขายของชาวบ้านที่พังเนื่องจากความวุ่นวาย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 19:39
|
|
จิตกรรมพระที่นั่งทรงผนวช วาดฉากการแสดงโขน มีร้านชาวจีนแผงลอยมาตั้งแผง แต่ไม่เยอะมาก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 19:48
|
|
จิตรกรรมในพุทธรัตนสถาน พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพจิตรกรรมได้กลิ่นอายของความคิดการออกร้านในปัจจุบันเข้าไปเยอะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 20:02
|
|
ภาพแผงขายของริมกำแพงโรงละคร ข้างศาลหลักเมือง สมัย ร.5
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 22:03
|
|
ขอบคุณค่ะ คุณ coo
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
coo
อสุรผัด

ตอบ: 10
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 15:41
|
|
ขอบพระคุณ คุณsiamese สำหรับรูปประกอบมากเลยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:00
|
|
เห็นความน่ารักของคุณcooแล้ว เลยต้องไปหาภาพให้บ้าง ภาพเหล่านนี้มาจากรายละเอียดภาพฝาผนัง รอบระเบียงคตวัดพระแก้ว เรื่องรามเกียรติ์บางห้องครับ
ทั้งหมดเป็นมหรสพในงานออกเมรุ ตัวละครใหญ่ๆที่โดนพระรามฆ่าตาย ไม่มีงานวัดเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:01
|
|
นี่ไม่ทราบว่าเป็นการแสดงอะไร จะเดาก็คงผิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:06
|
|
นี่คนละงานกับเมื่อกี้นะครับ
จะเห็นว่า โรงมหรสพจะอยู่ใกล้ๆกับระทา ซึ่งก็คือหอสูงที่จุดไฟให้ความสว่าง งานมหรสพถ้ามืดๆ คงไม่ปลอดภัยนักสำหรับคนมาเที่ยวชม อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยมีในงานวัด เพราะไม่สามารถลงทุนเรื่องความสว่างได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|