เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5197 รบกวนไขข้อข้องใจเรื่อง "การออกร้านในงานวัด" ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วยค่ะ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:06

หนังใหญ่ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:08

งิ้ว ไม่ทราบว่าเล่นเรื่องอะไร แต่ถ้านั่งโต๊ะเจรจากัน คนไทยคงเผ่นหมดเพราะดูไม่รู้เรื่อง แต่ในภาพเห็นนั่งกันเต็มหน้าเวที ก็แปลกอยู่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:11

โรงนี้หุ่นกระบอกแน่นอน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 ส.ค. 16, 17:12

ขอโทษที่ภาพไม่ค่อยจะชัด โรงนี้ถ้าไม่เล่นโขน ก็คงละครนั่นแหละ

คงพอได้บรรยากาศไปเขียนหนังสือต่อนะครับ


บันทึกการเข้า
coo
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 ส.ค. 16, 22:50

ขอบคุณ คุณNAVARAT.C มากเลยค่ะที่กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ตอนนี้ดิฉันได้ไอเดียจากรูปและข้อมูลในกระทู้นี้อย่างมาก
สารภาพว่าก่อนนี้ลืมนึกถึงจิตกรรมฝาผนังไปเลยค่ะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ

ขอบคุณมากจริงๆนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ส.ค. 16, 10:05

จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงการละเล่นต่าง ๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ส.ค. 16, 14:15

นี่คนละงานกับเมื่อกี้นะครับ

จะเห็นว่า โรงมหรสพจะอยู่ใกล้ๆกับระทา ซึ่งก็คือหอสูงที่จุดไฟให้ความสว่าง งานมหรสพถ้ามืดๆ คงไม่ปลอดภัยนักสำหรับคนมาเที่ยวชม อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยมีในงานวัด เพราะไม่สามารถลงทุนเรื่องความสว่างได้

ระทาเป็นหอสำหรับผูกดอกไม้ไฟ จุดดอกไม้ไฟแล้วก็เสร็จการ ไม่ใช่หอสูงไว้สำหรับจุดไฟนะครับ อาหน่อ การจุดไฟแบบโบราณไม่ยากเลย เอาไม้ไผ่ปักส่วนปลายถักให้บาน หาตะเกียงดินเผา (ทรงสามเหลี่ยมปากเจาะรู เคยเห็นงมได้จากเกาะเมืองอยุธยามากมายอยู่เหมือนกัน) นำมาวางไว้ที่ปลายถัก เสียบเชือกฝั้น ใส่น้ำมันจุดไฟ ก็สว่างแล้วครับ
บันทึกการเข้า
coo
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ส.ค. 16, 20:24

ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู และคุณsiamese ที่มาช่วยเสริมให้นะคะ

เอ ได้ความรู้เรื่องแสงสว่างมา เลยมีคำถามในใจค่ะว่าทำไมงานวัดต้องจัดตอนกลางคืน (ไม่เกี่ยวกับหัวข้อเสียแล้ว)
เข้าใจว่าต้องหลังพิธีการแล้วถึงจะมีงานรื่นเริง หรือต้องรอคนเลิกงานกันก่อนหรือเปล่าถึงจะดูคึกคักเลยจัดตอนกลางคืน (จะมีงานวัดที่จัดช่วงกลางวันบ้างไหมนะคะ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ส.ค. 16, 09:11

นี่คนละงานกับเมื่อกี้นะครับ

จะเห็นว่า โรงมหรสพจะอยู่ใกล้ๆกับระทา ซึ่งก็คือหอสูงที่จุดไฟให้ความสว่าง งานมหรสพถ้ามืดๆ คงไม่ปลอดภัยนักสำหรับคนมาเที่ยวชม อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยมีในงานวัด เพราะไม่สามารถลงทุนเรื่องความสว่างได้

ระทาเป็นหอสำหรับผูกดอกไม้ไฟ จุดดอกไม้ไฟแล้วก็เสร็จการ ไม่ใช่หอสูงไว้สำหรับจุดไฟนะครับ อาหน่อ การจุดไฟแบบโบราณไม่ยากเลย เอาไม้ไผ่ปักส่วนปลายถักให้บาน หาตะเกียงดินเผา (ทรงสามเหลี่ยมปากเจาะรู เคยเห็นงมได้จากเกาะเมืองอยุธยามากมายอยู่เหมือนกัน) นำมาวางไว้ที่ปลายถัก เสียบเชือกฝั้น ใส่น้ำมันจุดไฟ ก็สว่างแล้วครับ

ไม่น่าเชื่อที่ข้อมูลในอินเทอเน็ตหาไม่พบเลยว่า ระทาได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างอื่นด้วย นอกจากจะเป็นหอให้คนขึ้นไปจุดดอกไม้ไฟ
คิดดูสิครับ อุตส่าห์ลงทุนสร้างเสียใหญ่โตสวยงามอลังการขนาดนั้น จุดดอกไม้ไฟคืนๆหนึงคงไม่ถึงชั่วโมง แล้วปล่อยให้มันตกอยู่ในความมืดตลอดราตรี ทั้งอาณาบริเวณพึ่งแสงสว่างแต่จากตะเกียงดินเผาภาคพื้นดิน โดยไม่จุดอะไรให้แสงบนที่สูงบ้างเลย

ผมเขียนข้อความข้างบนจากความจำที่ติดในสมอง ที่เคยเห็นภาพระทาที่ข้างบนมีแสงกระจายออกมาโดยรอบ หรือจะในข้อเขียนในเรื่องราวเก่าๆ ผมยังหามายืนยันไม่ได้ เอาเป็นว่ามันเป็นเท่าที่คุณหนุ่มสยามว่า จนกว่าผมจะสามารถไปหาข้อมูลมาสนับสนุนผมได้ ถ้าหาไม่ได้ ก็ยอมรับเหมือนกันว่าผมเริ่มจะหลงๆลืมๆมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ส.ค. 16, 17:34

ส่วนหนึ่งในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามวันนี้ เห็นว่าเหมือนระทาจำลอง จึงนำมาให้ชมกันเฉยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ส.ค. 16, 18:20

ส่วนหนึ่งในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามวันนี้ เห็นว่าเหมือนระทาจำลอง จึงนำมาให้ชมกันเฉยครับ

อั๊ยย๋ะ !!! สิ่งนี้เขาเรียกว่า "บัตรบูชาเทพเคราะห์" ทำด้วยก้านกล้วยสร้างเป็นชั้น ถ้าเป็นชาวบ้านจะปักรูปเทพพระเคราะห์ประจำวัน แต่ในวังติดตั้งบุษบกประดิษฐานองค์เทพพระเคราะห์นั้นๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ส.ค. 16, 19:28

ตามนั้น
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 ส.ค. 16, 06:49

อ่านนิราศมีข้อมูลไม่น้อยนะคะ เช่น นิราศพระแท่นดงรัง เป็นง่นวัดจริงจัง เขาไหว้พระตอนเช้า ตกค่ำจุดดอกไม้เพลิง อากาศตอนกลางคืน แสงจันทร์วันเพ็ญ มหรสพครึกครื้น เป็นภาพรวมของงานวัดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ชัดเจน

ส่วนการออกร้าน ถ้าก่อนรัชกาลที่ ๕ มีขายอาหาร (มีตั้งแต่สมัยอยุธยา) สินค้าพื้นเมืองหรือตามฤดูกาลของท้องถิ่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 ส.ค. 16, 11:07

พอคุณกะออม พูดถึงนิราศพระแท่นดงรัง ทำให้นึกถึงนิราศเดือนขึ้นมาได้

ถึงเดือนแปดแดดอับพยับฝน      ฤดูดลพระวษาเข้ามาขวาง
จวนจะบวชเป็นพระสละนาง              อยู่เหินห่างเห็นกันเมื่อวันบุญ
ประดับพุ่มบุปผาพฤกษากระถาง      รูปแรดช้างโคควายขายกันวุ่น
ตุ๊กตาหน้าพราหมณ์งามละมุน      ต้นพิกุลลิ้นจี่ดูดีจริง
ต้นไม้ทองเสาธงหงส์ขี้ผึ้ง              คู่สลึงเขาขายพวกชายหญิง
อุณรุทยุดกินนรชะอ้อนพริ้ง              มีทุกสิ่งซื้อมาบูชาพระ

ขึ้นกุฎีที่รักรู้จักสนิท                      ดัดจริตพูดจาวิสาสะ
พระหนุ่มหนุ่มกลุ้มใจทำไมละ      เสียงจ๋าจ๊ะเจรจาพาสบาย

ในกลอนไม่ได้บอกว่า ของที่ซื้อไปบูชาพระมีขายที่ไหน  แต่บอกว่างานเข้าพรรษา(วันบุญ= วันทำบุญเข้าพรรษา) มีของพวกนี้ขาย
จะอนุโลมว่าเป็นงานออกร้านได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
coo
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 15 ส.ค. 16, 08:44

ขอบคุณ คุณกะออม และคุณเทาชมพู สำหรับข้อมูลและแหล่งเพิ่มเติมด้วยนะคะ
เดี่ยวต้องขอไปหามาศึกษาเพิ่มแล้ว

ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง