เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 42371 "โคมวอชิงตัน" เป็นอย่างไร
เที่ยงครึ่ง
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 23 ก.ค. 01, 08:21

ในสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมจุดโคมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "โคมวอชิงตัน" ลักษณะมันเป็นอย่างไรครับ  ใช้ไฟฟ้าหรือเปล่า? ใครรู้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.ค. 01, 20:21

ผมก็เกิดไม่ทันครับ แต่เคยอ่านหนังสือชุดเด็กบ้านสวน หนุ่มนักเรียน ของ พ. เนตรรังสี ดูเหมือนว่าจะเป็นตะเกียงแบบหนึ่ง สูบลม ให้แสงสว่างมากกว่าตะเกียงรั้วตะเกียงลานแบบเดิม แต่ไม่ใช่ใช้ไฟฟ้าครับ เป็นตะเกียงใช้เชื้อเพลิง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 09:36

กระทู้เก่า แต่ยังให้ความรู้ใหม่ได้

ได้ภาพโคมวอชิงตันมาจากเวป สยามตะเกียง.คอม ก็ถือโอกาสนำมาเสนอให้ชมกันครับ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 09:38

และโคมไฟแบบอื่นๆ ที่ท่านเจ้าของเก็บสะสมไว้



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 10:35

มาช่วยปั่นกระทู้เก่า
ตอนเด็กๆจำได้ว่าตามบ้านเรือน มีโคมแบบในรูปนี้   เป็นโคมเดี่ยวสีขาวเล็กๆ ปลายเป็นรอยจีบ  ห้อยจากสายไฟลงมาตรงๆ จากเพดาน  ไม่ได้เป็นโคมติดผนัง หรือโคมช่อ
หายไปหลายสิบปี  ก็มีของใหม่ทำเลียนแบบเก่า กลับมาให้เห็นอีกตามร้านขายโคมไฟ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 12:11

ใครยังทันใช้ตะเกียงชนิดนี้บ้างคะ   จำได้ไหมว่ามันคือตะเกียงอะไร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 13:18

^
^
ตะเกียงเจ้าพายุ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 13:21

โฆษณาตะเกียงวอชิงตัน

ห้าง เอส.เอ.บี

รูปตะเกียงวอชิงตันที่ลงไว้ในที่นี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้สั่งเข้ามาขายในประเทศสยามประมาณ ๑๐ ปีเศษแล้ว และตะเกียงวอชิงตันรุ่นเก่าก็ยังใช้กันอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้

เนื่องด้วยความดีพร้อมของตะเกียงวอชิงตันจนกระทำให้เป็นที่พอใจของมหาชนตลอดพระราชอาณาจักร์สยามแล้วก็ดี แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีภาพที่จะมีตะเกียงชนิดนี้ปลอมขึ้นอีก แต่การใช้นั้นจะดีแลทนทานไปกว่าตะเกียงวอชิงตัน..แท้ก็หามิได้  สิ่งที่ดีท่านควรมาซื้อจากห้าง เอส.เอ.บี. ผู้เปนเอเยนต์ นั่นแหละท่านจะได้ตะเกียง..แท้

ป.ล. ตะเกียงที่ไม่แท้แลใช้ไม่สู้ทนทานนั้น จะให้โทษภายหลัง

ภาพจาก จากหนังสือชวนหัวสมัยคุณปู่ ของเอนก นาวิกมูล โดยคุณเด็กเล่นไฟ จาก เว็บตะเกียงสยาม

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 13:54

โคมวอชิงตันที่วัดปรมัยยิกาวาส

ภาพจากหนังสือของใช้คลาสสิค  ของเอนก นาวิกมูล โดยคุณเด็กเล่นไฟ (คนเดิม) จาก เว็บตะเกียงสยาม

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 17:46

มาดูว่าตะเกียงเจ้าพายุมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?

ตะเกียงเจ้าพายุน้ำมันก๊าดดวงแรกถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยคุณ Max Graetz ที่เมืองเบอร์ลิน เยอรมัน เมื่อปี ค.ศ. 1910 และอีก 7 ปีต่อมา คุณ Max ซึ่งได้กลายเป็นผู้จัดการบริษัท Ehrich and Graetz ก็ทำการผลิตตะเกียงเจ้าพายุออกจำหน่ายภายใต้ชื่อ "Petromax" และ Petromax ต่อมาได้กลายเป็นตัวแทนแห่งคุณภาพและความทนทานของตะเกียงเจ้าพายุที่รู้จักและวางขายไปทั่วโลก

ตราสินค้าของ Petromax นั้นเป็นรูปมังกรคู่ล้อมพระอาทิตย์ครับ แต่ส่วนใหญ่ในเมืองไทยไม่มีใครเรียกว่าตรามังกรคู่เนื่องจากตราที่พิมพ์ไม่ได้นูนเด่นเหมือนตรากวาง ผมได้ตะเกียง Petromax มาก็ดูไม่ออกหรอกครับว่าเป็นมังกรคู่ จุดสังเกตของนักสะสม Petromax คือตราสินค้ารูปมังกรคู่ของ Petromax ตราฝั่งซ้ายเป็นตราในช่วง 1917-1943 สังเกตุได้จากตัวอักษรย่อของบริษัทเป็นตัว E อยู่ในอักษร G เมื่อ Ehrich and Graetz ยังรักกันดีอยู่ ส่วนตราฝั่งขวาเป็นช่วงหลังปี 1944 เมื่อ Ehrich แยกตัวจาก Graetz ออกไปผลิตตะเกียง"ตรากวาง"แทน

ภาพแรกคือ คุณ Max Graetz เจ้าของตำนาน Petromax

ภาพต่อมาคือ ตราสินค้า"มังกรคู่"ของ Petromax ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1943 (ฝั่งซ้าย)และหลัง (ฝั่งขวา)

ข้อมูลจาก www.thailandoutdoor.com







บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 17:52

ตะเกียงโรงงิ้ว -

หนึ่งในนวตกรรม(ในสมัยนั้น)ของตะเกียง Petromax คือตะเกียงโรงงิ้ว หรือ Petromax model 835 โดยตะเกียง
โรงงิ้วนั้นเป็นตะเกียงแขวนตามเสาไฟหรือให้ความสว่างตามโรงมหรสพ (ที่มาของชื่อตะเกียงโรงงิ้ว) มีทั้งขนาด
กลางและใหญ่ครับ ตะเกียงรุ่นนี้ได้ทำหน้าที่เหมือนโคมไฟส่องสว่างนอกอาคารหรือตามถนนจนกระทั่งไฟฟ้าและ
หลอดแสงจันทร์เข้ามาแทนที่ ว่ากันว่าในคลังเก็บของของการไฟฟ้าฯมีตะเกียงรุ่นเก่าเก็บนี้อยู่เป็นจำนวนมาก-เชื่อ
ว่ารื้อมาจากเสาไฟตามถนนภายหลังที่เปลี่ยนเป็นโคมไฟฟ้า

ภาพแรก - ตะเกียง Petromax รุ่น 835 หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ตะเกียงสายฟ้าแลบ" หรือ "ตะเกียงโรงงิ้ว" ในเมืองไทย

ภาพต่อมา - โฆษณาตะเกียง(เจ้าพายุ)ตั้งโต๊ะ Petromax รุ่น 822 ในนิตยสาร Illustrated Weekly of India เมื่อวันที่ 22  กันยายน คศ. 1929





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 18:06

อันตรายจากไส้ตะเกียงเจ้าพายุ ข้อมูลจาก สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติิ

ทอเรียมในไส้ตะเกียงเจ้าพายุ
(Thorium in Lantern Mantles)

พิพัฒน์ พิเชษฐพงษ์

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติิ

หลายคนคงยังไม่ทราบว่ามีการนำทอเรียมซึ่งเป็นวัสดุนิวเคลียร์มาใช้ในการผลิตไส้ตะเกียงเจ้าพายุ ที่ให้ความสว่างตามหมู่บ้านในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้ในการเดินทางตั้งแคมป์ท่องเที่ยว ใช้กันมานานกว่า 100 ปี โดยผู้ประดิษฐ์ไส้ตะเกียงเจ้าพายุนี้ เป็นนักเคมีชาวออสเตรีย ชื่อคาร์ล เอาเออร์ ฟอน เวลส์บาค (Carl Auer von Welsbach) ในปี 1884

บางครั้งจึงเรียกไส้ตะเกียงนี้ว่า เวลส์บาคแมนเทิล (Welsbach mantle) หรือ เอาเออร์ลิชท์ (Auerlicht) ไส้ตะเกียงเจ้าพายุที่มีทอเรียมเป็นองค์ประกอบนี้ สามารถให้แสงได้สว่างมาก เมื่อเทียบกับไส้ตะเกียงที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น ทำให้ตะเกียงเจ้าพายุนี้เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย สำหรับการให้แสงสว่างตามอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือตามถนนหนทาง

ไส้ตะเกียงเจ้าพายุนี้มีลักษณะเป็นถุงตะข่ายทำจากวัสดุไนลอนหรือเรยอน นำไปจุ่มในสารละลายของทอเรียมไนเทรต เพื่อให้ซึมเข้าไปอยู่บนเนื้อวัสดุ แล้วผึ่งให้แห้ง บางครั้งมีการเติมสารประกอบของธาตุอื่นเข้าไปด้วย คือ เติมซีเรียมเข้าไปทำให้มีความสว่างมากขึ้น และเติมเบริลเลียมทำให้ไส้ตะเกียงมีความทนทานใช้งานได้นานขึ้น หลังจากไส้ตะเกียงแห้งแล้ว จะมีการเคลือบด้วยแลกเกอร์ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง ไส้ตะเกียงที่ใช้กันจะมีทั้งที่เป็นแบบอ่อนและที่เป็นแบบแข็งที่มีโครงลวดยึดโยงไว้

ในการใช้งาน น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกอัดด้วยอากาศ แล้วพ่นเป็นไอระเหยออกมาที่ไส้ตะเกียง เมื่อจุดไฟติด มีความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ทอเรียมจะเปล่งแสงสว่างออกมา อุณหภูมิจะสูงกว่า 1000 องศาเซลเซียส

ในการใช้ไส้ตะเกียงใหม่ครั้งแรกนั้น ทอเรียมไนเทรตจะถูกเผาไหม้กลายเป็นทอเรียมออกไซด์ ในขณะที่แลกเกอร์ และเนื้อวัสดุจะถูกเผาไหม้ออกไป เหลือเป็นโครงเถ้าถ่านที่มีทอเรียมเกาะอยู่ ขณะใช้งานนั้น อนุภาคของทอเรียม ธาตุที่เติมลงไป รวมทั้งสารกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสี (decay) ของทอเรียม สามารถหลุดออกมาจากไส้ตะเกียงได้

มีการตรวจสอบพบว่า กัมมันตภาพรังสีที่ออกมาจากตะเกียงมีค่าต่ำมาก และโดยที่จากรังสีที่เกิดจากการสลายกัมมันตรังสีของทอเรียมนี้ ส่วนใหญ่เป็นรังสีแอลฟา ซึ่งมีความสามารถในการทะลุทะลวงออกมาได้น้อยมาก กระดาษเพียงแผ่นเดียวก็สามารถกำบังรังสีแอลฟานี้ได้ มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้ตะเกียงเจ้าพายุอย่างสม่ำเสมอทั้งปี ได้รับปริมาณรังสีจากไส้ตะเกียงนี้โดยเฉลี่ย อยู่ในช่วงประมาณ 0.3 ถึง 0.6 มิลลิเร็มต่อปี ซึ่งยังคงต่ำกว่าปริมาณรังสีที่คนทั่วไปได้รับจากรังสีในธรรมชาติมาก ซึ่งมีค่าประมาณ 200 ถึง 300 มิลลิเร็มต่อปี

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ตะเกียงเจ้าพายุ ควรหลีกเลี่ยงการหายใจ หรือกลืนกินอนุภาค หรือฝุ่นละอองที่หลุดออกมาจากไส้ตะเกียง เนื่องจากสารรังสี ที่เกิดขึ้นจากการสลายกัมมันตรังสีของทอเรียม สามารถเข้าไปตกค้างอยู่ภายในร่างกาย ทำให้อวัยวะในร่างกาย ได้รับรังสีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ ในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตตะเกียงเจ้าพายุ ได้พยายามหันมาใช้สารประกอบของธาตุอื่น ทดแทนทอเรียม ที่เริ่มมีการนำมาใช้กันคือ อิตเทรียม แต่พบว่า ยังไม่สามารถให้ความสว่างได้เท่าทอเรียม

มีข้อแนะนำ ในการใช้ตะเกียงเจ้าพายุ ที่ใช้ไส้ตะเกียง ที่มีทอเรียมเป็นองค์ประกอบ คือ หลีกเลี่ยงการจับต้องไส้ตะเกียง หรือเถ้าถ่านของไส้ตะเกียง ควรล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งที่มีการจับต้องไส้ตะเกียง จุดใช้ตะเกียงในที่ มีการถ่ายเทอากาศดี อย่าหายใจเอาไอร้อน หรือฝุ่นเถ้าจากตะเกียงเข้าสู่ร่างกาย ห่อหุ้มไส้ตะเกียงที่ไม่ใช้แล้ว ให้มิดชิดก่อนนำไปทิ้ง และไม่ควรเก็บไส้ตะเกียง จำนวนมาก ๆ ไว้ใกล้ตัว



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 18:54

โคมไฟรูปกินรี ถนนราชดำเนินกลาง



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 10:03

เพิ่งรู้พิษภัยของตะเกียงเจ้าพายุ  จากกระทู้นี้เอง

สมัยที่บ้านเรือนจำนวนมากในกรุงเทพยังไม่มีไฟฟ้า    คุณทวดใช้ตะเกียงลานกัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 10:23

เพิ่งรู้พิษภัยของตะเกียงเจ้าพายุ  จากกระทู้นี้เอง

สมัยที่บ้านเรือนจำนวนมากในกรุงเทพยังไม่มีไฟฟ้า    คุณทวดใช้ตะเกียงลานกัน

ตะเกียงลานนี้ นอกจากให้แสงสว่างแล้ว ยังมีหน้าที่อีกประการคือ ทำหน้าที่ต้มน้ำชาไปด้วย จะมีอุปกรณ์เสริมคือ ตะแกรงเหล็กครอบไว้ด้านบน และมีกาน้ำเล็ก ๆ สำหรับต้มน้ำให้เดือด เพื่อสำหรับจิบน้ำชาจีน ที่บ้านบรรพบุรุษข้าพเจ้ายังคงเห็นตะเกียงลาน แต่ไม่ใช้ใช้งานแล้ว

ยังทำให้นึกถึงบทประพันธ์ของ หยก บูรพา เรื่อง "อยู่กับก๋ง" เป็นบรรยากาศบนโต๊ะทำงานของก๋ง ที่หยกบรรยายไว้เมื่อมองลอดจากมุ้ง จะเห็นก๋งตื่นเช้าตีห้า มานั่งที่โต๊ะทำงานนี้ จุดตะเกียงและต้มน้ำเพื่อจิบน้ำชา และก๋งก็หยิบเครื่องมือเล็ก ๆ คือ กรรไกรปลายแหลม ไว้เล็มไส้ตะเกียงไม่ให้เกิดเขม่า ก๋งเล็มด้วยความชำนาญมาก....

ภาพโคมวอชิงตัน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง