เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12]
  พิมพ์  
อ่าน: 32245 เรื่องของไวน์กับงานสังคม
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 28 ก.ย. 16, 19:44

ภาพมุมซ้ายล่าง   ก็มีจานหมูกรอบที่น่าสนใจ วิธีการหั่นใส่จานก็จะเป็นดังภาพ  แล้วก็ต้องราดด้วยน้ำซอสดังที่เห็น น้ำซอสมีรสออกเค็มนำ อร่อยนะครับ อร่อยจริงๆไม่น้อยไปกว่าหมูกรอบที่ราดด้วยน้ำหมูแดงของเรา (ชึ่งยังจะต้องมีน้ำจิ้มช่วยอีกด้วย)  หมูกรอบนี้เป็นจานที่ต้องสั่งทุกครั้งที่ไป Heurigen   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 29 ก.ย. 16, 18:29

พูดถึงเมืองเวียนนาและ Heurigen เลยทำให้นึกถึงน้ำหมักที่เรียกว่า Sturm เป็นน้ำองุ่นขาวหรือแดงก็ได้ที่กำลังเริ่มหมักตัว เป็นน้ำขุ่นๆ มีฟองปุด มีรสหวานของน้ำคั้นผลไม้ มีแอลกอฮอลล์ในปริมาณน้อย ดื่มง่าย อร่อย แต่หากดื่มอย่างไม่บันยะบันยัง ก็อาจเมาหัวทิ่มบ่อหรือล้มก้นจ้ำเบ้าเอาง่ายๆ

น้ำหมักหรือเมรัยชนิดนี้ จะมีเฉพาะในช่วงเวลาที่ชาวไร่เขาหีบองุ่นเรียบร้อยแล้วและกำลังเริ่มหมักน้ำองุ่นเพื่อทำไวน์   Sturm เป็นเครื่องดื่มที่นิยมของผู้คนไม่น้อย   เมื่อใดที่เห็นป้ายแขวนไว้หน้าร้าน Heurigen ก็จะเห็นว่ามีแขกอยู่เต็มร้าน    Sturm อาจจะบรรจุในขวดที่ไม่ปิดฝา หรือเสิร์ฟมาในเหยือก   

ผมเห็นว่า Sturm ก็ไม่ต่างไปจากน้ำตาลเมา    ในพื้นที่ๆเป็นดงต้นตาลของไทยเรา ต้นตาลบางต้นก็อาจจะมีชื่อประจำต้นเป็นชื่อผู้หญิงเพราะๆ ตำแหน่งของต้นตาลชื่อเพราะๆนี้เป็นที่รู้กันเฉพาะพวกที่นิยมน้ำตาลเมาด้วยกัน  เมื่อชาวสวนไปเก็บน้ำตาลสดจากงวงตาลที่ได้ปาดทิ้งไว้ในตอนเช้า น้ำตาลสดบางส่วนจะถูกทำให้เป็นน้ำตาลเมา แล้วก็วางซ่อนไว้ที่โคนต้นตาลชื่อเพราะๆเหล่านั้น   ประมาณ 10 โมงเช้าก็ดื่มได้แล้ว  เอาแค่กรึ่มๆก็พอ หากหลวมตัวไปก็อาจเมาจนก้นจ้ำเบ้าเอาง่ายๆ   น้ำตาลเมาไม่เปิดเผยที่จำหน่าย แต่ Sturm เปิดเผยที่จำหน่าย   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 29 ก.ย. 16, 18:40

sturm


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 29 ก.ย. 16, 19:02

สุดท้าย  

ก็มีเมรัยในกลุ่มไวน์ที่ดื่มกันในช่วงอากาศหนาวเย็นด้วยการอุ่นให้ร้อน เหมือนการดื่มกาแฟร้อน  ผมไม่คุ้นเคยนักและรู้จักน้อยมาก  ในยุโรปก็จะเห็นมีขายอยู่ในลานขายของพื้นบ้านช่วงในเมืองในเดือนธันวาคมและมกราคม    ในญี่ปุ่นก็มี ซึ่งที่เคยเห็นเป็นประจำก็ในคืนวันส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่  ในรัสเซียก็มี ลากมาขายกันเป็นแท้งค์น้ำเลย (ไม่เคยลองครับ)  
บันทึกการเข้า
พระนาย
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 21:38

ก็มาถึงรส

รสจะเปรี้ยว เค็ม หวาน ขม ฝาด เฝื่อน ซ่่า น้ำข้นหรือใส ทั้งหมดนี้รู้ได้ด้วยสัมผัสภายในปาก   ปากของแก้วไวน์ก็เลยมีการออกแบบให้สามารถส่งไวน์เข้าไปในปาก ไปสู่จุดรับรู้ รับสัมผัส รับรสที่บริเวณต่างๆของลิ้น บางรูปทรงก็เพื่อส่งไวน์ที่บริเวณปลายลิ้น บางรูปทรงก็ส่งให้ไปไกลถึงโคนลิ้น บางรูปทรงก็ส่งไปแถวๆกลางลิ้น บางทรงก็ด้านข้างลิ้น     ก็เพราะแต่ละบริเวณของลิ้นของเรานั้น รับรู้รสและสัมผัสที่แยกต่างกัน   

ที่ออกแบบปากของแก้วไวน์เพื่อการเช่นนี้ ก็ด้วยต้องการให้เกิดความรู้สึกรับรู้และแยกแยะรสต่างๆ ก่อนที่จะผสมผสานกันไปเป็นรสที่มีความนุ่มนวล   ก็ไม่ต่างไปจากกรณีอาทิเช่น ผักและผลไม้บางชนิดที่เริ่มต้นด้วยความรู้สึกขมแล้วกลายเป็นหวาน หรือรู้สึกฝาดก่อนแล้วหวานตามมา เปรี้ยวแล้วตามมาด้วยความชุ่มคอ หรือ... ฯลฯ

ขอชื่นชมเรื่องความรู้เกี่ยวกับไวน์น่ะครับ แต่อย่าเคืองกันเลยน่ะครับ อาทิเช่น ไม่มีน่ะครับ

ขออนุญาตยกเอาบทความของคุณ ทิวสน ชลนรา มาน่ะครับ
ทุกวันนี้ คำว่า "อาทิเช่น" นับเป็นคำที่ได้ยินได้เห็นบ่อยครั้ง ทั้งจากพิธีกรงานอีเว้นต์ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ รวมทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จนหลายคนเข้าใจว่า เป็นคำไพเราะรื่นหู และใช้ถูกต้อง แต่แท้จริง เป็นการใช้ที่ผิด เพราะ “อาทิ” กับ “เช่น” สองคำนี้ ห้ามใช้รวมเป็นคำเดียวกัน และมีหลักการใช้ต่างกัน

คำว่า "เช่น"
เราจะใช้เพื่อยกตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างนั้นไม่ได้อยู่ในชุด หรือกลุ่มของเรื่องเดียวกัน และไม่ต้องเรียงตามลำดับ

ยกตัวอย่าง "ห้างเซ็นทรัลมีหลายแผนก เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องครัว เครื่องนอน รองเท้า นาฬิกา ฯลฯ" ทั้งนี้ ควรจำว่า เมื่อใดที่ใช้คำว่า "เช่น" ไม่ต้องมีคำว่า "เป็นต้น" ปิดท้ายตัวอย่างที่ยกมา ส่วนเครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) นั้น จะใช้ปิดท้ายหรือจะไม่ใช้ก็ได้

คำว่า "อาทิ"
มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "เป็นต้น" แต่คำว่า "อาทิ" จะต้องตามด้วยตัวอย่างกลุ่มคำในลำดับแรก เช่น "หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน อาทิ วันอาทิตย์"

อย่างไรก็ตาม คำว่า "อาทิ" ที่อยู่ท้ายตัวอย่างก็มี ซึ่งตัวอย่างนั้นต้องเป็นตัวอย่างลำดับแรก เช่น "หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน มีวันอาทิตย์ เป็นอาทิ"

แล้วคำว่า "เป็นต้น" ล่ะ เราจะใช้เมื่อใด ผมขอยกตัวอย่างการใช้คำว่า “เป็นต้น” ดังนี้...
-พนักงานต้องจัดหาเครื่องเขียนมาเอง ปากกา สมุดบันทึก ไม้บรรทัด เป็นต้น
-พนักงานต้องจัดหาเครื่องเขียนมาเอง เป็นต้นว่า ปากกา สมุดบันทึก ไม้บรรทัด
-พนักงานต้องจัดหาเครื่องเขียนมาเอง ปากกา สมุดบันทึก ไม้บรรทัด เป็นอาทิ

หวังว่า ท่านที่แวะมาอ่านจะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งการเขียนและการพูด หากอ่านไปเจอ หรือได้ยินใครพูดว่า "อาทิเช่น" ก็รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะครับ...ภาษาไทย ของคนไทย มีระเบียบการใช้ที่แตกต่างกัน เป็นเหตุเป็นผล และมีความงดงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ครับ

.

อ้างอิง : สำนักราชบัณฑิตยสภา
บันทึกการเข้า
พระนาย
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 10 ธ.ค. 17, 22:03

ต้องขออภัยอีกครั้งน่ะครับผมเองก็พึ่งเข้ามาในเรือนไทย ไม่ควรจะอวดเก่งผมยังเด็กนัก ที่ท้วงติงในความเห็นก่อนหน้า พอดีจะลบก็ลบไม่ได้ขออย่าถือสาเลยน่ะครับ

ป.ล ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเลยครับเกี่ยวกับไวน์และงานสังคม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 16:40

คุณตั้งเป็นผู้ใหญ่ใจดีและใจกว้าง  รับรองได้ว่าท่านไม่เคืองคุณพระนายค่ะ
คำว่า อาทิเช่น ได้ยินมากมายจนเดี๋ยวนี้ทำท่าจะกลายเป็นคำถูกไปแล้ว    ส่วนตัวดิฉัน ไม่ชอบคำว่า อาทิ  รู้สึกมันใช้ยาก   เลย "เช่น" คำเดียวให้หมดเรื่องไป

ขอบคุณคุณพระนายที่มาให้ความรู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 17:44

ขอบคุณที่คุณพระนายได้ท้วงติงมา   ไม่ได้มีความรู้สึกที่ไม่ดีใดๆเลย แต่กลับมีความรู้สึกที่ดีในหลายเรื่องเสียอีก

เรื่องแรก   ยังมีคนอ่านหนังสือแบบอ่านเอาความหรืออ่านเอาเรื่อง มิได้อ่านแบบผ่านๆไป เป็นการอ่านแบบมีการพิจารณาและวิเคราะห์พร้อมๆกันไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อสารออกมา   ผู้ที่อ่านหนังสือในลักษณะนี้จะเข้าถึงอรรถรสของหนังสือนั้นๆในแง่มุมต่างๆที่หลากหลาย  หากเกิดความรู้สึกที่ขัดใจหรือไม่พอใจถึงระดับหนึ่งก็จะละวาง  แต่หากเกิดความสุขใจหรือพอใจก็จะอ่านอย่างละเอียดและพยายามขุดลึกลงไปถึงเรื่องราวในองค์รวมที่ผู้เขียนได้พยายามประมวลออกมาเป็นประโยคสั้นๆ ใช้คำพูดเพียงคำสองคำ หรือรังสรรค์ออกมาเป็นวลีที่แสดงภาพได้ทั้งหมด

ผมคิดว่า การอ่านหนังสือของนักเรียน/นักศึกษาในลักษณะของการอ่านแบบเอาความหรืออ่านแบบเอาเรื่องในลักษณะดังกล่าวนี้ จะเป็นการลงฐานรากที่ดีมากพอสำหรับการนำไปต่อยอดในเรื่องใดๆที่จะทำให้ชิวิตมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคต 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 19:07

เรื่องที่สอง   รูปแบบของภาษาที่เราใช้สื่อสารกันนั้นมีหลากหลายวิธีการสุดแท้แต่จะคิดจำแนกกัน ภายในแต่ละรูปแบบเองก็ยังมีอีกหลากหลายลักษณะ   ซึ่งในรูปของภาษาเขียนเองก็มีหลากหลายเช่นกัน โดยหลักใหญ่ๆก็น่าจะแยกออกได้เป็นเขียนแบบภาษาพูดและเขียนแบบภาษาเขียน  ซึ่งทั้งสองแบบนี้ก็ยังมีแยกย่อยลงไปอีกตามสังคมและวัฒนธรรม   

ผมมีปัญหาในการเขียนเรื่องราวในกระทู้ เพราะว่าเรื่องที่จะเขียนมันเป็นเรื่องที่ได้มาจากประสบการณ์ เหมาะที่จะเป็นเรื่องเล่าในลักษณะการเขียนแบบ colloquial language มากกว่าที่จะเขียนแบบ proper language   การใช้ภาษาก็จึงแตกต่างออกไป 

การเขียนและการพูดแบบ proper Thai นั้น ผมเห็นว่ามันมีความต่างไปจากหลักเกณฑ์การเขียนและการพูดในภาษาอังกฤษแบบ proper English ที่ความถูกต้องและสมบูรณ์นั้นจะต้องเรียงลำดับดังนี้ SVOPT_Subject Verb Object Place Time   ซึ่งสำหรับภาษาไทยนั้นผมไม่มีความรู้จริงๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 20:10

เรื่องที่สาม   ดีใจที่คุณพระนายได้ออกมาระบายความอึดอัดและทักท้วงในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง  ผมเองก็มีความอึดอัดมากหลายในการใช้ภาษาไทยที่ปรากฎอยู่ในสื่อต่างๆเช่นกัน   ลักษณะการเขียนของผมนั้น แม้จะเขียนในลักษณะของการใช้ภาษาแบบ colloquial แต่ก็ได้พยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งภาษาแบบ proper  (ตามความคิดของผม)   ครับ..รู้ว่ามีคำว่า ก็ เยอะมาก  มีคำว่า แล้ว ก็มาก ... ก็ล้วนแต่ตั้งใจจะใช้คำเหล่านั้นและในลักษณะซ้ำซากด้วยครับ

ความตั้งใจอันดีของคุณพระนายในเรื่องของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องแบบมีข้ออ้างอิงนี้ น่าจะได้ขยายความตั้งใจเข้าไปในเว๊บอื่นๆด้วยครับ
บันทึกการเข้า
พระนาย
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 11 ธ.ค. 17, 23:37

ผมพึ่งเข้าใจบรรยากาศของความงดงามในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการของสมาชิกในรั้วบ้านเรือนไทยหลังนี้ก็เมื่อตอนนี้เอง ผมเองมีนิสัยที่แก้ไม่หายอยู่ประการนึงก็คือ จะต้องทักท้วงทันทีที่มีการพูดอ่านเขียนภาษาไทยผิดแผกไปจากแบบแผน
จนลืมนึกไปว่าภาษามันต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งๆที่ตัวเองก้ไม่ได้จบอักษร หรือ ภาษาไทย และบางครั้งแม้แต่ตัวเองก็ยังใช้คำผิด ก็ตาม จากความเห็นข้างต้นพอเห็นก็ทักท้วงตามนิสัย แล้วก็มาเสียใจในสิ่งที่ทำ
พอมาได้เห็นข้อความที่คุณตั้งบอกถึงความเข้าใจในเจตนาก็สบายใจขึ้นเป็นอันมากครับ

อีกเรื่อง พอได้อ่านเรื่องของไวน์กับงานสังคมเมื่อวาน วันนี้ก็มีเหตุต้องออกงานสังคมในฐานะแขก ก็ต้องขอบคุณในบทความที่คุณตั้ง ตั้งใจถ่ายทอดจากประสบการณ์อีกครั้งน่ะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง