naitang
|
คุณตั้งจะเล่าเรื่องไวน์ไหมล่ะคะ ดิฉันจะแยกกระทู้ให้ อย่าถ่อมตัวเลยค่ะ เดี๋ยวก็คงมีนักชิมไวน์ท่านอื่นๆมาแจมเองละค่ะ
"กระทู้สั้นๆเรื่องของไวน์กับงานสังคม" จะดีใหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
superboy
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 08 ส.ค. 16, 19:41
|
|
ดีครับ อยากรู้ แม้ปีนี้ผมจะดื่มแต่น้ำเปล่าไม่ใส่น้ำแข็ง ขนาดน้ำอัดลมยังไม่เอาเลยนะ ฮ่า ฮ่า ทว่าอนาคตก็คงต้องมีกันบ้างอีกนั่นแหละ งานสังคมมันเลี่ยงไม่ได้เนอะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 08 ส.ค. 16, 20:20
|
|
ขอบพระคุณ อ.เทาชมพู ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 08 ส.ค. 16, 21:05
|
|
ก่อนอื่นก็จะต้องขอเรียนท่านทั้งหลายที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ว่า ผมมิใช่นักดื่มไวน์ รสนิยมของผมหนักไปทางวิสกี้มากกว่าทางไวน์และเบียร์ เรื่องทั้งหลายที่จะเล่าสู่กันฟังในกระทู้นี้ นั้น ได้รับรู้มาจากผู้มีประสพการณ์ทั้งคนฝรั่งและคนไทย ผนวกกับการอ่านหนังสือเพิ่มเติมและประสพการณ์ตรงของตัวผมเอง
เรื่องราวที่จะกล่าวถึงในกระทู้นี้จึงน่าจะผิดแผกไปจากที่เซียนไวน์เขาว่ากัน
ช่วยชี้แนะเพื่อความถูกต้องด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 08 ส.ค. 16, 21:16
|
|
ไวน์เป็นเรื่องของรสนิยมและค่านิยมของคนที่อยู่ในสังคมลักษณะต่างๆ คิดไปในทางเป็นของสะสมก็มี คิดเป็นสินค้าที่มีราคาก็มี คิดไปในทางอวดโชว์ก็มี ฯลฯ
ในสังคมของคนในทวีปยุโรปนั้น งานสังคมกับไวน์เป็นของคู่กัน เมื่อมีงานสังคมก็ต้องมีไวน์มาเกี่ยวข้อง เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมายาวนาน (ผมจะไม่ย้อนไปไกลถึงยุคนักบวชเป็นเจ้าของไร่องุ่นและทำไวน์ดื่มกันเอง) ไวน์จึงมีส่วนเป็นทั้งหน้าตาของผู้จัดงาน ของงาน และทำให้เกิดความสุขแก่ผู้ที่มางาน (ก็คือ ตั้งแต่คนสองคนดื่มด้วยกัน เป็นครอบครัว เป็นงานเลี้ยง จนถึงงานเลี้ยงรับรอง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 08:08
|
|
พี่ Superboy มาเข้า Class ไวน์คนแรกเลย (ฮ่า)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 19:03
|
|
เมื่อไวน์อยู่กับสังคมมานาน ก็ย่อมต้องจะต้องมีพัฒนาการที่เกี่ยวกับเรื่องของ กฎ กติกา มารยาท (etiquette) ทั้งในด้านการผลิต การดื่ม และการใช้ในสังคม
เมื่อมีการทำไวน์ในยุคแรกๆนั้น ไวน์เป็นผลิตผลหวงห้ามสำหรับเฉพาะกลุ่มชน โดยเฉพาะนักบวช หรือผู้ที่ปกครองเขตพื้นที่ต่างๆ หรือคหบดีผู้เป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตอาณาของคณะบุคคลดังที่กล่าวมา จะปลูกต้นองุ่นแล้วเก็บผลิตผลส่งให้กับบุคคลเหล่านั้น บ้างก็เป็นงานที่ถูกบังคับให้ทำ บ้างก็ทำเป็นส่วยหรือภาษีอากรประจำปี บ้างก็ทำขายเป็นรายได้ของครอบครัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 19:37
|
|
โดยรวมๆ ต้นองุ่นชอบพื้นที่ๆมีอากาศเย็น อากาศถ่ายเทดี มีความชื้นในอากาศพอสมควร มีแดดดี และดินระบายน้ำดี พื้นที่ปลูกที่สำคัญๆจึงมักจะเป็นพื้นที่ในหุบเขากว้างๆ ซึ่งหมายความว่าก็จะต้องมีแม่น้ำสายสำคัญที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปีไหลผ่าน ก็คงพอจะนึกออกนะครับว่ามีแม่น้ำสายสำคัญในยุโรปชื่ออะไรบ้าง การกระจายของไร่องุ่นจึงแผ่ไปตามร่องเขาเหล่านั้น
แต่ดินหินที่รองรับอยู่ใต้ต้นองุ่นในพื้นที่ต่างๆเหล่านั้นไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด ยังผลให้ได้องุ่นที่มีรสและกลิ่นต่างกันไป ทำให้เมื่อเอาไปทำเป็นไวน์ก็จะได้ไวน์ที่มีรสและกลิ่นต่างๆกันออกไปในแต่ละพื้นที่และแม้กระทั่งแต่ละบริเวณในพื้นที่ละแวกเดียวกัน เซียนไวน์ทั้งหลายจึงดมไวน์แล้วก็พยายามที่จะจำแนกกลิ่นต่างๆที่โชยมาจากไวน์ของพื้นที่ต่างๆหรือของไร่ต่างๆ
นอกจากกลิ่นแล้ว ก็ยังมีรสและความเข้มข้นที่แตกต่างกัน แถมยังผนวกเรื่องสีของไวน์เข้าไปอีกด้วย
องุ่นที่จะนำมาทำไวน์ของในแต่ละพื้นที่นั้น สามารถจะปลูกได้ทั้งองุ่นแดงและองุ่นขาว และก็ไม่ได้หมายความว่าพื้นที่ๆได้องุ่นแดงมาทำไวน์ได้ดีจะได้องุ่นขาวสำหรับไวน์ขาวที่ดีตามไปด้วย และก็ในทำนองกลับกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 09 ส.ค. 16, 20:30
|
|
องุ่นที่ถูกนำพาไปปลูกในถิ่นอื่น ก็มีทั้งแบบยังคงเรียกชื่อเดิม ใช้ชื่อเดิมแต่เพี้ยนไปตามภาษาถิ่น และตั้งชื่อใหม่ บ้างก็ผสมข้ามพันธุ์กันได้สายพันธุ์ใหม่ กระจายพันธุ์ไปในพื้นที่ห่างไกล ฯลฯ องุ่นทำไวน์ที่เรารู้จักกันในบ้านเรานั้นมีไม่กี่ชนิด ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ(ถูกจำกัด)ด้วยการทำตลาดและการถูกชักนำ(ว่าของดีต้องเป็นเช่นใด)ของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 19:34
|
|
จากเรื่องราวพอสังเขปที่เล่ามา เมื่อพิจารณาในเชิงของความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพได้ว่า หุบเขาและแม่น้ำที่มีความสำคัญอย่างเด่นชัดเหล่านั้น ก็คือ แม่น้ำ Danube แม่น้ำ Rhine และแม่น้ำโรนน์ Rhone ซึ่งบรรดาความหลากหลายของสายพันธุ์องุ่นและไวน์ก็อยู่ในพื้นที่ตามแม่น้ำเหล่านี้
แม่น้ำ Danube และแม่น้ำ Rhine เป็นเสมือนขอบเขตอำนาจและอิทธิพลทางด้านตะวันออกของอาณาจักร Roman (Byzantine) เป็นเขตอาณาของศาสนจักรนิกาย Catholic แม่น้ำทั้งสองนี้เป็นเส้นคมนาคมและการค้าขายสายหลัก การปลูกไวน์และการทำไวน์จึงมีตลอดความยาวของลำน้ำ และก็ไม่เลยเข้าไปในพื้นที่ Asia Minor ซึ่งเป็นเขตอาณาของศาสนจักรอิสลาม
ไวน์ตามเส้นทางนี้ ในพื้นที่ทางเหนือจะมีรสออกไปทางแบบไวน์ฝรั่งเศสอย่างที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งก็ไปได้ดีกับลักษณะอาหารที่มีรสออกไปทางเค็ม แต่เมื่อลงมาทางใต้เรื่อยๆ ไวน์ก็จะมีรสหวานเพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับลักษณะของอาหารที่มีรสจัดมากขึ้น (ด้วยเครื่องเทศและความเผ็ดร้อน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 19:37
|
|
ขออภัยครับ เขียนเพลินไปหน่อย เอาแม่น้ำ Rhine มาผนวกเข้าไปในเรื่องของแม่น้ำ Danube 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 20:18
|
|
ไวน์ในพื้นที่ของแม่น้ำ Rhine มักจะออกรสไปทางหวานนิดหน่อย และส่วนมากจะเป็นไวน์ขาว แม่น้ำนี้ไหลผ่านประเทศที่อยู่ใกล้ฝั่งทะเลโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ Benelux และเยอรมันตอนเหนือ ก็เป็นไวน์ที่เหมาะกับสัตว์น้ำและอาหารทะเล
ไวน์ของพื้นที่แม่น้ำ Rhone ผมไม่คุ้นนัก ในพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำมีการปลูกองุ่นขาวพันธุ์ที่เอามาทำไวน์จนมีชื่อเสียงโด่งดัง มีรสออกไปทางหวานนิดหน่อย มีกลิ่นที่หอมหวลมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 20:35
|
|
คงพอจะได้ภาพกว้างๆส่วนหนึ่งแล้ว และที่เล่ามาก็คงพอจะเห็นได้ว่า ไวน์นั้นมันมีพลวัตรอยู่ในแผ่นดินยุโรปอย่างไร
เมื่อประเทศในยุโรปหลายประเทศออกไปแสวงหาอาณานิคม ก็มีการเอาองุ่นไปลองปลูกด้วย ก็เลยมีการทำไวน์ในหลายประเทศนอกพื้นที่ยุโรป เช่น ในพื้นที่อัฟริกาตอนใต้ ในประเทศทางอเมริกาใต้หลายประเทศ ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งต่อมาก็มีการทดลองปลูกและขยายพื้นที่เป็นหย่อมๆออกไปเรื่อยๆ
คราวนี้นอกจากจะมีชื่อองุ่นพันธุ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาแล้ว ไวน์ก็มีการผลิตออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขายกันในประเทศต่างๆทั่วโลก นักดื่มไวน์ก็เลยแบ่งไวน์ออกอย่างง่ายๆเป็นสองพวก คือ ไวน์โลกเก่า กับ ไวน์โลกใหม่ โลกเก่าก็คือแผ่นดินยุโรป โลกใหม่ก็คือนอกยุโรป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 10 ส.ค. 16, 20:40
|
|
ชักสับสนวุ่นวายแล้วนะครับ ก็พยายามจะเล่าพื้นฐานอย่างย่อเพื่อเป็นพื้นก่อนที่จะเข้าเนื้อหาที่ต้องการจะกล่าวถึง ฮิ ฮิ ยังใจชื้นอยู่ ยังไม่เพี้ยนมากไปจนเซียนไวน์ต้องเข้ามาแย้ง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 11 ส.ค. 16, 18:32
|
|
เมื่อไวน์เป็นที่นิยมของคนทั่วโลกมากขึ้น ตลาดมีขนาดใหญ่มากขึ้น แถมไวน์โลกเก่าก็มีผลผลิตไม่พอด้วยว่าพื้นที่สำหรับการปลูกองุ่นมีจำกัด ขยายออกไปไม่ได้ นักลงทุนก็เลยหันไปขยายการผลิตไวน์นอกทวีปยุโรปมากขึ้น ซึ่งผืนแผ่นดินที่เคยอยู่ในเขตอาณาก็มีอยู่ในทุกทวีป ผืนดินมีอย่างกว้างขวาง มีราคาถูก และยังสามารถเลือกพื้นที่ๆมีลักษณะดินและภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกองุ่น จึงทำให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ที่ใช้พื้นฐานทางวิชาการ มีการผสมและผลิตสายพันธุ์องุ่นใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และผลิตไวน์ออกสู่ตลาด
ไวน์ของโลกเก่าแต่ละยี่ห้อ แต่ละเจ้า มีพื้นที่ปลูกองุ่นในเกณฑ์ของหลักร้อยไร่ ก็ย่อมสู้กับพวกที่มีพื้นที่ปลูกองุ่นในหลักพันไร่ไม่ได้ ก็เลยมีการเรียกไวน์โลกใหม่ของพวกที่มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากๆนี้ว่าพวก Estate wine ส่วนพวกที่ทำไวน์แบบผลิดออกมาในระบบความคิดแบบอุตสาหกรรม ก็เรียกว่าพวก Industrial wine
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|