เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 10053 สอบถามเกี่ยวกับเรื่องเมืองตากในสมัยอยุทธยา-รัตนโกสินทร์ครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 09:28

เมืองตาก --> ตักกสิลาบุรินทร์
เข้าใจคิด เท่มากค่ะ
แต่เจ้าเมืองไม่ยักใช่พระยาตักกสิลารักษา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 09:38

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดตากตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๕ - ๒๔๙๒

http://www.tak.go.th/history_governor.htm


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 10:35

อ้างถึง
เมืองตาก --> ตักกสิลาบุรินทร์

เป็นการเรียกให้สั้น ตอนอุปนิสัยคนไทยเหมือนกันสินะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 11:17

ทินนาม "วชิรปราการ" หรือ "วิเชียรปราการ" เคยใช้ในสมัยธนบุรี แต่ก็เป็นทินนามของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ใช่เจ้าเมืองกำแพงเพชร
ในรัชกาลที่ ๕ ราชทินนาม "วิเชียรปราการ" ก็เคยใช้สำหรับผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/011/221.PDF


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 11:28

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๖

http://www.kamphaengphet.go.th/new_web/New_web/his_05.htm


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 11:32

ทินนาม "วชิรปราการ" หรือ "วิเชียรปราการ" เคยใช้ในสมัยธนบุรี แต่ก็เป็นทินนามของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ใช่เจ้าเมืองกำแพงเพชร
ในรัชกาลที่ ๕ ราชทินนาม "วิเชียรปราการ" ก็เคยใช้สำหรับผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/011/221.PDF


เท่าที่ดูจากทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร จะใช้แค่ท่านเดียวครับ ก่อนหน้านั้นใช้ "รามรณรงค์สงคราม" แทบทุกคนเลยครับ

http://www.kamphaengphet.go.th/new_web/New_web/his_05.htm


ชน คห.คุณเพ็ญชมพูพอดีครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ส.ค. 16, 15:58


ทินนาม "วชิรปราการ" หรือ "วิเชียรปราการ" เคยใช้ในสมัยธนบุรี แต่ก็เป็นทินนามของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ใช่เจ้าเมืองกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งพญาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการเมือ พ.ศ.๒๓๑๙ ซึ่งปรากฏชื่อในจารึกวัดพระธาตุศรีจอมทองว่า “พฺรฺยาหฺลวฺงวชฺชิรบฺรากานกำแพฺงเพฺก” ครับ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้ากาวิละแห่งลำปางก็ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ในยศพระยาวชิรปราการเช่นเดียวกัน


ในจารึกทำเนียบหัวเมืองที่วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก็ยังระบุว่าทินนาม "วิเชียรปราการ" เป็นทินนามของเจ้าเมืองเชียงใหม่ครับ จึงเข้าใจได้ว่าใช้ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยธนบุรีเรื่อยมาครับ



"๏ เมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองชื่อพระยาวิเชียรปราการ ประเทศราชขึ้นกรมมหาดไทย"


http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=10660


น่าคิดเหมือนกันครับว่าเมืองเชียงใหม่มีอะไรที่สามารถสื่อถึง 'วิเชียรปราการ (กำแพงเพชร)' ได้บ้าง

ถ้าให้เดา อาจจะเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีคำกล่าวมาตั้งแต่โบราณว่าเมืองเชียงใหม่ไม่สามารถตีได้ในครั้งเดียว ต้องมาสองครั้งก็เป็นได้ครับ ซึ่งเรื่องนี้มีกล่าวถึงอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี โดยเป็นพระราชดำรัสของพระเจ้ากรุงธนบุรีก่อนจะมีพระราชโองการให้ถอยทัพจากเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกใน พ.ศ.๒๓๑๓ ครับ

"ตรัสว่าอันเมืองเชียงใหม่นี้ต้องทำนายอยู่ คำปรำปราเล่าสืบมาว่ากษัตริย์พระองค์ใดยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่นั้นครั้งเดียวมิได้ ต่อยกไปเป็นคำรบสองจึงได้ ถ้าจะเข้าหาญบุกรุกเอาดวยกำลังกล้าบัดนี้ก็จะได้ แต่จะเสียไพร่พลมาก และยกมาบัดนี้เหมือนจะดูท่วงทีท่าทางและกำลังข้าศึก ก็ได้เห็นประจักษ์แล้ว ถ้ายกมาครั้งหลังเห็นได้ถ่ายเดียว จึงให้ถอยทัพหลวงล่วงมาเวนหนึ่ง กองทัพทั้งปวงก็เลิกเลื่อนถอยมาตาม"
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ส.ค. 16, 09:37

ดิฉันกลับไปคิดอีกอย่าง ไม่ต้องเชื่อก็ได้เพราะเดาล้วนๆ   
คือเดาว่าราชทินนามของเจ้าเมืองที่สอดคล้องกับเมืองก็มี  เช่นพระยาเถินบุรีเจ้าเมืองเถิน    และที่ไม่สอดคล้องก็มี  เช่นพระยาวิชิตชลธีเจ้าเมืองตาก
 ประการหลังอาจเกิดจากการโยกย้ายขุนนางด้วยเหตุผลต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการถึงแก่กรรมของคนเก่า  หรือการเลื่อนตำแหน่งให้ความดีความชอบแก่คนใหม่ซึ่งมาจากอีกเมืองหนึ่ง    ย้ายกันบ่อยเข้า  ชื่อเจ้าเมืองกับเมืองก็เลยสอดคล้องกันบ้างไม่สอดคล้องกันบ้าง  แล้วแต่กรณี
การบันทึกหลักฐานต่างๆ  อาจบันทึกตามสภาพความเป็นจริงในขณะที่บันทึก    แม้ว่าจะบันทึกในฐานะทำเนียบขุนนาง ก็ไม่ได้หมายความว่านี่คือกฎระเบียบตายตัว ค่ะ


ตามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าทำเนียบหัวเมืองในจารึกนี้ เป็นสิ่งที่รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกเอาไว้ในวัดพระเชตุพนเช่นเดียวกับสรรพวิชาทั้งหลาย จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ให้ยึดเป็นหลักยึดถือพอสมควรครับ และโดยปกติแล้วทินนามในช่วงสมัยอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์ เท่าที่ดูมักจะค่อนข้างคงที่ อาจมีทินนามพิเศษประปรายบ้าง แต่จะเยอะมากขึ้นในช่วงรัชกาลที่ ๔-๕ เป็นต้นมาครับ

เมื่อลองตรวจสองดูแล้ว ทินนามเจ้าเมืองในจารึกจะตรงกับในพระอัยการนาทหารหัวเมือง (เฉพาะเมืองที่มีระบุ) เกือบทุกเมืองครับ บางเมืองยังจารึกบรรดาศักดิ์ว่า "ออกญา" อย่างโบราณด้วยครับ

มีไม่ตรงแค่เมืองเดียวคือเมืองกาญจนบุรีที่ในพระอัยการมีทินนามว่า "ออกพระพิไชยภักดีสรีมไหยสวรรค" แต่ในจารึกคือ "พญาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศศ ประเทศนิคม ภิรมราไชยสวรรย์" ครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ส.ค. 16, 14:24

มีปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งผู้ว่าราชการเมืองตากยุคต้นๆ คือ "พระยาสุจริตรักษา" ครับ


ดิฉันกลับไปคิดอีกอย่าง ไม่ต้องเชื่อก็ได้เพราะเดาล้วนๆ   
คือเดาว่าราชทินนามของเจ้าเมืองที่สอดคล้องกับเมืองก็มี  เช่นพระยาเถินบุรีเจ้าเมืองเถิน    และที่ไม่สอดคล้องก็มี  เช่นพระยาวิชิตชลธีเจ้าเมืองตาก
 ประการหลังอาจเกิดจากการโยกย้ายขุนนางด้วยเหตุผลต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการถึงแก่กรรมของคนเก่า  หรือการเลื่อนตำแหน่งให้ความดีความชอบแก่คนใหม่ซึ่งมาจากอีกเมืองหนึ่ง    ย้ายกันบ่อยเข้า  ชื่อเจ้าเมืองกับเมืองก็เลยสอดคล้องกันบ้างไม่สอดคล้องกันบ้าง  แล้วแต่กรณี
การบันทึกหลักฐานต่างๆ  อาจบันทึกตามสภาพความเป็นจริงในขณะที่บันทึก    แม้ว่าจะบันทึกในฐานะทำเนียบขุนนาง ก็ไม่ได้หมายความว่านี่คือกฎระเบียบตายตัว ค่ะ


ข้อสันนิษฐานของอาจารย์เทาชมพูเองก็มีน้ำหนักเหมือนกันครับ โดยมักจะเกิดกรณีอย่างที่กล่าวมาในราว สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ที่มีการตั้งทินนามใหม่ๆ มาก และอาจจะมีการโยกย้ายเมืองโดยไม่ได้เปลี่ยนทินนาม

อย่างทินนาม "สุจริตรักษา" ซึ่งเป็นทินนามของเจ้าเมืองตากในสมัยรัชกาลที่ ๕ เคยเป็นทินนามของเจ้าเมืองลพบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๔

โดยพระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ รัชกาลที่ ๔ ระบุว่าทรงแปลงทินนามหลายเมือง อย่างเมืองลพบุรีเคยมีเจ้าเมืองทินนาม "พระนครพราหมณ์" ก็ทรงแปลงใหม่เป็น "พระยาสุจริตรักษาลพบุรานุรักษ" ส่วน "พระนครพราหมณ์" ให้เปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งปลัดเมืองแทน

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ปรากฏในสำเนาสัญญาบัตรแต่งตั้งขุนนางหัวเมือง เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ ซึ่งเป็นปีแรกในรัชกาลระบุทินนามเจ้าเมืองลพบุรีว่า "พระยาสุจริตรักษาลพบุรานุรักษพิทักษ์ทวิชชาติภูมิ" ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ส.ค. 16, 15:49

อย่างเมืองลพบุรีเคยมีเจ้าเมืองทินนาม "พระนครพราหมณ์"

อาจารย์ศานติ ภักดีคำ ให้ความเห็นไว้ในบทความเรื่อง ศรีรามเทพนคร : สร้อยนามหรือชื่อเมือง วารสารรวมบทความทางวิชาการ คณะโบราณคดี ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (กรกฏาคม - ธันวาคม) ว่า ราชทินนามเจ้าเมืองลพบุรีที่ถูกต้องคือ "นครพระราม" อันหมายความว่า ลพบุรี คือ นครของพระราม

http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/72_10.pdf หน้า ๑๖๒


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 ส.ค. 16, 08:48

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ปรากฏในสำเนาสัญญาบัตรแต่งตั้งขุนนางหัวเมือง เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ ซึ่งเป็นปีแรกในรัชกาลระบุทินนามเจ้าเมืองลพบุรีว่า "พระยาสุจริตรักษาลพบุรานุรักษพิทักษ์ทวิชชาติภูมิ" ครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ส.ค. 16, 08:52

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2792.PDF


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ส.ค. 16, 09:12

เท่าที่ดูจากทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร จะใช้แค่ท่านเดียวครับ ก่อนหน้านั้นใช้ "รามรณรงค์สงคราม" แทบทุกคนเลยครับ

http://www.kamphaengphet.go.th/new_web/New_web/his_05.htm



ในรัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการให้ พระยาวิเชียรปราการ (ฉาย อัมพะเศวต) ไปเป็น พระยาไชยนฤนาท ผู้ว่าราชการเมืองชัยนาท ให้พระกำแพงพลล้าน (ชื้น คชภูมิ) เป็น พระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชรแทน

ดังนั้น ลำดับที่ ๑๓ ที่ถูกต้องจึงเป็น พระยาวิเชียรปราการ (ชื้น คชภูมิ)

ดังนี้นอย่างน้อยก็มีผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชรที่ใช้ราชทินนามว่า "วิเชียรปราการ" ๒ ท่าน  ยิงฟันยิ้ม

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1027.PDF


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 04 ส.ค. 16, 15:11

ดังนั้น ลำดับที่ ๑๓ ที่ถูกต้องจึงเป็น พระยาวิเชียรปราการ (ชื้น คชภูมิ)
พระยาวิเชียรปราการ (ชื้น คชภูมิ) และ หนังสือ "เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง" พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

ภาพจาก http://www.muangklang.com/historyofprawicher/historyprakamhang.html


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 04 ส.ค. 16, 15:16

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูที่กรุณามาเสริมข้อมูลครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 20 คำสั่ง