เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 19
  พิมพ์  
อ่าน: 57077 กรุงเทพเมื่อวานนี้
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 12:21

เห็นภาพในคห. 244
แล้วเกิดความสงสัยถึง
มูลเหตุในการขยายสนามหลวง
ที่ไปกินเขตของวังหน้า

รื้้อกำแพงวังออก-
เชื้อสายวังหน้า ท่านไม่ว่ากระไรหรือ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 12:52

เห็นภาพในคห. 244
แล้วเกิดความสงสัยถึง
มูลเหตุในการขยายสนามหลวง
ที่ไปกินเขตของวังหน้า

รื้้อกำแพงวังออก-
เชื้อสายวังหน้า ท่านไม่ว่ากระไรหรือ
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ครองวังหน้าเป็นองค์สุดท้าย
เสด็จทิวงคตเมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1247 (28 สิงหาคม พ.ศ. 2428)
พระชันษา 48 ปี
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด
ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง
จนถึงปีจอ พ.ศ. 2429 จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
เป็นสยามมกุฎราชกุมาร
และยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช

เจ้าวังหน้าสิ้นสุดไม่มีใครเป็นเจ้าของวังหน้าอีกต่อไป
รื้อเฉพาะส่วนหน้า
ส่วนที่เป็นตำหนักด้านหลังยังประทับได้
จนหมดรุ่น
ที่เหลือจากทำสนามหลวงเปลี่ยนเป็น
ม.ธรรมศาสตร์ ,พิพิธภัณฑ์ ,เป็นตึกกระทรวงในระยะแรก
พัฒนามาตามลำดับจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 13:02

แผนที่กรุงเทพฯ พิมพ์ในปี พศ 2439 
วังหน้ายังมีอยู่ครบ 
การขยายสนามหลวงต้องหลังปี 2439
อาจารย์ชัย เรืองศิลป์ ประมาณว่า ปี 2440-2441
การขยายสนามหลวงทำกันหลายระยะครับ และใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นราวๆ ช่วงรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประเทศแถบยุโรป ครั้งที่ 1 ราว พ.ศ. 2440
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 13:10

นางมาร์กาเร็ต แลนดอน ตามสามีที่เป็น missionaries มาอยู่เมืองไทย
เธอสะสมภาพไว้มาก บางภาพอาจจะไม่เคยเห็นที่ไหน
เธอบริจาคให้วิทยาลัยวีตันทั้งหมด
ทุกภาพเขาใส่ลายนํ้าไว้ ถ้าไม่มีลายนํ้าน่าจะสวยงามมาก

ภาพที่หนึ่ง      จะมีที่เธอเก็บไว้ที่เดียว ยังไม่เคยเห็นที่ไหน
เคยเอามาลบลายนํ้าออก ให้ดูดีหน่อย   มีการแชร์ต่อกัน

ภาพที่สอง  เป็นกำแพงเมืองและถนนรอบใน บริเวณวัดเลียบ
ไม่แน่ใจว่ากำแพงเป็นด้านใต้หรือตะวันตก
ถนนเลียบกำแพงน่าจะเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัย ร. 1
ภาพนี้น่าจะเหลืออยู่ที่เดียว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 13:26

แผนที่กรุงเทพฯ พิมพ์ในปี พศ 2439 
วังหน้ายังมีอยู่ครบ 
การขยายสนามหลวงต้องหลังปี 2439
อาจารย์ชัย เรืองศิลป์ ประมาณว่า ปี 2440-2441
การขยายสนามหลวงทำกันหลายระยะครับ และใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นราวๆ ช่วงรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประเทศแถบยุโรป ครั้งที่ 1 ราว พ.ศ. 2440

ที่ผมบอกว่ารื้อวังหน้า 2440-2441 ---ไม่ใช่
อาจจะพูดสั้นไปหน่อย
ปี 2440-2441 มีการขยายสนามหลวงให้มีขนาดรูปร่างอย่างที่เราเห็นปัจจุบัน
จึงรื้อบางส่วน   ตามรูปที่แสดง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 17 มิ.ย. 17, 17:47

เห็นภาพในคห. 244
แล้วเกิดความสงสัยถึง
มูลเหตุในการขยายสนามหลวง
ที่ไปกินเขตของวังหน้า

รื้้อกำแพงวังออก-
เชื้อสายวังหน้า ท่านไม่ว่ากระไรหรือ

ตอนนั้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จทิวงคตแล้ว และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เลิกวังหน้า โดยสถาปนาตำแหน่งพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารแทน วังหน้าถูกทอดทิ้งให้ทรุดโทรม ดังภาพที่เห็นคือพลับพลาสูง อันเป็นที่ประทับสำหรับทอดพระเนตรการฝึกทหาร ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านเหนือของทุ่งพระเมรุ พอถึงจุดนี้แล้วถ้าไม่รื้อก็คงจะพังลงมาเอง
และการที่เอาเขตพระราชฐานวังหน้าส่วนนอกนี้ออก เพื่อจัดพื้นที่สนามหลวงให้สวยงามดังที่เห็นในปัจจุบันก็ดีแล้ว เชื้อสายวังหน้าคงไม่มีใครบังอาจที่จะไม่เห็นด้วยครับ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 08:07

เห็นภาพในคห. 244
แล้วเกิดความสงสัยถึง
มูลเหตุในการขยายสนามหลวง
ที่ไปกินเขตของวังหน้า

รื้้อกำแพงวังออก-
เชื้อสายวังหน้า ท่านไม่ว่ากระไรหรือ

ตอนนั้นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จทิวงคตแล้ว และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เลิกวังหน้า โดยสถาปนาตำแหน่งพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารแทน วังหน้าถูกทอดทิ้งให้ทรุดโทรม ดังภาพที่เห็นคือพลับพลาสูง อันเป็นที่ประทับสำหรับทอดพระเนตรการฝึกทหาร ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านเหนือของทุ่งพระเมรุ พอถึงจุดนี้แล้วถ้าไม่รื้อก็คงจะพังลงมาเอง
และการที่เอาเขตพระราชฐานวังหน้าส่วนนอกนี้ออก เพื่อจัดพื้นที่สนามหลวงให้สวยงามดังที่เห็นในปัจจุบันก็ดีแล้ว เชื้อสายวังหน้าคงไม่มีใครบังอาจที่จะไม่เห็นด้วยครับ
ขอบคุณครับอาจารย์ใหญ่กว่า NAVARAT.C

ภาพหอสูงอยู่ใน collection ของ Margaret Landon เช่นกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 18 มิ.ย. 17, 08:39

ภาพ Daguerreotype
ถ่ายโดยหลวงวิสูตร โยธามาตย์(พระยากระสาปนกิจโกศล --- นายโหมด อมาตยกุล)
ที่ส่งไปให้ ควีนวิคตอเรีย  เดือนพฤศจิกายน 2400  
(ภาพนี้ยังส่งไปให้ President Franklin Pierce, Pope Pius IX, Napoleon III )

ภาพที่สองเป็น Daguerreotype  อีกรูปที่ส่งไปให้ ควีนวิคตอเรีย
ส่งไปสองรูป




* king mongkut_082755.jpg (0 KB - ดาวน์โหลด 250 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 19 มิ.ย. 17, 11:50

ภาพบริเวณกำแพงเมืองที่ประตูพฤฒิบาศ
เป็นของ Fournereau น่าจะอยู่ใน ปี 2435
มีสายไฟฟ้าผ่านมาบริเวณนี้แล้ว
มีการทำถนนรอบเมืองแนวกำแพง ขึ้นมาใหม่

ภาพที่สองถ่ายย้อนทางกับภาพแรก
เป็น Collection ของ Magaret Landon
คงจะเก่ากว่าภาพแรก (อาจอยู่ในสมัย ร 4 ก่อนปี 2411 ??)
ถนนรอบเมืองเป็นแบบเก่า พื้นถนนปูอิฐ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 20 มิ.ย. 17, 14:00

ถนนเจริญกรุงช่วงลงจากสะพานเหล็กบน(ดำรงสถิตย์)
ภาพนี้เคยลงในหนังสือ twentieth century impressions of siam (พิมพ์ปี 2451)
ถนนเจริญกรุงตอนล่างหรือตอนนอกกำแพงเมือง สร้างปี 2404
 
ร 4 โปรดเกล้าให้ตัดถนนตั้งแต่ริมคูเมืองชั้นใน ริมวังเจ้าเขมร
ตรงไปทิศใต้ แยกไปข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่ถนนตรงสายหนึ่ง อีกสาย ตรงไปยังดาวคะนอง

ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็น แม่กอง
พระอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เป็นนายงาน

ผู้ที่วางแนววางผังคือ เฮนรี่ อลาบาสเตอร์
หนังสือไซแอมโพซิทอรี่ สรรเสริญท่านว่า"เขาทำประโยชน์ยิ่งใหญ่
ให้รัฐบาล ไทย  เมื่อเขายํ่าไปตามสวนผลไม้และตามท้องนา วันแล้ววันเล่า
กระโดดข้ามท้องร่องบ้าง ลุยโคลนเลนไปบ้าง
เพื่อสำรวจเส้นทางที่จะสร้างถนนเหล่านี้(คือเจริญกรุงและพระรามสี่)
เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้ว ทางราชการก็ทำสะพานข้ามคลอง
และเอาทรายมาเกลี่ยถนนเพื่อนักขี่ม้าจะได้ควบม้าเป็นระยะทางไกลๆ"

สร้างเป็นถนน กว้างห้าวาสองศอก ( 11 เมตร)
พื้นเป็นดินและทรายอัดแน่น ทำให้เป็นเนินหลังเต่า
สองข้างเป็นร่องให้นํ้าไหลก่อด้วยอิฐกว้างไม่เกิน 40 ซม.ลึกไม่เกิน 60 ซม.

จากภาพ ตรงไปอีกนิดทางขวามือคือ  เวิ้งนาครเขษม
ด้านซ้ายตรงข้ามเวิ้งเป็นตึกของขุนพัฒน์แหยม(เป็นบุตรขุนพัฒน์เซี้ยะ นายอากรบ่อนเบี้ยคนแรกของไทย)
แต่ต่อมาหมดตัวเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าแลกปี้ แล้วเป็นง่อย(สำนวน อาจารย์ ส.พลายน้อย)
น่าจะเป็น อัมพาต Stoke ตามที่เรียกกันปัจจุบัน
ขุนพัฒน์แหยมเป็นผู้ปลูกต้นประดู่สองข้างทางถนนเจริญกรุง จากสะพานเหล็กถึงบ้านใหม่บ้านทวาย


 



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 09:24

ภาพส่วนหนึ่ง พิธีรัชมังคลาภิเษก ร.5 เมื่อ  เดือนพฤศจิกายน  2451  
เฉลิมฉลองในวโรกาศที่ครองราช(41ปี)นานกว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(40 ปี)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 09:27

ขบวนแห่แถวเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และ คุกลหุโทษ ถนนราชินี



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 09:29

ถนนเจริญกรุง



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 21 มิ.ย. 17, 09:32

ต่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 22 มิ.ย. 17, 10:45

พระเมรุมาศห้ายอดในพิธีพระบรมศพของ

สมเด็จฯเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย
สมเด็จฯเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ 
สมเด็จฯเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์

ณท้องสนามหลวง ปี พศ 2430

วันก่อนลงรูปถ่ายวันนี้ลงเป็นรูป Engraving
อยู่ในหนังสือ บางกอก ของ Fournereau


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง