เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 57106 กรุงเทพเมื่อวานนี้
สมบัติ สุขุมาลย์
ชมพูพาน
***
ตอบ: 137


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 10 มิ.ย. 17, 13:18

ขอบคุณครับ
โดยความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่าควรใช้คำว่าภาพลายเส้นแทนคำว่าภาพพิมพ์ คำว่าพิมพ์อาจทำให้สับสน
สมัยนั้นพวกฝรั่งน่าจะเข้ามาในไทยเพื่อหาข้อมูล จดบันทึกวาดภาพถ่ายภาพเพื่อนำกลับไปจัดทำวารสารหรือหนังสือ
ด้วยที่ต้องการแสดงศิลปะอวดฝีมือว่าวาดภาพได้เสมือนจริง โดยการวาดภาพลายเส้น ตีตารางละเอียดยิบ หยิบดินสอวาดเขียนลายเส้นแลเงาหนักเบาตามรูปจริง
ส่วนการจะนำภาพลายเส้นไปลงตีพิมพ์อีกทีนั้น ผมไม่ทราบเลยว่าเทคโนโลยีหรือวิธีการพวกฝรั่งเขาทำกันอย่างไร
แต่ที่สังเกตเห็นเอกสารตีพิมพ์ในสมัยนั้นของฝรั่งเหนือชั้นกว่าของไทยมาก
เป็นความเข้าใจส่วนตัวนะครับ

ข้างล่างนี้เมื่อปี พ.ศ.2553 ได้ print เก็บไว้ คิดว่าเกี่ยวข้องน่าจะมีประเโยชน์บ้างครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 11 มิ.ย. 17, 10:31

ถนนบำรุงเมืองสร้างขึ้นในปี 2406 สมัย ร 4
สร้างตามแนวถนนเก่าที่มีมาตั้งแต่สร้างกรุงสมัย ร 1
ที่เรียกว่า  ถนนรี ถนนขวาง  (คู่กับถนนเฟื่องนคร)

ถนนบำรุงเมืองเมื่อแรกสร้าง "ยังคับแคบอยู่ แลโอนค้อมไป หาตรงไม่ และใหญ่กว้างไม่เสมอกัน"
                                   จนถึงปี พศ 2413
มีประกาศ ณ วันพฤหัสบดีเดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบสองคํ่า ปีมะเมีย โทศก ศักราช 1232 (6 ตค. 2413)
ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ให้กว้างออกไปอีก 8 ศอก 9 ศอก
แลจะแก้ข้างปลายถนน ให้ตรงได้แนวกัน.....
อนึ่งตึกแลโรงร้านเป็นที่จำหน่ายขายสินค้านั้น
ที่สร้างทำขึ้นแต่ก่อนมาก็สั้นๆยาวๆเล็กๆใหญ่
 
จะสร้างทำขึ้นใหม่ให้งามแก่บ้านเมือง

...และตึกที่สร้างใหม่ทำแบบเมืองสิงคโปร์
คือส่วนหน้าของตึกแถวทำเป็นทางเดินถึงกันตลอด
ต่อมาเจ้าของร้านเห็นว่าห้องคับแคบ
จึงปิดกั้นช่องทางเดิน เพื่อให้ห้องกว้างขึ้น

ในการครั้งนี้ถ้าเจ้าของเดิมมีทรัพย์มีกำลังไม่พอทาง
ก็พระราชทานเงินออกให้ไปก่อน
แล้วค่อยเก็บคืนมาให้หลวง จนครบ
เมื่อครบแล้วเป็นสิทธิ์คืนแก่ผู้เจ้าของเดิม

ภาพสี่กั๊กเสาชิงช้า
เวลาคงหลังปี 2413  พอสมควร  
ตึกแถวอยู่ในสภาพทรุดโทรม
(หลังปี พศ 2424 ที่มีการสร้างตึกและหอคอย กระทรวงกลาโหม)

ที่ด้านบนของภาพคือหอนาฬิกาของตึกกระทรวงกลาโหม
ที่อยู่เชิงสะพานช้างโรงสี
ปลายสมัย ร 5 หอคอยนี้เปลี่ยนใหม่เป็นตามรูปที่ 3

ที่แยกนี้มีรถรางสายบางคอแหลม เข้ามาที่เชิงสะพานช้างโรงสี
เลี้ยวซ้ายเลียบมา ชิดด้านขวามือของตึกแถว
แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนเฟื่องนคร ไปที่สี่กั๊กพระยาศรี

ด้านขวามือล่าง มีรางรถรางสายบางลำพู-หัวลำโพง
จากถนนตะนาวเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบำรุงเมือง
วิ่งต่อไปที่ประตูสำราญราษฎร์ จะเลียบไปตามคลองผดุงกรุงเกษม

ภาพที่สองเป็นแผนที่ ปี 2450 เอาด้านตะวันตกขึ้น ให้ตรงกับภาพ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 12 มิ.ย. 17, 10:57

ถนนบำรุงเมือง    เมื่อขยายและตัดให้ตรง
มองจากหอสังเกตุการณ์กระทรวงกลาโหม ถนนตรงแหน่ว ถึงประตูสำราญราษฎร์
ภาพนี้คงหลังปี 2424
เสาชิงช้ายังคงอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม

ภาพที่สองเมื่อมองจากสะพานช้างโรงสี  ในทิศทางเดียวกับภาพแรก
จะเห็นว่าเสาชิงช้าได้ย้ายมาอยู่กลางถนนเรียบร้อยแล้ว
ภาพนี้อ้างว่าถ่ายเมื่อปี 2446

ภาพที่สาม พิธีโล้ชิงช้าในปี 2438
เสาชิงช้ายังคงอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม
ยังไม่ได้ย้ายมากลางถนนบำรุงเมือง

เสาชิงช้าย้ายมาอยู่กลางถนน  ประมาณ ปี 2438 ถึง 2446


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 11:31

อ่านเรื่องเมรุวัดสระเกศในบล๊อคที่ชื่อ suanleklek
มีภาพบริเวณเมรุวัดสระเกศ
อธิบายว่าเป็นภาพเขียนของดอห์ริ่ง(ภาพแรก)

เมื่อดูข้อมูลพบว่า ดอห์ริ่งเข้ามารับราชการในสยาม ปี 2449 ถึง 2456

ภาพที่สองผมเคยเอามาลงในเรือนไทยครั้งหนึ่ง
เมื่อพิจารณาแล้วเป็นภาพเดียวกันกับภาพแรก
พิมพ์อยู่ในหน้าสุดท้ายของหนังสือ bangkok in 1892 (พศ 2435)
ของ Lucien Fournereau
หนังสือเล่มนี้พิมพ์เมื่อปี 1894(พศ 2437)

หนังสือของ Fournereau พิมพ์ออกมา(2437)ตั้งแต่ดอห์ริ่งยังไม่มากรุงเทพ (2449)
เป็นข้อมูลที่พอจะหาได้ 
แต่ยังไม่เคยเห็นหนังสือของดอห์ริ่ง

ที่น่าจะเป็นไปได้คือดอห์ริ่งเอาภาพของ Fournereau มาใช้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 13 มิ.ย. 17, 11:39

ภาพเมรุอีกภาพของวัดสระเกศที่
เป็นภาพถ่ายของ Fournereau

เป็นครั้งแรกที่เคยเห็น เมรุในมุมนี้
น่าจะถ่ายเมื่อปี 2435

เทียบกับเมรุภาพเก่าที่เราเคยเห็น
คือเป็นที่เดียวกัน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 10:56

เมื่อวันก่อนเสนอภาพถนนบำรุงเมืองไปแล้ว

วันนี้มีภาพของสี่กั๊กเสาชิงช้า และถนนบำรุงเมืองในสมัย ร5

อาจจะเป็นพิธีรัชมังคลาภิเษก ของร 5 เมื่อปี 2451
เป็นริ้วขบวนที่กำลังผ่านสี่กั๊กเสาชิงช้า


มองเห็นหอนาฬิกากระทรวงกลาโหม
มีรางรถรางสายบางลำพูหัวลำโพงอยู่ด้านล่างขวา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 13:47

เมรุที่วัดสระเกศถ่ายเมื่อปี 2424
(ไม่แน่ใจว่าเป็นของ Fournereau หรือไม่)
ภาพนี้จากเวปที่คุณหมอ CVT  ให้มา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 18:05

เมื่อวันก่อนเสนอภาพถนนบำรุงเมืองไปแล้ว

วันนี้มีภาพของสี่กั๊กเสาชิงช้า และถนนบำรุงเมืองในสมัย ร5

อาจจะเป็นพิธีรัชมังคลาภิเษก ของร 5 เมื่อปี 2451
เป็นริ้วขบวนที่กำลังผ่านสี่กั๊กเสาชิงช้า


มองเห็นหอนาฬิกากระทรวงกลาโหม
มีรางรถรางสายบางลำพูหัวลำโพงอยู่ด้านล่างขวา

ขอเรียนถามนอกเรื่องนิดนึงนะคะ เห็นกลุ่มคนในรูปทางซ้ายมือ แต่งตัวจัดเต็มใส่หมวกกันทุกคน แต่ทำไมไม่ใส่รองเท้า คือสงสัยน่ะค่ะ จะว่าไม่มีตังค์ซื้อก็ไม่น่าจะใช่ เพราะมีตังค์ซื้อหมวกก็น่าจะมีตังค์ซื้อรองเท้า หรือว่าหมวกถูกกว่ารองเท้า หรือว่ารองเท้าไม่เป็นที่นิยมในยุคนั้น หรือ??? ไม่เดาแล้วค่ะ รอคำตอบจากอาจารย์ดีกว่า ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 18:08

รูปมันไม่ตามมากับคำถาม ที่ถามอยู่ในรูปของคห.ที่215นะคะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 14 มิ.ย. 17, 19:29

ตอบคุณ Anna
ผมไม่รู้เหมือนกัน 
แต่เห็นด้วยว่าคนไทยจำนวนหนึ่งไม่สวมรองเท้าแต่สวมหมวก
ถ้าลองเดาดูก่อนเพราะยังไม่เคยอ่านเรื่องอย่างนี้จากนักวิชาการ

คนไทยที่จะใส่รองเท้าเป็นกลุ่มข้าราชการมีระดับกับเจ้าขุนมูลนาย
คนไทยทั่วไปเป็นชาวสวนชาวนา ไม่ใส่รองเท้าอยู่แล้วเดินบนพื้น
ชาวบ้านที่อยู่เรือนแพ ไม่สวมรองเท้าเหมือนกันเพราะต้องลงเรือบ่อยๆ
อีกอย่างไม่มี supply ไม่มีการผลิตรองเท้ามากมายมาป้อนผู้ใช้ได้
พวกข้า พวกไพร่ที่รับใช้ทางการ รับใช้เจ้านายไม่สวมเหมือนกัน
อันสุดท้ายเป็นวัฒนธรรม ความนิยมของคนไทยสืบกันมา
เดี๋ยวลงเรือ เดี๋ยวลงนํ้า เท้าเปียกปอนทั้งวัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 11:18

สะพานมัฆวานรังสรรค์  ถ่ายก่อนปี 2451
ภาพนี้ยังไม่มีพระที่นั่งอนันตสมาคม(สร้างปี 2451-2458)
ภาพที่สอง  สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์
พร้อมเปิดถนนราชดำเนินนอก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2446


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 13:00

เจอรูปสะพานมัฆวานรังสรรค์อีกรูป
เมื่อมาเทียบกับรูปที่เสนอในกระทู้ก่อนหน้านี้
เห็นว่าถ่ายห่างกันไม่กี่นาที
เพราะมีตำรวจหัวแดงแข้งดำยืนอยู่หนึ่งคน
มีหมาตัวเล็กเล่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ในภาพแรกมีรถยนต์วิ่งผ่านมาพอดี
รถยนต์เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกไม่มีจดบันทึกว่าวัััันเดือนปีอะไร(น่าจะประมาณ 2446)
แต่รถพระที่นั่งคันแรกของ   สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  (แก้วจักรพรรดิ์)  นำเข้ามาปี 2447
ในปี 2447 มีผู้เขียนไว้ว่ามีรถยนต์ในกรุงเทพฯ แค่สามคัน
แสดงว่ารถของ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เป็นคันที่สองหรือสาม ของประเทศไทย
รถคันแรกเป็นของ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)

เป็นไปได้ไหมรถที่อยู่ในภาพคือรถคันหนึ่งในสามคันแรก??


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 15 มิ.ย. 17, 14:12

รถยนต์คันนี้จอดอยู่ที่สะพานผ่านพิภพลีลา
เป็นคันที่น่าสนใจว่าเป็นรถของท่านผู้ใด

ภาพนี้ดูเหมือนสะพานผ่านพิภพลีลาเพิ่งสร้างเสร็จ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จมาทำพิธีเปิดสะพานนี้
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน  2447
(หลังจากไปทำพิธีเปิด สะพานเฉลิม 51 ที่ข้างวัดราชบพิธ แล้ว)
เปิดหลังจากเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์หนึ่งปี
(ข้อมูลในวิกิพีเดียว่าเปิดสะพานนี้  15 พย 2449 ซึ่งน่าจะผิด)

ภาพนี้น่าจะถ่ายราวปี 2447-2448 อาจจะมาตรวจการก่อสร้าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 12:03

ภาพถ่ายของ Fournereau อีกภาพ
ไม่ทราบเป็นราชพิธีอะไร
ลองค้นหาจากกูเกิล  เจอหลายที่  เขียนไว้ว่าภาพปี 1905 (พศ 2448)
ไม่น่าจะเป็นไปได้    จากภาพเห็นป้อมวิเชียร์อาคเนย์ ของวังหน้า  ยังคงอยู่

มีการขยายสนามหลวงด้วยการรื้อวังหน้าออกบางส่วนในปี  พศ 2440-2441
เป็นข้อมูลจาก อ.ชัย เรืองศิลป์

ภาพนี้ยังไม่ทราบเป็นพิธีอะไร ต้องถ่ายก่อน พศ 2440-2441
Fournereau เข้ามากรุงเทพ ปี พศ 2435
ภาพนี้    เป็นภาพถ่าย  ในปี 2435  น่าจะถูกต้อง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 16 มิ.ย. 17, 12:08

แผนที่กรุงเทพฯ พิมพ์ในปี พศ 2439 
วังหน้ายังมีอยู่ครบ 
การขยายสนามหลวงต้องหลังปี 2439
อาจารย์ชัย เรืองศิลป์ ประมาณว่า ปี 2440-2441


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง