เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 56824 กรุงเทพเมื่อวานนี้
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 24 พ.ค. 17, 14:52

ภาพแม่นํ้าเจ้าพระยา ถ่ายจากท่านํ้า สุนันทาลัย  มองเห็นปากคลองบางกอกใหญ่
ตรงปากคลองที่มีสีขาวยาวคือท่านํ้าบ้านหมอแบรดเลย์  อาจจะเป็นรั้วริมนํ้า
ขยับไปทางขวามือคือป้อมวิไชยประสิทธิ์ เห็นนิดเดียว

สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพถ่ายของ จิตร จิตราคนี  ภาพโทนสีออกแดงแบบนี้
ภาพถ่าย  ปี พศ 2436

หมอแบรดเลย์เสียชีวิตไปตั้งแต่ 23 มิย. 2416
ภรรยาคนที่สองนางซาราห์ คงอาศัยกับลูกคนสุดท้อง
จนถึงปี 2436 นางซาราห์เสียชีวิต ปีเดียวกับถ่ายภาพนี้
ลูกสาวคนสุดท้องแหม่มไอรีน (คนไทยเรียกแหม่มหลิน)
อาศัยอยู่คนเดียวจนถึงปี 2482 แหม่มไอรีนเสียชีวิต

ภาพปากคลองบางกอกใหญ่ไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 26 พ.ค. 17, 09:58

ถนนพาหุรัด ตรงหน้าประตูสะพานหันซึ่งเป็นทางเข้าไปสำเพ็ง
มีรถรางวิ่งเลี้ยวโค้งจากถนนพาหุรัดผ่านหน้าประตูสะพานหันไปทางถนนมหาชัย
ที่ตรงหลีกรถรางคือร้านซุ่นใช้เฮงของนายซุ่นใช้เฮง
ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทำกิจการโรงหนัง"วังเจ้าปรีดา"กับนายใช้ซุ่นเจ้าของห้างรัตนมาลา

โรงหนังวังเจ้าปรีดาอยู่หน้าวัง กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งปัจจุบันคือถนนวรจักรใกล้กับถนนเจริญกรุง
ถนนวรจักรตัดผ่านเข้าในวัง  ตอนแรกมีปัญหาสร้างถนนนี้ จนเมื่อเจ้าของวังบริจาคที่สามารถตัดถนนวรจักรได้

ภาพที่สองบริเวณแยกพาหุรัดกับมหาชัย  ที่เดียวกัน
เมื่อประตูสะพานหันพังลงมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2454
ภาพนี้ถ่ายวันรุ่งขึ้น ต้องรีบทำความสะอาดเพราะอิฐวัสดุลงมาทับรถรางเดินไม่ได้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 14:42

ภาพโฆษณาของห้าง ไวท์อเวย์แลดลอ เมืองไทย
และโฆษณาห้างของสาขาต่างๆในภาคตะวันออก
ในหนังสือ federation malay states railway  ปี พศ 2464

เกี่ยวกับห้างนี้    ขุนวิจิตรมาตราท่านเล่าว่า

อันที่จริงสมัย เมื่อราว 60 ปีมาแล้วฝร้่งก็มี
ห้างสรรพสินค้าชื่อ "ไวท์อเวย์แลดลอ" อยู่ตรงข้ามกับที่ทำการไปรษณีย์กลางบางรัก
เป็นตึกสามชั้นขายสินค้าทุกอย่าง
ข้าพเจ้าเคยเข้าไปบ่อยๆ ขายของดีดีทั้งนั้น แต่ราคาค่อนข้างสูง
ครั้งหนึ่งจำได้ว่าไปเที่ยวกับแฟน
แล้วเลยไถลเข้าไปในห้างไวท์อเวย์แลดลอ ขึ้นไปถึงชั้นสาม
แฟนเข้าไปเห็นผ้าห่มชนิดหนึ่งเหมือนไหมพรม แต่ทอละเอียด
เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละประมาณเกือบศอก  มีครุยทั้งสี่ด้าน
เป็นผ้าห่มเล่นซึ่งในสมัยนัั้นผู้หญิงนิยมห่มกันมาก
เขาซื้อมาผืนหนึ่ง   คนขายบอกว่าราคาผืนละ 40 หรือ 50 บาท
ข้าพเจ้าตกใจ  เพราะมีเงินติดกระเป๋าไป 10 บาท   ซึ่งมากสำหรับสมัยนั้น
ตามธรรมดาผู้ชายต้องจ่ายเงินแทนผู้หญิง ข้าพเจ้ามีเงินเพียง 10 บาท
กระซิบบอกเขาว่าเงินไม่พอ  เขาว่าไม่เป็นไร
ว่าแล้วเปิดกระเป๋าหยิบเงินออกมามัดหนึ่ง
เห็นจะราว 400-500 บาท  หยิบส่งให้คนขาย  
ได้ทอนมาแล้วเดินออกจากห้าง
ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าไม่กล้าเข้าห้างไวท์อเวย์แลดลอ อีกเลย
ห้างนี้ต่อมาดูเหมือนจะเป็น Bank of America


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 16:15

ภาพโฆษณาของห้าง ไวท์อเวย์แลดลอ เมืองไทย
และโฆษณาห้างของสาขาต่างๆในภาคตะวันออก
ในหนังสือ federation malay states railway  ปี พศ 2464

เกี่ยวกับห้างนี้    ขุนวิจิตรมาตราท่านเล่าว่า

อันที่จริงสมัย เมื่อราว 60 ปีมาแล้วฝร้่งก็มี
ห้างสรรพสินค้าชื่อ "ไวท์อเวย์แลดลอ" อยู่ตรงข้ามกับที่ทำการไปรษณีย์กลางบางรัก
เป็นตึกสามชั้นขายสินค้าทุกอย่าง
ข้าพเจ้าเคยเข้าไปบ่อยๆ ขายของดีดีทั้งนั้น แต่ราคาค่อนข้างสูง
ครั้งหนึ่งจำได้ว่าไปเที่ยวกับแฟน
แล้วเลยไถลเข้าไปในห้างไวท์อเวย์แลดลอ ขึ้นไปถึงชั้นสาม
แฟนเข้าไปเห็นผ้าห่มชนิดหนึ่งเหมือนไหมพรม แต่ทอละเอียด
เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละประมาณเกือบศอก  มีครุยทั้งสี่ด้าน
เป็นผ้าห่มเล่นซึ่งในสมัยนัั้นผู้หญิงนิยมห่มกันมาก
เขาซื้อมาผืนหนึ่ง   คนขายบอกว่าราคาผืนละ 40 หรือ 50 บาท
ข้าพเจ้าตกใจ  เพราะมีเงินติดกระเป๋าไป 10 บาท   ซึ่งมากสำหรับสมัยนั้น
ตามธรรมดาผู้ชายต้องจ่ายเงินแทนผู้หญิง ข้าพเจ้ามีเงินเพียง 10 บาท
กระซิบบอกเขาว่าเงินไม่พอ  เขาว่าไม่เป็นไร
ว่าแล้วเปิดกระเป๋าหยิบเงินออกมามัดหนึ่ง
เห็นจะราว 400-500 บาท  หยิบส่งให้คนขาย  
ได้ทอนมาแล้วเดินออกจากห้าง
ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าไม่กล้าเข้าห้างไวท์อเวย์แลดลอ อีกเลย
ห้างนี้ต่อมาดูเหมือนจะเป็น Bank of America


พอจะคำนวณได้ไหมคะ ว่า 400-500 บาทสมัยนั้น เท่ากับเท่าไรสมัยนี้
ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 17:48

ค่าแรงคนงานไม่มีฝีมือในสมัยทศวรรษ 2480 วันละ .80 บาท ถึง 1 บาท
ปัจจุบันวันละ 300 บาท
 400 บาทในยุคโน้นประมาณว่าราว 120,000 บาท

 ค่าตั๋วหนัง2456 เฉลี่ยคนละ 1 บาท
ปัจจุบัน 120 บาท
มูลค่าเพิ่ม 120 เท่า
400 บาท เท่ากับ 48,000
 
400 สมัยโน้น เท่ากับ 48000 บาท - 120000 บาท
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 27 พ.ค. 17, 19:14

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๗  ราคาอาหารฟาส์ตฟู้ดของไทย (ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวแกง) ชามละ ๑ อัฐ*

มาตราเงินในสมัยนั้นคือ
 
๑๐๐ เบี้ย     =   ๑ อัฐ
     ๒ อัฐ     =   ๑ ไพ
     ๔ ไพ     =   ๑ เฟื้อง
     ๒ เฟื้อง  =   ๑ สลึง
     ๔ สลึง   =    ๑ บาท

คำนวณแล้ว ๑ อัฐ = ๑.๕ สตางค์ ข้าวแกงปัจจุบันราคาขั้นต่ำน่าจะประมาณ ๒๐ บาท แพงขึ้นประมาณ ๑,๓๐๐ เท่า ถ้าใช้มาตรฐาน ๔๐๐ บาทในสมัยนั้นจะเท่ากับประมาณ ๕๒๐,๐๐๐ บาททีเดียว  ยิงฟันยิ้ม

* จาก เรื่องสนทนากับคนขอทาน โดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์  นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๖๙๖ ปีที่  ๕๒ ประจำวัน  อังคาร ที่  ๒๐ มิถุนายน  ๒๕๔๙
 
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 28 พ.ค. 17, 08:42

ห้าง whiteaway laidlaw & co ltd
ตามโฆษณาว่าอยู่ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ เปิดมานาน
ตั้งแต่ฝั่งตรงข้ามยังเป็นสถานทูต  ไม่ได้เปลี่ยนเป็นไปรษณีย์
ตึกที่มีตราครุฑอยู่ด้านหน้า



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 29 พ.ค. 17, 09:56

 ภาพ"แรกมีรถรางไฟฟ้า"ของ robert lenz
เป็นภาพถนนเจริญกรุง ปี 2437
สังเกตตรงริมด้านซ้ายสุดเห็นราวสะพาน
คงยืนถ่ายบนสะพานสักแห่งหนึ่ง
เมื่อมองตามถนนไปที่ด้านสุดเห็นเสาหรือท่อสูงสองต้น
จะเป็นปล่องควันของโรงไฟฟ้า bangkok tramway  ที่ใกล้สะพานพิทยเสถียร ได้หรือไม่(เดา)
ภาพที่สองขยายเห็นรถรางไฟฟ้า
มีรถม้าที่เรียกว่า dogcart ( dog-cart )  สองคัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 30 พ.ค. 17, 15:02

ถนนเจริญกรุง 2493


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 31 พ.ค. 17, 17:40

หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ด้านสังคม สมัย พศ2352-2453
ของ อ.ชัย เรืองศิลป์
ท่านเขียนว่า"มีพ่อค้าจีนชั้นเจ๊สัวผู้หนึ่งร่วมมือกับรัฐบาลใน
การสร้างความเจริญให้แก่กรุงเทพฯด้วยการตัดถนน
หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ภาษาอังกฤษ(ฉบับวันที่ 19 มิถุนายน 1889=พศ 2432)
กล่าวถึงการที่เจ๊สัวยมจ้างกรรมกรจีนขุดคลองสาทร
จากแม่นํ้าเจ้าพระยาผ่านป่าไปทะลุคลองหัวลำโพง
ลงมือทำตั้งแต่เดือน ธันวาคม พศ 2431
แล้วเอาดินในคลองถมเป็นถนนทั้งสองฝั่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 10:02

พระยาอนุมานราชธน
เมือท่านย้ายมาอยู่ที่ถนนสาทร ปี2437
ท่านเล่าเรื่องเรือไว้ตามภาพที่หนึ่ง

ภาพที่สองเรือพุ้ยนํ้าที่ปากนํ้า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 01 มิ.ย. 17, 10:25

นอกจาก เรือเจ้าพระยาที่ท่านพระยาอนุมานราชธนกล่าวถึงแล้ว
มีเรืออีกลำที่ชื่อ เหมือนกัน แต่คงไม่ใช่เรือพุ้ยนํ้า
พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม พิศลยบุตร)
เป็นเจ้าของเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินทางระหว่าง กรุงเทพฯ - สิงคโปร์
ซึ่งเป็นเพียงลำเดียวในสมัยนั้น

เรือเจ้าพระยาลำนี้ที่นางแอนนา ใช้เดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพ
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2405
ตามที่นางแอนนาเขียนในหน้าแรกของ
หนังสือ the english governess at the siamese court


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 03 มิ.ย. 17, 17:26

คลองโอ่งอ่าง ต่างยุคกัน  
ภาพแรก น่าจะถ่ายจากบนสะพานสูง
มองเห็นสะพานสมมตอมรมารคบนถนนบำรุงเมือง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 04 มิ.ย. 17, 14:23

จากหนังสือสัมภาษณ์ มจ.จงจิตรถนอม ดิศกุล ของศ.ศิวรักษ์
รู้รายละเอียดของพระที่นั่งอัมพรสถานส่วนหนึ่ง(ท่านอาจจะจำได้ไม่หมด)

พระที่นั่งอัมพรสถานลงรากฐานเมื่อปี รศ.120
มีพิธีขึ้นพระที่นั่งปี รศ 125

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จประทับชั้นบนสุดหรือชั้นที่สาม
ซึ่งมีห้องสองห้องคือห้องบรรทมกับห้องทรงพระอักษรเรียกว่าห้องบรรณาคม
สมเด็จพระปิยะฯเสด็จสวรรคตที่ห้องบรรทมนี้เอง
(เมือคืนวันเสาร์ 22 ตค.2453 เวลาสองยาม 45 นาที สมัยปัจจุบันนับเป็นวันอาทิตย์23 ตค.)
ชั้นสองมีหลายห้องเช่นห้องสีขาว เป็นห้องทิศเหนือทางไปพระที่นั่งอุดรภาค
ในระยะแรกพระเจ้าอยู่หัวอยู่ห้องนี้บ้างเป็นการเปลี่ยนอริยบท
ตอนหลังให้สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าซึ่งเป็นเลขานุการมาอยู่
อีกห้องหนึ่งบนชั้ันสองที่อยู่ข้างล่างตรงกับที่พระเจ้าอยู่หัวประทับ
เป็นห้องของเจ้าจอมเอิบกับเจ้าจอมเอื้อน
มีห้องพระองค์ชายอุรุพงศ์อยู่ใกล้กับห้องสีขาว
มีห้องอาวุธบ้างครั้งเป็นห้องเสวย
ห้องสีทองสำหรับเลี้ยงอาหารดินเนอร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 05 มิ.ย. 17, 19:41

ในหนังสือ  ฝ่าทะเลและมหาสมุทรทั้งห้า  ของนายมิลเลอร์
ตามภาพที่หนึ่ง
นายมิลเลอร์เข้ามากรุงเทพฯในปี 2400
มาติดตั้ง   เครื่องจักรไอนํ้าหีบอ้อย   ที่นครชัยศรี
แล้วอยู่ต่อรับเหมาติดตั้งเครื่องยนต์เรือ
ติดตั้งให้ทั้งเรือหลวงและเรือของสมเด็จองค์น้อย
ติดตั้งเครื่องสีข้าว ,สร้างอู่เรือ รับเหมาเกี่ยวกับเครื่องยนต์อยู่ สี่ปีครึ่ง
กลับออกไปในปี2405

ในตอนหนึ่งเล่าถึงเรื่องนํ้าแข็งที่เข้ามากับเรือเจ้าพระยา
นายมิลเลอร์รู้ภาษาไทยพอสมควร
ใช้คำว่า นํ้าหนาวนัก  ในตอนนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง