visitna
|
ความคิดเห็นที่ 120 เมื่อ 11 มี.ค. 17, 09:12
|
|
ภาพของ A Pavie นักสำรวจ นักการทูต ฝรั่งเศษ ปี 2424 รูปแม่นํ้าเจ้าพระยา ถ่ายจากหน้าวัดอรุณฯ มองเห็นฝั่งพระนคร บ้านเรือน เรือนแพ ระหว่างปากคลองตลาดกับปากคลองโอ่งอ่าง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 121 เมื่อ 12 มี.ค. 17, 09:48
|
|
มีอีกภาพได้มาจาก Alinary library ไม่รู้ว่าใครเป็นคนถ่ายภาพ ระยะเวลาที่ถ่ายภาพใกล้กับของ ทอมสัน ภาพที่สองเอามาเปรียบเทียบกัน(ด้านซ้ายเป็นของทอมสัน ปี 2408 จะเห็นว่าใกล้เคียงกัน)
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 122 เมื่อ 12 มี.ค. 17, 12:33
|
|
มีอีกภาพได้มาจาก Alinary library ไม่รู้ว่าใครเป็นคนถ่ายภาพ ระยะเวลาที่ถ่ายภาพใกล้กับของ ทอมสัน ภาพที่สองเอามาเปรียบเทียบกัน(ด้านซ้ายเป็นของทอมสัน ปี 2408 จะเห็นว่าใกล้เคียงกัน)
ที่ถูกคือ Alinari museum ภาพนี้บอกว่าถ่ายประมาณ ปี 2418
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 123 เมื่อ 13 มี.ค. 17, 08:43
|
|
เมื่ออยู่ที่ฝั่งพระนคร มองย้อนกลับไปยังวัดอรุณฯ จะเห็นพระปรางค์ วังกรมหลวงวงษาธิราชสนิท พระราชวังเดิมพระเจ้ากรุงธนฯ เรียงจากขวามาซ้าย ภาพนี้ประมาณ ปี 2453 ปลายสมัยรัชกาลที่ห้า ภาพนี้ได้มาจาก Fratelli alinari museum collection
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 124 เมื่อ 14 มี.ค. 17, 08:52
|
|
ภาพลายเส้นในบริเวณนี้ มีเรือมหาจักรีอยู่ในแม่นํ้า
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 125 เมื่อ 15 มี.ค. 17, 12:32
|
|
พื้นที่ระหว่างพระราชวังเดิมกับวัดแจ้ง ตามแผนที่ปี 2450 จะเห็นว่าแยกออกมาเป็นอีกส่วนหนึ่ง แยกค่อนข้างชัดเจนกับทั้งวัดแจ้งและพระราชวังเดิม ไม่แน่ใจว่าที่อยู่ของสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีจะอยู่ในพระราชวังเดิม ตามที่มีผู้อ้างไว้อย่างนั้น ตามภาพล่างจะเห็นว่ามีกำแพงคั่นระหว่างเก๋งจักรปีกกับพระราชวังเดิม (ภาพแผนที่เป็นรูปสี ใส่มากลายเป็นขาวดำ)
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 126 เมื่อ 15 มี.ค. 17, 12:36
|
|
หลังปี 2424 พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี มีการก่อสร้างอาคารในระยะเริ่มแรกอย่างน้อยสองอาคาร รวมทั้งเก๋งจักรปีก ตามรูป
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 127 เมื่อ 16 มี.ค. 17, 14:32
|
|
ถนนบำรุงเมือง มองจากด้านตะวันออกไปยังเสาชิงช้า เห็นสะพานเจริญทัศน์ 35 ข้ามคลองวัดสุทัศน์ ขุนวิจิตรมาตราท่านเรียกว่าสะพานวัดสุทัศน์ เป็นคลองด้านตะวันออกของวัดที่เชื่อมต่อระหว่างคลองหลอดทั้งสอง คือคลองหลอดวัดราชนัดดากับคลองหลอดวัดราชบพิธ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 128 เมื่อ 17 มี.ค. 17, 09:45
|
|
ขอส่งภาพสีอีกสักภาพทดสอบ( ในคอม.ผมรูปสีเป็นรูปขาวดำหมด) บนโปสการ์ด เขียนว่าถนนทรงวาด น่าจะไม่ใช่ถนนทรงวาดตามที่เขียน น่าจะเป็นถนนเยาวราชหรือเจริญกรุง ดูแล้วน่าจะเป็นถนนเยาวราชมากที่สุด เห็นรถรางรุ่นแรกๆที่กำลังวิ่งอยู่ ตรงแยกนี้อาจจะเป็นแยกราชวงศ์ เป็นข้อสันนิษฐานที่คิดได้ตอนนี้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 129 เมื่อ 18 มี.ค. 17, 09:47
|
|
แม่นํ้าเจ้าพระยาเมื่อปี 2408 มองเห็นวิหารหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีเรือกำปั่นสองเสาที่งดงามอยู่ในแม่นํ้า ตรงหน้าวิหาร ภาพของ จอห์น ทอมสัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 130 เมื่อ 19 มี.ค. 17, 09:49
|
|
สถานีรถไฟบางซื่อ ยุคที่ได้ปรัุบลดขนาดรางจาก ขนาด 1.435 เมตร ที่เรียกว่า standard gauge เป็นขนาด 1 เมตร หรือที่เรียกว่า metre gauge เห็นรางเหล็กทั้งสองขนาดคู่กัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 131 เมื่อ 20 มี.ค. 17, 13:25
|
|
บรรยากาศแม่นํ้าเจ้าพระยา กลุ่มเรือของเจ้าทางเหนือ ที่เรียกว่า เรือลาว หรือ เรือแม่ปะ หรือ เรือหางแมงป่อง ถ่ายจากบ้านเจ้าเมืองเชียงใหม่แถววังหลัง หรือ หน้าวัดแจ้ง หรือ อาจจะแถวใกล้เคียง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 132 เมื่อ 21 มี.ค. 17, 08:23
|
|
บรรยากาศในลำคลองสายหนึ่งของ กรุงเทพ พิมพ์ในหนังสือ The Kingdom of Siam เมื่อปี พศ.2447 มีเรืออาศัยเส้นทางนี้ไปมาเป็นจำนวนพอสมควร มีต้นหมากปลูกอย่างหนาแน่นในพื้นที่ริมคลองนี้ ไม่ทราบว่าเป็นคลองชื่ออะไร
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 133 เมื่อ 22 มี.ค. 17, 08:55
|
|
ท่าราชวรดิฐ
เป็นท่าเทียบเรือเฉพาะเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ มาตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เรียกกันว่าพระฉนวนน้ำ โดยมีกำแพงฉนวนกั้นมาจากประตูพระบรมมหาราชวังฝ่ายในจนถึงบริเวณริมน้ำ ที่ท่าทำเป็นศาลาใหญ่มุงกระเบื้องมีช่อฟ้าใบระกา 1 หลัง ด้านหน้าศาลามีมุขลดเล็กๆ เป็นซุ้มประตูไม้ตรงต้นสะพาน เป็นที่พาดบันไดประทับเรือพระที่นั่ง
ในปี พ.ศ. 2327 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้สร้างพระตำหนักแพลอยขนาด 5 ห้อง มีเฉลียงรอบฝากระดานลูกกรงทาสีเขียวแดง ภายในเขียนลายลดน้ำทอง เสาเขียนลายพุมข้าวบิณฑ์ปิดทอง หลังคามุงจาก มีช่อฟ้าใบระกา จอดไว้ทางเหนือ พระฉนวนน้ำเป็นที่เสด็จประทับเมื่อมีพระราชพิธีลอยพระประทีปในเดือนสิบเอ็ด สิบสอง
ภายหลังโปรดให้เรื้อพระตำหนักแพลอยน้ำ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แล้วโปรดให้สร้างพระที่นั่งสามหลังที่ริมน้ำตรงพระฉนวนน้ำเดิม มีลักษณะเป็นเรือนไม้มีฝากระดานรอบสามด้าน ด้านหน้าเป็นกรงตั้งอยู่บนคานปลายเสาตอม่อคล้ายเรือนแพ หลังคามุงกระเบื้องมีช่อฟ้าใบระกา มุขด้านหน้าริมน้ำเป็นมุขลดสองชั้น หน้าบันประเจิด เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนักน้ำ
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รื้อตำหนักเดิม แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นแผ่นดิน สร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่งเป็นพลับพลาสูงตรงกลางหนึ่งองค์ พระราชทานพระนามว่าพระที่นั่งชลังคพิมาน ต่อจากพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่งพระราชทานนามว่าพระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิตย์ ด้านเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงผ่านหน้าองค์หนึ่งพระราชทานพระนามว่าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย และด้านใต้เป็นพระที่นั่งเหมือนกับพระที่นั่งด้านเหนือ เป็นที่พักผ่อนฝ่ายในอีกพระองค์หนึ่ง พระราชทานพระนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์
ตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่ง ก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้าน มีป้อมริมน้ำปลายกำแพงด้านเหนือ พระราชทานชื่อว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ป้อมข้างใต้ตรงกันชื่อว่าป้อมอินทร์อำนวยศร
โปรดให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า "ท่าราชวรดิฐ" แปลว่าท่าอันประเสริฐแห่งราชการ แม้ว่าจะพระราชทานชื่อเช่นนั้น แต่ในสมัยก่อนประชาชนยังเรียกติดปากว่า ท่าขุนนาง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งในท่าราชวรดิฐชำรุดทรุดโทรมจึงโปรดให้รื้อออก เหลือไว้เพียงพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยเพียงองค์เดียว นอกนั้นปรับพื้นที่ทำเป็นสนามดังที่เห็นกันในปัจจุบัน
ขอแก้ชื่อเอาตามวิกิฯ
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 134 เมื่อ 22 มี.ค. 17, 09:05
|
|
คลองในคห. 132 เคยลงแล้วในกระทู้เก่า แต่ไม่รู้ว่าเฉลยหรือยังว่าคลองอะไร ต้องขอคุณเพ็ญชมพูหรือคุณหนุ่มสยามช่วยทบทวนค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|