เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 57224 กรุงเทพเมื่อวานนี้
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 27 เม.ย. 17, 10:50

ภาพแรกถนนเยาวราช โดย Peter Williams Hunt
ถ่ายทางอากาศ วันที่ 15 เมษายน 2489

ภาพที่สองมองย้อนทางกับภาพแรกสองปีหลังจากภาพแรก
เห็นทางเข้าโรงหนังเฉลิมบุรี(หรือชื่อเดิม สิงคโปร์)

ตึกเจ็ดชั้น ที่แยกเฉลิมบุรี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 28 เม.ย. 17, 13:28

ถึงหน้าทุเรียนแล้ว
ภาพตลาดทุเรียนของกรุงเทพฯในอดีต
ภาพแรก ปี 2473
ภาพที่สามเป็นของ Dr Pendleton บอกว่าเป็น fruit market
ภาพสุดท้ายเป็นของ Dr Pendleton ตลาดหน้าวัดนรนารถสุนทริการาม พศ 2481


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 29 เม.ย. 17, 16:12

จากพรรคคอมมิวนิสต์จีนสยามสู่พรรคคอมมิวนิสต์ไทย

ของ รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

ในช่วงทศวรรษ 2450 ได้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองของชาวจีนในประเทศจีนและส่งผลสะเทือนมาถึงชาวจีนในสยาม
ความคิดที่ว่ามี 2 สาย
สายแรกคือ ลัทธิไตรราษฎร ซึ่งเป็นแบบสาธารณรัฐที่นำไปสู่การปฏิวัติในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1911(พศ 2454) และส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวชาตินิยมของชาวจีนในสยาม
สายที่สองคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) และขยายตัวอย่างรวดเร็ว สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนจำนวนหนึ่งได้เข้ามาขยายการจัดตั้งในสยามและเอเชียอาคเนย์ โดยเป้าหมายในระยะแรกคือจัดตั้งชาวจีนในสยามเพื่อไปปฏิวัติประเทศจีน

เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของชาวจีนในสยาม เอกสารทางราชการของสยามระบุว่า
ชาวจีนคนแรกๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้เคลื่อนไหวคอมมิวนิสต์ในสยาม
คือ ทำจีนซำ หรือ ถ่ำจันซาม
ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งที่เคยร่วมมืออยู่กับฝ่ายเซียวฮุดเสง
และเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาจีนชื่อ เคี่ยวเซ็ง (เฉียวเซิงเป้า)
ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2465
เพื่อเผยแพร่แนวคิดลัทธิไตรราษฎรในหมู่ชาวจีนในสยาม
และเป็นหนังสือพิมพ์ทางเลือกอีกฉบับหนึ่ง
นอกเหนือจากหนังสือพิมพ์ ฮั่วเซียมซินป่อ ของนายเซียวฮุดเสง
เมื่อ ซุนยัตเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งถึงแก่กรรมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2467
พรรคก๊กมินตั๋งในจีนได้แตกออกเป็นปีกขวาและปีกซ้าย
ขณะที่ในประเทศสยามก็เกิดความขัดแย้งในลักษณะเดียวกัน
เมื่อก๊กมินตั๋งปีกซ้ายในกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับการนำของเซียวฮุดเสงและสโมสรจีนกรุงเทพฯ
ได้ตั้งกลุ่มก๊กมินตั๋งสาขาที่ 2 หรือ นั้มเม้งเซียงหวย ขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
ถ่ำจันซาม เป็นหนึ่งในสมาชิกฝ่ายสาขาที่ 2
ดังนั้น หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ของเขาจึงถูกใช้เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่แนวความคิดของฝ่ายสาขาที่ 2 ด้วย

หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ดำเนินกิจการอยู่ราว 3 ปี
จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468
ระหว่างนั้นได้จัดพิมพ์หนังสือเป็นภาษาจีนชื่อ ลัทธินิยมการรุกรานและประเทศจีน
มีเนื้อหาที่ประณามการรุกรานจีนของญี่ปุ่นและอังกฤษ
แสดงการยกย่องสดุดีระบอบสาธารณรัฐและบอลเชวิกอย่างเปิดเผย
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 รัฐบาลสยามได้สั่งจับกุม ถ่ำจันซาม
โดยตั้งข้อหาว่า พยายาม “ยุให้ชาวจีนขึ้งเคียดชาวอังกฤษและชาวญี่ปุ่น”
และตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับบอลเชวิก
ทางการสยามมีหลักฐานว่า ถ่ำจันซาม และคณะได้เปิดห้องสมุด “ตงฮั้วเกยเจ๋าจือปอเสีย”
ซึ่งหมายถึงห้องสมุดสำหรับเปลี่ยนแปลงประเทศจีน
และตั้งชมรมศึกษาเพื่อรวบรวมชาวจีนกลุ่มต่างๆ ให้เป็นคณะเดียวกัน
โดยมี ตันคงเฮียบ เป็นที่ปรึกษา ถ่ำจันซาม เป็นนายกสมาคม อือกงเยี้ยบ และโคว้เต้าเหยียน เป็นกรรมการ
เอกสารของทางการสยามระบุด้วยว่า มีผู้สมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มถ่ำจันซาม ถึง 100 กว่าคน
ในตอนแรกรัฐบาลสยามตั้งใจที่จะเนรเทศ ถ่ำจันซาม ออกจากประเทศ
แต่ทำไม่ได้เพราะติดที่ว่า ถ่ำจันซาม เป็นคนในบังคับของฮอลันดา
แต่ในท้ายที่สุดรัฐบาลสยามก็สามารถเนรเทศ ถ่ำจันซาม ได้สำเร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2469
ซึ่งทำให้หนังสือพิมพ์ เคี่ยวเซ็ง ต้องปิดตัวลงไปด้วย

เดิมนายเซียวฮุดเสง ที่โปรก๊กมินตั๋ง
และเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จีนโนสยามวารศัพท์
เป็นกลุ่มเดียวกับ ถ่ำจันซาม บรรณาธิการเคี่ยวเซ็ง
มาแยกทางกันภายหลัง เพราะเชียร์คนละฝ่าย


ภาพสำนักงานหนังสือพิมพ์เคี่ยวเซ็ง
เป็นหนังสือพิมพ์ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่หก




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 01 พ.ค. 17, 15:38

ถนนเยาวราช หน้าโรงภาพยนต์เฉลิมบุรี(สิงคโปร์เดิม)
ตึกทางซ้ายสุดที่สูงคือตึกหกชั้น
ปัจจุบันคือโรงแรมเซียงไฮแมนชั่น เป็นของคุณพงษ์ สารสิน
ภาพนี้น่าจะประมาณปี พศ 2520 ??


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 01 พ.ค. 17, 19:39

ขอบคุณครับ นี่เป็นอีกกระทู้เลอค่าของเรือนไทย
ภาพเก่าสวยๆ ทำให้นึกถึงอดีต
ตอนที่ผมเป็นเด็กบ้านนอกเข้ากรุงเมื่อปี 2530
เยาวราชยังมีตึกเก่าโทรมๆ ไม่ปรับปรุงบูรณะเหมือนปัจจุบัน
ดูขลังและได้บรรยากาศกรุงเทพยุคเก่า
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 02 พ.ค. 17, 09:50

ขอบคุณครับ นี่เป็นอีกกระทู้เลอค่าของเรือนไทย
ภาพเก่าสวยๆ ทำให้นึกถึงอดีต
ตอนที่ผมเป็นเด็กบ้านนอกเข้ากรุงเมื่อปี 2530
เยาวราชยังมีตึกเก่าโทรมๆ ไม่ปรับปรุงบูรณะเหมือนปัจจุบัน
ดูขลังและได้บรรยากาศกรุงเทพยุคเก่า
ขอบคุณครับ
ถ้าท่านใดมีภาพเก่าเอามาให้สมาชิกได้ชมจะดีมาก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 02 พ.ค. 17, 09:53

ภาพทางอากาศของบริเวณสามแยก
ของถนนเจริญกรุงและเยาวราช เมื่อปี 2493



บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 03 พ.ค. 17, 05:56

ตรงสามแยกนั้น คิดถึงร้านสิงคโปร์ ที่เป็นต้นกำเนิดของลอดช่องสิงคโปร์
ตรงข้างๆร้านมีตรอกเล็กๆ มีข้าวต้มกระดูกหมูที่อร่อยมากๆอยู่
ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังอยู่มั้ย ไม่ได้ไปเยือนแถวนั้นสัก 20 ปีได้ละ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 07:52

ตรงสามแยกนั้น คิดถึงร้านสิงคโปร์ ที่เป็นต้นกำเนิดของลอดช่องสิงคโปร์
ตรงข้างๆร้านมีตรอกเล็กๆ มีข้าวต้มกระดูกหมูที่อร่อยมากๆอยู่
ไม่รู้เดี๋ยวนี้ยังอยู่มั้ย ไม่ได้ไปเยือนแถวนั้นสัก 20 ปีได้ละ

เฉลิมบุรีเดิมชื่อสิงคโปร์
เป็นที่มาของชื่อลอดช่อง(ที่โรงหนัง)สิงคโปร์
ไม่ใช่ลอดช่องของประเทศสิงคโปร์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 04 พ.ค. 17, 08:42

ในภาพที่แนบมาเป็นภาพถ่ายทางอากาศช่วง พ.ศ. ๒๔๙กว่าๆ จะเห็นบริเวณสามแยกไม่เห็นเจดีย์แล้ว ด้านบนเป็นโรงหนังสิงคโปร์ แนวตึกแถวมีลอดช่องสิงคโปร์อร่อยๆ เป็นลอดช่อง

ใส่แก้วใส่น้ำแข็งราดน้ำเชื่อมใส่ขนุน เข้าใจว่าเรียกกันเต็มๆว่า ลอดช่องแถวโรงหนังสิงคโปร์ หรือ ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์ แต่เอาเรียกกันสั้นๆเลยว่า ลอดช่องสิงคโปร์


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 05 พ.ค. 17, 19:47

ถนนเจริญกรุง ปี พศ 2493
บริเวณสี่แยกแปลงนาม (จะกลายเป็นสถานีรถใต้ดินในอนาคต)
ยังมีตึกบางตึกที่มีรูปกระถางบนมุมตึก เหลืออยู่ให้เห็น
ส่วนมากเปลี่ยนไปแทบไม่เหลือเค้าเดิม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 06 พ.ค. 17, 16:17

ถนนเยาวราชหน้าโรงภาพพยนต์เฉลิมบุรี ประมาณ พศ สองพันสี่ร้อยเก้าสิบกว่า
ด้านซ้ายสุดเป็นตึกหกชั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 07 พ.ค. 17, 11:39

ดร.ซุนยัตเซน เดินทางเข้ามาในเมืองไทยหลายครั้ง
บางครั้งเข้ามาไม่ต้องการให้ใครรู้ โดยใช้ชื่อปลอม
เป็นการเดินทางเข้ามาหาผู้สนับสนุนและหาทุน ในการดำเนินงานของพรรคก๊กมินตั๋ง
เท่าที่รู้ท่านเดินทางเข้ามาอย่างน้อยสี่ครั้ง

ในปลายปี พศ.2451 ท่านเดินทางเข้ามาเป็นครั้งสุดท้าย
เปิดปาฐกถาขึ้นที่ถนนเยาวราช(ตามรูปที่หนึ่ง ถ้าเป็นเหตุการณ์นี้จริง มีธงไตรรงค์? ที่ผิดสังเกต)
เป็นบริเวณซอยหน้าร้านตั้งโต๊ะกัง  ที่อยู่ห่างจากโรงหนังศรีเยาวราชแค่หนึ่งคูหา
บริเวณที่แสดงปาฐกถายังมีปัญหาว่าที่ไหนแน่
จากรูปที่เก็บไว้เป็นที่แน่นอนว่าต้องเป็นที่นี่

รูปที่สอง เป็นบริเวณเดียวกัน ถ่ายเมื่อปี พศ 2491
หลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นมา 40 ปี
ร้านนี้เคยเปลี่ยนตัวอักษรบนร้านเป็นชื่อ หลานตั้งโต๊ะกัง อยู่ระยะหนึ่ง

รูปที่สามเป็นรูปปัจจุบันของร้าน
ถ้านับจากปี 2451 จนถึงปัจจุบัน นานแล้วถึง 109 ปี
เป็นอาคารที่อยู่มายาวนานถึงหนึ่งร้อยปีกว่าแล้ว




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 08 พ.ค. 17, 12:25

ถนนเยาวราชบริเวณตัดกับถนนผดุงด้าว เมื่อปี พศ.2493

โฆษณา ASPRO อยู่บนยอดตึกเก้าชั้น ปากซอยมังกร
ตามภาพที่สอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 09 พ.ค. 17, 09:58

ห้างตั้งโต๊ะกังเคยเปลี่ยนชื่อเป็นหลานตั้งโต๊ะกัง
คำว่าหลานมาแทนคำว่าห้าง เป็นตัวผอมกว่า
ภาพเมื่อปี 2520
ปัจจุบันเหลือเป็นพื้นว่างไม่เขียนชื่ออะไร

ร้านนี้อยู่ห่างจากโรงหนังศรีเยาวราชหนึ่งคูหา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง