visitna
|
ภาพถนนกัลยาณมิตร ก่อนขึ้นสะพานช้างโรงสี เมื่อลงสะพานแล้วเป็นถนนบำรุงเมือง ด้านซ้ายเป็นกระทรวงกลาโหม ด้านขวาเดิมเป็นโรงเรียนทหาร(the royal military college) น่าจะถ่ายเมื่อประมาณ เลยปี พศ. 2440 ไปแล้ว ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ ห้า
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 01 ส.ค. 16, 13:12
|
|
นึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหน มองในรูปดูกว้างขวางโอ่อ่ามาก อยากเห็นภาพปัจจุบันค่ะ ใครพอจะมีให้ดูบ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 01 ส.ค. 16, 15:36
|
|
(โดย google street view ครับ) บนถนนกัลยาณไมตรีมุ่งสู่สะพานช้างโรงสี อาคารด้านขวามือคือ กรมแผนที่ทหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 01 ส.ค. 16, 15:37
|
|
จากสะพานช้างโรงสี,มองย้อนกลับไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 01 ส.ค. 16, 15:46
|
|
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอศิลา นึกภาพออกแล้ว ทำไมเดี๋ยวนี้ถนนแคบนิดเดียวหนอ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 02 ส.ค. 16, 10:37
|
|
เหมือนจะมีการขยายรั้ว ด้านกรมแผนที่ฯ นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 02 ส.ค. 16, 11:45
|
|
ภาพนี้อยู่ในหนังสือเล่มเดียวกับภาพแรก พิมพ์เมื่อปี 2447 คงเคยเห็นกันแล้ว ภาพนี้ที่นำเสนอเพราะชัดเจนดีกว่าที่เคยดู
รถรางไฟฟ้าบนถนนจักรพงษ์ หน้าวัดชนะสงคราม กิจการไฟฟ้าในกรุงเทพฯเริ่มมีตั้งแต่ปี 2430 ล้มลุกคลุกคลาน จนถึงปี 2440 จึงค่อยมีความมั่นคง จะเห็นเสาไฟฟ้าอยู่หน้าวัด ภาพนี้น่าจะบันทึกเมื่อราวปี พศ.2440-2447
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 03 ส.ค. 16, 11:52
|
|
วัดชนะสงคราม ริมถนนจักรพงษ์ จากกูเกิ้ล
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 03 ส.ค. 16, 17:47
|
|
computer มีปัญหา ขออภัยท่านสมาชิกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 04 ส.ค. 16, 13:13
|
|
บริเวณก่อนถึงสี่แยกราชประสงค์ อดีตและปัจจุบัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 06 ส.ค. 16, 08:23
|
|
ก่อนที่จะมีสนามบินนานาชาติดอนเมือง
ขอบคุณ @Pakasit Chanvinij เจ้าของภาพและเรื่อง
สนามบินน้ำ เป็นชื่อตำบลแถวปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่ยังพูดถึงกันอยู่จนปัจจุบัน น้อยคนรู้ที่มาของชื่อตำบลนี้ว่าแต่ก่อน แม่น้ำเจ้าพระยาแถบนั้น เคยเป็นบริเวณขึ้น-ลงของเครื่องบินโดยสาร แต่ไม่มีใครเคยเห็นหลักฐานที่แน่ชัดของประวัติศาสตร์ที่ว่า รูปนี้ถ่ายโดยคุณตาผมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ครั้งเป็นนาวาอากาศเอก พระศิลปศัสตราคม (ภักดิ์ เกษสำลี) ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารอากาศ เรือบินในภาพเป็นแบบ Shorts S-23 ของสายการบิน Imperial Airways เมื่อทำการบินเที่ยวบินแรกให้บริการผู้โดยสารจากประเทศอังกฤษไปยังประเทศออสเตรเลีย ใช้เวลาบินเดินทาง ๑๐วันโดยแวะลงจอดพักแรมระหว่างเส้นทางบิน ๙ คืน กรุงเทพฯเป็นหนึ่งใน ๙ เมืองที่ลงจอดพักแรม
วันนั้นสายการบินจึงเชิญผู้มีเกียรติหลายท่านขึ้นไปชมบนเรือบินในเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เรือบินลำนี้เป็น ๑ ในเรือบินแบบเดียวกันทั้งสิ้น ๓๑ ลำที่บริษัทฯใช้งานอยู่สมัยนั้น มีชื่อเฉพาะลำว่า Cordelia ตีทะเบียน G-AEUD Cordelia สร้างโดยบริษัท Shorts ประเทศอังกฤษ ออกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เพื่อใช้ในการบินพาณิชย์กับบริษัทฯ แต่ถูกใช้ในกิจการทางทหารในช่วงระหว่าง กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๓- กันยายน พ.ศ.๒๔๘๔ ถูกปลดระวางเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ และถูกทำลายขายเป็นเศษซากที่เมือง Hyth เมื่อ ๖ มีนาคม ในปีเดียวกัน
ภาพนี้อาจจะเป็นภาพสนามบินน้ำภาพเดียวของประเทศไทย มีผู้มาขอนำไปขยายเป็นขนาดใหญ่ตั้งแสดงอยู่ที่โรงแรม บางกอกเพนนินซูลา หลังจากออกตระเวนค้นหามาแล้วทั่วโลก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 06 ส.ค. 16, 08:42
|
|
สุดยอดจริงๆภาพและเรื่องข้างบนนี้
เวลามีธุระผ่านไปทางสนามบินน้ำ ก็ได้แต่แปลกใจว่าทำไมชื่อประหลาดนัก ไม่เข้าใจว่าสนามบินน้ำคืออะไร นอกจากนี้ คำนี้เป็นภาษาสมัยใหม่ ไม่โบราณอย่างแพร่งนรา พาหุรัด บางลำพู เยาวราช ต้องมาจากอะไรที่ใหม่กว่านั้นมากแน่ๆ แต่อะไรนั้นคืออะไร เพิ่งได้คำตอบวันนี้เอง
ทำให้ต้องถามต่อไปว่า สมัยที่ยังไม่มีลานบินให้เครื่องบินแลนดิ้งลงจอด เขาใช้ทางน้ำแทนรันเวย์หรือคะ จากนั้นผู้โดยสารจะต้องมีเรือมาเทียบ พาขึ้นไปพักแรมบนฝั่ง หรือไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 06 ส.ค. 16, 11:41
|
|
ก่อนที่ยังไม่มีลานบินอย่างทุกวันนี้ เขาใช้ทุ่งหญ้าตามธรรมชาติที่พื้นเรียบๆหน่อย ปรับปรุงบ้างพอให้เครื่องบิน(เบาๆ)บินขึ้นลงได้ หนังสงครามสมัยสงครามโลกครั้งที่๑ หรือที่๒ ก็พอจะเห็นฐานบินที่ไปตั้งตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ เมืองไทยเองก็มีสนามบินอย่างนี้หลายสนาม
เมื่อสงครามเลิกแล้ว เครื่องบินลำเลียงของทหารถูกนำมาใช้ในกิจการพลเรือนมากขึ้น แต่เครื่องบินลำใหญ่ๆไม่ปลอดภัยในการขึ้นลงสนามหญ้า และยังติดเรื่องหน้าฝนพื้นดินนุ่มอีก ฝรั่งจึงคิดเอาเครื่องบินน้ำมาใช้โดยหาบริเวณที่เหมาะสมจัดเป็นที่ขึ้นลง จวบจนแนวทางธุรกิจขนส่งทางอากาศชัดเจน จึงมีการทำลานบินด้วยคอนกรีตขึ้น เครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เครื่องบินน้ำจึงหมดความนิยม เพราะตัวใหญ่กว่า อุ้ยอ้าย ลำเลียงผู้โดยสารและสัมภาระลำบาก รวมทั้งการเติมน้ำมัน การบริการตัวเครื่องด้วยครับ
ผมรู้จักสนามบินน้ำมานาน เพราะมีญาติทางปากเกล็ดเยอะ เมื่อเด็กๆนั่งเรือผ่านสนามบินน้ำ ผู้ใหญ่บอกว่านี่แหละสนามบินน้ำ ผมก็มองหาอาคารหรือเครื่องบิน ไม่เห็นอะไรนอกจากสวนและเรือจ้าง ถามว่าไหนล่ะสนามบิน ท่านก็ย้ำว่าตรงนี้แหละสนามบิน ผมเซ็งมากมาย อุตส่าห์นั่งเรือมาซะนาน ปูโธ่ วิวเหมือนหน้าวัดปรมัยเลย
สมัยโน้น รับผู้โดยสารแล้วคงใช้เรือยนต์นำผู้โดยสารเข้ากรุงเทพเลย ไม่น่าจะมีโรงแรมแถวนั้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 06 ส.ค. 16, 16:27
|
|
พออ่านแล้ว ต้องตามไปหาว่าเครื่องบินน้ำคืออะไร พบแต่รูปปัจจุบัน ขนาดไม่ใหญ่โตอะไร คงขนผู้โดยสารได้ไม่กี่คนนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 06 ส.ค. 16, 17:38
|
|
เครื่องบินน้ำโดยสารสมัยโน้น หรูไม่เบานะครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|