เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 11644 การสืบราชสมบัติ
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 ก.ค. 16, 20:17

พระองค์จุลฯ ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่อยู่ในลำดับครับ และไม่ได้มีแต่พระองค์จุลด้วย มีพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชก็เป็นอีกพระองค์ที่ถูกข้ามเพราะพระมารดาไม่ใช่สะใภ้หลวงด้วย จะต่างกับในหลวงของเรา ที่สมเด็จย่าแม้จะเป็นสามัญชน แต่มีสถานะเป็นสะใภ้หลวง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวอานันทฯกับในหลวงอยู่ในลำดับการสืบราชสมบัติ

ส่วนรัชกาลที่ 3 นี่กรณีพิเศษ เพราะทรงมีพระราชอำนาจมาก แต่การขึ้นครองราชฯ ของพระองค์ก็มีข้อดี คือทำให้พระจอมเกล้าทรงมีเวลาให้ทรงเรียนรู้วิทยาการต่างๆ ทำให้ทรงเข้าใจโลกและอำนาจตะวันตกดี ทำให้เราปรับตัวทำ แนะนำใหอ่านหนังสือความทรงจำของกรมพระยาดำรงราชานุภาพครับ ทิ้งemail ไว้ก็ได้ เดี๋ยวส่ง PDF ไปให้ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
DrJfk
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 ก.ค. 16, 23:20

พระองค์จุลฯ ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่อยู่ในลำดับครับ และไม่ได้มีแต่พระองค์จุลด้วย มีพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชก็เป็นอีกพระองค์ที่ถูกข้ามเพราะพระมารดาไม่ใช่สะใภ้หลวงด้วย จะต่างกับในหลวงของเรา ที่สมเด็จย่าแม้จะเป็นสามัญชน แต่มีสถานะเป็นสะใภ้หลวง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวอานันทฯกับในหลวงอยู่ในลำดับการสืบราชสมบัติ

ส่วนรัชกาลที่ 3 นี่กรณีพิเศษ เพราะทรงมีพระราชอำนาจมาก แต่การขึ้นครองราชฯ ของพระองค์ก็มีข้อดี คือทำให้พระจอมเกล้าทรงมีเวลาให้ทรงเรียนรู้วิทยาการต่างๆ ทำให้ทรงเข้าใจโลกและอำนาจตะวันตกดี ทำให้เราปรับตัวทำ แนะนำใหอ่านหนังสือความทรงจำของกรมพระยาดำรงราชานุภาพครับ ทิ้งemail ไว้ก็ได้ เดี๋ยวส่ง PDF ไปให้ครับ


ของพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ที่ลำดับอยู่ก่อนพระองค์จุลฯ ดูเหมือนมีลิขิต ร 6 ไว้เลย ใช่มั้ยครับ ว่าให้ข้าม ส่วน ของพระองค์จุลฯ นี่ ไม่ใจ มีลิขิตให้ข้ามหรือไม่

บันทึกการเข้า
Praweenj
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 02:39

พระองค์จุลฯ ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่อยู่ในลำดับครับ และไม่ได้มีแต่พระองค์จุลด้วย มีพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชก็เป็นอีกพระองค์ที่ถูกข้ามเพราะพระมารดาไม่ใช่สะใภ้หลวงด้วย จะต่างกับในหลวงของเรา ที่สมเด็จย่าแม้จะเป็นสามัญชน แต่มีสถานะเป็นสะใภ้หลวง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวอานันทฯกับในหลวงอยู่ในลำดับการสืบราชสมบัติ

ส่วนรัชกาลที่ 3 นี่กรณีพิเศษ เพราะทรงมีพระราชอำนาจมาก แต่การขึ้นครองราชฯ ของพระองค์ก็มีข้อดี คือทำให้พระจอมเกล้าทรงมีเวลาให้ทรงเรียนรู้วิทยาการต่างๆ ทำให้ทรงเข้าใจโลกและอำนาจตะวันตกดี ทำให้เราปรับตัวทำ แนะนำใหอ่านหนังสือความทรงจำของกรมพระยาดำรงราชานุภาพครับ ทิ้งemail ไว้ก็ได้ เดี๋ยวส่ง PDF ไปให้ครับ


ของพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ที่ลำดับอยู่ก่อนพระองค์จุลฯ ดูเหมือนมีลิขิต ร 6 ไว้เลย ใช่มั้ยครับ ว่าให้ข้าม ส่วน ของพระองค์จุลฯ นี่ ไม่ใจ มีลิขิตให้ข้ามหรือไม่


อันนี้จากกฎมณเฑียรบาล ร.6 ได้บัญญัติขึ้นและประกาศในปี พ.ศ. 2467 ซึ่งประกาศภายหลังจากที่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต ประกาศพระบรมราชโองการนี้ 4 ปีต่อมาหลังจากที่ พระองค์เสด็จทิวงคตปี 2463 ครับ ตอนนั้นที่ประกาศพระองค์จุลก็อายุ 17 ปีกำลังเรียนอยู่ที่แฮโรว อังกฤษ
มาตรา ๑๑
เจ้านายผู้เป็นเชื้อพระบรมราชวงศ์ ถ้าแม้ว่าเป็นผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ข้างล่างนี้ไซร้ ท่านว่าให้ยกเว้นเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์

ลักษณะที่กล่าวนี้ คือ

(๑) มีพระสัญญาวิปลาส

(๒) ต้องราชทัณฑ์เพราะประพฤติผิดพระราชกำหนดกฎหมายในคดีมหันตโทษ

(๓) ไม่สามารถทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก

(๔) มีพระชายาเป็นนางต่างด้าว กล่าวคือ นางที่มีสัญชาติเดิมเป็นชาวประเทศอื่น นอกจากชาวไทยโดยแท้

(๕) เป็นผู้ที่ได้ถูกถอนออกแล้วจากตำแหน่งพระรัชทายาท ไม่ว่าการถูกถอนนี้จะได้เป็นไปในรัชกาลใด ๆ

(๖) เป็นผู้ที่ได้ถูกประกาศยกเว้นออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์



มาตรา ๑๒
ท่านพระองค์ใดตกอยู่ในเกณฑ์มีลักษณะบกพร่องดังกล่าวมาแล้วในมาตรา ๑๑ แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ไซร้ ท่านว่าพระโอรสอีกทั้งบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ยกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น



มาตรา ๑๓
ในกาลสมัยนี้ ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์ เป็นสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถผู้ทรงสำเร็จราชการสิทธิ์ขาดอย่างพระเจ้าแผ่นดินโดยลำพังแห่งกรุงสยาม ฉะนั้น ท่านห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใด ๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราชสันตติวงศ์เป็นอันขาด

ถ้าตามนี้ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ก็ย่อมถูกข้ามในฐานะเป็นรัชทายาท รวมไปถึงโอรสคือพระองค์จุล ด้วยครับ
ลำดับต่อมาก็เป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา แต่เสด็จทิวงคต 9 กพ. 2467 ก่อนประกาศ และไม่มีโอรสครับ
ลำดับต่อมาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย แต่เสด็จทิวงคต 8 กค. 2466 ก่อนประกาศ มีโอรสคือ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ที่ประสูติจากหม่อมระวีนางละครจากคณะละครวังสวนกุหลาบ ซึ่ง ร.6 ได้มีลิขิตให้ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชไป (ซึ่งตอนประกาศพระบรมราชโองการนี้มีพระยศเป็น ม.จ.วรานนท์ธวัช แต่ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2470)
ดังนั้นลำดับรัชทายาทจึงมาที่ พระปกเกล้า ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 08:10

เรื่องพระองค์จุลถูกห้ามสืบราชสมบัตินั้น  หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงเล่าเรื่องการตั้งรัชทายาทในตอนต้นรัชกาลที่ ๖ไว้ใน "พระราชวงศ์จักรี" ว่า

“ในปีแรกเสวยราชย์,  เมื่อเสร็จงานพระราชพิธีเสด็จขึ้นพรราชมณเธียรสถานแล้ว,  หรือจะเรียกว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๑ ก็ได้  จึงทรงพระราชดำริห์ถึงเรื่องตั้งรัชทายาท,  อันเคยมีมาแต่ก่อนว่าพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่ผู้หนึ่งผู้ใด  หรือพระเจ้าแผ่นดินทรงคืนราชสมบัติให้แก่เสนาบดีและข้าราชการที่ได้พร้อมใจกันถวาย  ให้เขาเลือกกันใหม่เป็นประชามติ  ดังจะเห็นได้ในพงษาวดารรัชกาลที่ ๓ และที่ ๔ นี้ถึง ๒ รัชกาลติดๆ กัน,  ซึ่งถ้าถือคติตามสมบูรณาสิทธิราชจริงๆ แล้วก็ไม่มีการจำเป็นอย่างไรเลย  และเนื่องด้วยคนโดยมากพากันบ่นว่ายังไม่ทรงมีรัชทายาทสืบพระองค์อยู่จนพระชันษาถึง ๓๐ ปีแล้วนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริห์ว่าควรจะทำเสียให้เป็นการสืบสายอย่างยุโรปประเทศเสียทีเดียว  เพื่อให้เรียบร้อยไม่มีการผิดใจกันได้ต่อไป  มีตั้งต้นแต่พระราชบุตร์ของพระมเหษัที่ ๑ ไปทางพระโอรส,  ถ้าไม่มีพระโอรสก็สืบต่อไปทางพระอนุชา  ซึ่งถ้าหมดในทางพระราชมารดา  ก็เป็นพระราชบุตร์ของพระมเหสีที่ ๒, ที่ ๓ ต่อไป.  ถ้าหมดพระราชบุตร์ของพระมเหสีแล้วไซร้  ก็เรียงไปตามลำดับพระชันษา.

เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานั้นแล้ว,  ก็โปรดให้เรียกประชุมคณะสภาองคมนตรี  ซึ่งมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๕ เป็นสภา (body) ที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณแก่พระเจ้าแผ่นดินไว้แล้วว่า  ถ้ามีความเห็นใดๆ จะกราบบังคมทูลตามใจอันสุจริตซื่อตรงทุกเวลา.  สภานี้มีสมาชิกไม่ต่ำกว่า ๔๐ คน.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงประกาศตั้งสมเด็จพระอนุชา เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก Prince Chakrapongse เป็นรัชทายาทในวันนั้น

ก่อนจะถึงวันประชุม ๒ – ๓ วัน  สมเด็จกรมพระยาเทววงษ์ฯ  และกรมพระนเรศวรฤทธิ์ได้เสด็จมาพบเสด็จพ่อที่กระทรวงมหาดไทย .  กรมพระยาทววงษ์ฯ ตรัสว่า “ในกรม, จะเกิดความเสียแล้ว !  แล้วตรัสเล่าต่อไปว่า “มีองคมนตรีพวกหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องรัชทายาท  เพราะว่าทูลหม่อมเล็กมีเมียเป็นฝรั่งต่างชาติ  เขาจะคัดค้าน,  และกรมสวัสดิ์ ก็จะเป็นผู้ลุกขึ้นพูดในวันประชุม.  ฉันเห็นว่าควรจะกราบทูลให้ทรงทราบเสียก่อน  ดีกว่าปล่อยให้มีเรื่องขึ้นในที่ประชุม”  เสด็จพ่อทูลรับรองว่าเห็นด้วย  จึงปรึกษากันต่อไปว่าใครจะเป็นผู้กราบทูล.  ซึ่งลงท้ายเสด็จพ่อตรัสว่า “ใต้ฝ่าพระบาททรงคอยอยู่นี่เถิด,  เกล้ากระหม่อมจะเสี่ยงภัย run the risk เข้าไปกราบทูลเดี๋ยวนี้แหละ !”  แล้วก็ทรงพระดำเนินเข้าไปที่พระที่นั่งจักรี,  พบพระยาบำเรอฯ   ก็ตรัสบอกว่าให้เข้าไปกราบทูลว่าพระองค์ท่านขอพระราชทานเฝ้าสักประเดี๋ยว.  พระยาบำเรอฯ เข้าไปแล้วก็กลับออกมาเชิญเสด็จเข้าไปทันที.  เสด็จพ่อก็กราบทูลตามที่ได้ทราบมาและกราบทูลว่าที่รีบเข้ามาก็เพราะเห็นว่าวันจวนประชุมอยู่แล้วจะได้ทรงมีเวลาคิดแก้ไขเสียก่อน.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับข่าวนั้นด้วยเข้าพระราชหฤทัยดีและตรัสตอบว่า “ไม่เป็นไร,  หม่อมฉันจะให้ตาเล็กทำปฏิญาณเสียก่อนว่าจะไม่ยอมยกราชสมบัติให้กับลูกที่ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงไทย”  เรื่องก็สงบเป็นอันเรียบร้อยไปได้.”

ส่วนรายพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชนั้น  มีพระราชพินัยกรรมฉบับที่ทรงขึ้นไว้ก่อนสวรรคตราว ๒ เดือน  โดยทรงระบุไว้ในพระราชพินัยกรรมฉบับนั้นให้ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชไปที่รัชกาลที่ ๗ เลย  เพราะทรงเห็นว่าพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่เป็นที่ยอมรับของพระราชวงศ์  ทรงเกรงว่าหากให้ทรงรับราชสมบัติแล้วจะไม่ได้รับความเคารพจากพระราชวงศ์
บันทึกการเข้า
DrJfk
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 08:16

ขอบคุณ คุณ praweenJ สำหรับ ข้อมูลเพิ่มครับ เคลียร์เลย. เหมือนเคยได้ยินคนถก ประมาณว่ากฎห้ามแต่ มี หม่อมเป็นต่างด้าว ไม่ได้ห้ามแม่ต่างด้าว

แต่เห็น มาตตรา 12 ระบุชัด เลย ว่า ถ้า ถ้าพระบิดาถูกยกเว้นตามมาตรา11 โอรส ย่อมถูกคัด ออกไปด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 09:15

ส่วนรายพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชนั้น  มีพระราชพินัยกรรมฉบับที่ทรงขึ้นไว้ก่อนสวรรคตราว ๒ เดือน  โดยทรงระบุไว้ในพระราชพินัยกรรมฉบับนั้นให้ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชไปที่รัชกาลที่ ๗ เลย  เพราะทรงเห็นว่าพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่เป็นที่ยอมรับของพระราชวงศ์  ทรงเกรงว่าหากให้ทรงรับราชสมบัติแล้วจะไม่ได้รับความเคารพจากพระราชวงศ์

พินัยกรรมของ ร.6 ที่เสนาบดีกระทรวงวังอ่านในที่ประชุมเจ้านายผู้ใหญ่ในคืนวันสวรรคต 26 พฤศจิกายน 2468 (ตอนตี 2) ซึ่งเป็นการประชุมพิเศษเพื่อตกลงเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ ข้อความใน "พินัยกรรม" นี้ ซึ่งความจริงคือ entry หนึ่งใน "สมุดจดหมายเหตุรายวัน" (Diary) ของพระองค์ มีดังนี้


.................................................


หนังสือสั่งเสนาบดีวัง

เรื่องสืบสันตติวงศ์แลตั้งพระอัฐิ

(ดูรายวันน่า ๑๖๑)

ฃ้าพเจ้ามาล้มเจ็บลงคราวนี้ รู้สึกอำนาจแห่งวัยธรรม, ไม่ควรประมาท, มีกิจการบางอย่างที่ฃ้าพเจ้าเป็นห่วง, จึ่งอยากจะสั่งไว้เสียให้รู้สึกโล่งใจ, จึ่งฃอสั่งเสนาบดีกระทรวงวัง ดังต่อไปนี้ :-


ฃ้อ ๑ ถ้าถึงเวลาที่ฃ้าพเจ้าล่วงลับไป, แม้ฃ้าพเจ้าไม่มีบุตร์ชาย, ฃ้าพเจ้าฃอมอบให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชาสืบสันตติวงศ์, ให้ฃ้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนเพชรบูรณอินทราไชยนั้นเสียเถิด, เพราะ หม่อมเจ้า วรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่มีชาติสกุลอย่างใด. เกรงจะไม่เปนที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์, ฃ้าราชการ, และอาณาประชาชน


ฃ้อ ๒ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้าสิ้นชีวิตไป สุวัทนายังมีครรภ์อยู่, ฃอให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชาเปนผู้สำเร็จราชการไปก่อน จนกว่าลูกฃ้าพเจ้าจะประสูติ. ถ้าประสูติเปนหญิง ก็ให้เปนไปตามฃ้อ ๑ ถ้าประสูติเปนชาย ก็ให้เปนไปตามข้อ ๓ ข้างล่างนี้


ฃ้อ ๓ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้าสิ้นชีวิตไป มีลูกชายอยู่ แต่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, ฃ้าพเจ้าฃองแสดงความปราร์ถนาว่า ให้เลือกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชา เปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามกฎมณเฑียรบาล

............................................

ผมเอาจากบทความเรื่อง "ห้วงแห่งชีวิตและงานบางเสี้ยวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ของ บุญยก ตามไท ใน ศิลปวัฒนธรรม (มิถุนายน 2528)

บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 09:24

ส่วนรายพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชนั้น  มีพระราชพินัยกรรมฉบับที่ทรงขึ้นไว้ก่อนสวรรคตราว ๒ เดือน  โดยทรงระบุไว้ในพระราชพินัยกรรมฉบับนั้นให้ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชไปที่รัชกาลที่ ๗ เลย  เพราะทรงเห็นว่าพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่เป็นที่ยอมรับของพระราชวงศ์  ทรงเกรงว่าหากให้ทรงรับราชสมบัติแล้วจะไม่ได้รับความเคารพจากพระราชวงศ์

พินัยกรรมของ ร.6 ที่เสนาบดีกระทรวงวังอ่านในที่ประชุมเจ้านายผู้ใหญ่ในคืนวันสวรรคต 26 พฤศจิกายน 2468 (ตอนตี 2) ซึ่งเป็นการประชุมพิเศษเพื่อตกลงเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ ข้อความใน "พินัยกรรม" นี้ ซึ่งความจริงคือ entry หนึ่งใน "สมุดจดหมายเหตุรายวัน" (Diary) ของพระองค์ มีดังนี้


.................................................


หนังสือสั่งเสนาบดีวัง

เรื่องสืบสันตติวงศ์แลตั้งพระอัฐิ

(ดูรายวันน่า ๑๖๑)

ฃ้าพเจ้ามาล้มเจ็บลงคราวนี้ รู้สึกอำนาจแห่งวัยธรรม, ไม่ควรประมาท, มีกิจการบางอย่างที่ฃ้าพเจ้าเป็นห่วง, จึ่งอยากจะสั่งไว้เสียให้รู้สึกโล่งใจ, จึ่งฃอสั่งเสนาบดีกระทรวงวัง ดังต่อไปนี้ :-


ฃ้อ ๑ ถ้าถึงเวลาที่ฃ้าพเจ้าล่วงลับไป, แม้ฃ้าพเจ้าไม่มีบุตร์ชาย, ฃ้าพเจ้าฃอมอบให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชาสืบสันตติวงศ์, ให้ฃ้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนเพชรบูรณอินทราไชยนั้นเสียเถิด, เพราะ หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่มีชาติสกุลอย่างใด. เกรงจะไม่เปนที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์, ฃ้าราชการ, และอาณาประชาชน


ฃ้อ ๒ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้าสิ้นชีวิตไป สุวัทนายังมีครรภ์อยู่, ฃอให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชาเปนผู้สำเร็จราชการไปก่อน จนกว่าลูกฃ้าพเจ้าจะประสูติ. ถ้าประสูติเปนหญิง ก็ให้เปนไปตามฃ้อ ๑ ถ้าประสูติเปนชาย ก็ให้เปนไปตามข้อ ๓ ข้างล่างนี้


ฃ้อ ๓ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้าสิ้นชีวิตไป มีลูกชายอยู่ แต่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, ฃ้าพเจ้าฃองแสดงความปราร์ถนาว่า ให้เลือกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชา เปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามกฎมณเฑียรบาล

............................................

ผมเอาจากบทความเรื่อง "ห้วงแห่งชีวิตและงานบางเสี้ยวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ของ บุญยก ตามไท ใน ศิลปวัฒนธรรม (มิถุนายน 2528)



โดยส่วนตัว ผมมีความเห็นว่า "หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่มีชาติสกุลอย่างใด" น่าจะหมายถึงการที่หม่อมระวี ไกยานนท์ มิได้เป็นสะใภ้หลวงที่ได้รับพระราชทานสมรส มากกว่าประเด็นที่ท่านเป็นนางละครครับ ประเด็นนี้เคยมีการถกกันอย่างกว้างขวางมาแล้วหลายปีครับ หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มจะยิ่งดีมากครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 09:30



นี่ครับ หน้าตา "พินัยกรรม" ฉบับที่ผมกล่าวถึง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 09:33



นี่คือหน้าปกของ "สมุดจดหมายเหตุรายวัน" (diary) เล่มที่มี "พินัยกรรม"
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 21 ก.ค. 16, 12:44

เคยผ่านตาจากงานของพระองค์จุล ท่านเล่าว่า ร.6 ยกให้ทูลกระหม่อมเล็กพ่อท่าน แต่ขอให้ข้ามตัวพระองค์จุลไปเสีย ท่านยังกล่าวว่าถ้าพ่อท่านได้เป็นจริง ท่านจะได้เป็นหรือเปล่าก็ไม่ทราบเพราะเดาใจพ่อท่านไม่ออก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง