ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์โลก
>
การปะทะกันของวัฒนธรรมความรักระหว่างผู้ชาย ใน เสือป่า กับ คณะ ร.ศ. 130
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 4375
การปะทะกันของวัฒนธรรมความรักระหว่างผู้ชาย ใน เสือป่า กับ คณะ ร.ศ. 130
บัวบาน
อสุรผัด
ตอบ: 1
เมื่อ 07 ก.ค. 16, 15:51
แอบอ่านมานานแล้วค่ะ หลังจากอ่าน "รักร่วมเพศในวังบัคกิ้งแฮม" แล้วไปเจอบทความ ชื่อเดียวกันกับหัวข้อกระทู้ไม่แน่ใจว่ามีการถกประเด็นนี้กันมาก่อนหรือไม่
เลยเอามาฝากเพื่อคารวะอาจารย์ค่ะ
http://www.seaconsortium.net/autopagev4/show_page.php?topic_id=426&auto_id=5&TopicPk=181
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 07 ก.ค. 16, 16:43
อ่านนี่ก่อน
http://www.thairath.co.th/content/449898
แล้วรอคุณ V_Mee เข้ามาอธิบายเพิ่มเติมนะคะ
ขอโทษ รักร่วมเพศในวังบัคกิ้งแฮม เป็นเรื่องที่เปิดเผย ไม่ใช่ความลับ จึงเขียนถึงได้
ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องจับแพะชนแกะที่มีคนพยายามจะทำให้เป็นเรื่องขึ้นมาค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
ตอบ: 1436
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 08 ก.ค. 16, 09:45
บทความข้างต้นเขียนโดยชานันท์ ยอดหงษ์ เจ้าของวิทยานิพนธ์และหนังสือชื่อ "นายใน สมัยรัชกาลที่ ๖"
ประเด็นที่วิทยานิพนธ์ หนังสือ และลทความดังกล่าวพยายามนำเสนอ คือ การเบี่ยงเบนทางเพศในราชสำนักรัชกาลที่ ๖
โดยเจ้าของผลงานดังกล่าว พยายามนำเสนอว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๖ เป็นชายรักชาย โดยอ้างจากเอกสารต่างๆ มาหมาย
แต่เมื่อตรวจดูข้อมูลอ้างอิงแล้ว กลับกลายเป็นว่า เป็นการอ้างเพียงบางส่วนตามที่ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านโน้มเอียงตาม
ความคิดเห็นของผู้เขียน แต่หากได้อ่านข้อมูลทีนำมาแ้างองฉบับเต็มจะเพบว่า ข้อมูลที่ใช้อ้างอิงนั้นกล่าวไปอีกอย่าง
ตัวอย่างเช่น กรณี ร.ศ. ๑๓๐ ซึ่งมีเอกสารจดหมายเหตุหลายแฟ้มจำนวนนับพันหน้า ถ้าอ่านโดยตลอดแล้วจะเห็นได้ว่า
การจัดตั้งกองเสือป่าก็เพื่อดึงบุคคลพลเรือนที่พยายามหลบเลี่ยงการเป็นทหารให้หันมารับการฝึกหัดเป็นกำลังสำรองของชาติ
แนวพระราชดำรินี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ตั้งแต่เสนาบดีกระทรวงกระลาโหม เสนาธิการทหารบก (ปัจจุบันคือ ผบ.ทบ.)
ผู้บัญชาการกองพล ผู้บังคับการกรม ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับหมวดซึ่งเป็นนายทหารชั้นบังคัญชา
ล้วนเข้าใจแนวพระราชดำรินี้เป็นอย่างดี และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกเสือป่าแต่แรกสถาปนานับสิบนาย
แต่ความเข้าใจของบุคคลในยุคนั้น ในเอกสารจดหมายเหตุชุด ร.ศ. ๑๓๐ มีความตอนหนึ่งบันทึกไว้ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๖
เสด็จกลับมาจากยุโรป ได้ทรงรับราชการทหารเป็นจเรทัพบกและผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก และทรงเป็นผู้บังคับการ
พิเศษกรมทหารหลายกรม ฉะนั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์บรรดาข้าราชการพลเรือนจึงพากันเข้าใจไปว่า ในหลวงพระองค์ใหม่นี้
ทรงเป็นทหารคงจะทรงรักทหารมากกว่าพลเรือน แต่พวกคณะผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ นั้นกลับเชื่อในคำร่ำลือว่า เพราะรัชกาลที่ ๖
ขอให้โบยหลังทหรที่ไปตีกับมหาดเล็ก หากรัชกาลที่ ๕ ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตก็จะทรงลาออกจากตำแหน่งพระยุพราช
ฉะนั้นเมื่อรัชกาลที่ ๖ ขึ้นครองราชย์แล้วทรงตั้งกองเสือป่า กับโปรดให้ตั้งสโมสรเสือป่าขึ้นที่พระราชวังดุสิต บรรดานายทหารผู้น้อย
ที่เป็นผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ จึงพากันเข้าใจไปว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงทอดทิ้งทหาร แต่กลับทรงไปใกล้ชิดกับพวกพลเรือนดังเช่นที่มักจะ
เสด็จไปประทับทรงพระสำราญร่วมกับสมาชิกเสือป่าที่สโมสรเสือป่า
แต่ในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปยังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ทรงกล่าวถึงเหตุที่โปรด
ให้ตัดตั้งสโมสรเสือป่าขึ้น ก็เพื่อให้สมาชิกเสือป่าทุกชั้นทั้งที่มีตำแหน่งสูงหนือต่ำในทางราชการได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
และสามารถเพ็ดทูลเรื่องต่างๆ ได้โดยตรง ไม่ต้องเสนอผ่านผู้บังคับบัญชา แต่โดยธรรมชาติคนไทยมักจะพยายามหนีห่างจากผู้มัอำนาจ
การจึงมิได้เป็นผลสำเร็จสมดังพระราชประสงค์ สุดท้ายในหลวงจึงทรงถูกโดดเดี่ยวอยู่แจ่กับข้าราชสำนักที่ทรงคุ้นเคยเป็นส่วนพระองค์
ในการเข้าเป็นสมาชิกสโมสรเสือป่านั้น ก็มีพระบรมราชานุญาตให้ทหารที่แต่งเครื่องแบบสามารถเข้าไปใช้สโมสรได้โดยไม่ต้องเสียค่าบำรุง
เช่นสมาชิกเสือป่าทั่วไป แจ่เนื่องจากทหารเข้าใจไปว่า ทหารย่อมดีกว่าเหนือกว่าเสือป่า จึงไม่ยอมสมาคมกับเสือป่า แล้วพาลไปเข้าใจ
เอาเองว่า ในหลวงไม่รักทหาร จึงเป็นที่มาของการก่อการใน ร.ศ. ๑๓๐ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลอบปลงพระชนม์
ในการจัดตั้งศาลทหารพิเศษเพื่อพิจารณาคดีนี้ รัชกาลที่ ๖ ทรงเปลี่ยนตัวตุลาการทหารนายหนึ่งออกไป แล้วทรงตั้งพระยาวินัยสุนทร
(วิม พลกุล) ซึ่งเป็นเนติบัณฑิตรเป็นตุลาการพระธรรมนูญร่วมกับตุลาการทหาร (ซึ่งเป็นนายทหารอาชีพ) อีก ๖ นาย ในที่สุด
ศาลทหารพิเศษมีคำพิพากษาลงโทษผู้ก่อการเกือบร้อยคนนั้น ตั้งแต่ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต จำคุก ๒๐ ปี ฯลฯ เมื่อกระทรวง
กระลาโหมส่งรายงานคำพิพากษานั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย ก็ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยให้ลดโทษเหลือเพียง
จำคุกตลอดชีวิต ๒๐ ปี และ ๑๒ ปี รวมมีผู้ต้องรับโทษเพียงยี่สิบกว่านาย ที่เหลือโแรดให้ปล่อยตัวไปทั้งหมด ผู้ที่ต้องรับโทษนั้นได้บันทึกไว้ว่า
ในระหว่างที่รับโทษจำคุกอยู่นั้น มีพระราชดำริที่จะจัดตั้งเมืองจำลองดุสิตธานี ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ต้องรับโทษจำขังนั้น
ร่วมกันสร้างบ้านเล็กเรือนน้อยที่นำไปตั้งในดุสิตธานีด้วย ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ต้องรับโทษจำคุกตลอดชีวิต
ได้บันทึกไว้ว่า พวกที่ต้องรับโทษจำขังนั้นต่างก็เข้าใจในแนวพระราชดำริที่จะพระราชทานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่บัดนั้น
แต่ข้อเขียนของ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ที่กล่าวถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเรื่องการวางรากฐานประชาธิปไตย
นั้นไม่เคยมีการกล่าวถึงในแวดวงวิชาการยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเลย
ถู
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
ตอบ: 1436
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 08 ก.ค. 16, 09:53
เนื่องจากผู้เขียนบทความที่อ้างถึงข้างต้น มีเพศสภาพที่ตรงกับเพศของตน ในงานเขียนของผู้เขียนคนดังกล่าว
จึงมีมุมมองที่ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น มองว่าการที่ชายหนุ่มมาอยู่รวมกันในสังคมเดียวกัน ในโรงเรีนียนเดียวกัน
ก็มักจะเกิดมีเพศสัมพันธ์ในทำนองชายรักชายเสมอ ทั้งนี้เจ้าของบทความดังกล่าวอาจจะเกิดไม่ทันสภาพสังคมไทยเมื่อ
สามสี่สิบปีที่แล้ว ที่การเบี่ยงเบนทางเพศยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย ชายที่มีเพศสภาพเบี่ยงเบนยังต้องบิดบังตนเอง
มิให้สังคมรับรู่ จนมีนักวิชาการชื่อดังท่านหนึ่งที่กล้าประกาศตนว่าเป็นผู้ที่มีาภาพเบี่ยงเบน นับจากนั้นมาสังคมไทยจึง
เริ่มยอมรับบุคคลที่มีสภาพเบี่ยงเบนขึ้นเป็นลำดับ
ในเมื่อสภาพสังคมไทยในยุตก่อนไม่ยอมรับการเบี่ยงเบนทางเพศเช่นนั้น หากชายหนุ่มจำนวนมากมาอยู่รวมกัน และเกิดการ
รักร่วมเพศขึ้นในสังคมนั้นๆ ย่อมจะต้องมีการบันทึกไว้เป็นเรื่องเป็นราว มิใช่การซุบซิบโดยหาหลักฐานยืนยันมิได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...