เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 19458 รบกวนสอบถามถึงบุคคลในภาพครับ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 25 ก.ค. 16, 20:23



ยังติดใจใคร่ถามคุณวีมี คือทำไม จ่าโท จ่าตรี หรือแม้แต่ พลราชนาวีเสือป่า จึงเลื่อนเป็น พันจ่า เลยไม่ผ่านตามลำดับขั้น อีกทั้งเป็นตำแหน่งพันจ่าเฉย ๆ ไม่มี เอก โท ตรี ประกอบ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 26 ก.ค. 16, 07:25

ยศพันจ่าราชนาวีเสือป่าตรงกับยศนายหมู่ใหญ่เสือป่าฝ่ายบกครับ  ไม่มีเอก โท ตรี ครับ
การเลื่อนยศนั้นสามารถข้ามชั้นกันได้  ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นเหมาะสมครับ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 26 ก.ค. 16, 09:04

อ้างถึง
ไม้เท้าเสือป่า (เป็นไม้เท้าสีดำ  ต้นและปลายไม้เท้าเป็นโลหะสีทอง  มีปลอกอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.โลหะสีทอง รัดที่ที่ต้นไม่เท้าตอนใต้ปลอกโลหะ  มีพู่ไหมทองสลับดำ)

คล้ายๆกับไม้ที่ผู้กำกับกองลูกเสือถืออยู่ในปัจจุบันเลยครับ ที่มาก็น่าจะเกี่ยวข้องกัน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 26 ก.ค. 16, 09:54

ยศชั้นประทวน

ยศพันจ่าราชนาวีเสือป่าตรงกับยศนายหมู่ใหญ่เสือป่าฝ่ายบกครับ  ไม่มีเอก โท ตรี ครับ
อย่างนี้น่าจะถูกต้อง  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 26 ก.ค. 16, 17:20

ไม้เท้าเสือป่ามีลักษณะเช่นในรูปครับ  ไม้เท้าเสือป่านี้ใช้ถือในเวลาแต่งเครื่องลำลองหรือในเวลาที่ไม่ได้ขัดกระบี่
ในบางโอกาสสามารถใช้ไม้เท้าแสือป่าแสดงท่าเคารพเหมือนท่าเคารพด้วยกระบี่ได้ด้วย

แต่ไม้ถือในปัจจุบันดังภาพที่คุณ Naris นำมาลงไว้ในความเห็นข้างบนนั้น  สั้นกว่าไม้เท้าเสือป่ามาก  ลักษณะออกไปทางไม้ชี้ที่นายทหารสัมพันธมิตรในสมัยก่อนถือติดตัว
แต่ในวงการลูกเสือปัจจุบันก็มีการใช้ไม้ชี้นี้ทำท่าเคารพเหมือนท่าเคารพด้วยกระบี่
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 26 ก.ค. 16, 20:33

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือไม้เท้าเสือป่า


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 09:01

พล.อ.วสิษฐ์ธร สุขสภา ให้ข้อมูลไว้ใน ลิงก์นี้ อ่านดูครั้งแรกยังไม่เชื่อว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่เมื่อคุณศรีสรรเพชญ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลบางส่วนตรงกัน

นางสงวน สุขสภา สมรสกับ พระราชาณัตยานุหาร (ภาสกรวงศ์ บุนนาค) มีบุตร (๑) หลวงนนท์ รวยลัด (เพาะ บุนนาค) (๒) นางอำนาจนทีสฤษดิ์ (เพ็ญ บุนนาค) (๓) นางผดุงทะเบียนกิจ (พาสนา บุนนาค) (๔) นายโสภณ กาฬดิษฐ์



จากข้อมูลที่คุณเพ็ญชมพูหามาให้

ผมรู้สึกประหลาดใจตั้งแต่แรกว่าทำไมบุตรคนที่ ๔ ของนายราชาณัตยานุหารคือ คุณโสภณ กาฬดิษฐ์ ถึงใช้นามสกุลว่า กาฬดิษย์ ไม่ใช่บุนนาค

ซึ่งตอนนี้ไปค้นข้อมูลมาเพิ่มพบว่าคุณโสภณ ไม่ใช่บุตรของนายราชาณัตยานุหาร แต่เป็นบุตรของพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ (โห้ กาฬดิษฐ์)

ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้สันนิษฐานไว้ตั้งแต่แรกว่าเป็นคนเดียวกับ "พระเทพศาสตร์" ที่ถูกกล่าวถึงในรูปถ่ายครับ


ที่มาจาก http://eduserv.ku.ac.th/download/0/KU72.pdf หน้า 63


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 09:11

ซึ่งตอนนี้ไปค้นข้อมูลมาเพิ่มพบว่าคุณโสภณ ไม่ใช่บุตรของนายราชาณัตยานุหาร แต่เป็นบุตรของพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ (โห้ กาฬดิษฐ์)

เป็นไปได้ไหมที่พระยาเทพศาสตร์สถิตย์ (โห้) ยกบุตรชายคือคุณโสภณให้เป็บุตรบุญธรรมของนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์)
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 09:14

มีข้อมูลเรื่องครอบครัวของ นายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค) จากคุณหลวงเล็ก เสนอให้คุณศรีสรรเพชญ์พิจารณา

ผมทราบว่า นายราชาฯ (พาสน์ บุนนาค) มีธิดา ๑ คน
ซึ่งแต่งงานกับคนในสกุล ณ นคร (หรือ โกมารกุล ณ นคร นี่แหละไม่แน่ใจ)
ด้วยความสงสัยว่า นายราชาฯ แต่งงานกับสาวสกุลใด จึงได้มี ธิดา
ในสาแหรกบุนนาค ไม่กล่าวถึงเลย  เพิ่งมาถึงบางอ้อว่า
มารดาของธิดานั้น ไปมีครอบครัวใหม่ แถมมีลูกอีกหลายคนด้วย

ดูจะไม่ใคร่ตรงกับข้อมูลที่นำมาแสดงไว้ความคิดเห็นที่ ๘


ผมลองสอบถามญาติผู้ใหญ่ที่เรียกคุณโสภณว่า "คุณปู่โส" ก็บอกว่าเรียกกันแบบนั้นมาตลอดในตอนเด็กๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นพี่น้องกับคุณพาสนาหรือคุณเพาะไม่ แต่เข้าใจว่าคงเป็นญาติ
 
ผู้ใหญ่บอกว่าเคยมีญาติหรือคนนามสกุล กาฬดิษย์ ซึ่งรู้จักกับครอบครัวอยู่ แต่ปัจจุบันก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว เลยไม่สามารถสอบถามเอาความจากใครได้ครับ


ตอนนี้จากข้อมูลที่ได้มาว่าคุณสงวน สุขสภา ซึ่งเป็นภรรยานายราชาณัตยานุหาร (พาสน์)  ไปมีครอบครัวใหม่ ประกอบกับข้อมูลเรื่องคุณโสภณ เป็นบุตรพระยาเทพศาสตร์สถิตย์

ผมเลยลองสันนิษฐานเบื้องต้นว่า นายราชาณัตยานุหารถึงแก่กรรมไปเร็วมาก คุณสงวนผู้เป็นภรรยาน่าจะไปแต่งงานใหม่กับพระยาเทพศาสตร์ฯ  แล้วมีบุตรคือคุณโสภณ ซึ่งก็เป็นน้องชายต่างมารดาของคุณเพาะและคุณพาสนา


อาจจะด้วยเหตุผลนี้ทำให้พระยาเทพศาสตร์ฯ เป็นเสมือนเครือญาติกับฝั่งบุนนาคในอีกทางหนึ่ง และด้วยความที่สนิทกันอาจเพราะเหตุนี้จึงทำให้มอบรูปถ่ายใบนั้นให้พระยาเทพศาสตร์ฯเป็นที่ระลึกก็เป็นได้ครับ

แต่เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 09:21

ซึ่งตอนนี้ไปค้นข้อมูลมาเพิ่มพบว่าคุณโสภณ ไม่ใช่บุตรของนายราชาณัตยานุหาร แต่เป็นบุตรของพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ (โห้ กาฬดิษฐ์)

เป็นไปได้ไหมที่พระยาเทพศาสตร์สถิตย์ (โห้) ยกบุตรชายคือคุณโสภณให้เป็บุตรบุญธรรมของนายราชาณัตยานุหาร (พาสน์)


เมื่อลองดูอายุของคุณโสภณในภาพถ่าย เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ อายุน่าจะยังไม่ถึง ๑๐ ขวบครับ

แต่นายราชาณัตยานุหารถึงแก่กรรมไปตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๕

ดังนั้นเรื่องยกให้เป็นบุตรบุญธรรมให้กับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว คิดว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ทำกันครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 09:45

สันนิษฐานไว้ตั้งแต่แรก ว่าพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ (โห้) น่าจะมีความสนิทสนมกับกับครอบครัวของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์อยู่ก่อนแล้ว

ตั้งแต่ที่ท่านไดัเป็นนักเรียนทุนรุ่นแรกของกระทรวงธรรมการที่ไปศึกษาต่างประเทศใน พ.ศ. ๒๔๓๘ เมื่อจบการศึกษาแล้วก็รับราชการอยู๋ในกระทรวงธรรมการหลายปี

ซึ่งก็น่าจะครอบคลุมช่วงที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการอยู่ ในช่วง พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๔๕


ซึ่งถ้าคุณสงวนที่เป็นภรรยานายราชาณัตยานุหาร (พาสน์) แต่งงานใหม่กับพระยาเทพศาสตร์ฯ จริง ก็เป็นไปได้ว่าผู้ใหญ่ในตระกูลอย่างเจ้าพระยาภาสกรวงศ์และเจ้าจอมพิศว์น่าจะเห็นชอบด้วย ถึงได้ปรากฏว่ายังสนิทสนมกันต่อมา

ซึ่งเรื่องค่านิยมการแต่งงานใหม่ของสตรีสมัยนั้น เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ อาจต้องรอท่านผู้รู้ขยายความ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 09:51

ชื่อของคุณเพาะ บุนนาค คงปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเป็นครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ดังความในประกาศนี้

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/D/2.PDF


บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 13:05

จากข้อมูล คุณเพาะมียศสุดท้ายเป็น รองเสวกโท สังกัดสำนักพระราชวัง

เข้าใจว่าเพราะกรมมหาดเล็กหลวงซึ่งเคยเป็นกรมพิเศษขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๖ ถูกย้ายกลับไปขึ้นกลับกระทรวงวังตามเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๗  เลยใช้ยศอย่างข้าราชการกระทรวงวังที่คุณ V_Mee ยกมาครับ

และคงจะอยู่เรื่อยมาถึงยุคเปลี่ยนเแปลงการปกครอง ที่กระทรวงวังถูกลดฐานะเป็นสำนักพระราชวัง ใน พ.ศ.๒๔๗๘
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 13:41

กระทรวงวังถูกลดฐานะเป็นสำนักพระราชวัง ใน พ.ศ.๒๔๗๘

เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ตราไว้ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/1229.PDF



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 27 ก.ค. 16, 13:48

ชื่อของคุณเพาะ บุนนาค คงปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเป็นครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. ๒๔๗๘

หากนับอย่างปัจจุบันคือ พ.ศ. ๒๔๗๙ เพราะก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๕ เราเปลี่ยนศักราชกันเมื่อวันที่ ๑ เมษายน

เรื่องนี้คุณหมอศานติเคยอธิบายไว้แล้ว

เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม

ดังนั้นในประกาศลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๗๘ นับอย่างปัจจุบันคือ ๒๔ มีนาคม ๒๔๗๙ ประมาณ ๗ เดือนหลังจาก "กระทรวงวัง" เปลี่ยนฐานะเป็น "สำนักพระราชวัง"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง